ข้อมูลเบื้องต้น
ประเทศเติร์กเมนิสถานเป็นหนึ่งในประเทศ Turkic States มีพื้นที่ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง มีพื้นที่ 488,100 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันตกติดกับทะเลสาบแคสเปียน ทิศเหนือติดคาซักสถาน ทิศเหนือและตะวันออกติดอุซเบกิสถาน ทิศใต้ติดอิหร่านและอัฟกานิสถาน พื้นที่ร้อยละ 80 ของประเทศเป็นทะเลทรายมีประชากรประมาณห้าล้านคน โดยประชากรเกือบร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษาเติร์กเมนเป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษารัสเซียอย่างแพร่หลาย
เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่เพิ่งได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1991 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เติร์กเมนิสถานปกครองแบบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเมืองในเติร์กเมนิสถานนับว่ามั่นคงมาก เนื่องจากประธานาธิบดี Saparmurat Niyazov ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและชนะการเลือกตั้งได้บริหารประเทศมาโดยตลอด สาเหตุเนื่องจากประธานาธิบดี Niyazov ดำรงตำแหน่งทั้งประธานาธิบดีและหัวหน้าคณะรัฐบาล โดยไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคฝ่ายค้าน นอกจากพรรค Democratic Party ของตนเท่านั้น
เศรษฐกิจของเติร์กเมนิสถานพึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นกลจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด เติร์ก เมนิสถานมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึง 6 - 8 พันล้านตัน โดยเติร์กเมนิสถานสามารถผลิตน้ำมันได้ปีละ 6,000 - 7,000 พันตัน นอกจากน้ำมันแล้ว เติร์กเมนิสถานมีปริมาณก๊าซสำรองจำนวน 13 - 21 ล้านล้านล้านลูกบาศก์เมตร (Trillion Cubic Meter) ซึ่งมากเป็นอันดับสี่ของโลก โดยเติร์กเมนิสถานผลิตก๊าซได้ปีละ 13,000 - 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่สามารถผลิตได้เนื่องจากประเทศที่ซื้อก๊าซจากเติร์กสถานค้างชำระค่าก๊าซรวมทั้งเส้นทางการส่งออกก๊าซของเติร์กเมนิสถานในปัจจุบันยังมีจำกัด ปัจจุบันเติร์กเมนิสถานส่งก๊าซขายไปยังรัสเซียและประเทศอดีตสหภาพโซเวียตอื่น ๆ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเติร์กเมนิสถานเป็นทะเลทรายและปริมาณฝนตกในแต่ละปีค่อนข้างน้อย ทำให้ไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชได้ในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี เติร์กเมนิสถานปลูกฝ้ายได้มากเป็นอันดับสิบของโลก โดยผลิตฝ้ายได้ปีละประมาณ 600,000 - 700,000 ตัน นอกจากการปลูกข้าว ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ องุ่น และเลี้ยงแกะแล้ว ยังมี อุตสาหกรรมการผลิตอาหารเสื้อผ้า ผ้าผืน และพรม
เนื่องจากเติร์กเมนิสถานเป็นประเทศใหม่ จึงต้องการการลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก ประธานาธิบดี Niyazov ประกาศใช้นโยบาย Open Door Policy เพื่อเปิดประเทศและชักชวนให้นักธุรกิจต่างประเทศเดินทางมาทำธุรกิจในเติร์กเมนิสถาน มีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์และเศรษฐกิจต่างประเทศ (Ministry of Trade and External Economic Affairs), The State Agency for Foreign Investments หรือ Chamber of Commerce and Industry of Turkmenistan ที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือนักธุรกิจที่ประสงค์จะมาทำธุรกิจกับเติร์กเมนิสถาน อีกทั้งเงินสกุลมานาด (Manat) ซึ่งเป็นเงินท้องถิ่นของเติร์กเมนิสถานก็มีเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคงที่มาตั้งแต่ปี 2539 อย่างไรก็ดี กฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนยังจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
