ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๔๔ หมวด ๖ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ข่าวการเมือง Tuesday June 5, 2001 10:02 —รัฐสภา

                        ข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา
พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด ๖
การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ข้อ ๑๐๖ ให้มีสารบบลงวัน เดือน ปี ที่วุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจากสภาผู้แทนราษฎร และวัน เดือน ปี ที่วุฒิสภา
ส่งร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญคืนไปยังสภาผู้แทน
ราษฎร
ข้อ ๑๐๗ เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการ
ประชุมเป็นเรื่องด่วน
ข้อ ๑๐๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๘๐ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ การพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้กระทำเป็นสามวาระตาม
ลำดับ
ข้อ ๑๐๙ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติหรือ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดในวาระที่หนึ่งแล้ว ประธานวุฒิสภาอาจพิจารณา
มอบหมายให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภาคณะใดคณะหนึ่งที่เกี่ยวข้องหรือในกรณี
ที่มีความจำเป็น วุฒิสภาอาจตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง มีจำนวนไม่เกิน
สิบเอ็ดคน แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง พระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นเฉพาะกรณีไปก็ได้ และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็น
ชอบในวาระที่สามแล้ว ให้คณะกรรมาธิการดังกล่าวรายงานต่อประธานวุฒิสภาเป็นการด่วน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของสมาชิกในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นต่อไป
ข้อ ๑๑๐ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ
ธรรมนูญในวาระที่หนึ่ง ให้พิจารณาและลงมติว่า จะรับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไว้พิจารณาหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
ข้อ ๑๑๑ ในกรณีที่วุฒิสภามีมติในวาระที่หนึ่ง รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา ให้วุฒิสภาพิจารณาในลำดับต่อไปเป็นวาระ
ที่สอง
ข้อ ๑๑๒ การพิจารณาในวาระที่สอง ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ หรือ
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง หรือกรรมาธิการ
เต็มสภา
ตามปกติ ให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ
ธรรมนูญโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำ
ได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคนและที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ
ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญโดยกรรมาธิการ
เต็มสภานั้น วุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาใดโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นก็ได้
ข้อ ๑๑๓ ในกรณีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้งนั้น วุฒิสภาจะมอบหมายให้คณะกรร
มาธิการสามัญประจำวุฒิสภาหรือคณะกรรมาธิการวิสามัญเป็นผู้พิจารณาก็ได้
ข้อ ๑๑๔ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญขั้นคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง สมาชิกผู้ใดเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราช
บัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ให้เสนอคำแปรญัตติล่วงหน้าเป็น
หนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันถัดจากวันที่วุฒิสภารับ
ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา เว้นแต่วุฒิสภา
จะได้กำหนดเวลาแปรญัตติสำหรับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐ
ธรรมนูญนั้นไว้เป็นอย่างอื่น
การแปรญัตติ โดยปกติต้องแปรเป็นรายมาตรา และให้เป็นไปตามแบบที่
เลขาธิการวุฒิสภากำหนด
ข้อ ๑๑๕ เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่าง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้เสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น โดยแสดงร่างเดิมและการแก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อ
ประธานวุฒิสภา รายงานนั้นอย่างน้อยต้องระบุว่าได้มีหรือไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราใด
บ้าง และถ้ามีการแปรญัตติ มติของคณะกรรมาธิการเกี่ยวด้วยคำแปรญัตตินั้นเป็นประการใด
หรือมีการสงวนคำแปรญัตติของผู้แปรญัตติ หรือมีการสงวนความเห็นของกรรมาธิการ ก็ให้ระบุไว้
ในรายงานด้วย
ในกรณีที่คณะกรรมาธิการเห็นว่ามีข้อสังเกตที่คณะรัฐมนตรีหรือองค์กรอิสระ
ตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องควรทราบหรือควรปฏิบัติ ให้บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวนั้นไว้ใน
รายงานของคณะกรรมาธิการเพื่อให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณา และให้นำความใน ข้อ ๙๑
