ข่าวในประเทศ
1. ธปท. อนุญาตให้กองทุนสามารถให้กู้ยืมเงินแก่ ธพ. ผ่านตลาดอาร์/พีเอกชน รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ธปท. ส่งหนังสือถึง ธพ. ทุกแห่งแจ้งการอนุญาตให้ ธพ. กู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ในรูปแบบของธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) จากเดิมที่อนุญาตให้ ธพ. ทำการกู้ยืมระหว่าง ธพ. เท่านั้น เพื่อส่งเสริมตลาดตราสารหนี้และทำให้ตลาดอาร์/พีเอกชนมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งระดมทุนและเพิ่มช่องทางการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนต่าง ๆ โดยผู้ลงทุนที่สามารถให้กู้ยืมเงินในรูปแบบดังกล่าว ได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล กองทุนอื่นที่อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเข้ามามีบทบาทในตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน 14)
2. ธปท. เปิดเผยว่าการแข็งค่าของเงินบาทเกิดจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเตรียมซื้อหุ้น ปตท. ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่ระดับ 44.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 13 พ.ย.44 จากช่วงก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 44.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ว่า เป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างประเทศมีการนำเงินดอลลาร์เข้ามาแลกเงินบาท เพื่อเตรียมซื้อหุ้นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งจะเปิดจำหน่ายในวันที่ 15 พ.ย.44 ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทมีทิศทางที่สวนกับค่าเงินในภูมิภาคซึ่งมีค่าอ่อนตัวลง เนื่องจากเป็นผลจากปัจจัยภายในประเทศ (โลกวันนี้, ข่าวสด, เดลินิวส์ 14)
3. ธปท. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพล่องของ ธพ. ใหม่ แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของ ธพ. ใหม่ โดยหลักทรัพย์ที่ไม่เคลื่อนไหวให้ใช้ราคาตามบัญชีในวันสิ้นเดือนก่อนเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ที่เคลื่อนไหวให้ใช้ราคาซื้อขายในการคำนวณหลักทรัพย์ และการขายหลักทรัพย์ระหว่างเดือนให้หักออกด้วยมูลค่าตามที่กำหนดตามมาตรฐานบัญชี (ไทยโพสต์ 14)
4. ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว พร้อมเสนอแนวทางรองรับ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการอภิปราย “เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัฒน์” ว่า ภาวะสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอัฟกานิสถาน ทำให้เกิดปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 45 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งไทยต้องมีการปรับตัวให้แข็งแกร่งขึ้น โดยการหาพันธมิตรร่วมทุนจากต่างประเทศเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งต้องติดตามสถานการณ์ภายนอกประเทศ และเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับความได้เปรียบของไทยที่จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจได้คือ ภาคส่งออก โดยเฉพาะสินค้าอาหาร ซึ่งควรมีการจัดการบริหารที่ดี(ข่าวสด 14)
ข่าวต่างประเทศ
1. ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ย.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล มีจำนวน 1.615 ล้านล้านเยน (13.29 พัน ล.ดอลลาร์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เทียบต่อปี โดยมียอดเกินดุลการค้า 1.199 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 17.3 เทียบต่อปี โดยช่วงครึ่งแรกของปี งปม.44 (เริ่ม 1 เม.ย.44) ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีจำนวน 5.193 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 23.5 เทียบต่อปี สำหรับตัวเลขหลังปรับฤดูกาลในเดือน ก.ย.44 ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีจำนวน 1.210 ล้านล้านเยน และเกินดุลการค้า 795 พัน ล.เยน (รอยเตอร์ 14)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นหลังปรับตัวเลขลดลงร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 พ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล ในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 2.9 เทียบต่อเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ส.ค. 44 ขณะเดียวกัน ดัชนีการส่งมอบ ลดลงร้อยละ 3.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนก่อน สินค้าคงคลัง ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และการใช้กำลังการผลิต ลดลงร้อยละ 4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สำหรับอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อการส่งมอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หลังจากลดลงร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อน(รอยเตอร์13)
