1. ความเป็นมา
1.1 ความตกลงการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA มาตรา 303 ได้ระบุให้ภาคีสมาชิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก จะต้องดำเนินการยกเลิกระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในส่วนของสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม NAFTA ภายในระยะเวลาที่กำหนด กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาภายใน 1 ปี หลังจากที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (ค.ศ. 1994) แคนาดาภายใน 3 ปี และเม็กซิโกภายใน 7 ปี หรือเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 2000
1.2 ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 ได้ระบุให้ประเทศภาคีสมาชิกจะต้องยกเลิกมาตรการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร โดยในส่วนของประเทศที่พัฒนาแล้วให้ยกเลิกภายในปี 1995 และประเทศกำลังพัฒนาให้ยกเลิกภายในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2002 เป็นอย่างช้า
1.3 ด้วยเหตุดังกล่าวรัฐบาลเม็กซิโกจึงมีดำริจะดำเนินการยกเลิกระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้านำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2000 และได้ปรับปรุงระบบภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการให้อยู่ใต้ระบบภาษีนำเข้าเป็นการทั่วไป (General Tariff) ซึ่งจะส่งผลให้สินค้านำเข้าหลายรายการที่เดิมเคยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรร้อยละ 0 หรือในระดับต่ำ จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราใหม่ซึ่งสูงกว่าเดิม
1.4 โดยที่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมบางประเภทของเม็กซิโกที่ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างประเทศเป็นหลัก รัฐบาลเม็กซิโกจึงได้ริเริ่มโครงการ PROSEC ขึ้น และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกเม็กซิโกดำรงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ต่อไป
2. สาระสำคัญของโครงการ PROSEC
2.1 รัฐบาลเม็กซิโกจะกำหนดอัตราภาษีศุลกากรในอัตราที่ต่ำเป็นพิเศษให้แก่สินค้า และวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อการผลิต ประกอบและส่งออกเป็นสินค้า หรือสินค้าที่นำเข้าเพื่อส่งออกทั้งหมดโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ทั้งนี้บริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ PROSEC กับกระทรวงเศรษฐกิจและจะต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการฯ เท่านั้น
2.2 ปัจจุบันรัฐบาลเม็กซิโกประกาศให้มีอุตสาหกรรมจำนวน 22 ประเภทที่ผู้ประกอบการสามารถลงทะเบียนเพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรขาเข้าภายใต้โครงการฯ ได้แก่
1) อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 2) อิเล็กโทรนิค 3) เฟอร์นิเจอร์
4) ของเล่น และเครื่องกีฬา 5) รองเท้า 6) เหมืองแร่และโลหะ
7) สินค้าทุน อาทิ เครื่องจักร 8) เหล็กและเหล็กกล้า 9) เครื่องจักรทางการเกษตร
10) อุตสาหกรรมเบ็ดเตล็ด 11) เคมีภัณฑ์ 12) ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก
13) กระดาษ 14) ไม้ 15) หนังดินและหนังฟอก
16) รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบ 17) สิ่งทอ 18) ช็อกโกแล็ตและของหวาน
19) กาแฟ 20) การขนส่ง (ยกเว้นรถยนต์ และชิ้นส่วน)
21) อุตสาหกรรมการถ่ายภาพ/ภาพยนตร์
22) เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์
2.3 ในการนำเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และสินค้าในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมข้างต้นรัฐบาลเม็กซิโกจะกำหนดรหัสศุลกากรของวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่จะได้รับสิทธิพิเศษไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้สินค้าที่มีรหัสศุลกากรนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในโครงการฯ จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ ซึ่งภาษีนำเข้าของอุตสาหกรรมทั้ง 22 ประเภท ที่ได้รับสิทธิพิเศษจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 0 - 7 โดยเฉลี่ย
