ข่าวในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผู้ว่าการ ธปท.ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำที่มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่แข็งแรง การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงอีก การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ จะทำให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์ต่างประเทศเห็นชัดเจนถึงผลกระทบว่าจะทำให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต้องหยุดชะงักลง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและนำเงินลงทุนโดยตรงออกนอกประเทศ ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทอ่อนลงมากขึ้น จากประสบการณ์ในอดีตพบว่าการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น และกลับอ่อนค่าลงมากกว่าที่ควรจะเป็นในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันแหล่งข่าวจากวงการธนาคารกล่าวว่า การดูแลให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้มีการบริโภครวมทั้งการลงทุนเพิ่มขึ้นภายใต้ต้นทุนที่ต่ำเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะดีกว่าเพียงมุ่งรักษาค่าเงิน ส่วนการสร้างบรรยากาศการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ดีขึ้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ระดับร้อยละ 31.24 เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ ธปท.ไม่สามารถปรับนโยบายดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ (ไทยโพสต์ 16)
2. ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวถึงสาเหตุที่ค่าเงินบาทอ่อนลงว่า เป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทในธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาดซื้อขายทันที ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้ายังไม่พบสิ่งผิดปกติจนน่าสังเกต แต่มีการซื้อขายหนาแน่นทั้งการส่งออกและนำเข้า อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ติดตามดูความเสี่ยงจากการอ่อนค่าลงของเงินบาทด้วยว่า จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.มากน้อยเพียงใด ต่อกรอบการดำเนินนโยบายการเงินในขณะนี้ ซึ่งเป้าหมายคือ เงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 สำหรับการปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศใหม่ที่จะมีผลในวันที่ 1 พ.ย. นี้ เชื่อว่าจะทำให้การติดตามข้อมูลการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท.มีประสิทธิภาพมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ 16)
3. นักวิชาการแสดงความเห็นเกี่ยวกับภาวะค่าเงินบาทขณะนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในระดับนี้ ธปท.ยังสามารถปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดได้ แต่หากลดต่ำว่า 44 บาท/ดอลลาร์ ธปท.ต้องเข้าแทรกแซง เพื่อพยุงไม่ให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอีก เพราะจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากกว่าผลดี โดยทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อไปพร้อมๆ กับเงินฝืด ขณะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น อันเนื่องจากราคาน้ำมันแพงขึ้น สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงนั้นมาจากปัจจัยภายในได้แก่ นักลงทุนไม่มั่นใจว่ารัฐบาลใหม่จะมีนโยบายด้านเศรษฐกิจอย่างไร สามารถบริหารเศรษฐกิจได้ดีเพียงใด ทำให้นักลงทุนภาคการผลิตชะลอการลงทุนและนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์เพื่อเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ สำหรับปัจจัยภายนอกคือ ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ รักษาวินัยทางการเงินการคลัง และเร่งสร้างประสิทธิภาพการแข่งขัน (แนวหน้า 16)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการขายปลีก สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 13 ต.ค.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ยอดการขายปลีก ที่ปรับฤดูกาลของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 อยู่ที่มูลค่า 273.24 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค.43 เพิ่มสูงเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และเป็นอัตราเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 การเพิ่มขึ้นของการขายปลีกในเดือน ก.ย.นี้ มีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการขายรถยนต์และราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้น โดยการขายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 อยู่ที่มูลค่า 67.9 พัน ล.ดอลลาร์ จากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งหากไม่รวมการขายรถยนต์ การขายปลีกในเดือนดังกล่าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค.43 ส่วนการขายน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 อยู่ที่มูลค่า 18.54 พัน ล.ดอลลาร์ จากที่ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน ส.ค.43 และเป็นอัตราการเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน มิ.ย.43 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังคงคาดหมายว่า การขายปลีกจะลดลงในเดือนต่อ ๆ ไป เพราะจะได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นและการอ่อนตัวของตลาดหลักทรัพย์ (รอยเตอร์ 13)
2. ยอดการขายปลีกของฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากฮ่องกงเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติของฮ่องกง เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดการขายปลีกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะเดียวกัน ปริมาณการขายปลีกโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในเดือน ก.ค. 43 ทั้งนี้ ยอดการขายปลีก ในเดือน ส.ค. 43 สอดคล้องกับการคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า ทั้งมูลค่าและปริมาณการขายปลีก จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และ 3.9 ตามลำดับ สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกปี 43 มูลค่าการขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ขณะที่ปริมาณการขายปลีก เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปี 42 (เอเชียนวอลล์สตรีท16)
3. ยอดการขายปลีกของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 3.1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดการขายปลีก ลดลงร้อยละ 3.1 จากเดือน ก.ค. 43 โดยยอดขายเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ของครัวเรือน ลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 19 (เอเชียนวอลล์สตรีท 16)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 13ต.ค. 43 43.528 (43.267)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 13 ต.ค. 43
