สมาชิก WTO เปิดฉากแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าบริการ เพื่อปูทางเตรียมการเจรจารอบใหม่ -------------------------------------------------------------------------------- ประเทศสมาชิก WTO เปิดฉากแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการค้า บริการต่างๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศสมาชิก เพื่อนำผลที่ได้ ไปใช้เป็นพื้นฐานของการเตรียมการเจรจาเพื่อเปิดตลาดเสรีแบบ ก้าวหน้าตามลำดับ (Progressive Liberalization) ภายใต้กรอบ องค์การการค้าโลกในปีค.ศ. 2000 สาขาการค้าบริการที่เริ่ม หารือเป็นกลุ่มแรก คือ การบริการไปรษณีย์และการส่งเอกสาร (Postal and Courier Services ) การบริการโสตทัศนาการ (Audiovisual Services) การบริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง (Construction and Related Engineering Services) และการบริการด้านการจัดจำหน่ายสินค้า (Distribution Services) ในการประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการในเดือน พฤษภาคม ศกนี้ ประเทศสมาชิกให้ความเห็นชอบการเริ่มกระบวน การแลกเปลี่ยนข้อมูลการค้าบริการเป็นรายสาขา (Sectoral Discussion) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน เป็นต้นไป โดยยังไม่กำหนด ระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินการ สาขาที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลจะ ครอบคลุมจำนวน 12 สาขาหลัก (54 สาขาย่อย) ที่ได้แยกแยะกันไว้ ตั้งแต่การเจรจารอบอุรุกวัย โดยข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ การค้าบริการของประเทศนั้นๆ หลังการเจรจารอบอุรุกวัย ความสำคัญของสาขาการค้าบริการนั้นๆ ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของ ประเทศการเปลี่ยนแปลงมาตรการและกฎระเบียบภายในประเทศ สมาชิกซึ่งมีผลกระทบต่อการค้าบริการ เช่น ข้อจำกัดทางการตลาด และแนวโน้มการเปิดเสรีที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการ เมื่อวันที่ 24-25 มิถุนายน ศกนี้ คณะมนตรีว่าด้วยการค้าบริการได้มีการ ประชุมหารือเพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป็นครั้งแรก โดยมี การหารือสาขาบริการจำนวน 4 สาขาดังกล่าวข้างต้น ประเทศสมาชิก ที่พร้อมและเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ฮังการี บราซิล อุรุกวัย อินเดีย เปรู และเกาหลี สาระสำคัญของการหารือในแต่ละสาขามีดังนี้ การบริการไปรษณีย์ และการส่งเอกสาร นั้น แม้ว่ามีประเทศสมาชิก จำนวนน้อยมากยื่นพันธกรณีเพื่อเปิดเสรี ตั้งแต่การเจรจารอบอุรุกวัย เป็นต้นมา เพราะโครงสร้างการค้าบริการเป็นการผูกขาดโดยรัฐบาล ย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสถานะปัจจุบันของการค้าบริการสาขานี้ พบว่ามีแนวโน้มเปิดเสรีเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้ดำเนินนโยบาย การแปรรูปกิจการของรัฐ การพัฒนาเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลง รสนิยมของผู้ใช้บริการ ประเด็นซึ่งอาจจะหยิบยกขึ้นหารือในการ เจรจารอบใหม่ ได้แก่การปรับปรุงคำจำกัดความและขอบเขต ของบริการให้สอดคล้องกับรูปแบบการให้บริการที่มีการพัฒนา เทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอ การพัฒนาให้มีการเปิดตลาดเสรี ในบางกิจกรรมด้านบริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ การปรับปรุง กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขั้นตอนการดำเนินการด้านภาษีศุลกากร เป็นต้น การบริการโสตทัศนาการ (Audiovisual Services) ครอบคลุมกิจกรรมด้านการผลิต จัดจำหน่ายและฉายภาพยนตร์ การผลิตและจำหน่ายวีดีทัศน์ การบริการกระจายเสียงวิทยุและ โทรทัศน์ และการบันทึกเสียง ผลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลพบว่า สมาชิกหลายประเทศเห็นว่า การเปิดเสรีในการบริการ ด้านนี้ อาจมีผล กระทบต่อเอกลักษณ์ และวัฒนธรรมของชาติ จึงมี ประเทศสมาชิกจำนวนมากระบุข้อจำกัดในการเปิดเสรีไว้ เมื่อปิดการเจรจารอบอุรุกวัย อาทิ มาตรการที่เป็นการเลือกปฏิบัติ ต่อผู้ให้บริการของประเทศสมาชิกด้วยกัน หรือที่เรียกว่าข้อยกเว้น ในการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favoured