กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถาม
ผู้สื่อข่าวเรื่องชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงที่หนีภัยการสู้รบในพม่าเข้ามาในพื้นที่ จ. ตาก ดังนี้
1. ทหารรัฐบาลพม่าได้ปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงบริเวณชายแดน
ไทย-พม่า เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2543 เป็นผลให้ชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยง จำนวนประมาณ 1,500 คน ทะลักเข้ามาในเขตไทย โดยในชั้นแรกได้เข้ามาอาศัยที่โรงเรียนบ้านหนองบัว ต. อุสุ อ. ท่าสองยาง
จ. ตาก ต่อมา หน่วยทหารในพื้นที่ได้จัดตั้งพื้นที่พักรอ (Holding Area) ที่อ่างเก็บน้ำบ้านหนองบัว ซึ่ง
อยู่ใกล้เคียงกัน แต่มีความสะดวกเรื่องแหล่งน้ำมากกว่า
2. ขณะนี้ ทางการไทยได้ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยมาลาเรียที่ 5 หน่วย
อนามัย NGOs และ UNHCR เข้าไปให้ความช่วยเหลือแล้ว
3. เจ้าหน้าที่ของไทยได้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้พลัดถิ่นดังกล่าวว่าประสงค์จะเดินทางกลับ
หรือไม่ หากประสงค์จะเดินทางกลับ ก็จะได้อำนวยความสะดวกให้เดินทางกลับ (spontaneous return) เมื่อสถานการณ์ปลอดภัย แต่หากไม่ประสงค์จะเดินทางกลับ จะได้นำเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาให้ที่พักพิงระดับจังหวัดพิจารณาความเหมาะสมต่อไป--จบ--
นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถาม
ผู้สื่อข่าวเรื่องชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงที่หนีภัยการสู้รบในพม่าเข้ามาในพื้นที่ จ. ตาก ดังนี้
1. ทหารรัฐบาลพม่าได้ปฏิบัติการกวาดล้างกองกำลังชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยงบริเวณชายแดน
ไทย-พม่า เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2543 เป็นผลให้ชนกลุ่มน้อยกะเหรี่ยง จำนวนประมาณ 1,500 คน ทะลักเข้ามาในเขตไทย โดยในชั้นแรกได้เข้ามาอาศัยที่โรงเรียนบ้านหนองบัว ต. อุสุ อ. ท่าสองยาง
จ. ตาก ต่อมา หน่วยทหารในพื้นที่ได้จัดตั้งพื้นที่พักรอ (Holding Area) ที่อ่างเก็บน้ำบ้านหนองบัว ซึ่ง
อยู่ใกล้เคียงกัน แต่มีความสะดวกเรื่องแหล่งน้ำมากกว่า
2. ขณะนี้ ทางการไทยได้ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยมาลาเรียที่ 5 หน่วย
อนามัย NGOs และ UNHCR เข้าไปให้ความช่วยเหลือแล้ว
3. เจ้าหน้าที่ของไทยได้ดำเนินการสัมภาษณ์ผู้พลัดถิ่นดังกล่าวว่าประสงค์จะเดินทางกลับ
หรือไม่ หากประสงค์จะเดินทางกลับ ก็จะได้อำนวยความสะดวกให้เดินทางกลับ (spontaneous return) เมื่อสถานการณ์ปลอดภัย แต่หากไม่ประสงค์จะเดินทางกลับ จะได้นำเรื่องให้คณะกรรมการพิจารณาให้ที่พักพิงระดับจังหวัดพิจารณาความเหมาะสมต่อไป--จบ--