เศรษฐกิจจังหวัดแม่ฮ่องสอนปี 2542 ปรับตัวดีขึ้น โดยผลผลิตภาคเกษตรเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย ภาคเหมืองแร่เพิ่มขึ้นตามความต้องการภายใน และการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นจากการส่งออกไปประเทศพม่า การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนยังคงระมัดระวังการใช้จ่าย ส่วน ภาคบริการ ลดลงตามจำนวนนักท่องเที่ยว การลงทุนยังอยู่ในภาวะซบเซา นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงชะลอการลงทุน แต่ทางด้านการก่อสร้างเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากการก่อสร้างภาคเอกชนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ ภาค การเงิน เงินฝากลดลงจากปีก่อนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำลง ขณะที่สินเชื่อยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องตามการเข้มงวดของธนาคาร และเงินในงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นตามนโยบายเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาล
ภาคเกษตร ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย อีกทั้งปริมาณน้ำฝนที่กระจายตัว ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญของจังหวัดเพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าวนาปีและกระเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และร้อยละ 15.0 ตามลำดับ แต่ราคาพืชผลเกษตรที่ต่ำลงคาดว่ารายได้เกษตรกรในปีนี้จะลดลงประมาณร้อยละ 1.0 แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
นอกภาคเกษตร ภาคบริการลดลงจากปีก่อน ตามปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ 23.8 เหลือ 167,541 คน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานที่ลดลงร้อยละ 14.6 (ทั้งขาเข้าและขาออกลดลงร้อยละ 13.8 และร้อยละ 15.3 ตามลำดับ) เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในปีนี้ไม่เอื้ออำนวย ต่อการบินทำให้มีการยกเลิกเที่ยวบินหลายเที่ยว กอปรกับการเดินทางโดยรถยนต์ต้องใช้เวลานานทำให้นักท่องเที่ยว เดินทางไปจังหวัดอื่นแทน ภาคเหมืองแร่ การผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 ตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการก่อสร้าง และฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว ตามความต้องการของภายในประเทศเป็นสำคัญ การค้าชายแดน กับพม่าผ่านด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอนและด่านแม่สะเรียง มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจำนวน 55 ล้านบาท และ 62 ล้านบาท ตามลำดับ แม้ว่าจะมีการปิดด่านช่วงปลายปีแต่ส่งผลต่อการส่งออกไม่มาก
การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังการ ใช้จ่าย ยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 12.1 ต่ำกว่าที่เคยลดลงร้อยละ 91.1 ปีก่อน และยอดจดทะเบียนรถ จักรยานยนต์ลดลงในอัตราที่ต่ำลงเช่นกันร้อยละ 25.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 42.2 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลง จากปีก่อนร้อยละ 3.4 เหลือ 28 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.9 ปีก่อน
ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในภาวะซบเซา ไม่มีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและไม่มีการจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ แต่ การก่อสร้าง กลับขยายตัวเพิ่มขึ้น จากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างของ ที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ และสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 149 ล้านบาท หลังจากที่ลดลงร้อยละ 44.0 ปีก่อน
ภาคการเงิน ปริมาณเงินฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดแม่ฮ่องสอนและคลังจังหวัด ณ อำเภอแม่สะเรียง) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.7 เป็น 6,377 ล้านบาท แยกเป็นเงินนำฝาก 4,131 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ทางด้านการเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 เป็น 2,246 ล้านบาท ตามธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้นรวมทั้งการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ที่ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,612 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.2 ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 4.8 เหลือ 1,918 ล้านบาท จาก ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อ โดยลดลงมากในสินเชื่อเพื่อสถาบันการเงิน สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ด้าน การใช้เช็ค ผ่านสำนักหักบัญชีอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน (เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อเดือนธันวาคม 2541) ในปีนี้มีปริมาณการใช้เช็คทั้งสิ้น 15,039 ฉบับ มูลค่า 776.2 ล้านบาท เป็นเช็คคืนทั้งสิ้น 345 ฉบับ มีมูลค่า 9.7 ล้านบาท
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 360 ราย วงเงิน 402 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 354 ราย วงเงิน 397.0 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 26 ราย วงเงิน 67.2 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 334 ราย เป็นเงิน 334.8 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน (รวมคลังจังหวัด ณ อำเภอแม่สะเรียง) ในปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 2,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 2,356 ล้านบาทปีก่อน ตามการใช้จ่าย ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เป็นสำคัญ เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,846 ล้านบาท ทำให้ขาดดุล เงินสด 591 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 177 ล้านบาทปีก่อน รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 155.4 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 135.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.5 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากภาวะอากาศเอื้ออำนวย อีกทั้งปริมาณน้ำฝนที่กระจายตัว ส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญของจังหวัดเพิ่มขึ้นได้แก่ ข้าวนาปีและกระเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และร้อยละ 15.0 ตามลำดับ แต่ราคาพืชผลเกษตรที่ต่ำลงคาดว่ารายได้เกษตรกรในปีนี้จะลดลงประมาณร้อยละ 1.0 แต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
