แท็ก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กระทรวงการต่างประเทศ
ประเทศฝรั่งเศส
เอกอัครราชทูต
รัฐมนตรี
ปารีส
กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
การเยือนฝรั่งเศสครั้งนี้ของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อถวายการต้อนรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2544
หลังจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับนาย Hubert Vedrine รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสด้วย ในวันที่ 16 เมษายน 2544 ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง สมเกียรติ โดยมีการแต่ง เครื่องแบบตั้งแถวรอรับที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส
ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. พม่า ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสว่า กระบวนการหารือระหว่างสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council (SPDC) และนางออง ซาน ซูจี “เป็นจริง” และไทยสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติพม่าให้เป็นไปอย่าง ราบรื่น และอยากเชิญฝรั่งเศสให้เข้ามามีบทบาทร่วมมือในกระบวนการปรองดอง โดยช่วยพัฒนาเพื่อนบ้านของไทย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าต้องให้กำลังใจแก่ประเทศต่างๆ ที่มีความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำกับฝ่ายฝรั่งเศสว่า ภายใต้รัฐบาลใหม่ของไทยชุดนี้ ความร่วมมือในกรอบอาเซียนต่อพม่า คงจะมีเอกภาพมากขึ้นกว่าในอดีต
2. นอกจากนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสสนใจความร่วมมือของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและเวียดนามได้หารือกันใน โครงการถนนสายที่ 9 อันจะเป็นเส้นทางเชื่อมไทย ลาว และเวียดนาม ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนของฝรั่งเศสพิจารณาโครงการด้านการท่องเที่ยว โทรคมนาคม การพลังงาน หรือการ ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกต่างๆ
ในพม่า ฝรั่งเศสมีการลงทุนในเรื่องน้ำมัน โดยบริษัท Total ของฝรั่งเศสกับปตท.สผ.ของไทย ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสแจ้งว่า ผลจากการลงทุนดังกล่าวทำให้ฝรั่งเศสได้รับการกดดันทางการเมืองอย่างมาก ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่า การลงทุนดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาที่สร้างสรรค์ต่อกระบวนการประชาธิปไตย ชาวเอเชียนั้น หากให้เกียรติกันก็จะยอมรับกัน แต่หากกดดันก็จะเกิดความร่วมมือลำบาก ซึ่งฝรั่งเศสก็เห็นด้วย แต่คงต้องนำไปหารือกับอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกันไป
การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ฝรั่งเศสแสดงความสนใจโดยเฉพาะ ในเขตทับซ้อนไทย-กัมพูชา และสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง หรือโครงการความร่วมมือจีนตอนใต้และทางเหนือของไทยในด้านคมนาคม
3. ยาเสพติด ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อฝ่ายฝรั่งเศสว่า กระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าเป็นจริงและมีความคืบหน้า และคงปล่อยให้เจรจากันต่อไป สำหรับในเรื่องยาเสพติด รัฐบาลของไทยบริหารงานมาได้เพียง 2 เดือน แต่สามารถเจรจาในเรื่องยาเสพติดกับจีนและพม่าให้มีความร่วมมือสามฝ่ายในการแก้ไขและปราบปรามยาเสพติด ฝ่ายฝรั่งเศสแสดงความ ยินดีในเรื่องนี้ และหากมีความคืบหน้าในเรื่องนี้ สังคมโลกจะแสดงความชื่นชมต่อทั้งสามประเทศ
4. ในการนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ขอความร่วมมือฝรั่งเศส 3 เรื่องได้แก่
1. ช่วยปราบปรามยาเสพติดทั้งโดยตรงกับ 3 ประเทศในภูมิภาคหรือโดยผ่าน UNDCP
2. ขอให้ฝรั่งเศสร่วมลงทุนกับประเทศไทยและเพื่อนบ้านในโครงการตามแนวชายแดนไทย-จีน ไทย-ลาว-เวียดนาม
3. ขอให้ฝรั่งเศสและไทยเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ขอให้เป็นศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ 2 ฝ่าย โดยไทยจะเป็นประตูสู่เอเชียสำหรับสันติภาพจากฝรั่งเศส
4. ขอให้ฝรั่งเศสพิจารณาเรื่องการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงว่าบางประเทศในเอเชียได้รับสิทธิพิเศษในด้านภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าไทยสำหรับข้าวที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป หากทำได้ก็จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรของไทยได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
