แท็ก
สำนักนายกรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 เครือข่ายคณะทำงานตรวจสอบค่าเอฟที ได้ยื่นข้อร้องเรียนจำนวน 4 ข้อ ต่อรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ในฐานะกำกับดูแลด้านพลังงาน เกี่ยวกับการยกเลิกค่าเอฟที ค่าบริการ และการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค
ต่อมา รมต. จาตุรนต์ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) พิจารณาตอบข้อร้องเรียนของเครือข่ายคณะทำงานฯ ดังกล่าว สพช. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ และตอบข้อร้องเรียนในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกการเก็บค่าเอฟที กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนไม่สมควรยกเลิกการเก็บค่าเอฟที กับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน และติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ เนื่องจาก
1.1 ผู้ใช้ไฟกลุ่มนี้ได้รับการอุดหนุนค่าไฟฟ้า จากผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นอยู่แล้ว ทั้งอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ และค่าบริการ โดยเฉลี่ยผู้ใช้ไฟกลุ่มนี้ จะจ่ายค่าไฟฟ้า ต่ำกว่าผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นๆ ค่อนข้างมาก อีกทั้ง การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 จ่ายค่าไฟแพงขึ้นกว่าโครงสร้างเดิม
อัตราค่าไฟฟ้าฐานสำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1
(ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน และติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์)
อัตราค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้า ได้รับการอุดหนุน
ที่เรียกเก็บ ตามต้นทุนจริง ค่าไฟฟ้า
ค่าบริการรายเดือน (บาท/เดือน) 8.19 40.9 32.71
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย)
หน่วยที่ 1-5 0 2.319 2.319
หน่วยที่ 6-15 1.358 2.319 0.961
หน่วยที่ 16-25 1.545 2.319 0.774
หน่วยที่ 26-35 1.797 2.319 0.522
หน่วยที่ 36-100 2.18 2.319 0.139
หน่วยที่ 101-150 2.273 2.319 0.045
อัตราค่าไฟฟ้าฐานสำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.2
(ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วย/เดือน หรือติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์)
อัตราค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้า การอุดหนุน
ที่เรียกเก็บ ตามต้นทุนจริง ค่าไฟฟ้า
ค่าบริการรายเดือน (บาท/เดือน) 40.9 40.9 -
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย)
หน่วยที่ 1-150 1.805 2.319 0.514
หน่วยที่ 151-400 2.778 2.319 -0.46
เกินกว่า 400 หน่วย 2.978 2.319 -0.66
1.2 ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 ในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 8.783 ล้านราย มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 557.1 ล้านหน่วย/เดือน หรือประมาณ 1,317.3 ล้านบาท/เดือน คิดเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 2.36 บาท/หน่วย ในขณะที่ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 มีจำนวน 3.623 ล้านราย จ่ายค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 3.03 บาท/หน่วย ซึ่งจ่ายแพงกว่าผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 อยู่ 0.67 สตางค์/หน่วย
การใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย
(คำนวณโดยใช้ค่า Ft = 27.13 สตางค์/หน่วย)
ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า จำนวนผู้ใช้ไฟ มูลค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย
(ล้านราย) (ล้านบาท/เดือน) (บาท/หน่วย)
ประเภท 1.1 8.783 1,317 2.36
ประเภท 1.2 3.623 3,492 3.03
รวม 12.41 4,809 2.82
ปัจจุบันผู้ใช้ไฟทั้งประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 13.604 ล้านราย ดังนั้น หากยกเลิกการเก็บค่าเอฟทีผู้ใช้ไฟประเภท 1.1 จะทำให้รายได้จากค่าเอฟที หายไป 161.7 ล้านบาท/เดือน หรือ 1,940.6 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น จำนวน 4.821 ล้านราย ที่จะต้องมารับภาระค่าเอฟที คิดเป็นเงินประมาณ 2.06 สตางค์ต่อหน่วย
ผลกระทบจากการยกเลิกค่าเอฟทีผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1
(รวม VAT 7%)
จำนวนผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 8.783ล้านราย
หน่วยการใช้ไฟฟ้า 557.1ล้านหน่วย/เดือน
ค่า Ft ปัจจุบัน 27.13สตางค์/หน่วย
รายได้จากค่า Ft ที่หายไป 161.7ล้านบาท/เดือน
(557.09 x 0.2713 x 1.07)
หรือ = 1,940.64 ล้านบาท/ปี
การรับภาระของผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น
จำนวนผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นที่ต้องรับภาระ 4.821ล้านราย
หน่วยการใช้ไฟฟ้า = 7,853.43 ล้านหน่วย/เดือน
รับภาระค่า Ft 2.06สตางค์/หน่วย
1.3 รัฐบาลตระหนักดีว่าผู้ด้อยโอกาสในสังคม และครัวเรือนที่มีรายได้น้อย กำลังประสบปัญหา ทางด้านค่าครองชีพ และเป็นกลุ่มที่รัฐ จำเป็นต้องมีนโยบายในการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ดังนั้น ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจาก ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1 จึงอยู่ในระดับต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง โดยได้รับการชดเชยจากผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น การลดค่าไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟ ประเภท 1.1 ให้ต่ำลงไปอีก จะทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้า อย่างไม่ประหยัด และไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเป็นภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น การช่วยเหลือครัวเรือนเหล่านี้ โดยใช้นโยบายทางด้านการเงิน การคลัง หรือทางสังคม ที่มุ่งเน้นครัวเรือนยากจนโดยตรง น่าจะมีความเหมาะสมกว่า โดยเฉพาะรัฐบาล ก็ได้กำหนดนโยบายในการช่วยเหลือ ผู้ที่มีรายได้น้อยหลายเรื่องแล้ว เช่น ค่ารักษาพยาบาล 30 บาท การพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และธนาคารประชาชน เป็นต้น
