บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง
๑. นายพิเชฐ พัฒนโชติ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง
๒. นายชวน หลีกภัย เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๔ ประกาศให้
นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อพรรคไทยรักไทย ลำดับที่ ๔๙ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เพราะได้รับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ นายระวัง
เนตรโพธิ์แก้ว ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยถ้อยคำว่า
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้
และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา คือ ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและ
องค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายอำนวย คลังผา และ
นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช
บัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๓)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังไม่ได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ
อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
คณะรัฐมนตรีได้ขอรับร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับดังกล่าว ไปพิจารณา
ก่อนรับหลักการ โดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน
ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องที่เสนอใหม่ คือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีการยกเลิก
การหวงห้ามหรือการสงวนที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของทางราชการ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายเรวัต สิรินุกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุมได้ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป)
วันพุธที่ ๑๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
---------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๔๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมแล้ว นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานสภา
ผู้แทนราษฎร นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร
คนที่หนึ่ง และนายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง
ขึ้นบัลลังก์
ประธานสภาผู้แทนราษฎรกล่าวเปิดประชุม แล้วให้เลขาธิการ
สภาผู้แทนราษฎรอ่านพระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้ง
๑. นายพิเชฐ พัฒนโชติ เป็นรองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง
๒. นายชวน หลีกภัย เป็นผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบ
ประกาศสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๔๔ ประกาศให้
นายระวัง เนตรโพธิ์แก้ว ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อพรรคไทยรักไทย ลำดับที่ ๔๙ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทน
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งพ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เพราะได้รับพระบรมราชโองการ แต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี
ที่ประชุมรับทราบ
ต่อจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้กล่าวนำ นายระวัง
เนตรโพธิ์แก้ว ปฏิญาณตนต่อที่ประชุมก่อนเข้ารับหน้าที่ ตามมาตรา ๑๕๐
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยถ้อยคำว่า
"ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่
ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้
และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
หลังจากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องที่ค้างพิจารณา คือ ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและ
องค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายอำนวย คลังผา และ
นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นผู้เสนอ โดยที่ประชุมเห็นชอบให้นำร่างพระราช
บัญญัติทำนองเดียวกันอีก ๓ ฉบับ ขึ้นมาพิจารณารวมกันไป คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ และนายณัฐวุฒิ
ประเสริฐสุวรรณ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๒)
(๒) ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
(ในระเบียบวาระที่ ๖.๓)
(๓) ร่างพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ซึ่ง นายประชาธิปไตย คำสิงห์นอก เป็นผู้เสนอ
(ซึ่งยังไม่ได้บรรจุระเบียบวาระ)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผลตามลำดับ มีสมาชิกฯ
อภิปราย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว
คณะรัฐมนตรีได้ขอรับร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๔ ฉบับดังกล่าว ไปพิจารณา
ก่อนรับหลักการ โดยให้รอการพิจารณาไว้ภายในกำหนดเวลา ๖๐ วัน
ซึ่งที่ประชุมได้ลงมติอนุมัติ ตามข้อบังคับฯ ข้อ ๙๘
จากนั้น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๖ เรื่องที่เสนอใหม่ คือ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีการยกเลิก
การหวงห้ามหรือการสงวนที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของทางราชการ พ.ศ. ….
ซึ่ง นายเรวัต สิรินุกุล กับคณะ เป็นผู้เสนอ (ในระเบียบวาระที่ ๖.๑)
เมื่อผู้เสนอได้แถลงหลักการและเหตุผล มีสมาชิกฯ อภิปราย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) ตอบชี้แจง
จนได้เวลาพอสมควรแล้วที่ประชุมได้ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
ฉบับนี้ ดังนั้น ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป
เลิกประชุมเวลา ๑๕.๓๕ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖
โทรสาร. ๒๔๔๑๑๑๕-๖