(ต่อ1) ปาฐกถา เรื่อง "ทิศทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ประเทศไทย" โดย นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 25, 2001 12:40 —กระทรวงการคลัง

        ท่านพีระศิลป์ฯ และทีมงานก็เข้ามาช่วยผม  ผมบอกท่านว่า ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการ  พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่มีรายได้ประจำไม่สามารถ Afford ในการมีบ้านได้กลับไม่มีบ้าน  จะมาบอกว่าปีหนึ่งบ้านมี Maximum demand  สูงสุดขายได้ไม่เกิน 3 ยูนิตในช่วง Peak  อันนั้นไม่จริง  นั้นคือยอดขายของคนที่สามารถ Afford ได้  คนที่ต้องการบ้านมีมหาศาลทีเดียว  เราเรียกอันนี้เป็นศัพท์ทางการตลาดว่า "Latent demand"  อยู่ที่ว่าท่านสามารถจะทำให้เขา Afford ได้หรือเปล่า  นี่คือซีกของความต้องการ  ในซีกของ Supply  NPL  เต็มไปหมด  ท่านเลือกเอาเลยว่าจะเอาบ้านอย่างดี  คอนโดหรู High-end, Medium-end, Low-end มีครบหมด แต่ว่าเป็นซากอยู่ในขณะนี้  สถาบันการเงินมีสภาพคล่องล้นอยู่ตรงกลาง ปล่อยไม่ได้  ทำไมเราไม่เอา  3  ตัวนี้มาแชร์กัน มาหา Scheme ซึ่งข้าราชการ รัฐวิสาหกิจสามารถซื้อได้ในระดับราคาที่ต่ำมาก ๆ ผ่อนยาว ๆ ให้เขา Afford ได้  หา Scheme ซึ่งคัดเลือก  NPL  ที่มีศักยภาพเข้ามาในโครงการ บางโครงการเติมเข้าไปหน่อยให้มันครบบริบูรณ์  แล้วขาย  แบงก์ก็สามารถให้ Financing ได้ ตรงนี้เรากำลังคิดกันอยู่แต่ว่าออกมาช้าเพราะว่ามันมีหลาย Party ที่เกี่ยวข้อง ต้องค่อย ๆ เจรจา  ค่อยๆ หว่านล้อม  
ที่ผ่านมาเมืองไทยมีปัญหาเพราะอะไร เพราะทุกคนคิดถึงแต่ร่มเงาของตัวเอง แบงก์คิดถึงแต่แบงก์ เอกชนคิดถึงแต่เอกชน ธุรกิจคิดถึงแต่ธุรกิจ แต่ปัญหาวันนี้มันต้องเชื่อมโยงกันหมด คำถามง่าย ๆ สภาพคล่องแบงก์ขนาดอย่างนี้ ถ้าเอกชนไม่ร่วมมือจะปล่อยสินเชื่อได้อย่างไร Demand มหาศาลต่อที่อยู่อาศัย เขาจะไม่มีทางมีบ้านเลยถ้าไม่มีการประสานงานกัน ฉะนั้นวันนี้การที่ต่างคนต่างยืน ต่างคนต่างอยู่เป็นไปไม่ได้ ต่างคนต่างอยู่แล้วบอกว่า รัฐบาลชุดนี้เข้ามาต้องทำให้ได้ ไม่มีทางทำได้ นอกจากท่านจะช่วยกัน ต่อให้เปลี่ยนอีก 10 รัฐบาล เปลี่ยนอัศวินม้าขาวจนไม่มีม้าขาวเปลี่ยนแล้ว ตอนนั้นไม่รู้จะมีอัศวินอะไรอีก ก็แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะฉะนั้นช่วงนี้ผมบอกเลยว่า เป็นโอกาสทองที่จะแก้ไข เพราะว่ามีเสียงข้างมากในสภา บสท. ไม่มีทางเกิดได้เลย ที่มาโอนหนี้ทำไม่ได้เลยถ้าในภาวการณ์ปกติ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ทีมงานนำสรุปให้ผมภายในสิ้นเดือนนี้ ถ้าออกมาเราจะออกเป็น Scheme ใหญ่ ผมตั้งชื่อโครงการไว้ว่า "ซื้อบ้านช่วยชาติ" เพราะว่ากองนี้ถ้ามันหมุนได้อสังหาริมทรัพย์เริ่มเดินขึ้นมา ทุกอย่างจะเริ่มตามมาทีละขั้นๆ แล้วอย่าบอกว่าทำแล้ว 1 เดือนเห็นผล เป็นไปไม่ได้ รอมา 4 ปียังไม่มีอะไรเลย แต่นี่เป็นจุดเริ่มต้น กลไกเริ่มเดินนี่คือว่า จะทำอย่างไรให้ภาคเอกชนเข้มแข็ง NPL เปลี่ยนมันเสียให้มันเป็นหนี้ที่ดี แค่นั้นไม่พอ วันนี้ เราบอกว่า ภาวะสงครามใหม่จะเกิด เราก็บอกว่า IFCT บอย. เตรียมวงเงิน 10,000 ล้าน ดอกเบี้ยต่ำ คอยให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีปัญหาสภาพคล่อง เตรียมไว้แล้ว เมื่อวาน EXIM Bank Provide มาอีกก้อนหนึ่ง สำหรับผู้ส่งออกรายเล็ก ซึ่งเวลาไปหาแบงก์แล้ว แบงก์ไม่ให้ เขาจะคอยช่วยภายใน 1 หรือ 2 ปีต่อจากนี้โดยใช้ Concept ว่า 3 ประสานเพื่อการส่งออกคือ กระทรวงพาณิชย์ บอย. แล้วก็ EXIM Bank นี่คือสิ่งที่เราเตรียมไว้เพื่อให้เอกชนแข็งแรง แต่หัวใจสำคัญที่อยากจะย้ำวันนี้ เผื่อว่าท่านที่มีเพื่อนนักธุรกิจต่างประเทศ ภาคเอกชนจะไม่สามารถแข็งแรงได้ถ้าขาดการลงทุนจากต่างประเทศ อันนี้สำคัญ เราส่งสัญญาณถูกมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ไม่ได้ส่งสัญญาณผิด แต่ต้องการการตอกย้ำให้ฝรั่งนักลงทุนรู้ว่าเราส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ประเทศนี้จะไม่มีทางฟื้นฟูได้ เข้าสู่ภาวะปกติได้ ถ้าไม่มีเม็ดเงินทุน ผมเรียนท่านแล้วว่า วันนี้ปัญหาธุรกิจเอกชนไทยนั้น มีปัญหา 2 ตัว 1) ทุนไม่พอ 2) สินทรัพย์สภาพคล่องมีไม่พอ สภาพคล่องมีไม่พอนั้น เราแก้ให้ท่านแล้ว อย่างน้อยภาครัฐช่วยแล้ว
