บทสรุปนักลงทุน
การตลาด ตลาดน้ำผลไม้เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ในช่วงปี2533-2538 แต่ในช่วงปี 2539-2541 เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงิน การบริโภคเครื่องดื่มชะลอลง อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำผลไม้ในระยะยาวยังคงมีแนวโน้มที่สดใส ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ทั้งนี้เป็นไปตามกระแสของการห่วงใยในการรักษาสุขภาพมากขึ้นคาดว่าในปี 2542 ปริมาณการจำหน่ายน้ำผลไม้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 4.2 เป็น250 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 4,615 ล้านบาท ในขณะที่การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 68.2 เป็น 181 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 7,240 ล้านบาท เนื่องจากคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดส่งออกคือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง สำหรับในปี 2543คาดว่าปริมาณการจำหน่ายน้ำผลไม้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 10.0 เป็น 275 ล้านลิตรหรือคิดเป็นมูลค่า 5,198 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน รวมทั้งตลาดในประเทศจะเริ่มกลับมาคึกคัก และมีการแข่งขันกันมากขึ้นอีกครั้ง ส่วนตลาดส่งออก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เป็น 203 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 8,526 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่า คู่แข่งในตลาดส่งออกจะยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอยู่
ผู้ผลิตน้ำผลไม้ในในปัจจุบันมีอยู่ราว 103 โรงงาน ในจำนวนนี้มีผู้ผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลางและขนาดย่อม อยู่ราว 91 โรงงาน ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในภาคกลางรองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ จังหวัดที่มีผู้ผลิตมากที่สุดได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ตามลำดับ นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคต่างๆ สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่จำหน่ายเองโดยตรงแก่ผู้บริโภค/ผู้ผลิตน้ำผลไม้รายใหญ่เพื่อนำไปผลิตน้ำผลไม้ หรือจำหน่ายผ่านคนกลาง ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค
วัตถุดิบสำคัญได้แก่ ผลไม้ สามารถผลิตได้ในประเทศทั้งหมด ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เครื่องตัด/เฉาะผลไม้ เครื่องคั้นน้ำผลไม้ เครื่องกรองน้ำผลไม้ เครื่องความดันไอน้ำใช้ในการฆ่าเชื้อโรค เครื่องบรรจุน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ในโรงงานจะต้องมีเครื่องมือวัดความหวานและปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมด (Refrectrometer) และเครื่องวัดค่าความเป็นกรด/ด่าง หรือค่า pH เพื่อให้น้ำผลไม้ที่ได้มีมาตรฐานเดียวกัน
อุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลาง ขนาดกำลังการผลิตเต็มที่ 2.4 ล้านลิตรต่อปี เงินลงทุนที่ใช้ในการจัดตั้ง 10,000,000 บาท โดยมีเงินทุนหมุนเวียน 600,000 บาทต่อเดือน มีแรงงาน 9 คนสำหรับต้นทุนขายน้ำผลไม้ แยกเป็นต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 56 แรงงาน ร้อยละ 7 ค่าสาธารณูปโภค ร้อยละ 4 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ร้อยละ 3 ดอกเบี้ยจ่าย ร้อยละ 11 โสหุ้ยการผลิต ร้อยละ 19 ตามลำดับ กำไรเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 30-40 ของรายได้จากการขาย
การตลาดความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ตลาดน้ำผลไม้ไทยมีอัตราการขยายตัวสูงในช่วงปี 2533-2537 และเริ่มชะลอตัวลงในปี2538 --2539 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มมีการปรับตัวทั้งในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งมีผู้ผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงปี 2536-2538 จึงทำให้มีการแข่งขันทางด้านราคาโดยเฉพาะ ตลาดน้ำผัก-ผลไม้ชนิดเข้มข้น 100% เริ่มแข่งขันกันอย่างจริงจัง ในปี 2539 โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ ได้แก่ มาลี ทิปโก้ ไอวี่ ยูเอฟซี สไมล์ และ เอทิพย์ ซึ่งผู้ผลิตทั้ง 2 รายหลัง เป็นน้ำผัก-ผลไม้ประเภทพาสเจอร์ไรส์ ส่วนในปี 2540 ตลาดซบเซาลง ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การบริโภคลดลง เนื่องจากน้ำผัก-ผลไม้ ถูกมองว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตทั้งผลไม้สด น้ำตาล กระดาษ และพลาสติก เพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับมีการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 จึงทำให้ต้องมีการปรับระดับราคาขึ้น จนทำให้ผู้ผลิตเริ่มลดการผลิตลงและผู้ผลิตรายย่อยบางรายก็เลิกกิจการ ในปี 2541 หลังจากที่ความต้องการบริโภคน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม จากกระแสชีวจิตในปี 2541 ทำให้ตลาดน้ำผัก-ผลไม้ได้รับความนิยมอีกครั้ง จึงส่งผลให้ความต้องการบริโภคน้ำผัก-ผลไม้เพิ่มขึ้นได้ ส่วนปริมาณการนำเข้าน้ำผลไม้ในช่วงปี 2538-2541 มีอัตราการขยายตัวสูงมาก ราวร้อยละ 20 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าน้ำผลไม้เข้มข้นเพื่อนำมาเจือจาง ส่วนการส่งออกน้ำผลไม้ของไทย ส่วนใหญ่เป็นน้ำสับปะรดกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในช่วงปี 2538-2540 การส่งออกลดลงต่อเนื่อง เพราะไทยขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตคือสับปะรด และต้องเผชิญภาวะการแข่งขันกับคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ในปี 2542 ภาวะตลาดน้ำผัก-ผลไม้ที่ผลิตในประเทศยังคงขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงมากนักแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มทรงตัวถึงดีขึ้นเล็กน้อย และจากมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและลดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ผู้บริโภคก็ยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนเริ่มหันมาทำน้ำผัก-ผลไม้ดื่มเองมากขึ้น เพราะมีความสดใหม่และมั่นใจในความสะอาด คาดว่าปริมาณการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ที่ผลิตในประเทศปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เป็น 250 ล้านลิตร สำหรับระดับราคาน้ำผัก-ผลไม้โดยเฉลี่ยคาดว่าจะทรงตัว/เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผลไม้ที่ปลูกไว้ในช่วงปี 2537-2539 จะเริ่มให้ผลผลิตรอบแรกในปี 2542 แม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็สามารถลดความรุนแรงของภาวะขาดแคลนลงได้บ้าง ประกอบกับภาวะตลาดที่ค่อนข้างซบเซา จึงเป็นผลให้ภาวะการแข่งขันไม่รุนแรงเท่าช่วงปี 2536-2539 ที่ผ่านมา นอกจากนี้การประกาศลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ในช่วงปี 2542-2543 จึงทำให้ราคาน้ำผัก-ผลไม้เฉลี่ยในปี 2542 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 อยู่ที่ระดับลิตรละ 18.46 บาท ส่วนการนำเข้าน้ำผลไม้ในปี 2542 มีแนวโน้มขยายตัวสูง โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.86 เป็น 2.076ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 144.35 ล้านบาท คาดว่ามูลค่าการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนำเข้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เป็น 4,902 ล้านบาท ในขณะที่การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 68.2 เป็น 181 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 7,240 ล้านบาท เนื่องจากคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดส่งออกคือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง
สำหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนำเข้า) จะเริ่มฟื้นตัว โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.0 เป็น 265.6 ล้านลิตร เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนเริ่มมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศ ทำให้คาดว่าผู้ผลิตรายใหญ่จะขยายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ณ ระดับราคาน้ำผัก-ผลไม้โดยเฉลี่ยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราวร้อยละ 1.2 เป็นลิตรละ 18.90 บาท เนื่องจากผลผลิตผลไม้สดจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ได้แก่ พลาสติกที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เช่นเดียวกับกระดาษส่งผลให้มูลค่าการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนำเข้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เป็น 5,188 ล้านบาท ส่วนตลาดส่งออกในปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เป็น 203 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 8,526 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่าคู่แข่งในตลาดส่งออกจะยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอยู่
