บันทึกการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม
ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถามของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง วิกฤติราคา
ยางพาราตกต่ำ วิกฤติเศรษฐกิจภาคใต้ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถามของ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เรื่อง ปัญหา
ความขัดแย้งในบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายประชา มาลีนนท์) ได้รับมอบหมาย
ให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถามของ นายทศพร เสรีรักษ์ เรื่อง ปัญหาสาธารณสุข
ที่เกิดจากอุทกภัย ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถามของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่อง การป้องกัน
การลักลอบค้าเนื้อโคเถื่อนบริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย ถาม นายกรัฐมนตรี
ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถามของ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เรื่อง ผักปลอด
สารพิษ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถามของ นายอลงกรณ์ พลบุตร เรื่อง การปลอมแปลง
เอกสารทางราชการในการส่งออกหอยแครง ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณา ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการพาณิชย์
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายทศพร เสรีรักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการสื่อสาร
และโทรคมนาคม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายศิริโชค โสภา เป็นกรรมาธิการแทน
นายมหิดล จันทรางกูร
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การคมนาคม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก ร้อยตำรวจเอก พเยาว์ พูลธรัตน์
เป็นกรรมาธิการแทน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. .... แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๔)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุรชัย พันธุมาศ เป็นกรรมาธิการแทน
นายก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์
๕. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
กิจการสภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๕)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางนิภา พริ้งศุลกะ เป็นกรรมาธิการแทน
นายศิริโชค โสภา และนายธนเทพ ทิมสุวรรณ เป็นกรรมาธิการแทน นายทศพร
เสรีรักษ์
๖. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการปกครอง
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๖)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นกรรมาธิการแทน
จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์
๗. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๗)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางนัฐมล สมบูรณ์เทอดธนา เป็นกรรมาธิการ
แทน นางกรุณา ชิดชอบ
๘. เลือกกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามข้อบังคับ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖๐ (ในระเบียบวาระที่ ๗.๘)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือกกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๙ คน
ประกอบเป็นคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามข้อบังคับ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖๑ คณะกรรมการสรรหา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวน ๓๑ คน ประกอบด้วย
๑. นายอดิศร เพียงเกษ ๒ นายโสภณ เพชรสว่าง
๓. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๔. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๕. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ๖. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์
๗. นายเจริญ จรรย์โกมล ๘. นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
๙. นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ ๑๐. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค
๑๑. นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ๑๒. นายฉลาด ขามช่วง
๑๓. นายเรวัต สิรินุกุล ๑๔. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๑๕. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ๑๖. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์
๑๗. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๑๘. ร้อยตรี ประพาส ลิมปพันธุ์
๑๙. นายเอกภาพ พลซื่อ ๒๐. รองศาสตราจารย์ปริญญา จินดาประเสริฐ
๒๑. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๒๒. ศาสตราจารย์พรชัย มาตังคสมบัติ
๒๓. รองศาสตราจารย์ปรีชา จรุงกิจอนันต์ ๒๔. นายพชร ยุติธรรมดำรง
๒๕. นายปรีดี จุลเจิม ๒๖. นายสงวน ติยะไพบูลย์สิน
๒๗. นายเรืองนนท์ เรืองวุฒิ ๒๘. นายทองหล่อ โฉมงาม
๒๙. นายสมชาย พงษธา ๓๐. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
๓๑. นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย
ต่อมา ประธานสภาได้ดำเนินการประชุมต่อ และได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครอง และสำนักงาน
ศาลปกครองประจำปี ๒๕๔๓
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบข้อซักถาม ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้อนุญาตให้ นายชาญชัย แสวงศักดิ์ นางสาวพรทิพย์ ทองดี นายสุชาติ เวโรจน์