ก่อนเข้ามาสู่ตำแหน่ง แบงก์รัฐไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ เอกชนก็ไม่ยอมปล่อยสินเชื่อ ผมใช้เวลาปล้ำอยู่ประมาณ 3-4 เดือน วันนี้คุณพีระศิลป์ฯ ก็ช่วยปล่อย กรุงไทยก็ช่วยปล่อย แบงก์รัฐช่วยปล่อยหมด เพราะทำไม? เพราะในอดีตไม่มีใครยอมปล่อยกลัวว่าปล่อยแล้วเป็น NPL ติดคุก ในภาวะที่เอกชนต้องการสินเชื่อ แต่ท่านไม่ปล่อยสินเชื่อเพราะกลัวติดคุก สุดท้ายไม่มีคุกจะติด เพราะไม่มีอาหารจะเลี้ยงคนคุก ผมใช้เวลาหลายเดือน ตัวเลขมันฟ้องออกมา ระบบสินเชื่อทั้งระบบในรอบ 3 เดือนมานี้เพิ่มขึ้นมาตลอด เป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี พอตัวนี้มันขับเคลื่อน NPL อาจจะเพิ่มขึ้น ไม่เป็นไร เพราะว่า NPL ส่วนใหญ่โยกออกมาแล้ว แต่แบงก์เอกชนเริ่มเข้ามาแล้ว เพราะฉะนั้นเราทำตรงนี้ให้ดูเป็นตัวอย่างว่า สภาพคล่องไม่มีปัญหา แต่ตรงเม็ดทุนสิมีปัญหา
ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ สัดส่วนของตัว I Investment ต่อ GDP ทั้งหมดตกประมาณ 30% เศษ แต่วันนี้ตัว I Investment มันเหลือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ต้น ๆ ตรงนี้หายไปเลย เราต้องให้ความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างประเทศให้เขาเข้ามา ไม่ใช่เข้ามาแบบสมัยก่อน มาตีหัวเข้าบ้านแล้วออกไป แต่มาเพื่อมาเติมทุนให้กับธุรกิจเอกชน ถ้าคุณเข้ามาลงทุน มาลงทุนได้ เราสนับสนุน เรามี NPL ท่านเข้ามา Restructure ปรับโครงสร้าง แล้วท่านต้องอยู่เพื่อให้เขาเติบโต ไม่ใช่ขายสินทรัพย์แล้วเอาเงินนั้นกลับไป
ฉะนั้น ตัวนี้เป็นตัวที่รัฐบาลชุดนี้ต้องการเร่งให้มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาเมืองไทยแน่นอน ส่วนที่มีข่าวว่า ส่งสัญญาณว่าผิดนั้น ไม่ผิด เพียงแต่การส่งข้อมูลนั้นไม่ครบถ้วน เช่นเรื่องที่บอกว่า ให้ต่างประเทศถือหุ้นในกระทรวงคมนาคมไม่เกิน 25% อันนั้นเป็นเพราะว่าวุฒิฯ รับร่างไม่เกิน 25% ถ้าผ่านเข้าในสภา ถ้าแก้ตอนนั้นก่อนมันจะมีปัญหาต้องรับมาก่อน เมื่อเอกชนมีปัญหาก็ร้องเรียนขึ้นมา ก็ค่อยมาแก้ในสภา เพราะแก้แค่บางมาตราเท่านั้นเอง อันนี้จะง่าย ยังไม่มีอะไรเป็นปัญหาใหญ่
เรื่อง Spread แบงก์ ที่บอกว่า ฝรั่งจะไม่มาแล้วเป็นไม่ได้ พวกฝรั่งนักลงทุนไม่โง่หรอก เวลาเขามองดูเขาไม่มาดูแค่ Spread แบงก์ เขาดูทั้งประเทศ วุฒิฯ ต้องคุยกับแบงก์ชาติให้ชัดเจน ข้อมูลเป็นยังไง แล้วเจรจากันอย่างไร พูดจากันดี ๆ ให้นักลงทุนเขาเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้เป็น Missignal หรือส่งสัญญาณผิด ไม่มีแม้แต่น้อย ฉะนั้นเวลาจะไปต่างประเทศ ก็จะไป Confirm ในสิ่งเหล่านี้ให้กับนักลงทุนต่างประเทศ นี้คือภาคของเอกชน เราผ่านปัญหาที่ 3 บสท. ภาคการเงินไปแล้ว
ปัญหาที่ 4 ก็คือเรื่องของภาคประชาชน ที่ผมเรียนตั้งแต่ตอนต้น ถ้าเกษตรกรยากจน พวกท่านลำบากแน่นอน ตงฮั้วก็จะขายไม่ออก เพราะไม่มีใครซื้อ ไม่มีสตางค์ ฉะนั้นเกษตรกรจำเป็นที่สุด เมื่อเราออกนโยบายพักหนี้ ทุกคนโจมตีว่าอันนี้จะทำให้เกิดนิสัยเสีย ธ.ก.