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ผลิตน้ำผลไม้ในประเทศในปัจจุบันมีอยู่ราว 103 โรงงาน โดยมีผู้ผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลางและขนาดย่อม (มีเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือมีคนงานไม่เกิน 200 คน) อยู่ราว 91 โรงงาน ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในภาคกลาง รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ ตามลำดับ จังหวัดที่มีผู้ผลิตมากที่สุดได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (13 โรงงาน) นครปฐม (13โรงงาน) กรุงเทพมหานคร (9 โรงงาน) สมุทรสงคราม (7 โรงงาน) สมุทรสาคร (6 โรงงาน) และสมุทรปราการ (5 โรงงาน) ตามลำดับ นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคต่างๆ อีก 50 โรงงาน อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรายย่อยในปัจจุบันหยุดการผลิตน้ำผลไม้ชั่วคราว เนื่องจากภาวะตลาดในประเทศยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และผู้ผลิตบางรายปรับเปลี่ยนการผลิตมาเป็นการผลิตผัก-ผลไม้กระป๋องแทน
ตารางที่ 1: รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โดล (ไทยแลนด์) จำกัด 2,060,909,500
บริษัท อาหารสากล จำกัด (มหาชน) 787,500,000
บริษัท ผลไม้กระป๋อง จำกัด 565,000,000
บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) 445,754,981
บริษัท โรงงานมาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) 250,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท สยามนานาแคนนิ่ง จำกัด 185,000,000
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 71,500,000
บริษัท สันติภาพ (ฮั้วเพ้ง) 1958 จำกัด 14,860,000
บริษัท น้ำผลไม้จัสแม็กซ์ จำกัด 11,500,000
บริษัท นูบูน จำกัด 600,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
การผลิตน้ำผลไม้ในประเทศ มีสัดส่วนการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเทียบกับการส่งออกราวร้อยละ 40:60 ของมูลค่าตลาดโดยรวม ช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ผลิตน้ำผลไม้ ได้แก่
1. จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค ผู้ผลิตรายย่อยส่งให้กับผู้ผลิตน้ำผลไม้รายใหญ่
2. จำหน่ายผ่านคนกลาง ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต คือ ผลไม้ประเภทต่างๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม กระเจี๊ยบ มะพร้าวสับปะรด เป็นต้น ซึ่งเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ในประเทศ และบางชนิดสามารถให้ผลผลิตเกือบทั้งปี เช่น ฝรั่ง สับปะรด ผู้ผลิตมักจะซื้อผลไม้ในประเทศทั้งหมด ยกเว้นผู้ผลิตรายใหญ่บางรายที่นำเข้าน้ำผลไม้เข้มข้นจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ที่ไม่สามารถปลูกในประเทศได้
ประเภทผลไม้ แหล่งผลิต
ฝรั่ง นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร
สับปะรด ประจวบคีรีขันธ์
ส้มเกลี้ยง ลำปาง สุราษฎร์ธานี
ส้มเขียวหวาน ปทุมธานี แพร่ กรุงเทพมหานคร
บ๊วย เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
แพสชั่นฟรุ๊ต เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ จันทบุรี
ลิ้นจี่ เชียงใหม่ เชียงราย
ลำไย เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย
องุ่น ราชบุรี สมุทรสาคร
พุทรา สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม
มะขาม เพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย
มะนาว เพชรบุรี นครปฐม นครศรีธรรมราช
มะพร้าวอ่อน ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 69
- วัตถุดิบในประเทศ 100
- วัตถุดิบนำเข้า 0
2. ค่าแรงงาน 9
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 3