ซื้อ 43.3054 (43.0191) ขาย 43.6122 (43.3267)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,600) ขาย 5,600 (5,700)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.80 (32.60)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.74 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผู้ว่าการ ธปท.ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผู้ว่าการ ธปท.ให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำที่มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่แข็งแรง การขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงอีก การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้ จะทำให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์ต่างประเทศเห็นชัดเจนถึงผลกระทบว่าจะทำให้เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปต้องหยุดชะงักลง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและนำเงินลงทุนโดยตรงออกนอกประเทศ ซึ่งจะยิ่งส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทอ่อนลงมากขึ้น จากประสบการณ์ในอดีตพบว่าการขึ้นดอกเบี้ยทำให้ค่าเงินแข็งขึ้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น และกลับอ่อนค่าลงมากกว่าที่ควรจะเป็นในเวลาต่อมา ขณะเดียวกันแหล่งข่าวจากวงการธนาคารกล่าวว่า การดูแลให้ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ เพื่อให้มีการบริโภครวมทั้งการลงทุนเพิ่มขึ้นภายใต้ต้นทุนที่ต่ำเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจน่าจะดีกว่าเพียงมุ่งรักษาค่าเงิน ส่วนการสร้างบรรยากาศการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ดีขึ้น ก็น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ที่ระดับร้อยละ 31.24 เป็นอุปสรรคสำคัญทำให้ ธปท.ไม่สามารถปรับนโยบายดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ (ไทยโพสต์ 16)
2. ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าค่าเงินบาทเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ ธปท.กล่าวถึงสาเหตุที่ค่าเงินบาทอ่อนลงว่า เป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทในธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศในตลาดซื้อขายทันที ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้ายังไม่พบสิ่งผิดปกติจนน่าสังเกต แต่มีการซื้อขายหนาแน่นทั้งการส่งออกและนำเข้า อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้ติดตามดูความเสี่ยงจากการอ่อนค่าลงของเงินบาทด้วยว่า จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.มากน้อยเพียงใด ต่อกรอบการดำเนินนโยบายการเงินในขณะนี้ ซึ่งเป้าหมายคือ เงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 สำหรับการปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศใหม่ที่จะมีผลในวันที่ 1 พ.ย. นี้ เชื่อว่าจะทำให้การติดตามข้อมูลการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท.มีประสิทธิภาพมากขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ 16)
3. นักวิชาการแสดงความเห็นเกี่ยวกับภาวะค่าเงินบาทขณะนี้ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนตัวในระดับนี้ ธปท.ยังสามารถปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดได้ แต่หากลดต่ำว่า 44 บาท/ดอลลาร์ ธปท.ต้องเข้าแทรกแซง เพื่อพยุงไม่ให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอีก เพราะจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจมากกว่าผลดี โดยทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อไปพร้อมๆ กับเงินฝืด ขณะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น อันเนื่องจากราคาน้ำมันแพงขึ้น สาเหตุที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนลงนั้นมาจากปัจจัยภายในได้แก่ นักลงทุนไม่มั่นใจว่ารัฐบาลใหม่จะมีนโยบายด้านเศรษฐกิจอย่างไร สามารถบริหารเศรษฐกิจได้ดีเพียงใด ทำให้นักลงทุนภาคการผลิตชะลอการลงทุนและนำเงินบาทไปแลกเป็นเงินดอลลาร์เพื่อเร่งชำระหนี้ต่างประเทศ สำหรับปัจจัยภายนอกคือ ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันในตลาดโลก ทั้งนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการ คือ รักษาวินัยทางการเงินการคลัง และเร่งสร้างประสิทธิภาพการแข่งขัน (แนวหน้า 16)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดการขายปลีก สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 13 ต.ค.43 ก.พาณิชย์ สรอ. รายงานว่า เดือน ก.ย.43 ยอดการขายปลีก ที่ปรับฤดูกาลของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 อยู่ที่มูลค่า 273.24 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ส.ค.43 เพิ่มสูงเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์จากวอลล์สตรีทที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และเป็นอัตราเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ.43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 การเพิ่มขึ้นของการขายปลีกในเดือน ก.ย.นี้ มีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการขายรถยนต์และราคาน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้น โดยการขายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 อยู่ที่มูลค่า 67.9 พัน ล.ดอลลาร์ จากที่ลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ส.ค.43 ซึ่งหากไม่รวมการขายรถยนต์ การขายปลีกในเดือนดังกล่าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 จากที่ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ส.ค.43 ส่วนการขายน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 อยู่ที่มูลค่า 18.54 พัน ล.ดอลลาร์ จากที่ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน ส.ค.43 และเป็นอัตราการเพิ่มสูงที่สุดนับตั้งแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ในเดือน มิ.ย.43 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ยังคงคาดหมายว่า การขายปลีกจะลดลงในเดือนต่อ ๆ ไป เพราะจะได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่สูงขึ้นและการอ่อนตัวของตลาดหลักทรัพย์ (รอยเตอร์ 13)
2. ยอดการขายปลีกของฮ่องกงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากฮ่องกงเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติของฮ่องกง เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดการขายปลีกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ฟื้นตัวขึ้นจากตัวเลขที่ปรับแล้ว ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. 43 ขณะเดียวกัน ปริมาณการขายปลีกโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ในเดือน ก.ค. 43 ทั้งนี้ ยอดการขายปลีก ในเดือน ส.ค. 43 สอดคล้องกับการคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ที่คาดไว้ว่า ทั้งมูลค่าและปริมาณการขายปลีก จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และ 3.9 ตามลำดับ สำหรับในช่วง 8 เดือนแรกปี 43 มูลค่าการขายปลีกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ขณะที่ปริมาณการขายปลีก เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปี 42 (เอเชียนวอลล์สตรีท16)
3. ยอดการขายปลีกของสิงคโปร์ลดลงร้อยละ 3.1 ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 15 ต.ค. 43 สำนักงานสถิติของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ยอดการขายปลีก ลดลงร้อยละ 3.1 จากเดือน ก.ค. 43 โดยยอดขายเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ์ของครัวเรือน ลดลงมากที่สุดถึงร้อยละ 19 (เอเชียนวอลล์สตรีท 16)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 13ต.ค. 43 43.528 (43.267)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 13 ต.ค. 43
ซื้อ 43.3054 (43.0191) ขาย 43.6122 (43.3267)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,500 (5,600) ขาย 5,600 (5,700)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 28.80 (32.60)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.19) ดีเซลหมุนเร็ว 14.74 (14.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-