รัฐบาลเติร์กเมนิสถานพยายามให้สิทธิประโยชน์แก่นักธุรกิจที่จะมาลงทุนในเติร์กเมนิสถานอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่รัฐส่งเสริม เช่น พลังงาน เป็นต้น รับบาลเติร์กเมนิสถานยังมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าและมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อผลิตให้พอเพียงกับการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนั้น เติร์กเมนิสถานไม่มีนโยบายในการจำกัดการนำเข้า ส่งออก หรือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเงินตราของเติร์กเมนิสถานแต่อย่างใด รวมทั้งเริ่มมีการใช้เครติดการ์ดเพิ่มขึ้น (แม้จะมีการคิดค่าบริการในอัตราที่ยังค่อนข้างสูงอยู่ก็ตาม) รัฐกำหนดให้มีการสำแดงเงินตราต่างประเทศตอนที่เดินทางออกนอกประเทศเท่านั้น
ประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุนในเติร์กเมนิสถานที่สำคัญ ได้แก่ ตุรกี (เครื่องอุปโภคบริโภค, การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง, อาหาร และสิ่งทอ) อิหร่าน (นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากเติร์กเมนิสถาน, ก่อสร้างถนน) ฝรั่งเศส (ก่อสร้าง, พัฒนาระบบการบิน) เยอรมัน (โทรคมนาคม, การแพทย์) อังกฤษ (สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำมัน) ญี่ปุ่น (การพัฒนาโรงกลั่นน้ำมัน) สหรัฐอเมริกา (การเกษตร, คมนาคม และพลังงาน) เป็นต้น
การเดินทางไปยังเติร์กเมนิสถานสะดวก เนื่องจากสายการบิน Turkmen Airlines ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติทำการบินจากกรุง Ashgabat ไปยังกรุงเทพฯ (สัปดาห์ละสองเที่ยว), อาบูดาบี, นิวเดลี, การาจี, ลอนดอน, อิสตันบูล, มอสโก, อัลาตี้, บาคู, เยเรวาน, เคียฟ, ทัชเคนท์ เป็นต้น โดยมีสายการบินนานาชาติอื่น ๆ บินมาที่กรุงอาชคาบัด เช่น Lufthansa จากแฟร็งเฟิร์ต Turkish Airlines จากอิสตันบูล Iran Air จากเตหะราน Pakistan Airlines จากการาจี เป็นต้น นอกจากนั้น เติร์กเมนิสถานยังมีเมือง Turkmenbashi เป็นเมืองท่าที่สำคัญในทะเลสาปแคสเปียน และทางรถไฟระหว่างอิหร่านและเติร์กเมนิสถานที่เปิดทำการเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 ก็เป็นต้นทางขนส่งที่สำคัญของเติร์กเมนิสถานในปัจจุบันโอกาสด้านการค้าและการลงทุนในเติร์กเมนิสถาน
1. เติร์กเมนิสถานกำลังดำเนินตามนโยบาย Open Door Policy ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อนักธุรกิจต่างประเทศ รวมทั้งไทยที่จะเข้าไปทำธุรกิจหรือลงทุนในเติร์กเมนิสถาน โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่ไทยมีประสบการณ์ ซึ่งหากในอนาคตเติร์กเมนิสถานมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากขึ้นก็จะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อสินค้าและบริการมากขึ้นไปด้วย
2. เติร์กเมนิสถานจะเป็นประเทศที่จะมีศักยภาพในอนาคต เนื่องจากจำนวนประชาชนน้อยในขณะที่มีทรัพยา-กรธรรมชาติมาก รวมทั้งการที่ประเทศต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ Consumer Products ที่เติร์กเมนิสถานต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (ปัจจุบันนำเข้าจากรัสเซีย ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ตุรกี อิหร่าน และสหรัฐ- อาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น) ซึ่งมีโอกาสที่ไทยจะสามารถส่งสินค้าเข้าไปขายได้จากการสำรวจตลาดพบสินค้าไทย เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และข้าวหอมมะลิ วางจำหน่าย ทั้งนี้สินค้าไทยดังกล่าวถูกนำเข้าผ่านประเทศอื่น เช่น สหรัฐอาหรับ- เอมิเรตส์ หรืออิหร่าน นอกจากนั้น ยังพบว่าสินค้าจากตุรกี รัสเซีย ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต จีน ฝรั่งเศส วางขายอยู่ในท้องตลาดเป็นส่วนใหญ่