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 19
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต กระบวนการผลิต น้ำผลไม้พร้อมดื่ม นำผลไม้สดมาตัดและล้างให้สะอาดแล้วนำมาเฉาะหรือคั้นน้ำใส่ลงในรางผลิต เพื่อนำไปกรอง จากนั้นผู้ผลิตอาจเติมน้ำ น้ำตาล สารปรุงแต่ง สารกันบูด (ถ้ามี) แล้วนำไปกรองอีกครั้ง เมื่อกรองเสร็จก็จะให้ความร้อนฆ่าเชื้อด้วยระบบสเตอริไลเซชั่น ระบบพาสเจอร์ไรส์ หรือ ระบบยูเอชที แล้วนำไปบรรจุภาชนะ เช่น กล่องกระป๋อง ขวด เป็นต้น
กรณีผู้ผลิตรายย่อย มักจะนำน้ำผลไม้ที่คั้น/ผสมแล้วมาต้มจนเดือด 100 องศาเซลเซียสจากนั้นนำมากรองโดยเร็ว แล้วนำไปบรรจุภาชนะสะอาดและผนึกฝาให้เสร็จในอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า60 องศาเซลเซียส โดยปกติ ผู้ผลิตขนาดเล็กมักจะใช้การผลิตน้ำผัก-ผลไม้ประเภทพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ 4-5 องศาเซลเซียส และมีอายุเพียง 15-30 วัน เท่านั้น และร้านค้าต้องมีตู้แช่ ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่ง แต่ทำให้น้ำผัก-ผลไม้คงคุณค่าทางโภชนาการได้ดีกว่า
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เครื่องตัด/เฉาะผลไม้ เครื่องคั้นน้ำผลไม้ เครื่องกรองน้ำผลไม้ เครื่องความดันไอน้ำใช้ในการฆ่าเชื้อโรค เครื่องบรรจุน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ในโรงงานจะต้องมีเครื่องมือวัดความหวานและปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมด (Refrectrometer) และเครื่องวัดค่าความเป็นกรด/ด่าง หรือค่า pH เพื่อให้น้ำผลไม้ที่ได้มีมาตรฐานเดียวกัน
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ควรตั้งอยู่ในบริเวณหรือทำเลที่ใกล้แหล่งผลไม้สด และจำเป็นต้องมีตลาดที่แน่นอน เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป
กรณีการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลาง กำลังการผลิตเต็มที่ 2.4 ล้านลิตร(1,000 ลิตร/ชั่วโมง) โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะได้น้ำผลไม้ขนาด 250 ซีซีประมาณ 6,000 ขวดต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 10,000,000 บาท
2.! ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง
ในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่า 30,000 บาทต่อเดือน
3.! ค่าเครื่องจักร ได้แก่
เครื่องคั้น/อัด/กรอง 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 400,000 บาท
เครื่องบรรจุขวด /ผนึกฝา 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1,000,000 บาท
4.! ค่ายานพาหนะรับผลไม้/ขนส่งสินค้า 2 คัน ราคาคันละ 400,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 600,000 บาท
บุคลากร
การผลิตน้ำผลไม้ขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 9 คน ประกอบด้วย
1.! พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1! พนักงานควบคุมเครื่องจักร จำนวน 4 คน
1.2! พนักงานขับรถรับผลไม้สด/ส่งของ จำนวน 2 คน
1.3! พนักงานบรรจุสินค้า จำนวน 1 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 4,712,200 บาทต่อปี
- ผลไม้สด 2,356,000 บาทต่อปี
- ขวดพลาสติก 1,413,700 บาทต่อปี
- อื่นๆ เช่น กรดผลไม้ น้ำตาล 942,500 บาทต่อปี
2. ค่าแรงงาน 588,000 บาทต่อปี
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 230,000 บาทต่อปี
4. โสหุ้ยการผลิต 1,563,000 บาทต่อปี
4.1 ค่าสาธารณูปโภค 390,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 120,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 240,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 30,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง 288,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 288,000 บาทต่อปี
4.3 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 885,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 30-40 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ยวันละ 72,000 ขวด ราคาขวดละ 7 บาท คิดเป็นรายได้ 11.08 ล้านบาท
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