ส. ต้องเจ๋ง วันนี้กลับปรากฏว่า Settle ง่ายที่สุด เพราะเกษตรกรนั้นครึ่งหนึ่งไม่เข้าวงการ อีกครึ่งหนึ่งเข้าวงการ และไม่มีการเบี้ยว ธนาคารประชาชนเริ่มเข้ามา ตอนเริ่มทำบอกว่า ขืนปล่อยหนี้ให้คนจน NPL บานไม่รู้โรยแน่ เอาเงินเด็กหมายถึงเงินออมสิน ไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย วันนี้ปรากฏว่า NPL ของเรื่องนี้ไม่ถึง 1% แต่อันนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นในเมืองไทย แต่เกิดขึ้นในต่างประเทศ และประเทศพัฒนาแล้วทั้งนั้น ผมเคยบอกว่า ให้ไปอ่านในนิตยสารฝรั่งฉบับหนึ่งเขียนเลยทุก ๆ ประเทศ เมื่อเขาทำ People bank NPL ต่ำมาก เพราะคนยากจนเวลาที่ก่อหนี้ ท่านลองนึกภาพดู พ่อค้าแม่ค้าตามตลาด ขนาดตำส้มตำมีคนไปปล่อยสินเชื่อ กินดอกเดือนหนึ่งเท่าไหร่ เขาไม่เคยเบี้ยวหนี้ จะเบี้ยวทีด้วยความซ้ำใจ รู้สึกว่าไม่เคยเบี้ยวเลย จะเบี้ยวทีรู้สึกเป็นบาป ไม่ใช่หมื่นล้านแล้วเบี้ยวอย่างเมืองไทย คนละเรื่องกัน
สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่าโครงการธนาคารประชาชน มันเริ่ม Function จะขยายวงเงินต่อไปเพื่อรองรับคนตกงาน และตรงนี้นี่เองที่เป็นหัวใจสำคัญ ฉะนั้นในเมื่อการพักหนี้เข้าสู่เกษตรกร กองทุนหมู่บ้านเริ่มเข้าไป ปลายปีนี้ประมาณ 20,000 ล้าน ธนาคารประชาชนเริ่มออกมา แต่ละ Segment ของสังคมจะได้รับการ Take care ของมัน ตรงนี้นี่คือเจตนาที่ว่าทำไมถึงต้องทำเรื่องนโยบายพักหนี้ฯ ธนาคารประชาชน กองทุนหมู่บ้านถ้าท่านออกต่างจังหวัดท่านจะเห็นเลยว่า ส่วนใหญ่ของประเทศถ้าจนอย่างนั้น ไม่มีทางที่เมืองไทยจะเจริญได้ ท่าน Promote ให้ไปท่องเที่ยวไทย ฝรั่งไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด ไปอยู่โรงแรม แต่ไม่มีสินค้าสินค้าที่จะซื้อ เพราะชาวบ้านไม่ได้ผลิตสินค้าดี ๆ ออกมาได้ การท่องเที่ยวก็ไม่มีความหมาย สินค้าไม่ทันออกเกษตรกรก็มีหนี้ท่วมตัว เขาจะมาซื้อสินค้าคุณได้อย่างไร ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ป็นสิ่งที่รัฐบาลทำไปเพื่อสร้างภาคประชาชนให้เข้มแข็งขึ้นมา ไล่มา 3-4 ตัวท่านก็จะเริ่มเห็นว่าทำไมเราไปดูด้าน Macro ทำไมเราเริ่มเน้นตัว G ทำไมเราเริ่มให้ความสำคัญกับการส่งออก ทำไมเราให้ความสำคัญกับ บสท. ทำไมเราต้องบีบบังคับให้แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อ จริง ๆ แล้ว ถามคุณพีรศิลป์ได้ ผมไม่เคยบีบบังคับเขาเลย ผมเพียงแต่ไปถึงบอกว่า ท่านเรามาอยู่ในฐานะแบงก์รัฐ เราต้องเสียสละ ถ้าแบงก์รัฐไม่เข้าไป เอกชนตาย คนก็ตกงาน ท่านช่วยผมเอง กรุงไทยช่วยผมเอง SCIP ศรีนครช่วยผมเอง อนาคตผมเชื่อว่าเอกชนก็เริ่มเข้ามาช่วย เพราะอะไร? เพราะว่าวันนี้ทหารไทยประกาศแล้วว่า จะทำโครงการคล้ายๆ อย่างนี้ ไทยพาณิชย์ก็เริ่มเข้ามาแล้ว อนาคตผมเชื่อว่าแบงก์ใหญ่ ๆ เริ่มเข้ามาแน่นอน
มาถึงจุดนี้ ก็มาสู่คำถามข้อใหญ่ ๆ ที่ผมเคยบอกไว้ นี่คือปัญหาที่เราพยายามขับเคลื่อน และเราหวังว่าปีหน้าภาวการณ์ข้างนอกจะไม่รุนแรง เราไม่ได้หวังเห็น GDP กระโดด เป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่เราต้องการว่าทำยังไงประคองเรือลำนี้ให้ฝ่าพายุนี้ไปได้ แล้วก็พุ่งทะยานเมื่อจังหวะเปิดให้เหมาะสม แล้วก็มาถึงว่าเวลาทะยานท่านจะเอาอะไรไปทะยาน ในเมื่อปัญหาใหญ่คือว่า ประเทศนี้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ประเทสอื่นที่เคยอยู่ท้ายแถวบัดนี้แซงหน้าไปแล้ว จะทำยังไงให้ประเทศนี้กลับมาเป็น Competitive nation มีศักยภาพในการแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง หัวข้อนี้ผมสนใจ เขียนบทความมาตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ กลับมาผมเห็นสมุดปกขาวเล่มแล้วเล่มเล่า มันไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ อันนี้ต้องยอมรับความจริง แต่ต้องถามว่าถ้าจะทำให้ประเทศมีศักยภาพการแข่งขัน ต้องถามโจทย์ก่อนว่า ท่านคิดจะเป็นอะไรก่อน ไม่ใช่อย่าง 4-5 ปีที่แล้วที่บอกว่า อ้าวล่ะ จะให้ประเทศมีความสามารถเชิงแข่งขัน ฉะนั้นต้องทำคนให้แข่งขันได้ ถามว่าให้คนแข่งขันได้ แข่งขันอะไร? ถ้าท่านตอบโจทย์นี้ไม่ได้ การศึกษามีทิศทางไหม? ไม่มีทิศทาง