3. เนื่องจากกฎระเบียบต่าง ๆ ของเติร์กเมนิสถานยังเอื้ออำนวย และให้สิทธิประโยชน์สำหรับนักธุรกิจต่างประเทศที่จะเข้าไปทำธุรกิจในเติร์กเมนิสถาน ภาคเอกชนไทยจึงอาจจะพิจารณาการทำธุรกิจกับเติร์กเมนิสถานโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในชั้นนี้ไทยกับเติร์กเมนิสถานน่าที่จะทำความรู้กันมากยิ่งขึ้นถึงศักยภาพของกันและกัน เพื่อจักได้ร่วมมือในธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ต่อไป
4. หากภาคเอกชนไทยมีความต้องการที่จะเข้าไปทำธุรกิจในเติร์กเมนิสถานการร่วมกับบริษัทเอกชนเติร์กเมนิ สถาน (Joint Venture) ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและเป็นที่นิยมของบริษัทเอกชนจากต่างประเทศที่สุดในขณะนี้
5. การมีเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงอาชคาบัดและกรุงเทพฯ สัปดาห์ละสองเที่ยวโดยสายการบินเติร์กเมนิสถานทำให้การเดินทางไปมาระหว่างกันของภาคเอกชนสะดวกเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางเข้าไปยังเติร์กเมนิสถานจำเป็นต้องมีหนังสือเชิญที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศเติร์กเมนิสถานก่อนที่จะเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งภาคเอกชนหรือนักธุรกิจที่สนใจสามารถติดต่อกับ Chamber of Commerce and Industry of Turkmenistan เพื่อให้มีหนังสือเชิญไปขออนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศเติร์กเมนิสถานก่อนที่จะสำเนาให้นำติดตัวไปขอรับการตรวจลงตราที่สนามบินเติร์กเมนิสถานเมื่อเดินทางไปถึง ทั้งนี้ CCIT จะคิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการนี้จำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าตรวจลงตราอีก 61 ดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี กฎระเบียบและค่าธรรมเนียมด้านการตรวจลงตราของเติร์กเมนิสถานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังเติร์กเมนิสถานจึงควรติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตเติร์กเมนิสถานเพื่อขอรับข้อมูลล่าสุดก่อนการเดินทางข้อสังเกต
1. เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศใหม่ที่อายุยังไม่ถึงสิบปี ดังนั้น จึงทำให้เติร์กเมนิสถานต้องการการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ และเนื่องจากปัจจัยด้านสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศทำให้ไม่สามารถผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ทุกประเภทได้อย่างเพียงพอ เติร์กเมนิสถานจึงต้องนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก น่าจะเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งสินค้าไทยไปยังเติร์กเมนิสถานได้ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านประเทศที่สามก็ตาม
2. จากการที่เติร์กเมนิสถานยังเป็นประเทศใหม่ รัฐบาลจึงยังมีนโยบายชาตินิยมพอควรตัวอย่างเช่นอาคารบ้านตลอดจนสถานที่ราชการจะมีการประดับธงชาติและรูปภาพประธานาธิบดี Niyazov อยู่ทั่วไป รวมทั้งมักจะมีคำขวัญ Halk Watan Turkmenbashy (ประชาชน ประเทศ ประธานาธิบดี) ประดับอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ อีกทั้งการดำเนิน
นโยบายเศรษฐกิจยังควบคุมจากระดับสูงสุดของประเทศ ซึ่งคงจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าที่เติร์กเมนิสถานจะมีระบบเศรษฐกิจเสรีบนพื้นฐานของกลไกตลาดหรือกฎระเบียบที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ (ปัจจุบันรัฐบาลควบคุมดูแลระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างใกล้ชิด) อย่างไรก็ดี เติร์กเมนิสถานจะยังมีระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพต่อไป เพราะประธานาธิบดี Niyazov ยังได้รับความนิยมจากประชาชนมากและไม่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองฝ่ายค้านในประเทศ
3. เติร์กเมนิสถานมีทรัพยากรพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่จำนวนประชากรน้อย ซึ่งถ้าหากเติร์กเมนิสถานสามารถส่งออกพลังงานและกระจายรายได้ลงสู่ประชาชนได้มากขึ้นแล้ว เชื่อแน่ว่าในอนาคตประชาชนเติร์กเมนิสถานจะมีกำลังซื้อหาสินค้าต่างประเทศรวมทั้งสินค้าไทยมากยิ่งขึ้น
(ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 19/2543 วันที่ 1 ตุลาคม 2543--
-อน-
ประเทศเติร์กเมนิสถานเป็นหนึ่งในประเทศ Turkic States มีพื้นที่ตั้งอยู่ในเอเชียกลาง มีพื้นที่ 488,100 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันตกติดกับทะเลสาบแคสเปียน ทิศเหนือติดคาซักสถาน ทิศเหนือและตะวันออกติดอุซเบกิสถาน ทิศใต้ติดอิหร่านและอัฟกานิสถาน พื้นที่ร้อยละ 80 ของประเทศเป็นทะเลทรายมีประชากรประมาณห้าล้านคน โดยประชากรเกือบร้อยละ 90 นับถือศาสนาอิสลาม มีภาษาเติร์กเมนเป็นภาษาราชการ และมีการใช้ภาษารัสเซียอย่างแพร่หลาย
เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศอดีตสหภาพโซเวียตที่เพิ่งได้รับเอกราชเมื่อปี ค.ศ. 1991 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เติร์กเมนิสถานปกครองแบบสาธารณรัฐโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเมืองในเติร์กเมนิสถานนับว่ามั่นคงมาก เนื่องจากประธานาธิบดี Saparmurat Niyazov ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางและชนะการเลือกตั้งได้บริหารประเทศมาโดยตลอด สาเหตุเนื่องจากประธานาธิบดี Niyazov ดำรงตำแหน่งทั้งประธานาธิบดีและหัวหน้าคณะรัฐบาล โดยไม่อนุญาตให้มีการจัดตั้งพรรคฝ่ายค้าน นอกจากพรรค Democratic Party ของตนเท่านั้น
เศรษฐกิจของเติร์กเมนิสถานพึ่งพาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นกลจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด เติร์ก เมนิสถานมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึง 6 - 8 พันล้านตัน โดยเติร์กเมนิสถานสามารถผลิตน้ำมันได้ปีละ 6,000 - 7,000 พันตัน นอกจากน้ำมันแล้ว เติร์กเมนิสถานมีปริมาณก๊าซสำรองจำนวน 13 - 21 ล้านล้านล้านลูกบาศก์เมตร (Trillion Cubic Meter) ซึ่งมากเป็นอันดับสี่ของโลก โดยเติร์กเมนิสถานผลิตก๊าซได้ปีละ 13,000 - 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปริมาณที่สามารถผลิตได้เนื่องจากประเทศที่ซื้อก๊าซจากเติร์กสถานค้างชำระค่าก๊าซรวมทั้งเส้นทางการส่งออกก๊าซของเติร์กเมนิสถานในปัจจุบันยังมีจำกัด ปัจจุบันเติร์กเมนิสถานส่งก๊าซขายไปยังรัสเซียและประเทศอดีตสหภาพโซเวียตอื่น ๆ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเติร์กเมนิสถานเป็นทะเลทรายและปริมาณฝนตกในแต่ละปีค่อนข้างน้อย ทำให้ไม่สามารถทำการเพาะปลูกพืชได้ในปริมาณมาก อย่างไรก็ดี เติร์กเมนิสถานปลูกฝ้ายได้มากเป็นอันดับสิบของโลก โดยผลิตฝ้ายได้ปีละประมาณ 600,000 - 700,000 ตัน นอกจากการปลูกข้าว ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ องุ่น และเลี้ยงแกะแล้ว ยังมี อุตสาหกรรมการผลิตอาหารเสื้อผ้า ผ้าผืน และพรม
เนื่องจากเติร์กเมนิสถานเป็นประเทศใหม่ จึงต้องการการลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก ประธานาธิบดี Niyazov ประกาศใช้นโยบาย Open Door Policy เพื่อเปิดประเทศและชักชวนให้นักธุรกิจต่างประเทศเดินทางมาทำธุรกิจในเติร์กเมนิสถาน มีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบต่าง ๆ ขึ้นมาดูแลไม่ว่าจะเป็นกระทรวงพาณิชย์และเศรษฐกิจต่างประเทศ (Ministry of Trade and External Economic Affairs), The State Agency for Foreign Investments หรือ Chamber of Commerce and Industry of Turkmenistan ที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือนักธุรกิจที่ประสงค์จะมาทำธุรกิจกับเติร์กเมนิสถาน อีกทั้งเงินสกุลมานาด (Manat) ซึ่งเป็นเงินท้องถิ่นของเติร์กเมนิสถานก็มีเสถียรภาพ อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศคงที่มาตั้งแต่ปี 2539 อย่างไรก็ดี กฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุนยังจำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่