การตลาด ตลาดน้ำผลไม้เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเป็นลำดับ ในช่วงปี2533-2538 แต่ในช่วงปี 2539-2541 เป็นช่วงที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเงิน การบริโภคเครื่องดื่มชะลอลง อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำผลไม้ในระยะยาวยังคงมีแนวโน้มที่สดใส ทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ทั้งนี้เป็นไปตามกระแสของการห่วงใยในการรักษาสุขภาพมากขึ้นคาดว่าในปี 2542 ปริมาณการจำหน่ายน้ำผลไม้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 4.2 เป็น250 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 4,615 ล้านบาท ในขณะที่การส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 68.2 เป็น 181 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 7,240 ล้านบาท เนื่องจากคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดส่งออกคือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง สำหรับในปี 2543คาดว่าปริมาณการจำหน่ายน้ำผลไม้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนราวร้อยละ 10.0 เป็น 275 ล้านลิตรหรือคิดเป็นมูลค่า 5,198 ล้านบาท ตามภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน รวมทั้งตลาดในประเทศจะเริ่มกลับมาคึกคัก และมีการแข่งขันกันมากขึ้นอีกครั้ง ส่วนตลาดส่งออก คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เป็น 203 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 8,526 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่า คู่แข่งในตลาดส่งออกจะยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอยู่
ผู้ผลิตน้ำผลไม้ในในปัจจุบันมีอยู่ราว 103 โรงงาน ในจำนวนนี้มีผู้ผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลางและขนาดย่อม อยู่ราว 91 โรงงาน ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในภาคกลางรองลงมาได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ จังหวัดที่มีผู้ผลิตมากที่สุดได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์นครปฐม กรุงเทพมหานคร สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสมุทรปราการ ตามลำดับ นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคต่างๆ สำหรับช่องทางการจัดจำหน่ายส่วนใหญ่จำหน่ายเองโดยตรงแก่ผู้บริโภค/ผู้ผลิตน้ำผลไม้รายใหญ่เพื่อนำไปผลิตน้ำผลไม้ หรือจำหน่ายผ่านคนกลาง ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค
วัตถุดิบสำคัญได้แก่ ผลไม้ สามารถผลิตได้ในประเทศทั้งหมด ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตได้แก่ เครื่องตัด/เฉาะผลไม้ เครื่องคั้นน้ำผลไม้ เครื่องกรองน้ำผลไม้ เครื่องความดันไอน้ำใช้ในการฆ่าเชื้อโรค เครื่องบรรจุน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ในโรงงานจะต้องมีเครื่องมือวัดความหวานและปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมด (Refrectrometer) และเครื่องวัดค่าความเป็นกรด/ด่าง หรือค่า pH เพื่อให้น้ำผลไม้ที่ได้มีมาตรฐานเดียวกัน
อุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลาง ขนาดกำลังการผลิตเต็มที่ 2.4 ล้านลิตรต่อปี เงินลงทุนที่ใช้ในการจัดตั้ง 10,000,000 บาท โดยมีเงินทุนหมุนเวียน 600,000 บาทต่อเดือน มีแรงงาน 9 คนสำหรับต้นทุนขายน้ำผลไม้ แยกเป็นต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 56 แรงงาน ร้อยละ 7 ค่าสาธารณูปโภค ร้อยละ 4 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ร้อยละ 3 ดอกเบี้ยจ่าย ร้อยละ 11 โสหุ้ยการผลิต ร้อยละ 19 ตามลำดับ กำไรเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 30-40 ของรายได้จากการขาย
การตลาดความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ตลาดน้ำผลไม้ไทยมีอัตราการขยายตัวสูงในช่วงปี 2533-2537 และเริ่มชะลอตัวลงในปี2538 --2539 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มมีการปรับตัวทั้งในด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งมีผู้ผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงปี 2536-2538 จึงทำให้มีการแข่งขันทางด้านราคาโดยเฉพาะ ตลาดน้ำผัก-ผลไม้ชนิดเข้มข้น 100% เริ่มแข่งขันกันอย่างจริงจัง ในปี 2539 โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ ได้แก่ มาลี ทิปโก้ ไอวี่ ยูเอฟซี สไมล์ และ เอทิพย์ ซึ่งผู้ผลิตทั้ง 2 รายหลัง เป็นน้ำผัก-ผลไม้ประเภทพาสเจอร์ไรส์ ส่วนในปี 2540 ตลาดซบเซาลง ทั้งนี้เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ การบริโภคลดลง เนื่องจากน้ำผัก-ผลไม้ ถูกมองว่าเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ขณะเดียวกันต้นทุนการผลิตทั้งผลไม้สด น้ำตาล กระดาษ และพลาสติก เพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับมีการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 จึงทำให้ต้องมีการปรับระดับราคาขึ้น จนทำให้ผู้ผลิตเริ่มลดการผลิตลงและผู้ผลิตรายย่อยบางรายก็เลิกกิจการ ในปี 2541 หลังจากที่ความต้องการบริโภคน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศลดลง อย่างไรก็ตาม จากกระแสชีวจิตในปี 2541 ทำให้ตลาดน้ำผัก-ผลไม้ได้รับความนิยมอีกครั้ง จึงส่งผลให้ความต้องการบริโภคน้ำผัก-ผลไม้เพิ่มขึ้นได้ ส่วนปริมาณการนำเข้าน้ำผลไม้ในช่วงปี 2538-2541 มีอัตราการขยายตัวสูงมาก ราวร้อยละ 20 ต่อปี โดยส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าน้ำผลไม้เข้มข้นเพื่อนำมาเจือจาง ส่วนการส่งออกน้ำผลไม้ของไทย ส่วนใหญ่เป็นน้ำสับปะรดกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการส่งออกทั้งหมด ในช่วงปี 2538-2540 การส่งออกลดลงต่อเนื่อง เพราะไทยขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตคือสับปะรด และต้องเผชิญภาวะการแข่งขันกับคู่แข่งสำคัญ คือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ในปี 2542 ภาวะตลาดน้ำผัก-ผลไม้ที่ผลิตในประเทศยังคงขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงมากนักแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มทรงตัวถึงดีขึ้นเล็กน้อย และจากมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นการใช้จ่ายโดยลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและลดภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ผู้บริโภคก็ยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนเริ่มหันมาทำน้ำผัก-ผลไม้ดื่มเองมากขึ้น เพราะมีความสดใหม่และมั่นใจในความสะอาด คาดว่าปริมาณการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ที่ผลิตในประเทศปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 เป็น 250 ล้านลิตร สำหรับระดับราคาน้ำผัก-ผลไม้โดยเฉลี่ยคาดว่าจะทรงตัว/เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากผลไม้ที่ปลูกไว้ในช่วงปี 2537-2539 จะเริ่มให้ผลผลิตรอบแรกในปี 2542 แม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็สามารถลดความรุนแรงของภาวะขาดแคลนลงได้บ้าง ประกอบกับภาวะตลาดที่ค่อนข้างซบเซา จึงเป็นผลให้ภาวะการแข่งขันไม่รุนแรงเท่าช่วงปี 2536-2539 ที่ผ่านมา นอกจากนี้การประกาศลดภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ในช่วงปี 2542-2543 จึงทำให้ราคาน้ำผัก-ผลไม้เฉลี่ยในปี 2542 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 อยู่ที่ระดับลิตรละ 18.46 บาท ส่วนการนำเข้าน้ำผลไม้ในปี 2542 มีแนวโน้มขยายตัวสูง โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.86 เป็น 2.076ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 144.35 ล้านบาท คาดว่ามูลค่าการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนำเข้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เป็น 4,902 ล้านบาท ในขณะที่การส่งออกคาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 68.2 เป็น 181 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 7,240 ล้านบาท เนื่องจากคู่แข่งสำคัญของไทยในตลาดส่งออกคือ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง
สำหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนำเข้า) จะเริ่มฟื้นตัว โดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.0 เป็น 265.6 ล้านลิตร เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ประชาชนเริ่มมีอำนาจซื้อเพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศ ทำให้คาดว่าผู้ผลิตรายใหญ่จะขยายตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น ณ ระดับราคาน้ำผัก-ผลไม้โดยเฉลี่ยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ราวร้อยละ 1.2 เป็นลิตรละ 18.90 บาท เนื่องจากผลผลิตผลไม้สดจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนบรรจุภัณฑ์ได้แก่ พลาสติกที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เช่นเดียวกับกระดาษส่งผลให้มูลค่าการจำหน่ายน้ำผัก-ผลไม้ในประเทศ (รวมนำเข้า) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 เป็น 5,188 ล้านบาท ส่วนตลาดส่งออกในปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 12.2 เป็น 203 ล้านลิตร หรือคิดเป็นมูลค่า 8,526 ล้านบาท เนื่องจากคาดว่าคู่แข่งในตลาดส่งออกจะยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองอยู่
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ผลิตน้ำผลไม้ในประเทศในปัจจุบันมีอยู่ราว 103 โรงงาน โดยมีผู้ผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลางและขนาดย่อม (มีเงินลงทุนไม่เกิน 200 ล้านบาท หรือมีคนงานไม่เกิน 200 คน) อยู่ราว 91 โรงงาน ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในภาคกลาง รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ ตามลำดับ จังหวัดที่มีผู้ผลิตมากที่สุดได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ (13 โรงงาน) นครปฐม (13โรงงาน) กรุงเทพมหานคร (9 โรงงาน) สมุทรสงคราม (7 โรงงาน) สมุทรสาคร (6 โรงงาน) และสมุทรปราการ (5 โรงงาน) ตามลำดับ นอกนั้นกระจายอยู่ในภาคต่างๆ อีก 50 โรงงาน อย่างไรก็ตามผู้ผลิตรายย่อยในปัจจุบันหยุดการผลิตน้ำผลไม้ชั่วคราว เนื่องจากภาวะตลาดในประเทศยังชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และผู้ผลิตบางรายปรับเปลี่ยนการผลิตมาเป็นการผลิตผัก-ผลไม้กระป๋องแทน
ตารางที่ 1: รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โดล (ไทยแลนด์) จำกัด 2,060,909,500
บริษัท อาหารสากล จำกัด (มหาชน) 787,500,000
บริษัท ผลไม้กระป๋อง จำกัด 565,000,000
บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) 445,754,981
บริษัท โรงงานมาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) 250,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท สยามนานาแคนนิ่ง จำกัด 185,000,000
บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด 71,500,000
บริษัท สันติภาพ (ฮั้วเพ้ง) 1958 จำกัด 14,860,000
บริษัท น้ำผลไม้จัสแม็กซ์ จำกัด 11,500,000
บริษัท นูบูน จำกัด 600,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
การผลิตน้ำผลไม้ในประเทศ มีสัดส่วนการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเทียบกับการส่งออกราวร้อยละ 40:60 ของมูลค่าตลาดโดยรวม ช่องทางการจัดจำหน่ายของผู้ผลิตน้ำผลไม้ ได้แก่
1. จำหน่ายโดยตรงแก่ผู้บริโภค ผู้ผลิตรายย่อยส่งให้กับผู้ผลิตน้ำผลไม้รายใหญ่
2. จำหน่ายผ่านคนกลาง ซึ่งเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังผู้บริโภค
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิต คือ ผลไม้ประเภทต่างๆ เช่น ฝรั่ง ส้ม กระเจี๊ยบ มะพร้าวสับปะรด เป็นต้น ซึ่งเป็นผลไม้ที่สามารถปลูกได้ในประเทศ และบางชนิดสามารถให้ผลผลิตเกือบทั้งปี เช่น ฝรั่ง สับปะรด ผู้ผลิตมักจะซื้อผลไม้ในประเทศทั้งหมด ยกเว้นผู้ผลิตรายใหญ่บางรายที่นำเข้าน้ำผลไม้เข้มข้นจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ที่ไม่สามารถปลูกในประเทศได้
ประเภทผลไม้ แหล่งผลิต
ฝรั่ง นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร
สับปะรด ประจวบคีรีขันธ์
ส้มเกลี้ยง ลำปาง สุราษฎร์ธานี
ส้มเขียวหวาน ปทุมธานี แพร่ กรุงเทพมหานคร
บ๊วย เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
แพสชั่นฟรุ๊ต เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ จันทบุรี
ลิ้นจี่ เชียงใหม่ เชียงราย
ลำไย เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย
องุ่น ราชบุรี สมุทรสาคร
พุทรา สมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม
มะขาม เพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย
มะนาว เพชรบุรี นครปฐม นครศรีธรรมราช
มะพร้าวอ่อน ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชลบุรี
ที่มา: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 69