3. ธุรกรรมภาคโรงงานของ สรอ. อ่อนตัวลงในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 13 พ.ย.44 Federal Reserve Bank of Richmond เปิดเผยว่า ดัชนีการส่งมอบสินค้าโรงงานในรัฐริชมอนด์ ลดลงที่ระดับ - 8 ในเดือน ต.ค. 44 จากระดับ +3 ในเดือน ก.ย. 44 ขณะเดียวกัน ธ. กลาง สรอ. ของรัฐแคนซัสซิตี้ รายงานว่า ดัชนีการส่งมอบฯ ลดลงที่ระดับ -1 จากระดับ +5 ในเดือนก่อน แม้ว่าดัชนีธุรกรรมภาคโรงงานโดยรวมในเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นก็ตาม จากรายงานของ ธ. กลาง สรอ. ทั้ง 2 รัฐ แสดงว่า ภาวะอุตสาหกรรมยังคงไม่แจ่มใส ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆที่ประกาศก่อนหน้านี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆลดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานอย่างมาก เพื่อพยายามลดระดับสินค้าคงคลังลงก่อนที่จะซื้อสินค้าใหม่(รอยเตอร์13)
4. เกาหลีใต้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในเดือน ต.ค.44 รายงานจากโซลเมื่อ 14 พ.ย.44 สำนักสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้รายงานว่า เดือน ต.ค.44 อัตราการว่างงาน ซึ่งเป็นตัวเลขหลังปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.8 ในเดือน ต.ค.43 สาเหตุที่อัตราการว่างงานของเกาหลีเพิ่มขึ้นเนื่องจากประชากรที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี ที่เดิมถูกจัดให้เป็นแรงงานที่มิได้เป็นกำลังสำคัญในทางเศรษฐกิจได้เข้ามาสู่ตลาดแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการว่างงานในกลุ่มคนที่มีอายุ 20 ปี ซึ่งสะท้อนถึงการลดการจ้างงานใหม่ของบริษัทธุรกิจต่างๆ อันมีสาเหตุจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เกาหลีใต้ได้ใช้มาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่กำหนดว่าประชากรชายหรือหญิงที่ไม่มีรายได้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จะถูกจัดว่าเป็นผู้ว่างงาน (รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 13 พ.ย.44 44.376 (44.399)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 13 พ.ย. 44ซื้อ 44.1709 (44.2369) ขาย 44.4582 (44.5220)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,800) ขาย 5,900 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 19.39 (19.08)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.29 (13.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.29 (12.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. อนุญาตให้กองทุนสามารถให้กู้ยืมเงินแก่ ธพ. ผ่านตลาดอาร์/พีเอกชน รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ธปท. ส่งหนังสือถึง ธพ. ทุกแห่งแจ้งการอนุญาตให้ ธพ. กู้ยืมเงินจากกองทุนต่าง ๆ ในรูปแบบของธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo) จากเดิมที่อนุญาตให้ ธพ. ทำการกู้ยืมระหว่าง ธพ. เท่านั้น เพื่อส่งเสริมตลาดตราสารหนี้และทำให้ตลาดอาร์/พีเอกชนมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นแหล่งระดมทุนและเพิ่มช่องทางการลงทุนให้แก่ผู้ลงทุนต่าง ๆ โดยผู้ลงทุนที่สามารถให้กู้ยืมเงินในรูปแบบดังกล่าว ได้แก่ กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล กองทุนอื่นที่อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเข้ามามีบทบาทในตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน 14)
2. ธปท. เปิดเผยว่าการแข็งค่าของเงินบาทเกิดจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อเตรียมซื้อหุ้น ปตท. ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการแข็งค่าของเงินบาทที่ระดับ 44.32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.เมื่อวันที่ 13 พ.ย.44 จากช่วงก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 44.70 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.ว่า เป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างประเทศมีการนำเงินดอลลาร์เข้ามาแลกเงินบาท เพื่อเตรียมซื้อหุ้นของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งจะเปิดจำหน่ายในวันที่ 15 พ.ย.44 ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทมีทิศทางที่สวนกับค่าเงินในภูมิภาคซึ่งมีค่าอ่อนตัวลง เนื่องจากเป็นผลจากปัจจัยภายในประเทศ (โลกวันนี้, ข่าวสด, เดลินิวส์ 14)
3. ธปท. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพล่องของ ธพ. ใหม่ แหล่งข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การนับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ใช้ในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของ ธพ. ใหม่ โดยหลักทรัพย์ที่ไม่เคลื่อนไหวให้ใช้ราคาตามบัญชีในวันสิ้นเดือนก่อนเป็นมูลค่าหลักทรัพย์ ส่วนหลักทรัพย์ที่เคลื่อนไหวให้ใช้ราคาซื้อขายในการคำนวณหลักทรัพย์ และการขายหลักทรัพย์ระหว่างเดือนให้หักออกด้วยมูลค่าตามที่กำหนดตามมาตรฐานบัญชี (ไทยโพสต์ 14)
