บทสรุปสำหรับนักลงทุน
บัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการใช้งานเพื่อเข้ามาทดแทนบัลลาสต์ชนิดขดลวด เนื่องจากบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์สามารถประหยัดพลังงาน โดยช่วยประหยัดไฟได้ถึง 10 วัตต์ ต่อหลอด และการใช้งานยังไม่ต้องพึ่งพาสตาร์ทเตอร์ซึ่งช่วยทำให้ระบบการทำงานของไฟฟ้าราบรื่นและลดการสูญเสียอื่น ๆ รวมทั้งสามารถใช้ได้กับไฟฟ้าทั้งกระแสสลับที่มีการปรับเปลี่ยนของช่วงแรงดันที่กว้าง (ตั้งแต่ 210-260 โวลต์) และยังสามารถใช้ได้กับไฟฟ้ากระแสตรงที่แรงดันเหมาะสมโดยไม่ต้องเพิ่มเติมอุปกรณ์อีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้เป็นความแตกต่างที่เด่นชัดจากบัลลาสต์ชนิดแกนเหล็ก
ปัจจุบันบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์นั้นพบว่ายังมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับบัลลาสต์แกนเหล็ก โดยอาจสูงกว่าถึง 10 เท่า ในรุ่นที่คุณภาพสูง อย่างไรก็ตามหากมองในระยะยาวนั้นจะมีความคุ้มค่ากับการใช้งานมาก เช่นเดียวกับการใช้หลอดไฟฟ้าตะเกียบแบบประหยัดไฟ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคในปัจจุบันยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ค่อนข้างน้อย จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐในการรณรงค์ให้มีการใช้บัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์เช่นเดียวกับกรณีของการใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานปัจจุบันบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์มีทั้งที่ผลิตภายในประเทศและจากการนำเข้า โดย ปัจจุบันมีผู้ผลิตในประเทศประมาณ 14 ราย มีปริมาณการผลิตรวมกันประมาณ 430,000 ตัว / ปี ส่วนการนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และจีน การผลิตในประเทศนั้น ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังผลิตบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ร่วมกับการผลิตบัลลาสต์ชนิดแกนเหล็ก เนื่องจากความต้องการของตลาดยังไม่ค่อยแน่นอนนัก จากการที่ผู้บริโภคยังไม่มีข้อมูลข่าวสารในเรื่องนี้มากนัก ตราสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ Osram และ Philips ซึ่งมีทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศและบางรุ่นที่มีคุณภาพสูงมาก ๆ ที่ต้องมีการนำเข้ามาใช้กับโครงการพิเศษบางโครงการ ส่วนตราที่ผลิตในประเทศและมีชื่อเสียงคือ Econo - Watd ของบริษัท ไทยเอ็นเนอร์ยี่ คอนเซอเวชั่น
ทั้งนี้ผู้ผลิตบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ส่วนใหญ่มักมีวิธีการขายสินค้าในรูปแบบของการประมูลราคาเข้าโครงการต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ธนาคาร และเอกชนรายใหญ่ ๆ ส่วนผู้บริโภคทั่วไปนั้นตลาดยังค่อนข้างจำกัด แต่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าบางรายก็เริ่มพัฒนาการวางจำหน่ายสินค้าในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าตามห้างสรรพสินค้าบ้างแล้วในด้านการผลิตและการลงทุนนั้น ผู้ประกอบการขนาดเล็กอาจใช้งบประมาณการลงทุนตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้การลงทุนส่วนใหญ่ 65-70% เป็นด้านสินทรัพย์ถาวรซึ่งรวมถึงเครื่องจักรที่สำคัญ เช่น Wave Solution, Oscilloscope และ Probe เป็นต้น