ฝึกมนุษย์ให้เป็นมนุษย์นั้นต้องทำอยู่แล้ว เป็น Bottom line ของการศึกษา ต้องทำให้คนเป็นคนดีอยู่แล้ว นั่นไม่ใช่ทิศทางการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาที่ออกข่าวเป็นช็อต ๆ นั้นเป็นแค่กรอบของมัน 9 หรือ 12 ปี หรือตลอดชีวิตนั้นเป็นแค่กรอบ แต่หัวใจมันอยู่ตรงไหน? อยู่ที่ว่าเราต้องตั้งโจทย์ก่อนว่า เราจะให้ประเทศของเรามีความสามารถเชิงแข่งขันอะไร? จะทำให้ประเทศอยู่ตรงไหนก่อน? ตรงนี้สำคัญมาก ถ้าถามผมตอนนี้ ถ้ามองเชิงเศรษฐกิจ ถ้าเราโชคดีพอ รวมพลังกันฝ่าคลื่นลมนี้ไปได้
ผมหวังว่าจะเห็นประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่ใช้ภาษาฝรั่ง แปลเป็นไทยว่า เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีพลังก็แล้วกัน High-performance economy ไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจที่มีแต่เครื่องยนต์กลไกในการรับจ้างผลิตทำของและส่งออก ไม่น่าภูมิใจแม้แต่น้อย เราภูมิใจมา 10 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่สมัย Devalue เมื่อปี 2518 แล้วเราก็ดีใจกับมัน มีการลงทุนจากต่างประเทศมาปั๊บ ใช้ Cheap labour ผสม รับจ้างทำมาแล้วก็ขายออกไป แต่ไปขายปั๊บ เปลี่ยนยี่ห้อทันที เราภูมิใจกับสิ่งเหล่านั้นมา 10 กว่าปี วันนี้พอเราเจอจีนเข้าไป เขาเปลี่ยนคนรับจ้างทำของแล้ว เขาบอกว่าพี่ไทยเรารับจ้างทำของถูกไม่พอ ไปหาคนอื่นรับจ้างทำของดีกว่า แทนที่เราเคยภูมิใจนักหนาว่า ประเทศไทยสบาย ๆ อยู่ดี ๆ แล้วเราไปได้เอง วันนี้เราไม่ต้อง Devalue ค่าเงินคนอื่นเขาแย่ลง เราดีขึ้น แล้วเงินต่างชาติจะไหลเข้ามาเอง อันนั้นเป็นการมองโลกในแง่ดีมาก ๆ แต่รับประกันได้ว่าไม่ได้เด็ดขาด มาได้ไม่นานก็ไป อีกซีกหนึ่งก็บอกว่า แย่แล้ว ทุกอย่างแย่แล้ว สงครามจะเกิดแล้ว ประเทศไทยไม่รอดแล้ว อันนั้นก็ร้ายแบบสุด ๆ จนไม่รู้ว่าร้ายไปถึงไหน มาหัดเผชิญความเป็นจริง ถ้าท่านต้องการให้ประเทศนี้เป็น Hi-performance economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีพลัง หมายความว่า ท่านต้องมีสินค้าบริการที่ Competitive ได้ ที่แข่งขันได้ ไม่เพียงเท่านั้น สินค้าเหล่านั้นต้องเชื่อมโยงมาสิ่งที่เป็น Core competency หรือว่าความสามารถจริงๆ ของเรา สามารถทำให้ท้องถิ่นเจริญ ทั้งท้องถิ่น ทั้งประเทศ ไม่ใช่กระจุกตัวอยู่ในโรงงานไม่กี่โรง และก็เอาค่าจ้างแรงงาน และเอาแรงงานราคาถูกจากต่างจังหวัดเข้ามาผลิต แล้วไล่เขากลับไป ที่เหลือก็ทำงานต่อไป อย่างนั้นเราไม่เรียก Hi-performance economy Hi-performance economy หมายความว่า สินค้าที่ผลิตออกไป หรือการบริการท่องเที่ยว ต้องผูกต่อเนื่องถึงการผลิตของแต่ละภูมิภาค โรงงานเป็นเพียงจุดการประกอบ การผลิต และการส่ง สิ่งเหล่านี้คือหัวใจสำคัญ
มาสู่คำว่า Core competency เกษตรนี้แน่นอน สินค้าเกษตรเป็นหัวใจ อุตสาหกรรมที่เป็น Star ต้องแน่นอน ผมไม่สามารถบอกตอนนี้ได้ว่ามีกี่อุตสาหกรรม แต่ผมมีอยู่ในใจ ตรงนี้จะโยงไปสู่สิ่งที่ผมกำลังจะเริ่มทำไปเรื่อย ๆ คือสิ่งที่ผมเรียกว่า Economic restructuring จะใช้จังหวะ 3 ปีที่รัฐบาลนี้อยู่ปรับปรุงสร้างเศรษฐกิจ เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอุตสาหกรรมจะเหมือนกันหมด วันนี้ทรัพยากรมีจำกัด บางอย่างต้องช่วยเสริมเขามากหน่อย เป็นหัวหอกในอนาคตของเรา บางอย่างเป็นสิ่งซึ่งต้องรักษาไว้ เพื่อประคองเศรษฐกิจ จนกว่าจะถึงอนาคตข้างหน้า สิ่งเหล่านี้เรามีเป้าหมายอยู่ในใจ และเราก็จะใช้กลไกในเชิงของภาษีอากร ปรับโครงสร้างภาษีอากร ในเชิงของการให้การช่วยเหลือจากสถาบันการเงินเข้าไปช่วย แล้วก็ใช้กลไกของการปรับโครงสร้างหนี้ในขณะนี้นี่แหละ เป็นการช่วยอุตสาหกรรม ซึ่งเราคิดว่าเป็นความหวังในอนาคตของประเทศนี้ ฉะนั้น การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม ต้องเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน ไม่ใช่เกษตรก็ผลิตแต่ Commodity พืชไร่แล้วขาย อันนั้นคือเกษตรแบบดั้งเดิม เกษตรสมัยใหม่คือว่า ผลิตเป็น Commodity ส่วนหนึ่งคัดคุณภาพที่ดีพอ จำหน่าย ส่วนหนึ่งส่งต่อ Value chain เข้าสู่อุตสาหกรรมการแปรรูป การตลาดต้องเข้ามาผสม ฉะนั้น กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ ต้องไม่แยกออกจากกัน ต้องเชื่อมโยงกัน
