กรุงเทพฯ--14 ธ.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ระบุเขตการค้าเสรีไทย-เกาหลี สองฝ่ายได้ประโยชน์ เตรียมเสนอเกาหลีลดภาษีอัตราสูงสุด ไทยพร้อมปรับโครงสร้างภาษีภายใน คาดอุตสาหกรรมหนักและเคมีภัณฑ์ได้รับผลกระทบเสนอเตรียมปรับตัว รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ได้ข้อสรุปที่สำคัญคือ ในด้านหลักเกณฑ์การจัดทำการค้าเสรี ไม่ควรเน้นหรือให้ความสำคัญกับประเด็นการขาดดุลการค้ากับประเทศที่จะทำความตกลงด้วย แต่ควรพิจารณาดุลการค้าโดยรวมของประเทศ หากการจัดทำความตกลงนี้ทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบมากขึ้นจนเป็นผลให้ขาดดุลการค้าน่าจะไม่เกิดผลเสีย เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศจะได้ประโยชน์จากราคาสินค้าที่ลดลง และหากเป็นสินค้าที่มีการส่งออก ทั้งไทยและประเทศที่ทำความตกลงด้วยก็จะได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ส่วนแนวทางการจัดทำความตกลงนั้น คือการขอให้ประเทศที่จะร่วมทำความตกลงลดภาษีสินค้าที่มีอัตราสูงสุดลงมา ขณะเดียวกันก็ต้องปรับโครงสร้างอัตราภาษีภายในประเทศให้ใกล้เคียงกันด้วย ส่วนการคัดเลือกชนิดของสินค้าที่จะทำความตกลงที่คำนึงถึงประโยชน์ผู้บริโภคและไม่สร้างความเสียหายต่อผู้ผลิต เป็นไปได้ยาก ดังนั้น ควรตัดสินใจเลือกโดยคำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมมากกว่าแล้วกระจายผลประโยชน์นั้น เพื่อผ่อนปรนความเสียหายกับผู้ที่ได้รับผลกระทบภายในประเทศ สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธาณรัฐเกาหลี ในส่วนของสินค้าที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ยาและเภสัชภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับเทียม สินค้า IT น้ำตาล ผ้าถัก ยางรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น อาหารแช่เยือกแข็ง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่อาจจะได้รับผลกระทบและต้องการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมหนักและเคมีภัณฑ์ ได้แก่ เหล็ก ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ สิ่งทอประเภทเส้นใยสำหรับปั่นด้าย ทอผ้า ฟอกย้อม ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำเขตการค้าเสรีดังกล่าว ควรมีการพิจารณาด้านการลงทุน และบริการควบคู่ไปกับการเปิดเสรีการค้าด้วย เนื่องจากมีภาคบริการหลายประเภทที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตของประเทศ นอกจากนั้น ไทยควรผลักดันให้มีการเปิดเสรีสินค้าเกษตรภายใต้ความตกลงนี้ด้วย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการผ่อนคลายมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายการส่งออกของไทยไปตลาดเกาหลี ทั้งนี้ หากความตกลงการค้าเสรี ไม่รวมการเปิดเสรีสินค้าเกษตร ไทยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการทำข้อตกลงดังกล่าว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ระบุเขตการค้าเสรีไทย-เกาหลี สองฝ่ายได้ประโยชน์ เตรียมเสนอเกาหลีลดภาษีอัตราสูงสุด ไทยพร้อมปรับโครงสร้างภาษีภายใน คาดอุตสาหกรรมหนักและเคมีภัณฑ์ได้รับผลกระทบเสนอเตรียมปรับตัว รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ได้ข้อสรุปที่สำคัญคือ ในด้านหลักเกณฑ์การจัดทำการค้าเสรี ไม่ควรเน้นหรือให้ความสำคัญกับประเด็นการขาดดุลการค้ากับประเทศที่จะทำความตกลงด้วย แต่ควรพิจารณาดุลการค้าโดยรวมของประเทศ หากการจัดทำความตกลงนี้ทำให้มีการนำเข้าวัตถุดิบมากขึ้นจนเป็นผลให้ขาดดุลการค้าน่าจะไม่เกิดผลเสีย เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศจะได้ประโยชน์จากราคาสินค้าที่ลดลง และหากเป็นสินค้าที่มีการส่งออก ทั้งไทยและประเทศที่ทำความตกลงด้วยก็จะได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ส่วนแนวทางการจัดทำความตกลงนั้น คือการขอให้ประเทศที่จะร่วมทำความตกลงลดภาษีสินค้าที่มีอัตราสูงสุดลงมา ขณะเดียวกันก็ต้องปรับโครงสร้างอัตราภาษีภายในประเทศให้ใกล้เคียงกันด้วย ส่วนการคัดเลือกชนิดของสินค้าที่จะทำความตกลงที่คำนึงถึงประโยชน์ผู้บริโภคและไม่สร้างความเสียหายต่อผู้ผลิต เป็นไปได้ยาก ดังนั้น ควรตัดสินใจเลือกโดยคำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมมากกว่าแล้วกระจายผลประโยชน์นั้น เพื่อผ่อนปรนความเสียหายกับผู้ที่ได้รับผลกระทบภายในประเทศ สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างไทยกับสาธาณรัฐเกาหลี ในส่วนของสินค้าที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ยาและเภสัชภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับเทียม สินค้า IT น้ำตาล ผ้าถัก ยางรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น อาหารแช่เยือกแข็ง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่อาจจะได้รับผลกระทบและต้องการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมหนักและเคมีภัณฑ์ ได้แก่ เหล็ก ปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ สิ่งทอประเภทเส้นใยสำหรับปั่นด้าย ทอผ้า ฟอกย้อม ผ้าผืนและเสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดทำเขตการค้าเสรีดังกล่าว ควรมีการพิจารณาด้านการลงทุน และบริการควบคู่ไปกับการเปิดเสรีการค้าด้วย เนื่องจากมีภาคบริการหลายประเภทที่มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตของประเทศ นอกจากนั้น ไทยควรผลักดันให้มีการเปิดเสรีสินค้าเกษตรภายใต้ความตกลงนี้ด้วย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการผ่อนคลายมาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายการส่งออกของไทยไปตลาดเกาหลี ทั้งนี้ หากความตกลงการค้าเสรี ไม่รวมการเปิดเสรีสินค้าเกษตร ไทยจะไม่ได้รับประโยชน์จากการทำข้อตกลงดังกล่าว
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-