ข่าวในประเทศ
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอาร์พี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ 10 ว่า คณะกรรมการฯ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่จะติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อไปอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อราคาน้ำมัน รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนลง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการส่งออกเป็นหลัก ภาวะการเงินยังคงเอื้ออำนวยต่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุน แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปในอัตราที่ชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 43 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากการฟื้นตัวยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกภาคธุรกิจ แต่แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้าจะสูงขึ้น จากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น คาดว่าน่าจะต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ยกเว้นในไตรมาสที่ 4 ปี 44 ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจสูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อย โดยเป็นผลจากการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือน ต.ค.44 (ไทยโพสต์ 18)
2. ธพ.ต่างประเทศประเมินแนวโน้มค่าเงินบาท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยภาคพื้นเอเชีย ประจำ ธ.ซิตี้แบงก์ ประเทศสิงคโปร์กล่าวว่า ค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัว และเชื่อว่าทางการจะยังคงนโยบายแบบผ่อนคลายต่อไป เพราะยังมีเงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่องเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในระยะยาว โดยค่าเงินบาทจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ 45 บาท/ดอลลาร์ สรอ.ในระยะ 1-3 เดือนข้างหน้า และอาจแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับ 42.5 บาท/ดอลลาร์ ใน 6 เดือนข้างหน้า แต่เชื่อว่าในระยะยาว 12 เดือน จะอยู่ที่ระดับ 44 บาท/ดอลลาร์ สาเหตุที่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลง คือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะกระทบต่อดุลการค้าของไทย นอกจากนี้ยังมีความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค ภาระหนี้ต่างประเทศของรัฐที่ครบกำหนดชำระเป็นจำนวนมาก การลงทุนจากต่างประเทศยังไม่กลับเข้ามา รวมถึงเหตุการณ์ในฟิลิปปินส์ก็ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทในระยะสั้นด้วย อย่างไรด็ตาม หากทางการจะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) รวมทั้งกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ (กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. ก.คลังให้อำนาจ ธปท.กำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลังกล่าวถึงกรณีที่ประชุม ครม. ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของ ธปท. ที่จะดูแลให้มีความเหมาะสม ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝากนั้นยังอยู่ในระดับต่ำ และเห็นว่าสถาบันการเงินควรปรับดอกเบี้ยเงินกู้ลง สำหรับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะให้มีการขึ้นดอกเบี้ยได้ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังซื้อลดลงและราคาน้ำมันสูง เพราะหากขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะยิ่งทำให้กำลังซื้อลดต่ำลง การจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ก็ต่อเมื่อมีการขยายสินเชื่อและเงินเฟ้อที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว (วัฏจักร 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างชะลอตัวลงในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 43 ธ. กลาง สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ส.ค. 43 ขณะเดียวกัน การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 82.2 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ส.ค. 43 ซึ่งต่ำกว่าอัตราที่อาจจะก่อให้เกิดความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า รายงานครั้งนี้ ยิ่งเพิ่มสัญญาณการชะลอตัวลงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีหลักฐานอย่างชัดเจนจากการจ้างงานที่ลดลงในภาคอุตสาหกรรมการผลิต สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 43 ( ก.ค. - ก.ย. 43) ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.8 นับเป็นไตรมาสที่เพิ่มขึ้นต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และลดลงอย่างมากจากไตรมาสที่ 2 ปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 (รอยเตอร์17)
2. การส่งออกสินค้าภายในประเทศที่ไม่รวมการส่งออกน้ำมันของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 ต.ค.43 Trade Development Board (TDB) ของสิงคโปร์ รายงานว่า เดือน ก.ย.43 การส่งออกสินค้าภายในประเทศที่ไม่รวมการส่งออกน้ำมันคิดเป็นมูลค่า 0.25 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (5.85 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 แต่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของสถาบันการเงินจากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ขณะที่ การส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 มาอยู่ที่มูลค่า 42.95 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของตลาด รวมทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชีย ทั้งนี้ การส่งออกไปยัง สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 การส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 แต่การส่งออกไปยังมาเลเซีย ไต้หวัน และจีน ที่เพิ่มขึ้นสามารถชดเชยการอ่อนตัวของการส่งออกไปอียู (รอยเตอร์ 17)
3. คาดว่าดัชนีบรรยากาศธุรกิจของเยอรมนีจะลดลงในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีบรรยากาศธุรกิจของเยอรมนีตะวันตกจะลดลงอยู่ที่ระดับ 98.6 จากระดับ 99.0 ในเดือน ส.ค. 43 โดยมีช่วงระหว่าง 97.5 - 99.4 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ เตือนว่า ผลกำไรของบริษัทที่สำคัญและตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลงทั้งในสรอ.และยุโรปยิ่งส่งผลให้แนวโน้มธุรกิจชะลอตัวลง ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในยุโรปจะยังคงแข็งแกร่งก็ตาม(รอยเตอร์17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 17 ต.ค. 43 43.319 (43.260)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 17 ต.ค. 43 ซื้อ 43.0744 (43.0739) ขาย 43.3828 (43.3830)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,500) ขาย 5,650 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.13 (28.87)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยอาร์พี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธปท. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งที่ 10 ว่า คณะกรรมการฯ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ระยะ 14 วัน ไว้ที่ระดับร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่จะติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อไปอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ คณะกรรมการได้ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยแสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อราคาน้ำมัน รวมถึงค่าเงินบาทที่อ่อนลง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อ ขณะที่ภาพรวมเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการส่งออกเป็นหลัก ภาวะการเงินยังคงเอื้ออำนวยต่อการอุปโภคบริโภคและการลงทุน แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเป็นไปในอัตราที่ชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 43 เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากการฟื้นตัวยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกภาคธุรกิจ แต่แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 8 ไตรมาสข้างหน้าจะสูงขึ้น จากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น คาดว่าน่าจะต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ยกเว้นในไตรมาสที่ 4 ปี 44 ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจสูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อย โดยเป็นผลจากการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือน ต.ค.44 (ไทยโพสต์ 18)