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม และนางสาวสุรางคณา หิรัญวัฒนสิน ผู้แทนจาก
สำนักงานศาลปกครองเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๒
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิก โดยมีผู้แทนจากสำนักงานศาลปกครอง
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบรายงานดังกล่าว
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑๗
สิงหาคม ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
เห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
๓. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑ ฉบับ คือ
ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. .... ซึ่ง นายไพศาล จันทรภักดี กับคณะ
เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๔. รับทราบเรื่องการประชุมคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา ในวันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม
กรรมาธิการหมายเลข ๓๖๐๑ ชั้น ๖ อาคารรัฐสภา ๓
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนเลิกประชุมประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรอง
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๒ ครั้งดังกล่าว
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๑๐ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑
ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ)
วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ณ ตึกรัฐสภา
------------------------
เริ่มประชุมเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา
เมื่อครบองค์ประชุมสำหรับการพิจารณาระเบียบวาระกระทู้ถามแล้ว
นายบุญชง วีสมหมาย รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง ขึ้นบัลลังก์
และกล่าวเปิดประชุม จากนั้นได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระกระทู้ถาม
ตามลำดับ คือ
๑. กระทู้ถามสด
๑.๑ กระทู้ถามของ นายตรีพล เจาะจิตต์ เรื่อง วิกฤติราคา
ยางพาราตกต่ำ วิกฤติเศรษฐกิจภาคใต้ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ เป็นผู้ตอบ
๑.๒ กระทู้ถามของ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เรื่อง ปัญหา
ความขัดแย้งในบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายประชา มาลีนนท์) ได้รับมอบหมาย
ให้เป็นผู้ตอบ
๑.๓ กระทู้ถามของ นายทศพร เสรีรักษ์ เรื่อง ปัญหาสาธารณสุข
ที่เกิดจากอุทกภัย ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงสาธารณสุข ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒. กระทู้ถามทั่วไป
๒.๑ กระทู้ถามของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ เรื่อง การป้องกัน
การลักลอบค้าเนื้อโคเถื่อนบริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย ถาม นายกรัฐมนตรี
ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
๒.๒ กระทู้ถามของ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ เรื่อง ผักปลอด
สารพิษ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบ
๒.๓ กระทู้ถามของ นายอลงกรณ์ พลบุตร เรื่อง การปลอมแปลง
เอกสารทางราชการในการส่งออกหอยแครง ถาม นายกรัฐมนตรี ซึ่ง รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ตอบ
ก่อนที่ที่ประชุมจะพิจารณาระเบียบวาระต่อไป ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้ปรึกษาที่ประชุมเพื่อขอนำระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ
ขึ้นมาพิจารณาก่อน ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎรจึงได้เสนอให้ที่ประชุม
พิจารณา ระเบียบวาระที่ ๗ เรื่องอื่น ๆ ตามลำดับ ดังนี้
๑. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการพาณิชย์
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๑)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายทศพร เสรีรักษ์ เป็นกรรมาธิการแทน
นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
๒. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการสื่อสาร
และโทรคมนาคม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๒)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายศิริโชค โสภา เป็นกรรมาธิการแทน
นายมหิดล จันทรางกูร
๓. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
การคมนาคม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๓)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก ร้อยตำรวจเอก พเยาว์ พูลธรัตน์
เป็นกรรมาธิการแทน นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
๔. ตั้งซ่อมกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. .... แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง
(ในระเบียบวาระที่ ๗.๔)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายสุรชัย พันธุมาศ เป็นกรรมาธิการแทน
นายก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์
๕. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการ
กิจการสภาผู้แทนราษฎร แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๒ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๕)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางนิภา พริ้งศุลกะ เป็นกรรมาธิการแทน