2.4 โครงการ PROSEC มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2544 และจะมีการต่ออายุทุก ๆ ปี โดยการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในแต่ละครั้งที่มีการต่ออายุโครงการฯ อาจมีการลดหรือเพิ่มจำนวนประเภทของอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการฯ ได้ตามความเหมาะสม
2.5 โครงการนี้จะใช้เฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิก NAFTA เท่านั้น โดยมีระยะเวลานำเข้าเพื่อส่งออกภายใน 60 วัน หากเป็นกรณีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ ผู้ประกอบการจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการฯนี้ และสินค้าที่นำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ
3. ผลกระทบจากโครงการ PROSEC ต่อการส่งออกสินค้าไทยเข้าไปสู่ตลาดเม็กซิโก
3.1 ผลกระทบเชิงบวกจากโครงการฯ
3.1.1 การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าภายใต้โครงการฯ นี้ มีลักษณะเป็นการให้สิทธิพิเศษกับสินค้าที่นำเข้าจากทุกประเทศ ซึ่งรวมถึงกรณีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้าจากประเทศไทยด้วย เดิมนั้นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของเม็กซิโกจะให้กับบางประเทศเป็นการเฉพาะเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทางการค้ารูปแบบหนึ่ง และสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยในอดีตต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ ซึ่งทำให้เสียเปรียบด้านราคากับสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้าจากประเทศคู่แข่งซึ่งได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีนำเข้า
3.1.2 สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวได้แก่ อุปกรณ์ อิเล็กโทรนิก สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ยาง เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการท้องถิ่น และต่างชาตินำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนไปดำเนินการผลิต และประกอบเพื่อส่งออกไปยังตลาด NAFTA ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น
- อุปกรณ์อิเล็กโทรนิก จากภาษีนำเข้าร้อยละ 3 จะเหลือเพียงร้อยละ 0
- ผ้าฝ้าย ป่าน และผ้าผืน เคยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 จะเหลือเพียงร้อยละ 0
- ผลิตภัณฑ์พลาสติก จากร้อยละ 3 เหลือเพียงร้อยละ 0
- รองเท้าและส่วนประกอบ จากร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์ยาง จากเดิมร้อยละ 3 เหลือเพียงร้อยละ 0ฯลฯ
3.2 ผลกระทบเชิงลบจากโครงการฯ
3.2.1 การให้สิทธิพิเศษอัตราภาษีศุลกากรของเม็กซิโกภายใต้โครงการฯนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐฯ และแคนาดา เนื่องจากสินค้าจากเม็กซิโกจะยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดทั้งสองแห่งได้ในราคาต่ำต่อไป และเมื่อพิจารณารายละเอียดของอุตสาหกรรมทั้ง 22 ประเภท ที่อยู่ภายใต้โครงการฯ นี้แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดอเมริกาเหนือเป็นปริมาณและมูลค่าสูงในแต่ละปี โดยเฉพาะสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กโทรนิก เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นเด็ก อุปกรณ์กีฬา สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ฯลฯ
3.2.2 การยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของรัฐบาลเม็กซิโกตามข้อผูกพันที่มีกับ NAFTA และองค์การการค้าโลก จะทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบประเภทเดียวกันที่อาจต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงกว่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศที่เคยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรมาก่อน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยเพราะสินค้าไทยในตลาดเม็กซิโกปัจจุบันเป็นการนำเข้าโดยเสียภาษีในอัตรปกติอยู่แล้ว
(ที่มา : สถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงเม็กซิโก)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8/2544 วันที่ 30 เมษายน 2544--