2. ให้ยกเลิกการแยกประเภทการเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัย โดยให้มีการคิดค่าบริการ ในอัตราขั้นต่ำที่ 8.19 บาท/เดือนเท่านั้น
ไม่สมควรยกเลิกการแยกประเภทการเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ควรให้มีการคิดค่าบริการ สำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 ในอัตรา 8.19 บาท/เดือน และคิดค่าบริการ สำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.2 ในอัตรา 40.90 บาท/เดือน เช่นเดิม เนื่องจาก
2.1 ค่าบริการที่การไฟฟ้า เรียกเก็บในแต่ละเดือน คือ ค่าใช้จ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ในการจัดหามิเตอร์ และค่าใช้จ่าย ในการเก็บเงินแต่ละเดือน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจดมิเตอร์ การจัดทำบิลค่าไฟฟ้า/ใบเสร็จรับเงิน ค่าจัดส่ง และจัดเก็บเงินค่าไฟฟ้า และการบำรุงรักษามิเตอร์ เป็นต้น ซึ่งค่าบริการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของอัตราค่าไฟฟ้า มานานแล้ว เพียงแต่ในช่วงที่ผ่านมา จะแฝงอยู่ในรายการค่าไฟขั้นต่ำ ตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าเดิม ซึ่งมิได้แยกรายการให้เห็นบนบิลค่าไฟฟ้า โดยผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 จะต้องจ่ายค่าไฟขั้นต่ำในอัตรา 83.18 บาท/เดือน ในการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เมื่อเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการแยกต้นทุนค่าบริการออกมา ให้เห็นอย่างชัดเจนในบิลค่าไฟฟ้า และได้ปรับอัตราลดลงเหลือ 40.90 บาท/เดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าโครงสร้างเดิมแล้ว
2.2 ต้นทุนค่าบริการไฟฟ้าที่แท้จริง ของผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ทั้งประเภท 1.1 และ 1.2 จะเท่ากับ 40.90 บาท/เดือน แต่เนื่องจากรัฐบาล ยังคงนโยบายการให้การอุดหนุนผู้ใช้ไฟ ที่มีรายได้น้อย จึงกำหนดให้ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 จ่ายค่าบริการไฟฟ้าเพียง 8.19 บาท/เดือน โดยได้รับการอุดหนุนจากผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นอยู่ 32.71 บาท/เดือน ในขณะที่ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.2 จ่ายค่าบริการตามต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้น การกำหนดค่าบริการของผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 จึงไม่ได้กำหนดให้สูงเกินกว่าต้นทุนที่แท้จริง
2.3 หากคิดค่าบริการผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยทั้ง 2 ประเภท ในอัตราเท่ากันคือ 8.19 บาท/เดือน รายได้จากการเก็บค่าบริการ จะลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น ที่จะต้องรับภาระแทน กล่าวคือรายได้จากการเก็บค่าบริการ จะลดลง 126.8 ล้านบาท/เดือน หรือ 1,521.2 ล้านบาท/ปี ผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น จะต้องรับภาระ โดยเฉลี่ยเป็นเงิน 105.9 บาท/ราย/เดือน หรือ 1,270.9 บาท/ราย/ปี
ผลกระทบจากการคิดค่าบริการผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย
ประเภท 1.2 เท่ากับ 8.19 บาท/เดือน
จำนวนผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 3.622ล้านราย
ค่าบริการที่ลดลง (รวม VAT) 35ล้านบาท/เดือน
(43.76 | 8.76)
รายได้ของการไฟฟ้าที่ลดลง 126.8ล้านบาท/เดือน
(35.00 x 3.62)
หรือ = 1,521.24 ล้านบาท/ปี
การรับภาระของผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น
จำนวนผู้ใช้ไฟทั้งประเทศ 13.6ล้านราย
จำนวนผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย 12.41ล้านราย
จำนวนผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นที่ต้องรับภาระ 1.197ล้านราย
รับภาระค่าบริการ 105.9บาท/ราย/เดือน
หรือ = 1,270.92 บาท/ราย/ปี
3. ให้มีการพิจารณาทบทวน โครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานใหม่ โดยไม่มีการเก็บค่าเอฟที กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่มไม่สมควรยกเลิกการเก็บค่าเอฟที ควรคงลักษณะการกำหนดค่าไฟฟ้า เช่นในปัจจุบัน กล่าวคือ ค่าไฟฟ้า จะประกอบด้วย ค่าไฟฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft เนื่องจาก
3.1 โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft โดยค่าไฟฟ้าฐาน จะประกอบด้วย ต้นทุนทางด้านการผลิตไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบสายจำหน่าย และการบริการลูกค้า ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ : ภาระในการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา กำไรในระดับที่ “เหมาะสม” (ซึ่งในปัจจุบันกำหนดให้มีกำไรเพียงพอที่จะสมทบ 25% ของการลงทุนใหม่) เงินนำส่งคลัง ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน (ซึ่งรวมถึงเงินเดือน สวัสดิการ และโบนัส) รวมทั้งการสูญเสียในระบบ ภายใต้สมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการไฟฟ้าในระดับหนึ่ง แต่หากราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ แตกต่างจากค่าที่กำหนดไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน จะมีการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เพื่อให้ค่าไฟฟ้าสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
3.2 การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ดังกล่าว ทำให้ค่าไฟฟ้ามีความชัดเจน โปร่งใส ผู้ใช้ไฟสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของการไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังทำให้การไฟฟ้า มีความคล่องตัวในการบริหารงาน และส่งเสริมให้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ในช่วงเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการแยกต้นทุนทางด้านต่างๆ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่ กิจการผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และการให้บริการ ทำให้โครงสร้างค่าไฟฟ้า มีความโปร่งใสชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถตรวจสอบได้ และการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ก็สามารถตรวจสอบได้โดยผู้ใช้ไฟฟ้า และองค์กรของรัฐ ว่ามาจากปัจจัยใดบ้าง ซึ่งเป็นผลดีต่อประชาชน และจะทำให้ค่าไฟฟ้า ต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีการแยกต้นทุน ให้เห็นอย่างชัดเจน