นอกภาคเกษตร ภาคบริการลดลงจากปีก่อน ตามปริมาณนักท่องเที่ยวที่ลดลงร้อยละ 23.8 เหลือ 167,541 คน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานที่ลดลงร้อยละ 14.6 (ทั้งขาเข้าและขาออกลดลงร้อยละ 13.8 และร้อยละ 15.3 ตามลำดับ) เนื่องจากสภาพภูมิอากาศในปีนี้ไม่เอื้ออำนวย ต่อการบินทำให้มีการยกเลิกเที่ยวบินหลายเที่ยว กอปรกับการเดินทางโดยรถยนต์ต้องใช้เวลานานทำให้นักท่องเที่ยว เดินทางไปจังหวัดอื่นแทน ภาคเหมืองแร่ การผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 50.0 ตามการปรับตัวดีขึ้นของภาคการก่อสร้าง และฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว ตามความต้องการของภายในประเทศเป็นสำคัญ การค้าชายแดน กับพม่าผ่านด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอนและด่านแม่สะเรียง มูลค่าการส่งออกและนำเข้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวจำนวน 55 ล้านบาท และ 62 ล้านบาท ตามลำดับ แม้ว่าจะมีการปิดด่านช่วงปลายปีแต่ส่งผลต่อการส่งออกไม่มาก
การใช้จ่ายภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังคงระมัดระวังการ ใช้จ่าย ยอดจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 12.1 ต่ำกว่าที่เคยลดลงร้อยละ 91.1 ปีก่อน และยอดจดทะเบียนรถ จักรยานยนต์ลดลงในอัตราที่ต่ำลงเช่นกันร้อยละ 25.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 42.2 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มแม้ลดลง จากปีก่อนร้อยละ 3.4 เหลือ 28 ล้านบาท เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้วกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 29.9 ปีก่อน
ภาคการลงทุน/ก่อสร้าง การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในภาวะซบเซา ไม่มีผู้ประกอบการได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนและไม่มีการจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ แต่ การก่อสร้าง กลับขยายตัวเพิ่มขึ้น จากพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลของภาคเอกชนเพิ่มขึ้นกว่า 5 เท่าตัว ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างของ ที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ และสินเชื่อเพื่อการก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.1 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 149 ล้านบาท หลังจากที่ลดลงร้อยละ 44.0 ปีก่อน
ภาคการเงิน ปริมาณเงินฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย (คลังจังหวัดแม่ฮ่องสอนและคลังจังหวัด ณ อำเภอแม่สะเรียง) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.7 เป็น 6,377 ล้านบาท แยกเป็นเงินนำฝาก 4,131 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ทางด้านการเบิกถอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.4 เป็น 2,246 ล้านบาท ตามธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่เริ่มดีขึ้นรวมทั้งการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝาก ที่ธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้างทั้งสิ้น 1,612 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.2 ทางด้านเงินให้ สินเชื่อ ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 4.8 เหลือ 1,918 ล้านบาท จาก ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการให้สินเชื่อ โดยลดลงมากในสินเชื่อเพื่อสถาบันการเงิน สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม และสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรม ด้าน การใช้เช็ค ผ่านสำนักหักบัญชีอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน (เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อเดือนธันวาคม 2541) ในปีนี้มีปริมาณการใช้เช็คทั้งสิ้น 15,039 ฉบับ มูลค่า 776.2 ล้านบาท เป็นเช็คคืนทั้งสิ้น 345 ฉบับ มีมูลค่า 9.7 ล้านบาท
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงานของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 360 ราย วงเงิน 402 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 354 ราย วงเงิน 397.0 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 26 ราย วงเงิน 67.2 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 334 ราย เป็นเงิน 334.8 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดแม่ฮ่องสอน (รวมคลังจังหวัด ณ อำเภอแม่สะเรียง) ในปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 2,437 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 2,356 ล้านบาทปีก่อน ตามการใช้จ่าย ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 เป็นสำคัญ เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 1,846 ล้านบาท ทำให้ขาดดุล เงินสด 591 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดดุล 177 ล้านบาทปีก่อน รายจ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มิยาซาวา) ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน วงเงินที่ได้รับอนุมัติ 155.4 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 135.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 87.5 ของวงเงินอนุมัติ ส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างงาน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-