วันก่อนผมไปที่กระทรวงเกษตรฯ ผมบอกเขาเลยว่า ถ้าพาณิชย์เชื่อมโยงกับเกษตร แชร์ข้อมูลกัน ภายใน 2-3 ปีรับรองว่า การผลิตจนล้นตลาดจะไม่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาโรงงานผลิต Order ไม่อั้น การตลาดก็ขายไม่รู้เรื่อง 2 อันไม่เคยชนกัน มันก็เกิดภาวะอย่างนี้ทุก ๆ สินค้า ถึงเวลารัฐบาลก็ต้องมาจำนำข้าว จำนำสินค้าเกษตร ถามว่าแก้ไขไม่ได้หรือ? บางทีมันแก้ไขไม่ได้ เพราะต่างพรรค ต่างกระทรวง คุยกันลำบาก แต่วันนี้พรรคเดียวดูครบถ้วน ถ้ายังแก้ไม่ได้ ก็ไม่รู้จะแก้อย่างไร เรียนกันตรงๆ
ผมโยงกลับมาสู่เรื่องเมื่อสักครู่นี้ เพราะเราต้องตั้งโจทย์ก่อนว่า เราต้องการเป็นอะไร? เราต้องการเป็น Hi-performance economy ถ้าถามใจลึก ๆ อีก ก็อยากให้เมืองไทยมองไปในเอเชียแล้ว เป็น 1 ใน 5 ขอเป็นประเทศการค้าที่ทุกคนนับถือ ที่ทุกคนอยากทำการค้าด้วย โดดเด่นเป็น Top five trader ของชาติเอเชีย ผมอยากจะเห็นเมืองไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศซึ่งอยู่ในเอเชีย ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศต้องการเข้ามาลงทุนในประเทศนี้ จะทำอย่างไร? นี่คือการบ้าน ถ้าท่านไม่ตั้งโจทย์นี้ การบ้านไม่ออก ต้องทำอย่างไร เมื่อนักลงทุนจะมาเอเชียคิดถึงเซี่ยงไฮ้ ต้องคิดถึงกรุงเทพฯ ควบคู่กันไป 5 อันดับ ทำอย่างไรเมืองไทยเป็น 1 ใน 5 ของ Top tourist spot ที่ทุกคนอยากมาท่องเที่ยว ตั้งโจทย์เหล่านี้ออกมา ทำอย่างไรที่จะให้เศรษฐกิจของทั้งเมืองไทยนั้น ทั้งพอเพียงและส่งออกได้
จากนั้น ท่านก็มาตอบคำถามอย่างที่ผมกล่าวเมื่อสักครู่นี้ 1.Economic restructuring ต้องเกิด 2. ยุทธศาสตร์ของ Geo-politic ต้องซีเรียสกับมัน เดิมทีเราพึ่งพิงสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น วันนี้เกมมันเปลี่ยนไปแล้ว วันนี้จีนเข้ามาผสมแล้ว จีนเข้า WTO ความหมายยิ่งใหญ่ ยิ่งใหญ่เพราะอะไร เพราะจีนมีความหมาย 2 นัย 1) เป็นผู้ร่วมที่ดี 2) เป็นคู่แข่งขันที่อันตราย ฉะนั้นเราจะต้อง Manage กับจีนในทิศทางที่ว่า เราเป็นทั้งคู่แข่งและคู่ร่วมทางการค้า พ่อค้ารู้ดีว่าคำนี้แปลว่าอะไร Co-competition ทั้งแข่งขัน ทั้ง Coordination และถ้าเราเล่นไพ่ 4 ใบนี้ที่สมดุล โดยใช้เราเป็นพลังที่อาเซียน วันนี้เราจะต้องไม่ใช่เล่นที่คอยตามบทผู้นำอาเซียนคนอื่น ไปเพียงแค่ยืดอกแล้วถ่ายรูปถึงเวลาให้ใส่ชุดแล้วชูมือขึ้นมา "This is Thailand." ไม่ใช่ ไทยต้องให้มีบทบาทที่โดดเด่นในอาเซียน โดดนำ เพราะวันนี้ผมไม่เชื่อว่ามาเลเซียจะนำได้ ไม่เชื่อว่าสิงคโปร์จะนำได้ เพราะสิงค์โปร์นั้นคู่แข่งเขาเยอะ ไม่เชื่อว่าฟิลิปปินส์จะนำได้ แต่ไทยเราสามารถหาบทที่จะเล่นได้
คนเราเวลายืนบนเวที จะเด่นหรือไม่เด่นอยู่ที่เราหาบทที่จะเล่น เล่นแล้วเด่น แล้วนำ ถ้าเรามีแต่ความคิดที่บอกว่าเจอคนอื่นแล้วเรากลัว ทุกอย่างพันธมิตรหมด ทุกอย่างชนแก้วหมด เพื่อการต่างประเทศ เพื่อสัมพันธไมตรีที่ดี เรื่องนี้จบไปตั้งนานแล้ว สมัยนี้ชนแก้วอย่างไรท่านก็ยังรักผม ด่ากันอย่างไรท่านก็ยังมาง้อผม จะชนกันอย่างไร ท่านกับผมก็ยังเป็นคู่ค้าซึ่งกันและกัน คบกันไปกอดคอกันไป เหยียบเท้ากันไป ใช้เวทีอาเซียนเข้าไปสู่เวทีของ 4 ที่ผมกล่าวเมื่อสักครู่นี้ ระหว่างจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ยุโรป เวทีนี้จะเปลี่ยน การเจรจาการค้าต้องเกิดขึ้น จะทำได้มากน้อยแค่ไหนอยู่ที่ตัวเราเองว่าเตรียมตัวมาพร้อมแค่ไหน ถ้ายังบอกว่าพาณิชย์แย่งงานกระทรวงการต่างประเทศ อย่างนี้ไม่มีทาง!