ส่วนเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินกิจการประมาณ 30-35% ของเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ไดโอด ไอซี PCB และ Transformer (ประมาณ 60-80%) ส่วนอีก 20-40% เป็นค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดและการขาย ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าต้องการมีตำแหน่งทางการตลาดในรูปแบบการขายตรงหรือผ่านช่องทางการจำหน่ายซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดมากกว่าการขายตรงทั้งนี้กรณีเป็นกิจการขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายได้ประมาณ 5,000 ตัว/เดือน จะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 2-3 ปี (ณ ระดับราคาเฉลี่ย 450 บาท/ตัว) โดย ณ อายุโครงการ 5 ปี และได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากันโดยตลอดทั้งโครงการการลงทุนของผู้ประกอบการจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ระดับประมาณ 10 % ของรายได้จากการขายจะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 45.8%
การผลิตบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์จำเป็นต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับการจำหน่ายในประเทศ ได้แก่ มอก.1506-2541 มอก.885-2532 และ มอก.1955-2542 ส่วนการผลิตเพื่อการส่งออกนั้นต้องให้ได้มาตรฐานสากลของประเทศที่ต้องการส่งออก เช่น IEC 60598 (Luminaries) IEC 929 (1990) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการส่งออกนั้นสินค้าจากประเทศไทยอาจยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีและ Know how เป็นของตนเอง จึงยังไม่มีจุดแข็งในตลาดส่งออก ทั้งนี้ผู้ผลิตของไทยควรเน้นหนักในเรื่องการผลิตเพื่อใช้ในประเทศและทดแทนการนำเข้าเป็นสำคัญผู้ที่สนใจลงทุนในกิจการบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์สามารถปรึกษาข้อมูลทางด้านเทคนิคได้ที่ฝ่ายปฎิบัติการด้านไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือศึกษาจากตำราทางด้านอิเล็คทรอนิกส์ เช่น Print Circuit Handbook/Electronic Design Circuits and System จากห้องสมุดในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
บัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มการใช้งานเพื่อเข้ามาทดแทนบัลลาสต์ชนิดขดลวด เนื่องจากบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์สามารถประหยัดพลังงาน โดยช่วยประหยัดไฟได้ถึง 10 วัตต์ ต่อหลอด และการใช้งานยังไม่ต้องพึ่งพาสตาร์ทเตอร์ซึ่งช่วยทำให้ระบบการทำงานของไฟฟ้าราบรื่นและลดการสูญเสียอื่น ๆ รวมทั้งสามารถใช้ได้กับไฟฟ้าทั้งกระแสสลับที่มีการปรับเปลี่ยนของช่วงแรงดันที่กว้าง (ตั้งแต่ 210-260 โวลต์) และยังสามารถใช้ได้กับไฟฟ้ากระแสตรงที่แรงดันเหมาะสมโดยไม่ต้องเพิ่มเติมอุปกรณ์อีกด้วย ซึ่งคุณสมบัติที่ดีเหล่านี้เป็นความแตกต่างที่เด่นชัดจากบัลลาสต์ชนิดแกนเหล็ก
ปัจจุบันบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์นั้นพบว่ายังมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับบัลลาสต์แกนเหล็ก โดยอาจสูงกว่าถึง 10 เท่า ในรุ่นที่คุณภาพสูง อย่างไรก็ตามหากมองในระยะยาวนั้นจะมีความคุ้มค่ากับการใช้งานมาก เช่นเดียวกับการใช้หลอดไฟฟ้าตะเกียบแบบประหยัดไฟ อย่างไรก็ตามผู้บริโภคในปัจจุบันยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ค่อนข้างน้อย จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐในการรณรงค์ให้มีการใช้บัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์เช่นเดียวกับกรณีของการใช้หลอดไฟฟ้าแบบประหยัดพลังงานปัจจุบันบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์มีทั้งที่ผลิตภายในประเทศและจากการนำเข้า โดย ปัจจุบันมีผู้ผลิตในประเทศประมาณ 14 ราย มีปริมาณการผลิตรวมกันประมาณ 430,000 ตัว / ปี ส่วนการนำเข้าส่วนใหญ่นำเข้ามาจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เกาหลีใต้ และจีน การผลิตในประเทศนั้น ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังผลิตบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ร่วมกับการผลิตบัลลาสต์ชนิดแกนเหล็ก เนื่องจากความต้องการของตลาดยังไม่ค่อยแน่นอนนัก จากการที่ผู้บริโภคยังไม่มีข้อมูลข่าวสารในเรื่องนี้มากนัก ตราสินค้าที่สำคัญ ได้แก่ Osram และ Philips ซึ่งมีทั้งสินค้าที่ผลิตในประเทศและบางรุ่นที่มีคุณภาพสูงมาก ๆ ที่ต้องมีการนำเข้ามาใช้กับโครงการพิเศษบางโครงการ ส่วนตราที่ผลิตในประเทศและมีชื่อเสียงคือ Econo - Watd ของบริษัท ไทยเอ็นเนอร์ยี่ คอนเซอเวชั่น
ทั้งนี้ผู้ผลิตบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ส่วนใหญ่มักมีวิธีการขายสินค้าในรูปแบบของการประมูลราคาเข้าโครงการต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ธนาคาร และเอกชนรายใหญ่ ๆ ส่วนผู้บริโภคทั่วไปนั้นตลาดยังค่อนข้างจำกัด แต่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าบางรายก็เริ่มพัฒนาการวางจำหน่ายสินค้าในแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าตามห้างสรรพสินค้าบ้างแล้วในด้านการผลิตและการลงทุนนั้น ผู้ประกอบการขนาดเล็กอาจใช้งบประมาณการลงทุนตั้งแต่ 3 ล้านบาทขึ้นไป ทั้งนี้การลงทุนส่วนใหญ่ 65-70% เป็นด้านสินทรัพย์ถาวรซึ่งรวมถึงเครื่องจักรที่สำคัญ เช่น Wave Solution, Oscilloscope และ Probe เป็นต้น
ส่วนเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการดำเนินกิจการประมาณ 30-35% ของเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ไดโอด ไอซี PCB และ Transformer (ประมาณ 60-80%) ส่วนอีก 20-40% เป็นค่าใช้จ่ายในด้านการตลาดและการขาย ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตว่าต้องการมีตำแหน่งทางการตลาดในรูปแบบการขายตรงหรือผ่านช่องทางการจำหน่ายซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดมากกว่าการขายตรงทั้งนี้กรณีเป็นกิจการขนาดเล็ก ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นประมาณ 5 ล้านบาท ทำการผลิตและจำหน่ายได้ประมาณ 5,000 ตัว/เดือน จะใช้เวลาคืนทุนประมาณ 2-3 ปี (ณ ระดับราคาเฉลี่ย 450 บาท/ตัว) โดย ณ อายุโครงการ 5 ปี และได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่ากันโดยตลอดทั้งโครงการการลงทุนของผู้ประกอบการจะมีกำไรสุทธิอยู่ที่ระดับประมาณ 10 % ของรายได้จากการขายจะมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 45.8%
การผลิตบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์จำเป็นต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) สำหรับการจำหน่ายในประเทศ ได้แก่ มอก.1506-2541 มอก.885-2532 และ มอก.1955-2542 ส่วนการผลิตเพื่อการส่งออกนั้นต้องให้ได้มาตรฐานสากลของประเทศที่ต้องการส่งออก เช่น IEC 60598 (Luminaries) IEC 929 (1990) เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการส่งออกนั้นสินค้าจากประเทศไทยอาจยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก เนื่องจากยังไม่มีเทคโนโลยีและ Know how เป็นของตนเอง จึงยังไม่มีจุดแข็งในตลาดส่งออก ทั้งนี้ผู้ผลิตของไทยควรเน้นหนักในเรื่องการผลิตเพื่อใช้ในประเทศและทดแทนการนำเข้าเป็นสำคัญผู้ที่สนใจลงทุนในกิจการบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์สามารถปรึกษาข้อมูลทางด้านเทคนิคได้ที่ฝ่ายปฎิบัติการด้านไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือศึกษาจากตำราทางด้านอิเล็คทรอนิกส์ เช่น Print Circuit Handbook/Electronic Design Circuits and System จากห้องสมุดในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--