การตรวจสอบดังกล่าวสามารถดำเนินการได้จากข้อมูล ดังนี้
บิลค่าไฟฟ้า โดยเฉพาะบิลค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟประเภทอุตสาหกรรม จะมีการแยกรายละเอียดค่าไฟฟ้า ตามกิจการผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และค่าบริการ รวมทั้งค่า Ft ก็จำแนกตามต้นทุนดังกล่าวด้วยเช่นกัน ประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ซึ่งได้แสดงรายละเอียดอัตราค่าไฟฟ้า ตามประเภทกิจการด้วย ติดต่อขอข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือจาก Website “www.egat.or.th ”
รายละเอียดการคำนวณค่า Ft สามารถศึกษาได้จาก Website ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ “www.nepo.go.th ” ซึ่งได้รวบรวมข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดค่าไฟฟ้าฐานและค่า Ft ตลอดจนรายละเอียดการปรับค่า Ft ในแต่ละครั้ง 3.3 ปัจจุบันการไฟฟ้ามีรายได้จากค่าเอฟทีที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟทุกประเภท ประมาณ 2,130.6 ล้านบาท/เดือน (คิดจากค่า Ft เท่ากับ 27.13 สตางค์/หน่วย) หรือประมาณ 25,567.6 ล้านบาท/ปี
ผลกระทบจากการยกเลิกค่า Ft
ค่า Ft 27.13สตางค์/หน่วย
หน่วยการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน = 7,853.42 ล้านหน่วย/เดือน
มูลค่า Ft = 2,130.63 ล้านบาท/เดือน
หรือ = 25,567.56 ล้านบาท/ปี
ดังนั้น หากยกเลิก Ft จะส่งผลกระทบดังนี้
(1) หากยกเลิกการเก็บค่าเอฟที โดยตัดออกไปจากโครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าของประชาชนจะลดลงเพียงร้อยละ 10 ในช่วงแรก แต่จะมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้าอย่างรุนแรง การไฟฟ้าจะไม่มีรายได้เพียงพอที่จะไปลงทุนโครงการใหม่ เพื่อขยายกำลังการผลิตและระบบไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และพัฒนาคุณภาพบริการ และจะไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลให้มีไฟฟ้าไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาไฟตกไฟดับ มีผลกระทบต่อคุณภาพไฟฟ้าและการให้บริการ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในที่สุด ดังที่เคยเกิดขึ้นในบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์
การยกเลิกค่า Ft จะทำให้รายได้ของการไฟฟ้าหายไป 25,567.6 ล้านบาท ส่งผลให้การไฟฟ้าไม่มีรายได้สมทบการลงทุนในโครงการใหม่ กล่าวคือ ในปี 2543 กฟผ. มีกำไรสุทธิ 20,175 ล้านบาท โดยมีรายได้สมทบการลงทุนในโครงการใหม่ 5,226 ล้านบาท มีอัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ (Self-Financing Ratio : SFR) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางการเงินที่ผู้ให้กู้กำหนด เท่ากับร้อยละ 17.99 หากยกเลิกค่า Ft จะส่งผลให้ กฟผ. ขาดทุนประมาณ 5,392.6 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้การไฟฟ้า ไม่มีเงินเพียงพอในการจ่ายคืนเงินต้น และไม่มีรายได้ไปสมทบการลงทุนในโครงการใหม่
ผลกระทบต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้าปี 2543
การคิดค่า Ft กรณียกเลิกค่า Ft
กำไรสุทธิ 20,175 -5392.6
รายได้สมทบการลงทุน (ล้านบาท) 5,226 -20341.6
Self-Financing Ratio (%) 17.99 -70.02
(2) หากมีการยกเลิกการเก็บค่า Ft แต่มีการจัดหางบประมาณ เพื่อชดเชยรายได้ ของการไฟฟ้าที่หายไป ก็จะต้องจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นภาระกับประชาชนในที่สุด และไม่เป็นธรรม ต่อประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าน้อย ผู้ที่ได้เปรียบก็คือ ผู้ที่ใช้ไฟฟ้ามากแต่เสียภาษีน้อย
(3) หากมีการยกเลิก Ft และนำค่า Ft รวมไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งจะต้องมีการจัดทำโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ โดยจะต้องประมาณการปัจจัยที่มีผลต่อค่า Ft ในอนาคต ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และความต้องการใช้ไฟฟ้า ไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานด้วย การดำเนินการดังกล่าวมีประเด็นที่จะต้องพิจารณา ดังนี้
ในกรณีที่ราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ และอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง การไฟฟ้าอาจจะประสบ ปัญหาทางการเงิน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการและความมั่นคงของการจ่ายไฟฟ้า แต่ในทางตรงกันข้าม หากราคาเชื้อเพลิงถูกลง และอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าก็จะไม่ได้รับประโยชน์ จากต้นทุนที่ลดลงดังกล่าว
ค่าไฟฟ้าไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ไม่ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดแรงจูงใจให้การไฟฟ้าบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การปรับค่าไฟฟ้าในแต่ละครั้ง จะใช้เวลานาน ดังนั้น ในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานใหม่ การไฟฟ้าจำเป็นต้องบวกเพิ่มความเสี่ยงของราคาเชื้อเพลิง และอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตไปด้วย เนื่องจากการไฟฟ้า ไม่สามารถปรับปรุงค่าไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับต้นทุน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในภายหลัง ส่งผลให้โดยเฉลี่ยค่าไฟฟ้า ที่ประชาชนจ่าย จะแพงขึ้น ค่าไฟฟ้ามีความโปร่งใสน้อยลง การตรวจสอบของผู้บริโภคและภาครัฐจะทำได้ยาก
เป็นการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในลักษณะเดิม กล่าวคือ การปรับอัตราค่าไฟฟ้า ในแต่ละครั้ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี จะทำให้การเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าไฟฟ้า อยู่ภายใต้แรงกดดัน และการตัดสินใจทางการเมือง ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าอาจจะมีความบิดเบือน ไม่สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้า มีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังทำให้การบริหารงานทางด้านไฟฟ้า ทำได้ยาก ไม่มีความคล่องตัว ผู้บริหารมีเวลาน้อยลงในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร
3.4 ภายใต้สภาวะการณ์ที่อัตราแลกเปลี่ยน และราคาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน มีความผันผวนค่อนข้างสูง การมีสูตร Ft จะมีความเหมาะสมกว่า ทำให้ค่าไฟฟ้า สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลง ของค่าเชื้อเพลิง และอัตราแลกเปลี่ยน ที่เกิดขึ้นจริง จากการที่ค่าไฟฟ้า มีการแยกองค์ประกอบต่างๆ อย่างชัดเจน รวมทั้งค่า Ft มีการแสดงรายละเอียดการคำนวณ ที่เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อย่างละเอียด ผู้บริโภคควรใช้ข้อมูลดังกล่าว ในการติดตามการกำหนดค่า Ft และติดตามการดำเนินงานของการไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้การไฟฟ้า ต้องบริหารงาน และดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ค่า Ft อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
4. รัฐบาลควรเร่งผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระผู้บริโภค ตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริโภค ได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จากการออกกฎหมาย กฎ ข้อบังคับและมาตรการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ
4.1 ตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดไว้ดังนี้
“มาตราที่ 57 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติกฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็น ในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค”
ในการผลักดันเพื่อให้การจัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภค ตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บังเกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้รับไปประสานงานกับกระทรวงยุติธรรมแล้ว
4.2 ในส่วนของกิจการพลังงาน ได้มีการวางมาตรการ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการยกร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ….. ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่จะนำไปสู่การปรับโครงสร้าง กิจการพลังงาน ให้มีการแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงาน ของประชาชนภายในประเทศ ในราคาและคุณภาพที่เป็นธรรม และให้มีการกำกับดูแลกิจการพลังงานที่ผูกขาด ได้แก่ ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ (กกพ.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ส่งเสริมการแข่งขัน ป้องกันการใช้อำนาจการผูกขาดโดยมิชอบ และให้การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยได้กำหนดมาตรการในการคุ้มครอง ผู้ใช้พลังงานที่ชัดเจน ครอบคลุมใน 4 ประเด็นหลัก คือผู้ประกอบกิจการพลังงาน จะต้องจัดให้มีบริการพลังงานอย่างทั่วถึง ตามมาตรฐานคุณภาพบริการ ที่ กกพ. กำหนด โดยกำหนดบทลงโทษ หากผู้ประกอบการ ไม่สามารถรักษามาตรฐานคุณภาพบริการ ตามที่กำหนดได้ (มาตรา 79-มาตรา 82) กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า โดยจะมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน จากผู้ใช้ไฟฟ้าบางกลุ่ม และนำไปชดเชยให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า ที่ด้อยโอกาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค (มาตรา 83-มาตรา 87)
ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ตามเขตที่ กกพ. กำหนดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ กกพ. ในด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน พิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน และประสานงานกับผู้ประกอบการ เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ใช้พลังงาน (มาตรา 88-มาตรา 92)
กกพ. มีอำนาจในการกำหนด ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการพลังงาน ที่มีอำนาจเหนือตลาดทำการใดๆ ที่เป็นการตัดทอน หรือจำกัดการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม กำหนดห้ามไม่ให้มีการถือหุ้นไขว้ข้าม ระหว่างกิจการที่มีการแข่งขันได้ กับกิจการที่มีการผูกขาดโดยธรรมชาติ เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจาก กกพ. (มาตรา 93-มาตรา 99)
นอกจากนี้ การยกร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ยังได้ให้ความสำคัญกับการรับฟังความเห็น หรือข้อพิจารณาจากผู้บริโภค ดังนี้
กำหนดให้ตัวแทนจากองค์กรผู้บริโภค มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหา (มาตรา 12) คณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ที่จะจัดตั้งขึ้น จะประกอบด้วยตัวแทนของผู้ใช้พลังงาน จากกลุ่มต่างๆ ในเขตนั้นๆ ซึ่งจะมีความรู้ความเข้าใจ ในปัญหาของผู้ใช้พลังงานในท้องที่มากที่สุด (มาตรา 88 —มาตรา 89)
ในการตัดสินใจในการดำเนินงานใดๆ ของ กกพ. ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใดๆ กกพ. จะต้องเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น จากผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการนั้นเสียก่อน (มาตรา 23) ดังนั้น หากร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ….. ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดัน ให้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และมีผลใช้บังคับโดยเร็ว ก็จะทำให้การคุ้มครองผู้บริโภค ในการใช้บริการพลังงานมีประสิทธิภาพ ได้รับการตอบสนอง และการคุ้มครองอย่างรอบด้านมากขึ้น
4.3 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน ยังไม่มีผลบังคับใช้ คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 ได้เห็นชอบการดำเนินการตามข้อเสนอของ คณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) กล่าวคือ ให้มีตัวแทนผู้บริโภครายย่อย เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการเพิ่มเติม ในคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน จะพิจารณาหาแนวทางการคัดเลือกต่อไป