4. ประธานทีดีอาร์ไอกล่าวถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว พร้อมเสนอแนวทางรองรับ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการอภิปราย “เศรษฐกิจไทยในยุคโลกาภิวัฒน์” ว่า ภาวะสงครามระหว่างสหรัฐฯ กับอัฟกานิสถาน ทำให้เกิดปัญหาการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 45 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งไทยต้องมีการปรับตัวให้แข็งแกร่งขึ้น โดยการหาพันธมิตรร่วมทุนจากต่างประเทศเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งต้องติดตามสถานการณ์ภายนอกประเทศ และเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับความได้เปรียบของไทยที่จะสามารถสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจได้คือ ภาคส่งออก โดยเฉพาะสินค้าอาหาร ซึ่งควรมีการจัดการบริหารที่ดี(ข่าวสด 14)
ข่าวต่างประเทศ
1. ก. คลังญี่ปุ่นเปิดเผยตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ก.ย.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ย.44 ก.คลังเปิดเผยว่า เดือน ก.ย.44 ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเป็นตัวเลขก่อนปรับฤดูกาล มีจำนวน 1.615 ล้านล้านเยน (13.29 พัน ล.ดอลลาร์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 เทียบต่อปี โดยมียอดเกินดุลการค้า 1.199 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 17.3 เทียบต่อปี โดยช่วงครึ่งแรกของปี งปม.44 (เริ่ม 1 เม.ย.44) ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีจำนวน 5.193 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 23.5 เทียบต่อปี สำหรับตัวเลขหลังปรับฤดูกาลในเดือน ก.ย.44 ยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมีจำนวน 1.210 ล้านล้านเยน และเกินดุลการค้า 795 พัน ล.เยน (รอยเตอร์ 14)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นหลังปรับตัวเลขลดลงร้อยละ 2.9 ในเดือน ก.ย. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 13 พ.ย. 44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมโดยรวม หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล ในเดือน ก.ย. 44 ลดลงร้อยละ 2.9 เทียบต่อเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ส.ค. 44 ขณะเดียวกัน ดัชนีการส่งมอบ ลดลงร้อยละ 3.2 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนก่อน สินค้าคงคลัง ลดลงร้อยละ 1.3 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และการใช้กำลังการผลิต ลดลงร้อยละ 4 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 สำหรับอัตราส่วนสินค้าคงคลังต่อการส่งมอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หลังจากลดลงร้อยละ 2.6 ในเดือนก่อน(รอยเตอร์13)
3. ธุรกรรมภาคโรงงานของ สรอ. อ่อนตัวลงในเดือน ต.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 13 พ.ย.44 Federal Reserve Bank of Richmond เปิดเผยว่า ดัชนีการส่งมอบสินค้าโรงงานในรัฐริชมอนด์ ลดลงที่ระดับ - 8 ในเดือน ต.ค. 44 จากระดับ +3 ในเดือน ก.ย. 44 ขณะเดียวกัน ธ. กลาง สรอ. ของรัฐแคนซัสซิตี้ รายงานว่า ดัชนีการส่งมอบฯ ลดลงที่ระดับ -1 จากระดับ +5 ในเดือนก่อน แม้ว่าดัชนีธุรกรรมภาคโรงงานโดยรวมในเดือนดังกล่าวเพิ่มขึ้นก็ตาม จากรายงานของ ธ. กลาง สรอ. ทั้ง 2 รัฐ แสดงว่า ภาวะอุตสาหกรรมยังคงไม่แจ่มใส ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆที่ประกาศก่อนหน้านี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆลดคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานอย่างมาก เพื่อพยายามลดระดับสินค้าคงคลังลงก่อนที่จะซื้อสินค้าใหม่(รอยเตอร์13)
4. เกาหลีใต้มีอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ในเดือน ต.ค.44 รายงานจากโซลเมื่อ 14 พ.ย.44 สำนักสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้รายงานว่า เดือน ต.ค.44 อัตราการว่างงาน ซึ่งเป็นตัวเลขหลังปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบกับเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และร้อยละ 3.8 ในเดือน ต.ค.43 สาเหตุที่อัตราการว่างงานของเกาหลีเพิ่มขึ้นเนื่องจากประชากรที่มีอายุระหว่าง 30-50 ปี ที่เดิมถูกจัดให้เป็นแรงงานที่มิได้เป็นกำลังสำคัญในทางเศรษฐกิจได้เข้ามาสู่ตลาดแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการว่างงานในกลุ่มคนที่มีอายุ 20 ปี ซึ่งสะท้อนถึงการลดการจ้างงานใหม่ของบริษัทธุรกิจต่างๆ อันมีสาเหตุจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เกาหลีใต้ได้ใช้มาตรฐานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ที่กำหนดว่าประชากรชายหรือหญิงที่ไม่มีรายได้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จะถูกจัดว่าเป็นผู้ว่างงาน (รอยเตอร์ 14)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 13 พ.ย.44 44.376 (44.399)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 13 พ.ย. 44ซื้อ 44.1709 (44.2369) ขาย 44.4582 (44.5220)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,800 (5,800) ขาย 5,900 (5,900)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) ดูไบ 19.39 (19.08)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 13.29 (13.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.29 (12.29)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-