Nation (MFN) Exemptions) อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่สมาชิก หลายประเทศเห็นควรจะหยิบยกขึ้นหารือต่อไป ได้แก่ นัยของ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคมและโสตทัศนูปการที่มีผล กระทบต่อการบริการในสาขานี้ อันส่งผลให้ประเทศสมาชิก อาจต้องพิจารณาเพิ่มการเปิดตลาดเสรี และการพิจารณาว่าการ อุดหนุนของรัฐในการผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ในบางประเทศสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ภายใต้ความตกลงว่าด้วย การค้าบริการหรือไม่ การบริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรม ประเทศสมาชิกต่างเห็นพ้องกันว่าสาขาการค้าบริการนี้มีผลต่อการ เจริญเติบโตและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของประเทศกำลังพัฒนาและ การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น สมาชิก บางประเทศจึงเสนอให้การเจรจาเปิดตลาดในสาขานี้ควรคำนึงถึง ความสมดุลระหว่างความปลอดภัย ผลประโยชน์ของสาธารณชน และการแข่งขันทางการตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม สมาชิกหลายประเทศระบุว่า ปัญหาสำคัญในการที่ทำให้ผู้ให้บริการ จากต่างประเทศไม่สามารถขยายการบริการไปยังประเทศอื่นได้ ได้แก่ ข้อจำกัดเรื่องรูปแบบของกิจการที่ผู้ให้บริการต่างชาติ สามารถเปิด ดำเนินการได้ในประเทศอื่นๆ ข้อจำกัดเรื่องสัดส่วนการลงทุน ของต่างชาติในการประกอบกิจการ ข้อจำกัดเรื่องการเคลื่อนย้าย แรงงานทุกระดับอย่างเสรี ความไม่โปร่งใสของการจัดซื้อโดยรัฐ และขาดนโยบายด้านการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพการจัดจำหน่าย สินค้า ครอบคลุมถึงการบริการด้านการค้าส่ง การค้าปลีก และ ระบบการให้สิทธิขายบริการ (Franchise) ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ การเจรจาเปิดเสรีในอนาคต ได้แก่ ผลกระทบของความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีที่มีต่อระบบจัดจำหน่ายสินค้า อาทิ พาณิชยอิเล็กโทรนิคส์ (Electronic Commerce) การปรับปรุง การจำแนกกิจกรรมภายใต้สาขานี้ อาทิ ความไม่ชัดเจนในการจำแนก ร้านอาหารประเภท Fast food และ Franchise ความแตกต่างของข้อ กำหนดในการออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการในประเทศและต่างชาติ กฎระเบียบที่เป็นการจำกัดความสามารถในการดำเนินการของผู้ประกอบ การต่างชาติ อาทิ ขนาดของร้าน กำหนดพื้นที่ในการเปิดสถานที่ ประกอบการ แม้ว่าจะเป็นครั้งแรกของการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้าน การค้าบริการแต่สมาชิกหลายประเทศให้การสนับสนุนการแลก เปลี่ยนข้อมูลทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและทางวาจารวมทั้งสมาชิก บางประเทศได้มีผู้เชี่ยวชาญจากเมืองหลวงในสาขาการค้าบริการต่างๆ มาร่วมการหารือด้วย ข้อมูลที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนข้อมูล นอกจาก เป็นการรับทราบสถานะการค้าบริการของประเทศ สมาชิกในแต่ละสาขา และการเปลี่ยนแปลงกฎและระเบียบภายใน ประเทศสมาชิกที่มีผลกระทบต่อการค้าบริการรายสาขาแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงท่าทีและความต้องการของประเทศสมาชิก ในการเจรจาเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการ ซึ่งจะช่วยชี้ให้เห็น ถึงปัญหาและประเด็นสำคัญต่างๆ ในแต่ละสาขาการค้าบริการ ที่อาจจะหยิบยกขึ้นในการเจรจารอบต่อไป --------------------------------- สาขาการค้าบริการที่จำแนกไว้เมื่อการเจรจารอบอุรุกวัยแบ่งเป็น 12 สาขา ดังนี้ 1) สาขาบริการด้านธุรกิจ 2) สาขาด้านคมนาคมสื่อสาร 3) สาขาบริการด้านการก่อสร้างและวิศวกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง 4) สาขาบริการด้านการจัดจำหน่าย 5) สาขาบริการด้านการศึกษา 6) สาขาบริการด้านสิ่งแวดล้อม 7) สาขาบริการด้านการเงิน 8) สาขาบริการที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพและด้านสังคม 9) สาขาบริการด้านการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว 10) สาขาบริการด้านสันทนาการ วัฒนธรรมและกีฬา 11) สาขาบริการด้านการขนส่ง และ 12) สาขาบริการด้านอื่นๆ ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-