ข่าวในประเทศ
1. ธปท. ปรับโครงสร้างสายออกบัตรธนาคาร ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท. มีมติให้ ธปท. ปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของสายออกบัตรธนาคาร โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการปรับสำนักเงินตราเป็นสำนักบริการธนบัตร ทำหน้าที่ติดต่อโดยตรงกับกลุ่มลูกค้า รับ-จ่ายธนบัตรให้ ธพ. คลังจังหวัด สถาบันการเงิน และส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มงานด้านการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน พัฒนาและวิจัยระบบการจัดการธนบัตรของประเทศ โดยคาดว่าการปรับโครงสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ในสิ้นปี 44 (แนวหน้า 23)
2. การลอยตัวค่าเงินตุรกีไม่มีผลต่อค่าเงินบาทโดยตรง ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์กล่าวว่า การลอยตัวค่าเงินของตุรกีไม่น่าจะมีผลกระทบต่อค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคโดยตรง เนื่องจากเป็นปัญหาเฉพาะจุดและตลาดได้รับทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะตุรกีอยู่ภายใต้โปรแกรมความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่ต้องจับตาดูว่าระบบการเงินของตุรกีจะปรับตัวสู่ดุลยภาพได้เร็วแค่ไหน ส่วนการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงในช่วง 1-2 วันนี้ คาดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามภาวะค่าเงินในภูมิภาค ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร(ไทยโพสต์ 23)
3. ธปท. รายงานการให้สินเชื่อของ ธพ. แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน ม.ค. 44 ธพ. ปล่อยสินเชื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวน 80,094.19 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 3.0 ของสินเชื่อรวม และเพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 43 ที่มีจำนวน 75,546.51 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 2.89 โดย ธ.ไทยพาณิชย์มีสัดส่วนการให้สินเชื่อในส่วนนี้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 5.50 รองลงมาคือ ธ.กรุงเทพร้อยละ 4.37 และ ธ.เอเชีย ร้อยละ 2.97(โลกวันนี้ 23)
4. ก.คลังรายงานหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปี 43 โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ปริมาณหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค. 43 มีจำนวน 2.806 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 55.78 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 12,696 ล.บาท เนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยจำนวนหนี้สาธารณะ 2.806 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 1) หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำนวน 1.139 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 22.66 ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณ 16,208 ล.บาท เป็นยอดหนี้ต่างประเทศที่เบิกถอนเงินกู้จาก ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และ ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) และการใช้หนี้คืนต่างประเทศทั้งต้นและดอกเบี้ย รวมยอดหนี้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นกว่า 16,923 ล.บาท จากการออกตั๋วเงินคลัง และ พธบ. เพื่อชดเชยการขาดดุล และการออกพันธบัตรในโครงการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 และการชำระคืนของตั๋วเงินคลัง 2) หนี้คงค้างของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีจำนวน 8.90 แสน ล.บาท หรือร้อยละ 17.69 ของจีดีพี ลดลงประมาณ 13,342 ล.บาท 3) หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 7.76 แสน ล.บาท หรือร้อยละ 15.43 ของจีดีพี ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ประมาณ 15,563 ล.บาท ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้หนี้สาธารณะลดลงได้ยากเพราะรัฐบาลดำเนินนโยบาย งปม.ขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนี้ไม่ลดลงในเวลาอันใกล้(กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์ 23)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 22 ก.พ.44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Index of leading indicators) หลังปรับฤดูกาลของ สรอ.ในเดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบกับเดือน ธ.ค.43 ที่หดตัวลงร้อยละ 0.5 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นได้แก่ ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.23 คำสั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 คำขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 ราคาหุ้นและปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 และ 0.25 ตามลำดับ แต่ความคาดหวังของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 0.09 สำหรับ Coincident index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือน ธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ Lagging index ที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือน ธ.