กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯนับเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
โดยจากรายงาน World Economic Outlook ของ IMF เศรษฐกิจสหรัฐฯมีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.4, 4.2 และ 5.2 ในปี
1998, 1999 และ 2000 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ การใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม
(sound macroeconomic policies) ความสามารถทางการผลิตที่เพิ่มขึ้น (strong productivity)โดยเฉพาะการผลิต
ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และประสิทธิ-ภาพของแรงงานที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความกังวลว่าระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
ซึ่งในที่สุดอาจแตกและนำไปสู่การหดตัวอย่างรุนแรง (Hard Landing) ดังนั้น Federal Reserve Bank ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลนโยบายการเงิน
จึงได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ย (Discount Rate) เพิ่มขึ้น นับจากปลายปี 1999 ตลอดถึงปี 2000 จากร้อยละ4.5 สู่ร้อยละ 6.0 เพื่อลด
ความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ผลของการขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ในปลายปี 2000 เริ่มส่งสัญญานการชะลอตัว
เป็นที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2001 จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยผลสำรวจค่าเฉลี่ยของ Consensus
Economic Inc. ระบุว่าอัตราการขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ จะลดลงเป็นร้อยละ 3 ในปี 2001 ส่งผลให้ Federal Reserve Bank
ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย (Discount Rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 6.00 เป็น ร้อยละ 5.50 ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2001
และเป็นที่คาดว่าทิศทางของอัตราดอกเบี้ยน่าจะลดลงตลอดปี 2001 นี้ ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบายการลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดี
George W. Bush คาดว่าจะยังไม่เป็นผลในปี 2001
จากทิศทางการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวของสหรัฐฯ ในขณะที่เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด
และมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านทางทั้งตลาดการเงิน และการค้า ก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้
อาจสรุปผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯต่อไทยได้ 3 ด้าน คือ
1. ผลต่อการส่งออกไทย
ถึงแม้การขยายตัวของ GDP สหรัฐฯในปี 2001 คาดว่าจะชะลอตัวลง แต่หากพิจารณาแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ย
โดยเฉพาะการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยถึงร้อยละ 0.50 ซึ่งมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดการเงิน (ร้อยละ 0.25) นับเป็นการบ่งชี้ได้ว่า
Federal Reserve Bank ตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเมื่อประกอบกับการพิจารณาการคาดการณ์ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว
อาจคาดการณ์ได้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะเป็นในลักษณะค่อยๆปรับตัว (Soft Landing) มากกว่าการปรับตัวอย่างรุนแรง
( Hard landing) ดังนั้นความกังวลต่อการส่งออกของไทยที่อาจลดลงอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงน่าจะผ่อนคลายลงได้บ้าง
1999 2000 2001
GDP 4.2 5.2 3.2
Current Account (billion US$) -331.5 -418.5 -438.4
Inflation 1.5 2.2 2.3
Unemployment rate 4.2 4.1 4.4
Source: World Economic Outlook, International Monetary Fund, November 2000
2. ผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน
การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ส่งผลให้ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐฯลดลง ผลตอบแทนทางการเงินของสินทรัพย์
ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯลดลง ดังนั้น จะช่วยให้เงินทุนไหลออกจากไทยลดลงได้ในระดับหนึ่ง
3. ผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทย
จากการคาดการณ์การชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนทางการเงินของไทยกับสหรัฐฯ
ที่ลดลง ย่อมส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถรักษานโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ต่อไป โดยไม่ต้องกังวลต่อ
การไหลออกของเงินทุน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯนับเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
โดยจากรายงาน World Economic Outlook ของ IMF เศรษฐกิจสหรัฐฯมีอัตราการเติบโตร้อยละ 4.4, 4.2 และ 5.2 ในปี
1998, 1999 และ 2000 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ การใช้นโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่เหมาะสม
(sound macroeconomic policies) ความสามารถทางการผลิตที่เพิ่มขึ้น (strong productivity)โดยเฉพาะการผลิต
ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และประสิทธิ-ภาพของแรงงานที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี การขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นำไปสู่ความกังวลว่าระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่
ซึ่งในที่สุดอาจแตกและนำไปสู่การหดตัวอย่างรุนแรง (Hard Landing) ดังนั้น Federal Reserve Bank ในฐานะที่เป็นผู้ดูแลนโยบายการเงิน
จึงได้มีการปรับอัตราดอกเบี้ย (Discount Rate) เพิ่มขึ้น นับจากปลายปี 1999 ตลอดถึงปี 2000 จากร้อยละ4.5 สู่ร้อยละ 6.0 เพื่อลด
ความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ผลของการขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของสหรัฐฯ ในปลายปี 2000 เริ่มส่งสัญญานการชะลอตัว
เป็นที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปี 2001 จะมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยผลสำรวจค่าเฉลี่ยของ Consensus
Economic Inc. ระบุว่าอัตราการขยายตัวของ GDP สหรัฐฯ จะลดลงเป็นร้อยละ 3 ในปี 2001 ส่งผลให้ Federal Reserve Bank
ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ย (Discount Rate) ลงร้อยละ 0.5 จากร้อยละ 6.00 เป็น ร้อยละ 5.50 ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2001
และเป็นที่คาดว่าทิศทางของอัตราดอกเบี้ยน่าจะลดลงตลอดปี 2001 นี้ ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบายการลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดี
George W. Bush คาดว่าจะยังไม่เป็นผลในปี 2001
จากทิศทางการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวของสหรัฐฯ ในขณะที่เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด
และมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านทางทั้งตลาดการเงิน และการค้า ก็ย่อมได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้
อาจสรุปผลกระทบของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯต่อไทยได้ 3 ด้าน คือ
1. ผลต่อการส่งออกไทย
ถึงแม้การขยายตัวของ GDP สหรัฐฯในปี 2001 คาดว่าจะชะลอตัวลง แต่หากพิจารณาแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ย
โดยเฉพาะการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยถึงร้อยละ 0.50 ซึ่งมากกว่าการคาดการณ์ของตลาดการเงิน (ร้อยละ 0.25) นับเป็นการบ่งชี้ได้ว่า
Federal Reserve Bank ตอบสนองต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และเมื่อประกอบกับการพิจารณาการคาดการณ์ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญแล้ว
อาจคาดการณ์ได้ว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯน่าจะเป็นในลักษณะค่อยๆปรับตัว (Soft Landing) มากกว่าการปรับตัวอย่างรุนแรง
( Hard landing) ดังนั้นความกังวลต่อการส่งออกของไทยที่อาจลดลงอันเนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จึงน่าจะผ่อนคลายลงได้บ้าง
1999 2000 2001
GDP 4.2 5.2 3.2
Current Account (billion US$) -331.5 -418.5 -438.4
Inflation 1.5 2.2 2.3
Unemployment rate 4.2 4.1 4.4
Source: World Economic Outlook, International Monetary Fund, November 2000
2. ผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน
การลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ส่งผลให้ความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยไทยกับสหรัฐฯลดลง ผลตอบแทนทางการเงินของสินทรัพย์
ในรูปดอลลาร์สหรัฐฯลดลง ดังนั้น จะช่วยให้เงินทุนไหลออกจากไทยลดลงได้ในระดับหนึ่ง
3. ผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของไทย
จากการคาดการณ์การชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนทางการเงินของไทยกับสหรัฐฯ
ที่ลดลง ย่อมส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถรักษานโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ต่อไป โดยไม่ต้องกังวลต่อ
การไหลออกของเงินทุน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-