ถ้ารวมพลังเป็นหนึ่ง มานั่งรวมกันว่า จะเจรจาอย่างไร แต่ละ Trip ที่ผู้ใหญ่จะออกไปต่างประเทศ ต้องคุยก่อนว่า Trip นี้เราไปแล้วต้องการอะไรกลับมา ไม่ใช่ว่าให้กระทรวงแต่ละกระทรวงไปนั่งเขียนบอกว่า วันนี้ต้องมีประกาศอะไรออกมา นั้นไม่ใช่วิสัยพ่อค้าที่ดี วิสัยพ่อค้าที่ดีก็คือว่า เราต้องการอะไรจากการประชุมนัดนี้ ข้าราชการกระทรวงมีหน้าที่เจรจาให้ได้ตามสิ่งที่เราต้องการ และเขียนเจตนารมณ์เป็นคำประกาศการประชุม Summit ใด ๆ ขึ้นมา อันนั้นนั่นแหละคือการต่างประเทศที่แท้จริงในอนาคตข้างหน้า อยู่ที่ว่าเราเล่นหรือเปล่า ถ้าท่านมี Economic restructuring ท่านมีเวทีต่างประเทศที่สามารถสร้างพลังได้ ไม่ใช่เป็นลูกจ้างกระจ๊อก ท่านก็สามารถผลักสิ่งเหล่านี้ไปในเวที ซึ่งท่านสามารถใช้ประโยชน์ได้
มาถึงในประเทศ นักรบรุ่นใหม่ที่ผมเห็นข้างหลังอายุน้อย ๆ นี่คือความหวังของประเทศไทย เมื่อกี้ผมกล่าวตอนต้น พวกท่านที่อยู่ข้างหน้าเป็นรุ่น Second generation รุ่น First generation มีลูกมา ลูกก็ไม่ยอมค้าขายตาม ผมจะเปลี่ยน Entrepreneur ใหม่ต้องเกิด วิกฤตการณ์ครั้งนี้จะเป็นโอกาส คนที่ตกงานมาต้องได้รับโอกาส Training ธนาคารประชาชนต้องให้โอกาสกู้ยืม ฟอร์มมาเป็นทีม 4-5 คนทำธุรกิจใหม่ สร้างอันนี้ขึ้นมา และผมเชื่อว่า หลาย ๆ สถาบันการเงิน จะก้าวกระโดดตามมาแน่นอน นี่คือโอกาสจริง ๆ ในสหรัฐอเมริกากว่าจะมีผู้ประกอบการเต็มไปหมด แต่เดิมมีธุรกิจใหญ่ ๆ ไม่กี่แห่ง คนส่วนใหญ่จบการศึกษาแล้วเข้า Wall Street เข้าออฟฟิศ แต่พอมีช่วงหนึ่งประมาณ 20-30 ปีที่แล้ว เศรษฐกิจตกต่ำ ทุกคนส่วนใหญ่ออกจากงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลไกที่ White collar คือคนที่มีการศึกษาถูก Lay off เป็นแถวเลย Wall Street ที่นิวยอร์ก Lay off คนงานออกมา พวกนี้ได้รับส่วนบุญจากสิ่งที่เราเรียกว่า สมาคม SMEs ของอเมริกา เขาปล่อยสินเชื่อ เขาให้ความช่วยเหลือเรื่องภาษี อุ้มชูเขา Train เขาให้ทำธุรกิจเป็น 20 ปีให้หลังคนเหล่านี้คือ ไมโครซอฟท์ บิล เกตส์ พวกนี้เกิดขึ้นมายุคหลังทั้งสิ้น ถ้าไม่มีวิกฤตการณ์ขณะนั้นจะไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมา
ในเมืองไทยอันนี้เป็นสิ่งที่เป็นโอกาสภายใต้ภาวะวิกฤตที่มันเกิดขึ้นมา วันนี้กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับการมอบหมายภารกิจพิเศษ คือว่า ส่วนหนึ่งของกระทรวงอุตสาหกรรมจะทำหน้าที่ในการสร้าง New entrepreneur จับคนมา Retrain ต้นเดือนหน้าเราจะมีการประกาศ Package ช่วยเหลือเรื่องคนตกงาน เพื่อมา Retrain แล้วถามว่าจะเข้าไปทำอะไร ถ้าเขาต้องการหางานใหม่ กระทรวงแรงงานต้องช่วย ถ้าเขาต้องการประกอบการ ธนาคารออมสินต้องเข้ามา บอย. จะเข้ามาให้สินเชื่อไปลองดู ถามว่ามั่นใจเต็มร้อยไหม? ไม่มั่นใจ โดยปกติคนค้าขายล้มหลายรอบกว่าจะยืนขึ้นมาได้ ประเทศอื่นก็เหมือนกัน แต่เราจะใช้ระบบที่ Cross guarantee คนเหล่านี้ท่านลองนึกภาพดู คนทำงานแบงก์ กำลังมีการปลดคนงาน คนเหล่านี้การศึกษาดีทั้งสิ้น มีบ้านมีช่องมีพ่อแม่ทั้งสิ้น พ่อแม่เขาดูแลอยู่ เรื่องการเป็นหนี้ผมไม่ห่วง นี่คือกลไกในการสร้าง New SMEs, New entrepreneur ขึ้นมา เพื่อให้มีพ่อค้าเต็มไปหมด เพื่อสร้างงาน ไม่ใช่ของานทำ ทุกวันนี้จบปีละเท่าไร แล้วก็หางานทำไม่ได้ นี่คือสิ่งที่ผิดผลาด กลับตาลปัตรไปหมด นี้คือการสร้างนักรบใหม่ของประเทศไทย ต่อให้เอกชนดีแค่ไหน ปรับโครงสร้างดีแค่ไหน ถ้าภาครัฐเฉื่อยแฉะ ใช้ไม่ได้