-อน-
1.1 ความตกลงการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกาเหนือ หรือ NAFTA มาตรา 303 ได้ระบุให้ภาคีสมาชิก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก จะต้องดำเนินการยกเลิกระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรในส่วนของสินค้าที่นำเข้าจากประเทศนอกกลุ่ม NAFTA ภายในระยะเวลาที่กำหนด กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาภายใน 1 ปี หลังจากที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ (ค.ศ. 1994) แคนาดาภายใน 3 ปี และเม็กซิโกภายใน 7 ปี หรือเมื่อสิ้นสุดปี ค.ศ. 2000
1.2 ตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 ได้ระบุให้ประเทศภาคีสมาชิกจะต้องยกเลิกมาตรการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร โดยในส่วนของประเทศที่พัฒนาแล้วให้ยกเลิกภายในปี 1995 และประเทศกำลังพัฒนาให้ยกเลิกภายในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2002 เป็นอย่างช้า
1.3 ด้วยเหตุดังกล่าวรัฐบาลเม็กซิโกจึงมีดำริจะดำเนินการยกเลิกระบบการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่สินค้านำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ภายในสิ้นปี ค.ศ. 2000 และได้ปรับปรุงระบบภาษีนำเข้าสินค้าทุกรายการให้อยู่ใต้ระบบภาษีนำเข้าเป็นการทั่วไป (General Tariff) ซึ่งจะส่งผลให้สินค้านำเข้าหลายรายการที่เดิมเคยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรร้อยละ 0 หรือในระดับต่ำ จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราใหม่ซึ่งสูงกว่าเดิม
1.4 โดยที่ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมบางประเภทของเม็กซิโกที่ยังมีความจำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างประเทศเป็นหลัก รัฐบาลเม็กซิโกจึงได้ริเริ่มโครงการ PROSEC ขึ้น และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกเม็กซิโกดำรงความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ต่อไป
2. สาระสำคัญของโครงการ PROSEC
2.1 รัฐบาลเม็กซิโกจะกำหนดอัตราภาษีศุลกากรในอัตราที่ต่ำเป็นพิเศษให้แก่สินค้า และวัตถุดิบที่นำเข้าเพื่อการผลิต ประกอบและส่งออกเป็นสินค้า หรือสินค้าที่นำเข้าเพื่อส่งออกทั้งหมดโดยมิได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ทั้งนี้บริษัทผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าจะต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ PROSEC กับกระทรวงเศรษฐกิจและจะต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนเฉพาะในสาขาอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการฯ เท่านั้น
2.2 ปัจจุบันรัฐบาลเม็กซิโกประกาศให้มีอุตสาหกรรมจำนวน 22 ประเภทที่ผู้ประกอบการสามารถลงทะเบียนเพื่อให้ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรขาเข้าภายใต้โครงการฯ ได้แก่
1) อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า 2) อิเล็กโทรนิค 3) เฟอร์นิเจอร์
4) ของเล่น และเครื่องกีฬา 5) รองเท้า 6) เหมืองแร่และโลหะ
7) สินค้าทุน อาทิ เครื่องจักร 8) เหล็กและเหล็กกล้า 9) เครื่องจักรทางการเกษตร
10) อุตสาหกรรมเบ็ดเตล็ด 11) เคมีภัณฑ์ 12) ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก
13) กระดาษ 14) ไม้ 15) หนังดินและหนังฟอก
16) รถยนต์และชิ้นส่วนประกอบ 17) สิ่งทอ 18) ช็อกโกแล็ตและของหวาน
19) กาแฟ 20) การขนส่ง (ยกเว้นรถยนต์ และชิ้นส่วน)
21) อุตสาหกรรมการถ่ายภาพ/ภาพยนตร์
22) เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์
2.3 ในการนำเข้าวัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ และสินค้าในแต่ละสาขาอุตสาหกรรมข้างต้นรัฐบาลเม็กซิโกจะกำหนดรหัสศุลกากรของวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่จะได้รับสิทธิพิเศษไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้สินค้าที่มีรหัสศุลกากรนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในโครงการฯ จะต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ ซึ่งภาษีนำเข้าของอุตสาหกรรมทั้ง 22 ประเภท ที่ได้รับสิทธิพิเศษจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 0 - 7 โดยเฉลี่ย