2. ธพ.ต่างประเทศประเมินแนวโน้มค่าเงินบาท ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยภาคพื้นเอเชีย ประจำ ธ.ซิตี้แบงก์ ประเทศสิงคโปร์กล่าวว่า ค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัว และเชื่อว่าทางการจะยังคงนโยบายแบบผ่อนคลายต่อไป เพราะยังมีเงินทุนไหลออกอย่างต่อเนื่องเพื่อชำระหนี้ต่างประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในระยะยาว โดยค่าเงินบาทจะลดลงไปอยู่ที่ระดับ 45 บาท/ดอลลาร์ สรอ.ในระยะ 1-3 เดือนข้างหน้า และอาจแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับ 42.5 บาท/ดอลลาร์ ใน 6 เดือนข้างหน้า แต่เชื่อว่าในระยะยาว 12 เดือน จะอยู่ที่ระดับ 44 บาท/ดอลลาร์ สาเหตุที่กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนลง คือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะกระทบต่อดุลการค้าของไทย นอกจากนี้ยังมีความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค ภาระหนี้ต่างประเทศของรัฐที่ครบกำหนดชำระเป็นจำนวนมาก การลงทุนจากต่างประเทศยังไม่กลับเข้ามา รวมถึงเหตุการณ์ในฟิลิปปินส์ก็ส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทในระยะสั้นด้วย อย่างไรด็ตาม หากทางการจะเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงินก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) รวมทั้งกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ (กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. ก.คลังให้อำนาจ ธปท.กำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย นายพิสิฐ ลี้อาธรรม รมช.คลังกล่าวถึงกรณีที่ประชุม ครม. ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินฝากที่อยู่ในระดับต่ำว่า เป็นอำนาจหน้าที่ของ ธปท. ที่จะดูแลให้มีความเหมาะสม ซึ่งดอกเบี้ยเงินฝากนั้นยังอยู่ในระดับต่ำ และเห็นว่าสถาบันการเงินควรปรับดอกเบี้ยเงินกู้ลง สำหรับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะให้มีการขึ้นดอกเบี้ยได้ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังซื้อลดลงและราคาน้ำมันสูง เพราะหากขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะยิ่งทำให้กำลังซื้อลดต่ำลง การจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้ก็ต่อเมื่อมีการขยายสินเชื่อและเงินเฟ้อที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัว (วัฏจักร 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างชะลอตัวลงในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 43 ธ. กลาง สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ย. 43 ผลผลิตอุตสาหกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อปี หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ส.ค. 43 ขณะเดียวกัน การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 82.2 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ส.ค. 43 ซึ่งต่ำกว่าอัตราที่อาจจะก่อให้เกิดความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ นักวิเคราะห์ กล่าวว่า รายงานครั้งนี้ ยิ่งเพิ่มสัญญาณการชะลอตัวลงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีหลักฐานอย่างชัดเจนจากการจ้างงานที่ลดลงในภาคอุตสาหกรรมการผลิต สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 43 ( ก.ค. - ก.ย. 43) ผลผลิตฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.8 นับเป็นไตรมาสที่เพิ่มขึ้นต่ำสุดตั้งแต่ไตรมาสแรกปี 42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 และลดลงอย่างมากจากไตรมาสที่ 2 ปี 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 (รอยเตอร์17)
2. การส่งออกสินค้าภายในประเทศที่ไม่รวมการส่งออกน้ำมันของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 ในเดือน ก.ย.43 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 17 ต.ค.43 Trade Development Board (TDB) ของสิงคโปร์ รายงานว่า เดือน ก.ย.43 การส่งออกสินค้าภายในประเทศที่ไม่รวมการส่งออกน้ำมันคิดเป็นมูลค่า 0.25 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ (5.85 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 แต่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าความคาดหมายของสถาบันการเงินจากการสำรวจของรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ขณะที่ การส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 มาอยู่ที่มูลค่า 42.95 พัน ล.ดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความต้องการสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของตลาด รวมทั้งความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศเศรษฐกิจสำคัญในเอเชีย ทั้งนี้ การส่งออกไปยัง สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 การส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 อย่างไรก็ตาม การส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (อียู) ลดลงร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 แต่การส่งออกไปยังมาเลเซีย ไต้หวัน และจีน ที่เพิ่มขึ้นสามารถชดเชยการอ่อนตัวของการส่งออกไปอียู (รอยเตอร์ 17)
3. คาดว่าดัชนีบรรยากาศธุรกิจของเยอรมนีจะลดลงในเดือน ก.ย. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ทเมื่อวันที่ 17 ต.ค. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า เดือน ก.ย. 43 ดัชนีบรรยากาศธุรกิจของเยอรมนีตะวันตกจะลดลงอยู่ที่ระดับ 98.6 จากระดับ 99.0 ในเดือน ส.ค. 43 โดยมีช่วงระหว่าง 97.5 - 99.4 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ เตือนว่า ผลกำไรของบริษัทที่สำคัญและตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลงทั้งในสรอ.และยุโรปยิ่งส่งผลให้แนวโน้มธุรกิจชะลอตัวลง ถึงแม้ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในยุโรปจะยังคงแข็งแกร่งก็ตาม(รอยเตอร์17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 17 ต.ค. 43 43.319 (43.260)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 17 ต.ค. 43 ซื้อ 43.0744 (43.0739) ขาย 43.3828 (43.3830)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,550 (5,500) ขาย 5,650 (5,600)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.13 (28.87)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 15.04 (15.04)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-