วันนี้ท่านนายกฯ พยายามที่จะให้มีการปฏิรูประบบราชการ หลายคนโจมตีบอกว่า Workshop ได้ผลหรือ? มันไม่เร็วไปหน่อยหรือ? จับสูตรนั้นผสมสูตรนี้ออกมา ผมจะเรียนท่านอย่างนี้ ถ้าเคยทำธุรกิจท่านจะรู้ เวลาท่านจะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรแล้วแต่ หน่วยงานนี้ไปคิดว่าจะเปลี่ยนอย่างไร คิดกันให้ตายก็ไม่ยอมเปลี่ยน เพราะคนเราไม่อยากเปลี่ยนแปลงถ้าไม่จำเป็น ถ้าท่านบอกว่า กระทรวงนี้ให้คิดมาว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ถ้าไม่มีคนทุบ จะไม่เปลี่ยน ผมก็ตั้งโจทย์บอกว่า เอาละขึ้นมาเลย ทุกคนมานั่งคุยกัน แล้วถ้าทุบเปรี้ยงลงไป เป็นกระทรวงอย่างนี้แหละ ถามว่าเกิดผลเสียไหม? ไม่เกิด แต่ถ้าทุบเปรี้ยงออกมาแล้ว เกิดยังไม่ชัดเจน ปรับใหม่ ๆ มันมีจุดเริ่มต้นแห่งการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าท่านไม่ทุบออกมาให้ได้ อีก 2-3 ปีก็ยังไม่ออก เห็นไหม? เขาพูดปฏิรูปเรื่องราชการมากี่ปีแล้ว? มีอะไรไหม? เขาพูดถึงเรื่องแปรรูปรัฐวิสาหกิจมากี่ปีแล้ว? มีอะไรเกิดขึ้นไหม? เพราะอะไร? ถ้าการเมืองไม่แน่น การทุบไม่ใช่ของง่าย แต่ถ้าการเมืองแน่น ทุบได้เลย พอทุปปั๊บ แก้ไข ๆ เหมือนกับเวลาท่านเปลี่ยนโครงสร้างบริษัท มันต้องเปลี่ยนไปก่อน แล้วก็ Tuning มันไปให้ดีที่สุด
รัฐวิสาหกิจผมพยายามไปพูดหลาย ๆ ที่ว่า อันนี้คือความหวังของเมืองไทย ทำให้มันมีพลังและก็เปลี่ยนฐานะการเงินให้เขาเข็มแข็ง ให้เขามีการบริหารงานที่ดี เอาเข้าจุดทุนหลักทรัพย์ฯ ให้มีทิศทางการแข่งขัน อีกหน่อยกรรมการแต่ละท่าน ต้องมีหน้าที่เต็มที่ ไม่ใช่ไปแค่ Endorse เพราะฉะนั้นการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นสิ่งที่นายกฯ และพวกผมต้องการผลักดันมากที่สุด
ปตท. ถ้าไม่มีฟ้าผ่าอะไรเกิดขึ้น เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ แน่นอน เพียงแต่ว่า Size ขนาดไหน ราคาเท่าไร ผมไม่อยากให้ราคาสูงเกินไป แต่อยากให้ชาวบ้านทุกคน คนไทยมีสิทธิที่จะซื้อเป็นเจ้าของ และค่อยๆ ขยายไปอนาคตข้างหน้า เพิ่มทุนข้างหน้า เพราะฉะนั้น ปตท. จะเริ่มแน่นอน อินเตอร์เน็ตไทยแลนด์เกิดแน่นอน หนังสือพิมพ์แซวผมว่า ผมเชียร์อินเตอร์เน็ต ที่เชียร์ไม่ใช่รักใคร่ชอบพอกันเป็นพิเศษ ที่เชียร์เพราะว่า นี้เป็นหุ้นตัวแรกของ New economy ของ Knowledge economy เรื่องของอินเตอร์เน็ต เป็นความหวังของคนหนุ่มสาวที่เขาตั้งบริษัทเหล่านี้ขึ้นมา ทำจนกระทั่งได้กำไร แล้วเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เราต้องให้โอกาสสิ่งเหล่านี้ แล้วต้องสำเร็จ และเป็นตัวอย่างที่คนหนุ่มสาวขึ้นมาใหม่ ๆ ให้มีความหวัง เห็นเป็น Role model เป็นบทบาทตัวอย่างว่า ให้จับกลุ่ม 10 คนทำธุรกิจขึ้นมา มีกำไร Per share สูงขึ้นมาแล้ว เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่ำรวยขึ้นมาได้ ธุรกิจขยายใหญ่ได้ เพิ่มทุนได้ เราต้องการทำให้เป็นตัวอย่าง สิ้นปีนี้ 2 แห่งแน่นอน ปีหน้าฟ้าใหม่ขึ้นมาทุกอย่างมันดีขึ้นแล้วค่อยมาขยายขอบเขตออกไป นี่คือความพยายามที่เราต้องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