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๑๖ เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและรายงานของคณะกรรมาธิการตามข้อ ๑๑๕ แล้ว ให้เสนอวุฒิ
สภาเพื่อพิจารณาต่อไป โดยให้บรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
ข้อ ๑๑๗ ในกรณีที่วุฒิสภามีมติให้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระ
ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญโดยกรรมาธิการเต็มสภา ให้ถือว่าสมาชิกทุกคนในที่
ประชุมประกอบกันเป็นคณะกรรมาธิการ และประธานของที่ประชุมมีฐานะเป็นประธาน
คณะกรรมาธิการด้วย
การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภา เป็นทั้งการพิจารณาขั้นคณะกรรมาธิการ
และการพิจารณาของวุฒิสภาในวาระที่สองเรียงตามลำดับมาตรารวมกันไป
ข้อ ๑๑๘ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ให้วุฒิสภาพิจารณาเริ่มต้นด้วยชื่อร่าง
คำปรารภ แล้วพิจารณาเรียงตามลำดับมาตรา และให้อภิปรายได้เฉพาะถ้อยคำหรือข้อความที่มี
การแก้ไขเพิ่มเติม หรือที่ผู้แปรญัตติสงวนคำแปรญัตติ หรือที่กรรมาธิการสงวนความเห็นไว้
ทั้งนี้ เว้นแต่ที่ประชุมวุฒิสภาจะได้ลงมติเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๑๑๙ เมื่อได้พิจารณาตามข้อ ๑๑๘ จนจบร่างแล้ว ให้วุฒิสภาพิจารณาทั้ง
ร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง และในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำได้
แต่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความใดมิได้ นอกจากเนื้อความที่เห็นว่ายังขัดแย้งกันอยู่
ข้อ ๑๒๐ เมื่อได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญในวาระที่สองเสร็จแล้ว ให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไปในวาระที่สาม
ข้อ ๑๒๑ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญในวาระที่สาม ให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับ
สภาผู้แทนราษฎร หรือถ้าในการพิจารณาในวาระที่สองได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราช
บัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ก็ให้ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติว่า ให้แก้
ไขเพิ่มเติมหรือไม่แก้ไขเพิ่มเติม ในกรณีเช่นว่านี้ มติให้แก้ไขเพิ่มเติมให้หมายความว่าให้แก้
ไขเพิ่มเติมตามที่ได้พิจารณาไว้ในวาระที่สอง และมติไม่แก้ไขเพิ่มเติม
ให้หมายความว่าวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติม
การพิจารณาในวาระนี้ไม่มีการอภิปราย
ข้อ ๑๒๒ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญ เมื่อวุฒิสภามีมติเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทน
ราษฎร หรือให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้สภาผู้แทนราษฎรทราบ
ข้อ ๑๒๓ ในกรณีวุฒิสภาได้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระ
ราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันตาม
มาตรา ๑๗๕ (๓) ของรัฐธรรมนูญ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้แจ้งจำนวนกรรมาธิการ
ร่วมกันมาให้ทราบแล้ว ให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้วุฒิสภาตั้งกรรมาธิการ
ร่วมกัน
เมื่อคณะกรรมาธิการร่วมกันได้เสนอร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่ได้พิจารณาแล้วพร้อมกับรายงานของคณะกรรมาธิการ
ให้ประธานวุฒิสภาบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน และให้วุฒิสภาพิจารณา
ลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญนั้น
ข้อ ๑๒๔ วุฒิสภาจะต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรม
นูญ ถ้าการพิจารณาของวุฒิสภาอาจไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ประธานคณะ
กรรมาธิการรายงานให้ประธานวุฒิสภาทราบเพื่อดำเนินการขอให้วุฒิสภาขยายเวลาออกไป
เป็นกรณีพิเศษ
ข้อ ๑๒๕ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายแล้ว ให้วุฒิสภาตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้น
คณะหนึ่งมีจำนวนตามที่ที่ประชุมวุฒิสภากำหนด เพื่อพิจารณาศึกษาร่างพระราชบัญญัติดัง
กล่าว
ข้อ ๑๒๖เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ
ประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบ
ประมาณรายจ่ายจากสภาผู้แทนราษฎร ให้ประธานวุฒิสภาส่งร่างพระราชบัญญัตินั้นไปยัง
คณะกรรมาธิการวิสามัญตามข้อ ๑๒๕ เป็นการด่วน และให้คณะกรรมาธิการพิจารณาและ
รายงานความเห็นต่อประธานวุฒิสภาให้แล้วเสร็จภายในสิบวันนับแต่วันที่ ได้รับร่างพระราช
บัญญัติดังกล่าว การพิจารณาในขั้นคณะกรรมาธิการนี้ไม่มีการแปรญัตติ
เมื่อประธานวุฒิสภาได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบ
ประมาณ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือร่างพระราชบัญญัติโอนงบ
ประมาณรายจ่าย พร้อมทั้งรายงานความเห็นของคณะกรรมาธิการตามวรรคหนึ่ง ให้บรรจุเข้า
ระเบียบวาระการประชุมเป็นเรื่องด่วน
ข้อ ๑๒๗ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามข้อ ๑๒๖ ให้วุฒิสภาพิจารณา
และลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ในการพิจารณาครั้งนี้สมาชิกจะขอแก้ไขเพิ่มเติมมิได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