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-
ต่อมา รมต. จาตุรนต์ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) พิจารณาตอบข้อร้องเรียนของเครือข่ายคณะทำงานฯ ดังกล่าว สพช. ได้ดำเนินการวิเคราะห์ และตอบข้อร้องเรียนในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกการเก็บค่าเอฟที กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนไม่สมควรยกเลิกการเก็บค่าเอฟที กับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 ซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน และติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์ เนื่องจาก
1.1 ผู้ใช้ไฟกลุ่มนี้ได้รับการอุดหนุนค่าไฟฟ้า จากผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นอยู่แล้ว ทั้งอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ และค่าบริการ โดยเฉลี่ยผู้ใช้ไฟกลุ่มนี้ จะจ่ายค่าไฟฟ้า ต่ำกว่าผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นๆ ค่อนข้างมาก อีกทั้ง การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 จ่ายค่าไฟแพงขึ้นกว่าโครงสร้างเดิม
อัตราค่าไฟฟ้าฐานสำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1
(ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย/เดือน และติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 5 แอมแปร์)
อัตราค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้า ได้รับการอุดหนุน
ที่เรียกเก็บ ตามต้นทุนจริง ค่าไฟฟ้า
ค่าบริการรายเดือน (บาท/เดือน) 8.19 40.9 32.71
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย)
หน่วยที่ 1-5 0 2.319 2.319
หน่วยที่ 6-15 1.358 2.319 0.961
หน่วยที่ 16-25 1.545 2.319 0.774
หน่วยที่ 26-35 1.797 2.319 0.522
หน่วยที่ 36-100 2.18 2.319 0.139
หน่วยที่ 101-150 2.273 2.319 0.045
อัตราค่าไฟฟ้าฐานสำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.2
(ใช้ไฟฟ้าเกินกว่า 150 หน่วย/เดือน หรือติดตั้งเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า ขนาดเกินกว่า 5 แอมแปร์)
อัตราค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้า การอุดหนุน
ที่เรียกเก็บ ตามต้นทุนจริง ค่าไฟฟ้า
ค่าบริการรายเดือน (บาท/เดือน) 40.9 40.9 -
ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย)
หน่วยที่ 1-150 1.805 2.319 0.514
หน่วยที่ 151-400 2.778 2.319 -0.46
เกินกว่า 400 หน่วย 2.978 2.319 -0.66
1.2 ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 ในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 8.783 ล้านราย มีการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ย 557.1 ล้านหน่วย/เดือน หรือประมาณ 1,317.3 ล้านบาท/เดือน คิดเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 2.36 บาท/หน่วย ในขณะที่ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 มีจำนวน 3.623 ล้านราย จ่ายค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 3.03 บาท/หน่วย ซึ่งจ่ายแพงกว่าผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 อยู่ 0.67 สตางค์/หน่วย
การใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย
(คำนวณโดยใช้ค่า Ft = 27.13 สตางค์/หน่วย)
ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า จำนวนผู้ใช้ไฟ มูลค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย
(ล้านราย) (ล้านบาท/เดือน) (บาท/หน่วย)
ประเภท 1.1 8.783 1,317 2.36
ประเภท 1.2 3.623 3,492 3.03
รวม 12.41 4,809 2.82
ปัจจุบันผู้ใช้ไฟทั้งประเทศ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 13.604 ล้านราย ดังนั้น หากยกเลิกการเก็บค่าเอฟทีผู้ใช้ไฟประเภท 1.1 จะทำให้รายได้จากค่าเอฟที หายไป 161.7 ล้านบาท/เดือน หรือ 1,940.6 ล้านบาท/ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น จำนวน 4.821 ล้านราย ที่จะต้องมารับภาระค่าเอฟที คิดเป็นเงินประมาณ 2.06 สตางค์ต่อหน่วย
ผลกระทบจากการยกเลิกค่าเอฟทีผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1
(รวม VAT 7%)
จำนวนผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.1 8.783ล้านราย
หน่วยการใช้ไฟฟ้า 557.1ล้านหน่วย/เดือน
ค่า Ft ปัจจุบัน 27.13สตางค์/หน่วย
รายได้จากค่า Ft ที่หายไป 161.7ล้านบาท/เดือน
(557.09 x 0.2713 x 1.07)
หรือ = 1,940.64 ล้านบาท/ปี
การรับภาระของผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น
จำนวนผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นที่ต้องรับภาระ 4.821ล้านราย
หน่วยการใช้ไฟฟ้า = 7,853.43 ล้านหน่วย/เดือน
รับภาระค่า Ft 2.06สตางค์/หน่วย
1.3 รัฐบาลตระหนักดีว่าผู้ด้อยโอกาสในสังคม และครัวเรือนที่มีรายได้น้อย กำลังประสบปัญหา ทางด้านค่าครองชีพ และเป็นกลุ่มที่รัฐ จำเป็นต้องมีนโยบายในการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ดังนั้น ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจาก ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.1 จึงอยู่ในระดับต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง โดยได้รับการชดเชยจากผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น การลดค่าไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟ ประเภท 1.1 ให้ต่ำลงไปอีก จะทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้า อย่างไม่ประหยัด และไม่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะเป็นภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่น การช่วยเหลือครัวเรือนเหล่านี้ โดยใช้นโยบายทางด้านการเงิน การคลัง หรือทางสังคม ที่มุ่งเน้นครัวเรือนยากจนโดยตรง น่าจะมีความเหมาะสมกว่า โดยเฉพาะรัฐบาล ก็ได้กำหนดนโยบายในการช่วยเหลือ ผู้ที่มีรายได้น้อยหลายเรื่องแล้ว เช่น ค่ารักษาพยาบาล 30 บาท การพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ และธนาคารประชาชน เป็นต้น
2. ให้ยกเลิกการแยกประเภทการเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัย โดยให้มีการคิดค่าบริการ ในอัตราขั้นต่ำที่ 8.19 บาท/เดือนเท่านั้น
