ภาวะการว่างงาน : อัตราการว่างงานลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในอนาคต จากแนวโน้มการปรับโครงสร้าง องค์กร ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภค
อัตราการว่างงาน (เบื้องต้น) ในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงเป็นร้อยละ 4.7จากร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวมในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่จำนวนผู้ว่างงานยังอยู่ในระดับสูง และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการปรับโครงสร้างองค์กร และโครงการ จ้างงานของทางการที่เริ่มทยอยสิ้นสุดลง นอกจากนี้ จำนวนผู้ทำงานต่ำระดับและการเลิกจ้างแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนความไม่แน่นอนในภาวะการจ้างงานยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ดังนั้นมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง พร้อมไปกับมาตรการระยะยาว เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาด
การมีงานทำปรับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกับปีก่อนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการขยายตัวของการผลิต และการลงทุน ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรปรับตัวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูการเกษตร และแรงงานส่วนหนึ่งกลับสู่นอกภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการไม่ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งคงที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภค เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ปรับอัตราค่าจ้างตามการปรับตัวของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
อัตราการว่างงาน (เบื้องต้น) ในไตรมาสแรกของปีนี้ ลดลงเป็นร้อยละ 4.7จากร้อยละ 5.2 ของกำลังแรงงานรวมในช่วงเดียวกันปีก่อน แต่จำนวนผู้ว่างงานยังอยู่ในระดับสูง และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการปรับโครงสร้างองค์กร และโครงการ จ้างงานของทางการที่เริ่มทยอยสิ้นสุดลง นอกจากนี้ จำนวนผู้ทำงานต่ำระดับและการเลิกจ้างแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนความไม่แน่นอนในภาวะการจ้างงานยังคงมีอยู่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อการขยายตัวของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ดังนั้นมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง พร้อมไปกับมาตรการระยะยาว เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาด
การมีงานทำปรับเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกับปีก่อนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการขยายตัวของการผลิต และการลงทุน ขณะที่การจ้างงานในภาคเกษตรปรับตัวลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูการเกษตร และแรงงานส่วนหนึ่งกลับสู่นอกภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการไม่ปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งคงที่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระทบต่อการฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภค เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ปรับอัตราค่าจ้างตามการปรับตัวของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-