รัฐบาลเติร์กเมนิสถานพยายามให้สิทธิประโยชน์แก่นักธุรกิจที่จะมาลงทุนในเติร์กเมนิสถานอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่รัฐส่งเสริม เช่น พลังงาน เป็นต้น รับบาลเติร์กเมนิสถานยังมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าและมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อผลิตให้พอเพียงกับการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนั้น เติร์กเมนิสถานไม่มีนโยบายในการจำกัดการนำเข้า ส่งออก หรือการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและเงินตราของเติร์กเมนิสถานแต่อย่างใด รวมทั้งเริ่มมีการใช้เครติดการ์ดเพิ่มขึ้น (แม้จะมีการคิดค่าบริการในอัตราที่ยังค่อนข้างสูงอยู่ก็ตาม) รัฐกำหนดให้มีการสำแดงเงินตราต่างประเทศตอนที่เดินทางออกนอกประเทศเท่านั้น
ประเทศต่าง ๆ ที่เข้าไปลงทุนในเติร์กเมนิสถานที่สำคัญ ได้แก่ ตุรกี (เครื่องอุปโภคบริโภค, การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง, อาหาร และสิ่งทอ) อิหร่าน (นำเข้าก๊าซธรรมชาติจากเติร์กเมนิสถาน, ก่อสร้างถนน) ฝรั่งเศส (ก่อสร้าง, พัฒนาระบบการบิน) เยอรมัน (โทรคมนาคม, การแพทย์) อังกฤษ (สำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำมัน) ญี่ปุ่น (การพัฒนาโรงกลั่นน้ำมัน) สหรัฐอเมริกา (การเกษตร, คมนาคม และพลังงาน) เป็นต้น
การเดินทางไปยังเติร์กเมนิสถานสะดวก เนื่องจากสายการบิน Turkmen Airlines ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติทำการบินจากกรุง Ashgabat ไปยังกรุงเทพฯ (สัปดาห์ละสองเที่ยว), อาบูดาบี, นิวเดลี, การาจี, ลอนดอน, อิสตันบูล, มอสโก, อัลาตี้, บาคู, เยเรวาน, เคียฟ, ทัชเคนท์ เป็นต้น โดยมีสายการบินนานาชาติอื่น ๆ บินมาที่กรุงอาชคาบัด เช่น Lufthansa จากแฟร็งเฟิร์ต Turkish Airlines จากอิสตันบูล Iran Air จากเตหะราน Pakistan Airlines จากการาจี เป็นต้น นอกจากนั้น เติร์กเมนิสถานยังมีเมือง Turkmenbashi เป็นเมืองท่าที่สำคัญในทะเลสาปแคสเปียน และทางรถไฟระหว่างอิหร่านและเติร์กเมนิสถานที่เปิดทำการเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2539 ก็เป็นต้นทางขนส่งที่สำคัญของเติร์กเมนิสถานในปัจจุบันโอกาสด้านการค้าและการลงทุนในเติร์กเมนิสถาน
1. เติร์กเมนิสถานกำลังดำเนินตามนโยบาย Open Door Policy ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อนักธุรกิจต่างประเทศ รวมทั้งไทยที่จะเข้าไปทำธุรกิจหรือลงทุนในเติร์กเมนิสถาน โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมการเกษตรที่ไทยมีประสบการณ์ ซึ่งหากในอนาคตเติร์กเมนิสถานมีรายได้จากการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากขึ้นก็จะทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อสินค้าและบริการมากขึ้นไปด้วย
2. เติร์กเมนิสถานจะเป็นประเทศที่จะมีศักยภาพในอนาคต เนื่องจากจำนวนประชาชนน้อยในขณะที่มีทรัพยา-กรธรรมชาติมาก รวมทั้งการที่ประเทศต้องนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ Consumer Products ที่เติร์กเมนิสถานต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (ปัจจุบันนำเข้าจากรัสเซีย ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต ตุรกี อิหร่าน และสหรัฐ- อาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น) ซึ่งมีโอกาสที่ไทยจะสามารถส่งสินค้าเข้าไปขายได้จากการสำรวจตลาดพบสินค้าไทย เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป และข้าวหอมมะลิ วางจำหน่าย ทั้งนี้สินค้าไทยดังกล่าวถูกนำเข้าผ่านประเทศอื่น เช่น สหรัฐอาหรับ- เอมิเรตส์ หรืออิหร่าน นอกจากนั้น ยังพบว่าสินค้าจากตุรกี รัสเซีย ประเทศอดีตสหภาพโซเวียต จีน ฝรั่งเศส วางขายอยู่ในท้องตลาดเป็นส่วนใหญ่