วันนี้ยังมีบางแห่งไม่เข้าใจ ยังมีการไม่เห็นด้วย แต่ไม่ต้องห่วง ผมเชื่อว่าคนไทยเราพูดความจริง ถ้าประโยชน์เกิดแก่คนไทยส่วนรวม ไม่มีที่ไหนไม่เห็นด้วย ทีละแห่ง ๆ เราจะทำให้ดูเป็นตัวอย่างว่า ถ้า ปตท. ทำแล้วพนักงานเขามีความสุข ประเทศมีประโยชน์ เขาก็น่าที่จะมา Join เรา สิ่งเหล่านี้ Boil down มาถึงสิ่งสุดท้ายก็คือว่า สิ่งเหล่านี้ไม่จะไม่เกิดเลยถ้าคนของเราไม่มีคุณภาพเพียงพอ ผมไม่ได้อยู่ดูแลการศึกษา แต่ผมรู้ว่าถ้าดูแลเศรษฐกิจ ศึกษาต้องการอะไร ข้อ 1 แน่นอน On par กับประเทศในโลก คนไทยต้องอ่านออกเขียนได้ไม่แพ้เขา ท่านสู้เขาได้ มาตรฐานการเรียนการสอนต้องไม่ต่ำกว่าเขา แล้ว On par กับเขานี่คือ Bottom line ไม่ได้วัดกันที่จำนวนปี แต่วัดกันที่ Content และเนื้อหาของมันแล้วมา Beat กัน มาแข่งกัน สิ่งที่เรียกว่า Creativity, Innovation ความคิดสร้างสรรค์ตรงนี้ต่างหากที่เป็นหัวใจ ประเทศที่เจริญทุกวันนี้ได้เพราะสามารถคิด Creative คิดสร้างสรรค์ออกมา
ท่านลองนึกภาพดู เวลาท่านประกอบการค้าขาย ท่านผลิตมาชิ้นหนึ่ง ผมไปดูที่อิมแพค และดูหลาย ๆ ที่ ผลิตสินค้าขึ้นมาชิ้นหนึ่ง คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ ผมเจอหนุ่มสาวคู่หนึ่งนั่งทำพลาสติกธรรมดาเป็นเครื่องปั่นผัก เขารู้ว่า อนาคตข้างหน้าคนกินผักเยอะ สลัดเยอะ เวลาท่านทานสลัดท่านแช่มันที่ไหน? กะละมังใช่ไหม? ดีไม่ดี ในซิงค์ใช่ไหม? เทน้ำยา นี่เขาทำเครื่องปั่นผักเป็นพลาสติก ท่านเชื่อไหม Order มีมหาศาล ส่งนอกตลอด คนคิดอันนี้อายุ 30 กว่า เราต้องการคนที่มีความคิดอย่างนี้ อันนี้เราจะมีไม่ได้เลยถ้าระบบการศึกษาปิดกั้น ไม่ให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ ตรงนี้ต่างหาก ระบบโรงเรียน ระบบมหาวิทยาลัย ไม่เพียงแต่สอนให้คนเป็นคนดี แต่ต้องสามารถทำให้เขาเหล่านั้นมาช่วยภาคการผลิตได้ ถ้าเราบอกว่า อนาคตข้างหน้าสินค้าการผลิตเราจะเน้นอย่างนี้ สินค้าที่อิงกับการเกษตร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเรื่องรถยนต์ สินค้าเรื่องแฟชั่น ฯลฯ ระบบการศึกษา Gear ให้เขาสามารถเขาสู่วงจรการผลิตได้ โรงเรียนช่าง โรงเรียนช่างศิลป์ โรงเรียนเพาะช่าง วิทยาลัยทั้งหลาย ต้อง Gear สู่ภาคการผลิต ไม่ใช่ผลิต MBA MBA มีมากมาย มีไว้เพื่ออะไร? จะต้อง Tune ไปสู่ภาคการผลิต และทุกอย่างมันจะเริ่มเข้ารูปเข้ารอย ตรงนี้ต่างหากที่จะแข่งกับเขาได้ แข่งที่ Productivity แข่งที่ Innovation ตรงนี้มัน Apply รวมไปถึงเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่มีวิทยาศาสตร์เพื่อวิทยาศาสตร์ แต่วิทยาศาสตร์ที่สามารถใช้กับการผลิต มาแปรรูปอาหาร มาใช้ในการ Design ทำ Packaging ในการผลิต ต้อง Design มาในเชิงอย่างนั้น นี่คือ Science และ Technology ที่เราต้องการ ไม่ใช่ต้องการดอกเตอร์สติไม่ค่อยดี ทั้งวันนั่งห้องแล็บ ไม่ใช่อย่างนั้น เราต้องการ Applied Science ไม่ใช่ไปเขียน Article แข่งกับโลกเขา ยังไงเราก็สู้เขาไม่ได้ เพราะเรามาทีหลัง สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่รัฐบาลทำคนเดียวกลับไปสู่ Bottom line ที่ผมกล่าวมา 3-4 อย่าง(ยังมีต่อ)
-ศน-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