2.4 โครงการ PROSEC มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2544 และจะมีการต่ออายุทุก ๆ ปี โดยการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในแต่ละครั้งที่มีการต่ออายุโครงการฯ อาจมีการลดหรือเพิ่มจำนวนประเภทของอุตสาหกรรมที่กำหนดไว้ในโครงการฯ ได้ตามความเหมาะสม
2.5 โครงการนี้จะใช้เฉพาะกลุ่มประเทศสมาชิก NAFTA เท่านั้น โดยมีระยะเวลานำเข้าเพื่อส่งออกภายใน 60 วัน หากเป็นกรณีการนำเข้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ ผู้ประกอบการจะไม่ได้รับสิทธิพิเศษภายใต้โครงการฯนี้ และสินค้าที่นำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ
3. ผลกระทบจากโครงการ PROSEC ต่อการส่งออกสินค้าไทยเข้าไปสู่ตลาดเม็กซิโก
3.1 ผลกระทบเชิงบวกจากโครงการฯ
3.1.1 การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าภายใต้โครงการฯ นี้ มีลักษณะเป็นการให้สิทธิพิเศษกับสินค้าที่นำเข้าจากทุกประเทศ ซึ่งรวมถึงกรณีการนำเข้าวัตถุดิบ และสินค้าจากประเทศไทยด้วย เดิมนั้นการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของเม็กซิโกจะให้กับบางประเทศเป็นการเฉพาะเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลือกปฏิบัติทางการค้ารูปแบบหนึ่ง และสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยในอดีตต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติ ซึ่งทำให้เสียเปรียบด้านราคากับสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้าจากประเทศคู่แข่งซึ่งได้รับสิทธิพิเศษด้านภาษีนำเข้า
3.1.2 สินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยซึ่งคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากโครงการดังกล่าวได้แก่ อุปกรณ์ อิเล็กโทรนิก สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ยาง เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบการท้องถิ่น และต่างชาตินำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนไปดำเนินการผลิต และประกอบเพื่อส่งออกไปยังตลาด NAFTA ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น
- อุปกรณ์อิเล็กโทรนิก จากภาษีนำเข้าร้อยละ 3 จะเหลือเพียงร้อยละ 0
- ผ้าฝ้าย ป่าน และผ้าผืน เคยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 3 จะเหลือเพียงร้อยละ 0
- ผลิตภัณฑ์พลาสติก จากร้อยละ 3 เหลือเพียงร้อยละ 0
- รองเท้าและส่วนประกอบ จากร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 5
- ผลิตภัณฑ์ยาง จากเดิมร้อยละ 3 เหลือเพียงร้อยละ 0ฯลฯ
3.2 ผลกระทบเชิงลบจากโครงการฯ
3.2.1 การให้สิทธิพิเศษอัตราภาษีศุลกากรของเม็กซิโกภายใต้โครงการฯนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐฯ และแคนาดา เนื่องจากสินค้าจากเม็กซิโกจะยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายในตลาดทั้งสองแห่งได้ในราคาต่ำต่อไป และเมื่อพิจารณารายละเอียดของอุตสาหกรรมทั้ง 22 ประเภท ที่อยู่ภายใต้โครงการฯ นี้แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดอเมริกาเหนือเป็นปริมาณและมูลค่าสูงในแต่ละปี โดยเฉพาะสินค้าประเภทอุปกรณ์อิเล็กโทรนิก เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ ของเล่นเด็ก อุปกรณ์กีฬา สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป ฯลฯ
3.2.2 การยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรของรัฐบาลเม็กซิโกตามข้อผูกพันที่มีกับ NAFTA และองค์การการค้าโลก จะทำให้ผู้ประกอบการหันไปใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบประเภทเดียวกันที่อาจต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราที่สูงกว่า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประเทศที่เคยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรมาก่อน แต่จะไม่มีผลกระทบต่อสินค้าที่นำเข้าจากประเทศไทยเพราะสินค้าไทยในตลาดเม็กซิโกปัจจุบันเป็นการนำเข้าโดยเสียภาษีในอัตรปกติอยู่แล้ว
(ที่มา : สถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงเม็กซิโก)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 8/2544 วันที่ 30 เมษายน 2544--
-อน-