3. เนื่องจากกฎระเบียบต่าง ๆ ของเติร์กเมนิสถานยังเอื้ออำนวย และให้สิทธิประโยชน์สำหรับนักธุรกิจต่างประเทศที่จะเข้าไปทำธุรกิจในเติร์กเมนิสถาน ภาคเอกชนไทยจึงอาจจะพิจารณาการทำธุรกิจกับเติร์กเมนิสถานโดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ในชั้นนี้ไทยกับเติร์กเมนิสถานน่าที่จะทำความรู้กันมากยิ่งขึ้นถึงศักยภาพของกันและกัน เพื่อจักได้ร่วมมือในธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ต่อไป
4. หากภาคเอกชนไทยมีความต้องการที่จะเข้าไปทำธุรกิจในเติร์กเมนิสถานการร่วมกับบริษัทเอกชนเติร์กเมนิ สถาน (Joint Venture) ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดและเป็นที่นิยมของบริษัทเอกชนจากต่างประเทศที่สุดในขณะนี้
5. การมีเที่ยวบินตรงระหว่างกรุงอาชคาบัดและกรุงเทพฯ สัปดาห์ละสองเที่ยวโดยสายการบินเติร์กเมนิสถานทำให้การเดินทางไปมาระหว่างกันของภาคเอกชนสะดวกเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางเข้าไปยังเติร์กเมนิสถานจำเป็นต้องมีหนังสือเชิญที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศเติร์กเมนิสถานก่อนที่จะเดินทางเข้าประเทศ ซึ่งภาคเอกชนหรือนักธุรกิจที่สนใจสามารถติดต่อกับ Chamber of Commerce and Industry of Turkmenistan เพื่อให้มีหนังสือเชิญไปขออนุมัติจากกระทรวงการต่างประเทศเติร์กเมนิสถานก่อนที่จะสำเนาให้นำติดตัวไปขอรับการตรวจลงตราที่สนามบินเติร์กเมนิสถานเมื่อเดินทางไปถึง ทั้งนี้ CCIT จะคิดค่าธรรมเนียมในการให้บริการนี้จำนวน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าตรวจลงตราอีก 61 ดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี กฎระเบียบและค่าธรรมเนียมด้านการตรวจลงตราของเติร์กเมนิสถานมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางไปยังเติร์กเมนิสถานจึงควรติดต่อกับสถานเอกอัครราชทูตเติร์กเมนิสถานเพื่อขอรับข้อมูลล่าสุดก่อนการเดินทางข้อสังเกต
1. เติร์กเมนิสถานเป็นประเทศใหม่ที่อายุยังไม่ถึงสิบปี ดังนั้น จึงทำให้เติร์กเมนิสถานต้องการการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ และเนื่องจากปัจจัยด้านสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศทำให้ไม่สามารถผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ทุกประเภทได้อย่างเพียงพอ เติร์กเมนิสถานจึงต้องนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก น่าจะเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งสินค้าไทยไปยังเติร์กเมนิสถานได้ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านประเทศที่สามก็ตาม
2. จากการที่เติร์กเมนิสถานยังเป็นประเทศใหม่ รัฐบาลจึงยังมีนโยบายชาตินิยมพอควรตัวอย่างเช่นอาคารบ้านตลอดจนสถานที่ราชการจะมีการประดับธงชาติและรูปภาพประธานาธิบดี Niyazov อยู่ทั่วไป รวมทั้งมักจะมีคำขวัญ Halk Watan Turkmenbashy (ประชาชน ประเทศ ประธานาธิบดี) ประดับอยู่ตามสถานที่ต่าง ๆ อีกทั้งการดำเนิน
นโยบายเศรษฐกิจยังควบคุมจากระดับสูงสุดของประเทศ ซึ่งคงจะต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าที่เติร์กเมนิสถานจะมีระบบเศรษฐกิจเสรีบนพื้นฐานของกลไกตลาดหรือกฎระเบียบที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ (ปัจจุบันรัฐบาลควบคุมดูแลระบบเศรษฐกิจและการดำเนินธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่อย่างใกล้ชิด) อย่างไรก็ดี เติร์กเมนิสถานจะยังมีระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพต่อไป เพราะประธานาธิบดี Niyazov ยังได้รับความนิยมจากประชาชนมากและไม่อนุญาตให้มีพรรคการเมืองฝ่ายค้านในประเทศ
3. เติร์กเมนิสถานมีทรัพยากรพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก ในขณะที่จำนวนประชากรน้อย ซึ่งถ้าหากเติร์กเมนิสถานสามารถส่งออกพลังงานและกระจายรายได้ลงสู่ประชาชนได้มากขึ้นแล้ว เชื่อแน่ว่าในอนาคตประชาชนเติร์กเมนิสถานจะมีกำลังซื้อหาสินค้าต่างประเทศรวมทั้งสินค้าไทยมากยิ่งขึ้น
(ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 19/2543 วันที่ 1 ตุลาคม 2543--
-อน-