การส่งออก ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากปีก่อน มูลค่าการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 21.1 เนื่องจากปริมาณการส่งออกขยายตัว โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และประเทศในภูมิภาคอาเซียน ส่วนราคาส่งออกโดยเฉลี่ย แม้จะมีทิศทางเพิ่มขึ้นจากครึ่งหลังของปีก่อน แต่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า ช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะราคาในตลาดโลก มูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นมากนั้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูง ได้แก่ แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันประมาณ 1 ใน 3 ของมูลค่า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ทางด้าน การส่งออกคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ตามความต้องการใน ตลาดโลก นอกจากนี้ สินค้าสำคัญในกลุ่ม ที่ใช้แรงงานสูง ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอัญมณี และในกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ ได้แก่ผลิตภัณฑ์ยาง และเฟอร์นิเจอร์ ขยายตัวสูงเช่นกัน รวมถึงการส่งออกกุ้งสดแช่แข็ง ซึ่งราคาส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลผลิตของประเทศคู่แข่งได้รับความเสียหายจากโรคระบาด สำหรับ การส่งออกสินค้าเกษตร ประสบปัญหาราคาตกต่ำทำให้มูลค่าการส่งออกลดลง โดยเฉพาะข้าว มันสำปะหลัง และไก่สด แช่แข็ง ยกเว้นการส่งออกยางพารา ที่เพิ่มขึ้น ทั้งทางด้านปริมาณและราคา ตามความต้องการใช้ยางธรรมชาติ เพื่อ ทดแทนยางสังเคราะห์ที่ราคาสูงขึ้นตามราคา น้ำมัน
การนำเข้า มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของ ปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.6 เนื่องจากปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมที่ต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าจาก ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคานำเข้าโดยเฉลี่ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ (แม้ราคาน้ำมันดิบ จะสูงขึ้น) สินค้าที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่องได้แก่ สินค้าทุน และ วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ส่วนหนึ่งเป็น การนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) จำนวน 5 ลำ มูลค่าประมาณ 791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทางด้านการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค แม้จะขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปีก่อน แต่มีแนวโน้มทรงตัว เมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปีก่อน สำหรับ มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นมากนั้น เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสำคัญ แต่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด แม้มูลค่าการส่งออกจะสูงกว่าการนำเข้า แต่การนำเข้าที่ขยายตัวสูง ทำให้การเกินดุลการค้าชะลอลงจากครึ่งหลังของปีก่อน เหลือ 2.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุลใกล้เคียงกับครึ่งหลังของปีก่อน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเหลือ 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินทุนเคลื่อนย้าย ขาดดุล 7.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 4.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารชำระหนี้ต่างประเทศสูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นการชำระหนี้ก่อนกำหนด 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ เพราะแรงจูงใจจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ที่อยู่ในระดับต่ำกับอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศที่สูงขึ้นตามการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา และจาก สภาพคล่องเงินบาทในประเทศที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจเอกชนที่มีศักยภาพระดมเงินบาท ในประเทศ นำไปชำระหนี้ต่างประเทศ ประกอบกับค่าเงินบาทที่ค่อนข้างมี เสถียรภาพทำให้มีการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทในระยะสั้นไม่สามารถแข็งขึ้นจากระดับที่เป็นอยู่ในไตรมาสที่ 1 ได้ ส่วนภาคธนาคารขาดดุลลดลง ทั้งธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจ สำหรับเงินทุนภาคทางการ (รวมธปท.) เกินดุลเพียงเล็กน้อยและลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน เพราะ การชำระคืนภาระ Swap ที่เกิดจากการเพิ่มสภาพคลองเงินบาทในช่วงก่อน Y2K และการชำระคืนพันธบัตรที่ครบอายุไถ่ถอน อนึ่งทางการได้ออกตราสารหนี้ระยะสั้นในตลาดทุนยุโรป (Euro commercial paper) เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กู้ต่อเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศจำนวน 473.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ด้วย
ดุลการชำระเงินเปลี่ยนจากเกินดุลในช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นขาดดุลถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 อยู่ที่ระดับ 32.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่ากับ การนำเข้า 7.1 เดือน โดยมียอดคงค้าง การขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การนำเข้า มูลค่าการนำเข้า ขยายตัวสูงต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของ ปีก่อน โดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 34.6 เนื่องจากปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศและการส่งออกสินค้า อุตสาหกรรมที่ต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าจาก ต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคานำเข้าโดยเฉลี่ยยังคงอยู่ในระดับต่ำ (แม้ราคาน้ำมันดิบ จะสูงขึ้น) สินค้าที่มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่องได้แก่ สินค้าทุน และ วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ ส่วนหนึ่งเป็น การนำเข้าเครื่องบินเพื่อการพาณิชย์ของบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) จำนวน 5 ลำ มูลค่าประมาณ 791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ทางด้านการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค แม้จะขยายตัวสูงเมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปีก่อน แต่มีแนวโน้มทรงตัว เมื่อเทียบกับครึ่งหลังของปีก่อน สำหรับ มูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นมากนั้น เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสำคัญ แต่ปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัด แม้มูลค่าการส่งออกจะสูงกว่าการนำเข้า แต่การนำเข้าที่ขยายตัวสูง ทำให้การเกินดุลการค้าชะลอลงจากครึ่งหลังของปีก่อน เหลือ 2.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการและบริจาคที่เกินดุลใกล้เคียงกับครึ่งหลังของปีก่อน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงเหลือ 4.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
เงินทุนเคลื่อนย้าย ขาดดุล 7.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นมากจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดดุล 4.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารชำระหนี้ต่างประเทศสูงถึง 3.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นการชำระหนี้ก่อนกำหนด 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ เพราะแรงจูงใจจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ที่อยู่ในระดับต่ำกับอัตราดอกเบี้ยต่างประเทศที่สูงขึ้นตามการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา และจาก สภาพคล่องเงินบาทในประเทศที่เอื้ออำนวยให้ธุรกิจเอกชนที่มีศักยภาพระดมเงินบาท ในประเทศ นำไปชำระหนี้ต่างประเทศ ประกอบกับค่าเงินบาทที่ค่อนข้างมี เสถียรภาพทำให้มีการคาดการณ์ว่าค่าเงินบาทในระยะสั้นไม่สามารถแข็งขึ้นจากระดับที่เป็นอยู่ในไตรมาสที่ 1 ได้ ส่วนภาคธนาคารขาดดุลลดลง ทั้งธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจ สำหรับเงินทุนภาคทางการ (รวมธปท.) เกินดุลเพียงเล็กน้อยและลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน เพราะ การชำระคืนภาระ Swap ที่เกิดจากการเพิ่มสภาพคลองเงินบาทในช่วงก่อน Y2K และการชำระคืนพันธบัตรที่ครบอายุไถ่ถอน อนึ่งทางการได้ออกตราสารหนี้ระยะสั้นในตลาดทุนยุโรป (Euro commercial paper) เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กู้ต่อเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศจำนวน 473.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ด้วย
ดุลการชำระเงินเปลี่ยนจากเกินดุลในช่วงเดียวกันปีก่อนเป็นขาดดุลถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เงินสำรองทางการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 อยู่ที่ระดับ 32.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือเทียบเท่ากับ การนำเข้า 7.1 เดือน โดยมียอดคงค้าง การขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-