การเยือนฝรั่งเศสครั้งนี้ของ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีจุดประสงค์เพื่อถวายการต้อนรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2544
หลังจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้หารือทวิภาคีกับนาย Hubert Vedrine รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสด้วย ในวันที่ 16 เมษายน 2544 ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดียิ่ง สมเกียรติ โดยมีการแต่ง เครื่องแบบตั้งแถวรอรับที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส
ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. พม่า ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสว่า กระบวนการหารือระหว่างสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council (SPDC) และนางออง ซาน ซูจี “เป็นจริง” และไทยสนับสนุนกระบวนการปรองดองแห่งชาติพม่าให้เป็นไปอย่าง ราบรื่น และอยากเชิญฝรั่งเศสให้เข้ามามีบทบาทร่วมมือในกระบวนการปรองดอง โดยช่วยพัฒนาเพื่อนบ้านของไทย ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าต้องให้กำลังใจแก่ประเทศต่างๆ ที่มีความคืบหน้าในเรื่องการพัฒนาสิทธิมนุษยชน นอกจากนั้น ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำกับฝ่ายฝรั่งเศสว่า ภายใต้รัฐบาลใหม่ของไทยชุดนี้ ความร่วมมือในกรอบอาเซียนต่อพม่า คงจะมีเอกภาพมากขึ้นกว่าในอดีต
2. นอกจากนั้น ฝ่ายฝรั่งเศสสนใจความร่วมมือของประเทศในลุ่มแม่น้ำโขง โดยเฉพาะในเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและเวียดนามได้หารือกันใน โครงการถนนสายที่ 9 อันจะเป็นเส้นทางเชื่อมไทย ลาว และเวียดนาม ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนของฝรั่งเศสพิจารณาโครงการด้านการท่องเที่ยว โทรคมนาคม การพลังงาน หรือการ ก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกต่างๆ
ในพม่า ฝรั่งเศสมีการลงทุนในเรื่องน้ำมัน โดยบริษัท Total ของฝรั่งเศสกับปตท.สผ.ของไทย ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสแจ้งว่า ผลจากการลงทุนดังกล่าวทำให้ฝรั่งเศสได้รับการกดดันทางการเมืองอย่างมาก ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ย้ำว่า การลงทุนดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาที่สร้างสรรค์ต่อกระบวนการประชาธิปไตย ชาวเอเชียนั้น หากให้เกียรติกันก็จะยอมรับกัน แต่หากกดดันก็จะเกิดความร่วมมือลำบาก ซึ่งฝรั่งเศสก็เห็นด้วย แต่คงต้องนำไปหารือกับอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งมีความเห็นแตกต่างกันไป
การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านของไทย ฝรั่งเศสแสดงความสนใจโดยเฉพาะ ในเขตทับซ้อนไทย-กัมพูชา และสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง หรือโครงการความร่วมมือจีนตอนใต้และทางเหนือของไทยในด้านคมนาคม
3. ยาเสพติด ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อฝ่ายฝรั่งเศสว่า กระบวนการปรองดองแห่งชาติในพม่าเป็นจริงและมีความคืบหน้า และคงปล่อยให้เจรจากันต่อไป สำหรับในเรื่องยาเสพติด รัฐบาลของไทยบริหารงานมาได้เพียง 2 เดือน แต่สามารถเจรจาในเรื่องยาเสพติดกับจีนและพม่าให้มีความร่วมมือสามฝ่ายในการแก้ไขและปราบปรามยาเสพติด ฝ่ายฝรั่งเศสแสดงความ ยินดีในเรื่องนี้ และหากมีความคืบหน้าในเรื่องนี้ สังคมโลกจะแสดงความชื่นชมต่อทั้งสามประเทศ
4. ในการนี้ ดร.สุรเกียรติ์ฯ ได้ขอความร่วมมือฝรั่งเศส 3 เรื่องได้แก่
1. ช่วยปราบปรามยาเสพติดทั้งโดยตรงกับ 3 ประเทศในภูมิภาคหรือโดยผ่าน UNDCP
2. ขอให้ฝรั่งเศสร่วมลงทุนกับประเทศไทยและเพื่อนบ้านในโครงการตามแนวชายแดนไทย-จีน ไทย-ลาว-เวียดนาม
3. ขอให้ฝรั่งเศสและไทยเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ ขอให้เป็นศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ 2 ฝ่าย โดยไทยจะเป็นประตูสู่เอเชียสำหรับสันติภาพจากฝรั่งเศส
4. ขอให้ฝรั่งเศสพิจารณาเรื่องการนำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงว่าบางประเทศในเอเชียได้รับสิทธิพิเศษในด้านภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่าไทยสำหรับข้าวที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป หากทำได้ก็จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรของไทยได้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-