- วัตถุดิบในประเทศ 100
- วัตถุดิบนำเข้า 0
2. ค่าแรงงาน 9
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 3
4. ค่าโสหุ้ยการผลิต 19
รวม 100
ที่มา: สอบถามผู้ประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต กระบวนการผลิต น้ำผลไม้พร้อมดื่ม นำผลไม้สดมาตัดและล้างให้สะอาดแล้วนำมาเฉาะหรือคั้นน้ำใส่ลงในรางผลิต เพื่อนำไปกรอง จากนั้นผู้ผลิตอาจเติมน้ำ น้ำตาล สารปรุงแต่ง สารกันบูด (ถ้ามี) แล้วนำไปกรองอีกครั้ง เมื่อกรองเสร็จก็จะให้ความร้อนฆ่าเชื้อด้วยระบบสเตอริไลเซชั่น ระบบพาสเจอร์ไรส์ หรือ ระบบยูเอชที แล้วนำไปบรรจุภาชนะ เช่น กล่องกระป๋อง ขวด เป็นต้น
กรณีผู้ผลิตรายย่อย มักจะนำน้ำผลไม้ที่คั้น/ผสมแล้วมาต้มจนเดือด 100 องศาเซลเซียสจากนั้นนำมากรองโดยเร็ว แล้วนำไปบรรจุภาชนะสะอาดและผนึกฝาให้เสร็จในอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า60 องศาเซลเซียส โดยปกติ ผู้ผลิตขนาดเล็กมักจะใช้การผลิตน้ำผัก-ผลไม้ประเภทพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิต่ำ 4-5 องศาเซลเซียส และมีอายุเพียง 15-30 วัน เท่านั้น และร้านค้าต้องมีตู้แช่ ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่ง แต่ทำให้น้ำผัก-ผลไม้คงคุณค่าทางโภชนาการได้ดีกว่า
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ เครื่องตัด/เฉาะผลไม้ เครื่องคั้นน้ำผลไม้ เครื่องกรองน้ำผลไม้ เครื่องความดันไอน้ำใช้ในการฆ่าเชื้อโรค เครื่องบรรจุน้ำผลไม้ เป็นต้น นอกจากนี้ในโรงงานจะต้องมีเครื่องมือวัดความหวานและปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมด (Refrectrometer) และเครื่องวัดค่าความเป็นกรด/ด่าง หรือค่า pH เพื่อให้น้ำผลไม้ที่ได้มีมาตรฐานเดียวกัน
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ควรตั้งอยู่ในบริเวณหรือทำเลที่ใกล้แหล่งผลไม้สด และจำเป็นต้องมีตลาดที่แน่นอน เช่น ร้านอาหาร ร้านค้าทั่วไป
กรณีการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตน้ำผลไม้ขนาดกลาง กำลังการผลิตเต็มที่ 2.4 ล้านลิตร(1,000 ลิตร/ชั่วโมง) โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะได้น้ำผลไม้ขนาด 250 ซีซีประมาณ 6,000 ขวดต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.! เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 10,000,000 บาท
2.! ขนาดเงินทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้าง
ในกรณีของผู้ประกอบการรายเล็กจะเป็นการเช่าโดยมีค่าเช่า 30,000 บาทต่อเดือน
3.! ค่าเครื่องจักร ได้แก่
เครื่องคั้น/อัด/กรอง 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 400,000 บาท
เครื่องบรรจุขวด /ผนึกฝา 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1,000,000 บาท
4.! ค่ายานพาหนะรับผลไม้/ขนส่งสินค้า 2 คัน ราคาคันละ 400,000 บาท
5.! เงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 600,000 บาท
บุคลากร
การผลิตน้ำผลไม้ขนาดเล็กใช้บุคลากรประมาณ 9 คน ประกอบด้วย
1.! พนักงานในโรงงาน ประกอบด้วย
1.1! พนักงานควบคุมเครื่องจักร จำนวน 4 คน
1.2! พนักงานขับรถรับผลไม้สด/ส่งของ จำนวน 2 คน
1.3! พนักงานบรรจุสินค้า จำนวน 1 คน
2. พนักงานในสำนักงานและพนักงานบริหาร จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1. ต้นทุนวัตถุดิบ 4,712,200 บาทต่อปี
- ผลไม้สด 2,356,000 บาทต่อปี
- ขวดพลาสติก 1,413,700 บาทต่อปี
- อื่นๆ เช่น กรดผลไม้ น้ำตาล 942,500 บาทต่อปี
2. ค่าแรงงาน 588,000 บาทต่อปี
3. ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 230,000 บาทต่อปี
4. โสหุ้ยการผลิต 1,563,000 บาทต่อปี
4.1 ค่าสาธารณูปโภค 390,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 120,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟ 240,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 30,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง 288,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 288,000 บาทต่อปี
4.3 ค่าดอกเบี้ยจ่าย 885,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 30-40 ของยอดขาย
หมายเหตุ: ยอดขายเฉลี่ยวันละ 72,000 ขวด ราคาขวดละ 7 บาท คิดเป็นรายได้ 11.08 ล้านบาท
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--