นายศิริโชค โสภา และนายธนเทพ ทิมสุวรรณ เป็นกรรมาธิการแทน นายทศพร
เสรีรักษ์
๖. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการปกครอง
แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๖)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นกรรมาธิการแทน
จ่าสิบเอก อนันต์ สุขสันต์
๗. ตั้งซ่อมกรรมาธิการสามัญประจำสภาในคณะกรรมาธิการการศาสนา
ศิลปะและวัฒนธรรม แทนตำแหน่งที่ว่างลง ๑ ตำแหน่ง (ในระเบียบวาระที่ ๗.๗)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือก นางนัฐมล สมบูรณ์เทอดธนา เป็นกรรมาธิการ
แทน นางกรุณา ชิดชอบ
๘. เลือกกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามข้อบังคับ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖๐ (ในระเบียบวาระที่ ๗.๘)
ที่ประชุมได้ลงมติเลือกกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
ตามสัดส่วนของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๑๙ คน
ประกอบเป็นคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตามข้อบังคับ
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๖๑ คณะกรรมการสรรหา
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา จำนวน ๓๑ คน ประกอบด้วย
๑. นายอดิศร เพียงเกษ ๒ นายโสภณ เพชรสว่าง
๓. นายพินิจ จันทรสุรินทร์ ๔. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล
๕. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล ๖. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์
๗. นายเจริญ จรรย์โกมล ๘. นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
๙. นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ ๑๐. ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค
๑๑. นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ๑๒. นายฉลาด ขามช่วง
๑๓. นายเรวัต สิรินุกุล ๑๔. ศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน
๑๕. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ๑๖. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์
๑๗. ศาสตราจารย์ลิขิต ธีรเวคิน ๑๘. ร้อยตรี ประพาส ลิมปพันธุ์
๑๙. นายเอกภาพ พลซื่อ ๒๐. รองศาสตราจารย์ปริญญา จินดาประเสริฐ
๒๑. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๒๒. ศาสตราจารย์พรชัย มาตังคสมบัติ
๒๓. รองศาสตราจารย์ปรีชา จรุงกิจอนันต์ ๒๔. นายพชร ยุติธรรมดำรง
๒๕. นายปรีดี จุลเจิม ๒๖. นายสงวน ติยะไพบูลย์สิน
๒๗. นายเรืองนนท์ เรืองวุฒิ ๒๘. นายทองหล่อ โฉมงาม
๒๙. นายสมชาย พงษธา ๓๐. นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์
๓๑. นายสุวัฒน์ วรรธนะหทัย
ต่อมา ประธานสภาได้ดำเนินการประชุมต่อ และได้แจ้งให้ที่ประชุม
รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการปฏิบัติงานของศาลปกครอง และสำนักงาน
ศาลปกครองประจำปี ๒๕๔๓
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการตอบข้อซักถาม ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ได้อนุญาตให้ นายชาญชัย แสวงศักดิ์ นางสาวพรทิพย์ ทองดี นายสุชาติ เวโรจน์
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม และนางสาวสุรางคณา หิรัญวัฒนสิน ผู้แทนจาก
สำนักงานศาลปกครองเข้าชี้แจงข้อเท็จจริงต่อที่ประชุม ตามข้อบังคับการประชุม
สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๒๒
ภายหลังการอภิปรายของสมาชิก โดยมีผู้แทนจากสำนักงานศาลปกครอง
ตอบชี้แจงจนได้เวลาพอสมควรแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบรายงานดังกล่าว
๒. ที่ประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑๗
สิงหาคม ๒๕๔๔ ได้ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติซึ่งสภาผู้แทนราษฎร
เห็นชอบแล้ว จำนวน ๒ ฉบับ คือ
(๑) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
(๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. ....
๓. เรื่องสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งเหตุขัดข้องที่นายกรัฐมนตรี
ยังไม่ให้คำรับรองร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติ
อยู่ในระหว่างการพิจารณาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑ ฉบับ คือ
ร่างพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พ.ศ. .... ซึ่ง นายไพศาล จันทรภักดี กับคณะ
เป็นผู้เสนอ
ที่ประชุมรับทราบ
๔. รับทราบเรื่องการประชุมคณะกรรมการสรรหาผู้ตรวจการแผ่นดิน
ของรัฐสภา ในวันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๔ เวลา ๑๔.๐๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุม
กรรมาธิการหมายเลข ๓๖๐๑ ชั้น ๖ อาคารรัฐสภา ๓
ที่ประชุมรับทราบ
ก่อนเลิกประชุมประธานสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอให้ที่ประชุมรับรอง
รายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๑ จำนวน ๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ มีนาคม ๒๕๔๔
ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๔
ที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมทั้ง ๒ ครั้งดังกล่าว
เลิกประชุมเวลา ๑๗.๑๐ นาฬิกา
(นางศิริลักษณ์ ปั้นบำรุงกิจ)
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรายงานการประชุม
กองการประชุม
โทร. ๐ ๒๓๕๗ ๓๑๐๐ ต่อ ๓๒๒๘, ๓๒๓๐-๓๑
โทรสาร ๐ ๒๓๕๗ ๓๒๑๑