ไม่สมควรยกเลิกการแยกประเภทการเรียกเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ควรให้มีการคิดค่าบริการ สำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 ในอัตรา 8.19 บาท/เดือน และคิดค่าบริการ สำหรับผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.2 ในอัตรา 40.90 บาท/เดือน เช่นเดิม เนื่องจาก
2.1 ค่าบริการที่การไฟฟ้า เรียกเก็บในแต่ละเดือน คือ ค่าใช้จ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ในการจัดหามิเตอร์ และค่าใช้จ่าย ในการเก็บเงินแต่ละเดือน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการจดมิเตอร์ การจัดทำบิลค่าไฟฟ้า/ใบเสร็จรับเงิน ค่าจัดส่ง และจัดเก็บเงินค่าไฟฟ้า และการบำรุงรักษามิเตอร์ เป็นต้น ซึ่งค่าบริการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของอัตราค่าไฟฟ้า มานานแล้ว เพียงแต่ในช่วงที่ผ่านมา จะแฝงอยู่ในรายการค่าไฟขั้นต่ำ ตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าเดิม ซึ่งมิได้แยกรายการให้เห็นบนบิลค่าไฟฟ้า โดยผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 จะต้องจ่ายค่าไฟขั้นต่ำในอัตรา 83.18 บาท/เดือน ในการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า เมื่อเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการแยกต้นทุนค่าบริการออกมา ให้เห็นอย่างชัดเจนในบิลค่าไฟฟ้า และได้ปรับอัตราลดลงเหลือ 40.90 บาท/เดือน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าโครงสร้างเดิมแล้ว
2.2 ต้นทุนค่าบริการไฟฟ้าที่แท้จริง ของผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ทั้งประเภท 1.1 และ 1.2 จะเท่ากับ 40.90 บาท/เดือน แต่เนื่องจากรัฐบาล ยังคงนโยบายการให้การอุดหนุนผู้ใช้ไฟ ที่มีรายได้น้อย จึงกำหนดให้ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.1 จ่ายค่าบริการไฟฟ้าเพียง 8.19 บาท/เดือน โดยได้รับการอุดหนุนจากผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นอยู่ 32.71 บาท/เดือน ในขณะที่ผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย ประเภท 1.2 จ่ายค่าบริการตามต้นทุนที่แท้จริง ดังนั้น การกำหนดค่าบริการของผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 จึงไม่ได้กำหนดให้สูงเกินกว่าต้นทุนที่แท้จริง
2.3 หากคิดค่าบริการผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยทั้ง 2 ประเภท ในอัตราเท่ากันคือ 8.19 บาท/เดือน รายได้จากการเก็บค่าบริการ จะลดลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น ที่จะต้องรับภาระแทน กล่าวคือรายได้จากการเก็บค่าบริการ จะลดลง 126.8 ล้านบาท/เดือน หรือ 1,521.2 ล้านบาท/ปี ผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น จะต้องรับภาระ โดยเฉลี่ยเป็นเงิน 105.9 บาท/ราย/เดือน หรือ 1,270.9 บาท/ราย/ปี
ผลกระทบจากการคิดค่าบริการผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย
ประเภท 1.2 เท่ากับ 8.19 บาท/เดือน
จำนวนผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 3.622ล้านราย
ค่าบริการที่ลดลง (รวม VAT) 35ล้านบาท/เดือน
(43.76 | 8.76)
รายได้ของการไฟฟ้าที่ลดลง 126.8ล้านบาท/เดือน
(35.00 x 3.62)
หรือ = 1,521.24 ล้านบาท/ปี
การรับภาระของผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่น
จำนวนผู้ใช้ไฟทั้งประเทศ 13.6ล้านราย
จำนวนผู้ใช้ไฟบ้านอยู่อาศัย 12.41ล้านราย
จำนวนผู้ใช้ไฟกลุ่มอื่นที่ต้องรับภาระ 1.197ล้านราย
รับภาระค่าบริการ 105.9บาท/ราย/เดือน
หรือ = 1,270.92 บาท/ราย/ปี
3. ให้มีการพิจารณาทบทวน โครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานใหม่ โดยไม่มีการเก็บค่าเอฟที กับผู้ใช้ไฟฟ้าทุกกลุ่มไม่สมควรยกเลิกการเก็บค่าเอฟที ควรคงลักษณะการกำหนดค่าไฟฟ้า เช่นในปัจจุบัน กล่าวคือ ค่าไฟฟ้า จะประกอบด้วย ค่าไฟฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft เนื่องจาก
3.1 โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft โดยค่าไฟฟ้าฐาน จะประกอบด้วย ต้นทุนทางด้านการผลิตไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบสายจำหน่าย และการบริการลูกค้า ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้ : ภาระในการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา กำไรในระดับที่ “เหมาะสม” (ซึ่งในปัจจุบันกำหนดให้มีกำไรเพียงพอที่จะสมทบ 25% ของการลงทุนใหม่) เงินนำส่งคลัง ค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายในการบริหารงาน (ซึ่งรวมถึงเงินเดือน สวัสดิการ และโบนัส) รวมทั้งการสูญเสียในระบบ ภายใต้สมมติฐานความต้องการใช้ไฟฟ้า ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และการปรับปรุงประสิทธิภาพของกิจการไฟฟ้าในระดับหนึ่ง แต่หากราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ แตกต่างจากค่าที่กำหนดไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน จะมีการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เพื่อให้ค่าไฟฟ้าสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
3.2 การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ที่แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ โครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตร Ft ดังกล่าว ทำให้ค่าไฟฟ้ามีความชัดเจน โปร่งใส ผู้ใช้ไฟสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของการไฟฟ้าได้ อีกทั้งยังทำให้การไฟฟ้า มีความคล่องตัวในการบริหารงาน และส่งเสริมให้มีการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ในช่วงเดือนตุลาคม 2543 ที่ผ่านมา ได้มีการแยกต้นทุนทางด้านต่างๆ ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ได้แก่ กิจการผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และการให้บริการ ทำให้โครงสร้างค่าไฟฟ้า มีความโปร่งใสชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถตรวจสอบได้ และการเพิ่มขึ้นของค่า Ft ก็สามารถตรวจสอบได้โดยผู้ใช้ไฟฟ้า และองค์กรของรัฐ ว่ามาจากปัจจัยใดบ้าง ซึ่งเป็นผลดีต่อประชาชน และจะทำให้ค่าไฟฟ้า ต่ำกว่ากรณีที่ไม่มีการแยกต้นทุน ให้เห็นอย่างชัดเจน
