กรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร ศึกษาโครงการ
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ ระบุต้นทุนการผลิตยังสูงเมื่อเทียบกับการซื้อไฟฟ้า แต่ต้องหา
ทางศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต
นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเดินทางไปศึกษาดูงานโครงการระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงาน
แสงอาทิตย์ หรือ Solar Cell และโครงการพลังงานทดแทนในภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่
และลำปาง ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 13 ถึงวันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2544 ว่า ในการเดินทางครั้งนี้คณะกรรมาธิการ
มีวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลที่ได้ไป ช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นธุรกันดารที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
โดยกรรมาธิการจะศึกษาโครงการ ดังกล่าว เพื่อให้มีการผลิตอุปกรณ์สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เอง
ในประเทศไทย ตลอดจน หาข้อมูลด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ได้ในราคาถูก โดยกรรมาธิการจะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ไปดำเนินการให้เร็วที่สุด
คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ในการผลิต
พลังงานแสงอาทิตย์มีปัญหาในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ยังมีราคาสูง ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องศึกษากันต่อไป
ว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เนื่องจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อใช้กับหมู่บ้านที่ไฟฟ้า
ยังเข้าไม่ถึง แต่สำหรับหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงแล้วการซื้อไฟฟ้าจากโรงผลิต ไฟฟ้าจะมีราคาถูกกว่า อย่างไร
ก็ตามกรรมาธิการยังไม่สามารถระบุได้ว่า ประเทศไทยสมควรนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้หรือยัง เนื่องจาก
เรื่องนี้ต้องเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาเรื่องการมีไฟฟ้าใช้ของประชาชนอย่างไร แต่สิ่งที่
กรรมาธิการจะทำต่อไปคือเสนอเรื่อง การใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ไปยังรัฐบาลเพื่อให้เป็น
ทางเลือกในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน
คุณหญิงกัลยากล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ของประเทศไทย
ยังอยู่ในขั้นทดลองที่ยังก้าวตามเทคโนโลยีของต่างประเทศไม่ทัน เนื่องจากประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยี
วัตถุดิบ บุคลากร และเงินทุนการผลิตในเชิงพาณิชย์
ด้านนางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน รองประธานกรรมาธิการ กล่าวว่า ในเรื่อง
ความคุ้มค่าของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้น เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์ยังมี
ราคาสูงมาก แต่สำหรับความคุ้มค่าในอนาคตนักวิจัยต้องพัฒนาและศึกษาให้มากขึ้น และจากการศึกษา
ดูงานในครั้งนี้กรรมาธิการจะหาทางผลักดันให้มีการส่งเสริมการศึกษาพลังงานทดแทนอย่างจริง
เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนโดยเร็ว
นายประเสริฐ เด่นนภาลัย ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการกล่าวว่า ในการผลิต
พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ต้องมีการส่งเสริมให้คนไทยสามารถผลิตวัสดุอุปกรณ์ได้เอง
โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเช่นในปัจจุบัน และตนเชื่อว่าคนไทยมีศักยภาพเพียงพอในการ
ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน
---------------------------------------------------
นิตยาพร แก้วเปล่ง / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์
ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ ระบุต้นทุนการผลิตยังสูงเมื่อเทียบกับการซื้อไฟฟ้า แต่ต้องหา
ทางศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนในอนาคต
นายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ ประธานกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สภาผู้แทนราษฎร ได้ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเดินทางไปศึกษาดูงานโครงการระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงาน
แสงอาทิตย์ หรือ Solar Cell และโครงการพลังงานทดแทนในภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่
และลำปาง ระหว่างวันพฤหัสบดีที่ 13 ถึงวันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2544 ว่า ในการเดินทางครั้งนี้คณะกรรมาธิการ
มีวัตถุประสงค์ที่จะนำข้อมูลที่ได้ไป ช่วยเหลือประชาชนในท้องถิ่นธุรกันดารที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้
โดยกรรมาธิการจะศึกษาโครงการ ดังกล่าว เพื่อให้มีการผลิตอุปกรณ์สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เอง
ในประเทศไทย ตลอดจน หาข้อมูลด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยสามารถใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ได้ในราคาถูก โดยกรรมาธิการจะนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ไปดำเนินการให้เร็วที่สุด
คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ กล่าวว่า ในการผลิต
พลังงานแสงอาทิตย์มีปัญหาในเรื่องของต้นทุนการผลิตที่ยังมีราคาสูง ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องศึกษากันต่อไป
ว่าจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ เนื่องจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์จะคุ้มค่าก็ต่อเมื่อใช้กับหมู่บ้านที่ไฟฟ้า
ยังเข้าไม่ถึง แต่สำหรับหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงแล้วการซื้อไฟฟ้าจากโรงผลิต ไฟฟ้าจะมีราคาถูกกว่า อย่างไร
ก็ตามกรรมาธิการยังไม่สามารถระบุได้ว่า ประเทศไทยสมควรนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้หรือยัง เนื่องจาก
เรื่องนี้ต้องเป็นนโยบายรัฐบาลที่จะพิจารณาว่าจะแก้ปัญหาเรื่องการมีไฟฟ้าใช้ของประชาชนอย่างไร แต่สิ่งที่
กรรมาธิการจะทำต่อไปคือเสนอเรื่อง การใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ไปยังรัฐบาลเพื่อให้เป็น
ทางเลือกในการแก้ปัญหาให้กับประชาชน
คุณหญิงกัลยากล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ของประเทศไทย
ยังอยู่ในขั้นทดลองที่ยังก้าวตามเทคโนโลยีของต่างประเทศไม่ทัน เนื่องจากประเทศไทยยังขาดเทคโนโลยี
วัตถุดิบ บุคลากร และเงินทุนการผลิตในเชิงพาณิชย์
ด้านนางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน รองประธานกรรมาธิการ กล่าวว่า ในเรื่อง
ความคุ้มค่าของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้น เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์ยังมี
ราคาสูงมาก แต่สำหรับความคุ้มค่าในอนาคตนักวิจัยต้องพัฒนาและศึกษาให้มากขึ้น และจากการศึกษา
ดูงานในครั้งนี้กรรมาธิการจะหาทางผลักดันให้มีการส่งเสริมการศึกษาพลังงานทดแทนอย่างจริง
เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนโดยเร็ว
นายประเสริฐ เด่นนภาลัย ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการกล่าวว่า ในการผลิต
พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ต้องมีการส่งเสริมให้คนไทยสามารถผลิตวัสดุอุปกรณ์ได้เอง
โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเช่นในปัจจุบัน และตนเชื่อว่าคนไทยมีศักยภาพเพียงพอในการ
ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างแน่นอน
---------------------------------------------------
นิตยาพร แก้วเปล่ง / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์