การตรวจสอบดังกล่าวสามารถดำเนินการได้จากข้อมูล ดังนี้
บิลค่าไฟฟ้า โดยเฉพาะบิลค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟประเภทอุตสาหกรรม จะมีการแยกรายละเอียดค่าไฟฟ้า ตามกิจการผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และค่าบริการ รวมทั้งค่า Ft ก็จำแนกตามต้นทุนดังกล่าวด้วยเช่นกัน ประกาศโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ซึ่งได้แสดงรายละเอียดอัตราค่าไฟฟ้า ตามประเภทกิจการด้วย ติดต่อขอข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือจาก Website “www.egat.or.th ”
รายละเอียดการคำนวณค่า Ft สามารถศึกษาได้จาก Website ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ “www.nepo.go.th ” ซึ่งได้รวบรวมข้อมูล รายละเอียดเกี่ยวกับการกำหนดค่าไฟฟ้าฐานและค่า Ft ตลอดจนรายละเอียดการปรับค่า Ft ในแต่ละครั้ง 3.3 ปัจจุบันการไฟฟ้ามีรายได้จากค่าเอฟทีที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟทุกประเภท ประมาณ 2,130.6 ล้านบาท/เดือน (คิดจากค่า Ft เท่ากับ 27.13 สตางค์/หน่วย) หรือประมาณ 25,567.6 ล้านบาท/ปี
ผลกระทบจากการยกเลิกค่า Ft
ค่า Ft 27.13สตางค์/หน่วย
หน่วยการใช้ไฟฟ้าในปัจจุบัน = 7,853.42 ล้านหน่วย/เดือน
มูลค่า Ft = 2,130.63 ล้านบาท/เดือน
หรือ = 25,567.56 ล้านบาท/ปี
ดังนั้น หากยกเลิก Ft จะส่งผลกระทบดังนี้
(1) หากยกเลิกการเก็บค่าเอฟที โดยตัดออกไปจากโครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าของประชาชนจะลดลงเพียงร้อยละ 10 ในช่วงแรก แต่จะมีผลกระทบต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้าอย่างรุนแรง การไฟฟ้าจะไม่มีรายได้เพียงพอที่จะไปลงทุนโครงการใหม่ เพื่อขยายกำลังการผลิตและระบบไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และพัฒนาคุณภาพบริการ และจะไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลให้มีไฟฟ้าไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาไฟตกไฟดับ มีผลกระทบต่อคุณภาพไฟฟ้าและการให้บริการ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในที่สุด ดังที่เคยเกิดขึ้นในบางประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์
การยกเลิกค่า Ft จะทำให้รายได้ของการไฟฟ้าหายไป 25,567.6 ล้านบาท ส่งผลให้การไฟฟ้าไม่มีรายได้สมทบการลงทุนในโครงการใหม่ กล่าวคือ ในปี 2543 กฟผ. มีกำไรสุทธิ 20,175 ล้านบาท โดยมีรายได้สมทบการลงทุนในโครงการใหม่ 5,226 ล้านบาท มีอัตราส่วนการลงทุนจากเงินรายได้ (Self-Financing Ratio : SFR) ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทางการเงินที่ผู้ให้กู้กำหนด เท่ากับร้อยละ 17.99 หากยกเลิกค่า Ft จะส่งผลให้ กฟผ. ขาดทุนประมาณ 5,392.6 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้การไฟฟ้า ไม่มีเงินเพียงพอในการจ่ายคืนเงินต้น และไม่มีรายได้ไปสมทบการลงทุนในโครงการใหม่
ผลกระทบต่อฐานะการเงินของการไฟฟ้าปี 2543
การคิดค่า Ft กรณียกเลิกค่า Ft
กำไรสุทธิ 20,175 -5392.6
รายได้สมทบการลงทุน (ล้านบาท) 5,226 -20341.6
Self-Financing Ratio (%) 17.99 -70.02
(2) หากมีการยกเลิกการเก็บค่า Ft แต่มีการจัดหางบประมาณ เพื่อชดเชยรายได้ ของการไฟฟ้าที่หายไป ก็จะต้องจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นภาระกับประชาชนในที่สุด และไม่เป็นธรรม ต่อประชาชนที่ใช้ไฟฟ้าน้อย ผู้ที่ได้เปรียบก็คือ ผู้ที่ใช้ไฟฟ้ามากแต่เสียภาษีน้อย
(3) หากมีการยกเลิก Ft และนำค่า Ft รวมไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งจะต้องมีการจัดทำโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ โดยจะต้องประมาณการปัจจัยที่มีผลต่อค่า Ft ในอนาคต ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิง อัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และความต้องการใช้ไฟฟ้า ไว้ในโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานด้วย การดำเนินการดังกล่าวมีประเด็นที่จะต้องพิจารณา ดังนี้
ในกรณีที่ราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ และอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลง การไฟฟ้าอาจจะประสบ ปัญหาทางการเงิน ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการให้บริการและความมั่นคงของการจ่ายไฟฟ้า แต่ในทางตรงกันข้าม หากราคาเชื้อเพลิงถูกลง และอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น ผู้ใช้ไฟฟ้าก็จะไม่ได้รับประโยชน์ จากต้นทุนที่ลดลงดังกล่าว
ค่าไฟฟ้าไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ไม่ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดแรงจูงใจให้การไฟฟ้าบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การปรับค่าไฟฟ้าในแต่ละครั้ง จะใช้เวลานาน ดังนั้น ในการกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าฐานใหม่ การไฟฟ้าจำเป็นต้องบวกเพิ่มความเสี่ยงของราคาเชื้อเพลิง และอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตไปด้วย เนื่องจากการไฟฟ้า ไม่สามารถปรับปรุงค่าไฟฟ้า ให้สอดคล้องกับต้นทุน ที่เปลี่ยนแปลงไปได้ในภายหลัง ส่งผลให้โดยเฉลี่ยค่าไฟฟ้า ที่ประชาชนจ่าย จะแพงขึ้น ค่าไฟฟ้ามีความโปร่งใสน้อยลง การตรวจสอบของผู้บริโภคและภาครัฐจะทำได้ยาก
เป็นการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในลักษณะเดิม กล่าวคือ การปรับอัตราค่าไฟฟ้า ในแต่ละครั้ง ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี จะทำให้การเปลี่ยนแปลงของอัตราค่าไฟฟ้า อยู่ภายใต้แรงกดดัน และการตัดสินใจทางการเมือง ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าอาจจะมีความบิดเบือน ไม่สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง และไม่เป็นการส่งเสริมให้ผู้ใช้ไฟฟ้า มีการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังทำให้การบริหารงานทางด้านไฟฟ้า ทำได้ยาก ไม่มีความคล่องตัว ผู้บริหารมีเวลาน้อยลงในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร
3.4 ภายใต้สภาวะการณ์ที่อัตราแลกเปลี่ยน และราคาเชื้อเพลิงในปัจจุบัน มีความผันผวนค่อนข้างสูง การมีสูตร Ft จะมีความเหมาะสมกว่า ทำให้ค่าไฟฟ้า สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลง ของค่าเชื้อเพลิง และอัตราแลกเปลี่ยน ที่เกิดขึ้นจริง จากการที่ค่าไฟฟ้า มีการแยกองค์ประกอบต่างๆ อย่างชัดเจน รวมทั้งค่า Ft มีการแสดงรายละเอียดการคำนวณ ที่เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ อย่างละเอียด ผู้บริโภคควรใช้ข้อมูลดังกล่าว ในการติดตามการกำหนดค่า Ft และติดตามการดำเนินงานของการไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้การไฟฟ้า ต้องบริหารงาน และดำเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ค่า Ft อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้
4. รัฐบาลควรเร่งผลักดัน ให้มีองค์กรอิสระผู้บริโภค ตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อให้ผู้บริโภค ได้รับความคุ้มครองมากขึ้น จากการออกกฎหมาย กฎ ข้อบังคับและมาตรการต่างๆ ของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจ
4.1 ตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กำหนดไว้ดังนี้
“มาตราที่ 57 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติกฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็น ในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค”
ในการผลักดันเพื่อให้การจัดตั้งองค์กรอิสระผู้บริโภค ตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บังเกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้รับไปประสานงานกับกระทรวงยุติธรรมแล้ว
4.2 ในส่วนของกิจการพลังงาน ได้มีการวางมาตรการ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้า ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการยกร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ….. ซึ่งเป็นกฎหมาย ที่จะนำไปสู่การปรับโครงสร้าง กิจการพลังงาน ให้มีการแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงาน ของประชาชนภายในประเทศ ในราคาและคุณภาพที่เป็นธรรม และให้มีการกำกับดูแลกิจการพลังงานที่ผูกขาด ได้แก่ ไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติ (กกพ.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อทำหน้าที่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการพลังงาน ส่งเสริมการแข่งขัน ป้องกันการใช้อำนาจการผูกขาดโดยมิชอบ และให้การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยได้กำหนดมาตรการในการคุ้มครอง ผู้ใช้พลังงานที่ชัดเจน ครอบคลุมใน 4 ประเด็นหลัก คือผู้ประกอบกิจการพลังงาน จะต้องจัดให้มีบริการพลังงานอย่างทั่วถึง ตามมาตรฐานคุณภาพบริการ ที่ กกพ. กำหนด โดยกำหนดบทลงโทษ หากผู้ประกอบการ ไม่สามารถรักษามาตรฐานคุณภาพบริการ ตามที่กำหนดได้ (มาตรา 79-มาตรา 82) กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า โดยจะมีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน จากผู้ใช้ไฟฟ้าบางกลุ่ม และนำไปชดเชยให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า ที่ด้อยโอกาส หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค (มาตรา 83-มาตรา 87)
ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ตามเขตที่ กกพ. กำหนดทั่วประเทศ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ กกพ. ในด้านการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน พิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้พลังงาน และประสานงานกับผู้ประกอบการ เพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ใช้พลังงาน (มาตรา 88-มาตรา 92)
กกพ. มีอำนาจในการกำหนด ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการพลังงาน ที่มีอำนาจเหนือตลาดทำการใดๆ ที่เป็นการตัดทอน หรือจำกัดการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม กำหนดห้ามไม่ให้มีการถือหุ้นไขว้ข้าม ระหว่างกิจการที่มีการแข่งขันได้ กับกิจการที่มีการผูกขาดโดยธรรมชาติ เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจาก กกพ. (มาตรา 93-มาตรา 99)
นอกจากนี้ การยกร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ยังได้ให้ความสำคัญกับการรับฟังความเห็น หรือข้อพิจารณาจากผู้บริโภค ดังนี้
กำหนดให้ตัวแทนจากองค์กรผู้บริโภค มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหา (มาตรา 12) คณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต ที่จะจัดตั้งขึ้น จะประกอบด้วยตัวแทนของผู้ใช้พลังงาน จากกลุ่มต่างๆ ในเขตนั้นๆ ซึ่งจะมีความรู้ความเข้าใจ ในปัญหาของผู้ใช้พลังงานในท้องที่มากที่สุด (มาตรา 88 —มาตรา 89)
ในการตัดสินใจในการดำเนินงานใดๆ ของ กกพ. ซึ่งจะมีผลกระทบต่อบุคคล หรือกลุ่มบุคคลใดๆ กกพ. จะต้องเปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น จากผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการดำเนินการนั้นเสียก่อน (มาตรา 23) ดังนั้น หากร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ….. ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดัน ให้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา และมีผลใช้บังคับโดยเร็ว ก็จะทำให้การคุ้มครองผู้บริโภค ในการใช้บริการพลังงานมีประสิทธิภาพ ได้รับการตอบสนอง และการคุ้มครองอย่างรอบด้านมากขึ้น
4.3 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน ยังไม่มีผลบังคับใช้ คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ในการประชุมเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2544 ได้เห็นชอบการดำเนินการตามข้อเสนอของ คณะอนุกรรมการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า และอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) กล่าวคือ ให้มีตัวแทนผู้บริโภครายย่อย เข้าร่วมเป็นอนุกรรมการเพิ่มเติม ในคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ด้วย ทั้งนี้ คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน จะพิจารณาหาแนวทางการคัดเลือกต่อไป
--วารสารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 53 กรกฎาคม-กันยายน 2544--
-ยก-