ค.43 ที่หดตัวลงร้อยละ 0.2(รอยเตอร์ 22)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ในปี 43 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ22 ก.พ. 44 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ขยายตัวถึงร้อยละ 9.9 ลดลงเล็กน้อยจากที่ทางการประมาณการไว้ที่ร้อยละ 10.1 นับเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี44 แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน ก.การค้าและอุตสาหกรรม ยังคงประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44 ไว้ที่ร้อยละ 5-7 แม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงนับแต่ปลายปี 43 และแนวโน้มความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกโน้มต่ำลงก็ตาม ทั้งนี้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 60 ของยอดการส่งออก (รอยเตอร์22)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของไต้หวันลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 22 ก.พ. 44 ก. เศรษฐกิจของไต้หวันเปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมของไต้หวันลดลงร้อยละ 13.98 เทียบกับเดือน ม.ค.43 และลดลงร้อยละ 15.50 จากเดือน ธ.ค. 43 การที่ผลผลิตฯลดลงเนื่องจากความต้องการภายในประเทศและการส่งออกชะลอตัวลง รวมทั้งมีวันทำงานที่น้อยลง เนื่องจากเป็นเดือนที่มีวันหยุดปีใหม่ทางจันทรคติ ขณะเดียวกัน ในเดือน ม.ค. 44 คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกผลผลิตอุตสาหกรรมมีมูลค่าลดลงจากเดือน ธ.ค. 43 เหลือ 12.447 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 นับแต่เดือน ก.ย. 43 ที่มีมูลค่าถึง 14.321 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ(รอยเตอร์22)
4. กลุ่มประเทศยูโรขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค.43 ร ายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ22 ก.พ.44 ธ.กลางยุโรปเปิดเผยว่า กลุ่มประเทศยูโร ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 4.8 พัน ล.ยูโร ในเดือน ธ.ค.43 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.42 ที่ขาดดุลฯ 3.9 พัน ล.ยูโร และมียอดเกินดุลการค้าจำนวน 5.2 พัน ล.ยูโร ลดลงจากจำนวน 5.5 พัน ล.ยูโรในเดือน ธ.ค.42 การลงทุนโดยตรง หดตัวลง 33.4 พัน ล.ยูโร เทียบกับเดือน ธ.ค.42 ที่หดตัวลง 20.3 พัน ล.ยูโร(รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 ก.พ. 44 43.058 (42.873)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 ก.พ. 44ซื้อ 42.7927(42.6188) ขาย 43.1067 (42.9255)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,200) ขาย 5,350 (5,300)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.66 (23.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ปรับโครงสร้างสายออกบัตรธนาคาร ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท. มีมติให้ ธปท. ปรับโครงสร้างและอัตรากำลังของสายออกบัตรธนาคาร โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการปรับสำนักเงินตราเป็นสำนักบริการธนบัตร ทำหน้าที่ติดต่อโดยตรงกับกลุ่มลูกค้า รับ-จ่ายธนบัตรให้ ธพ. คลังจังหวัด สถาบันการเงิน และส่วนราชการ ตลอดจนเพิ่มงานด้านการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน พัฒนาและวิจัยระบบการจัดการธนบัตรของประเทศ โดยคาดว่าการปรับโครงสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ในสิ้นปี 44 (แนวหน้า 23)
2. การลอยตัวค่าเงินตุรกีไม่มีผลต่อค่าเงินบาทโดยตรง ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สายสารสนเทศและประชาสัมพันธ์กล่าวว่า การลอยตัวค่าเงินของตุรกีไม่น่าจะมีผลกระทบต่อค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคโดยตรง เนื่องจากเป็นปัญหาเฉพาะจุดและตลาดได้รับทราบล่วงหน้าแล้ว เพราะตุรกีอยู่ภายใต้โปรแกรมความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่ต้องจับตาดูว่าระบบการเงินของตุรกีจะปรับตัวสู่ดุลยภาพได้เร็วแค่ไหน ส่วนการที่ค่าเงินบาทอ่อนลงในช่วง 1-2 วันนี้ คาดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงตามภาวะค่าเงินในภูมิภาค ประกอบกับเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนและยูโร(ไทยโพสต์ 23)
3. ธปท. รายงานการให้สินเชื่อของ ธพ. แก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ณ สิ้นเดือน ม.ค. 44 รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน ม.ค. 44 ธพ. ปล่อยสินเชื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องจำนวน 80,094.19 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 3.0 ของสินเชื่อรวม และเพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค. 43 ที่มีจำนวน 75,546.51 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 2.89 โดย ธ.ไทยพาณิชย์มีสัดส่วนการให้สินเชื่อในส่วนนี้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 5.50 รองลงมาคือ ธ.กรุงเทพร้อยละ 4.37 และ ธ.เอเชีย ร้อยละ 2.97(โลกวันนี้ 23)
4. ก.คลังรายงานหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปี 43 โฆษก ก.คลัง เปิดเผยว่า ปริมาณหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ธ.ค. 43 มีจำนวน 2.806 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 55.78 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากเดือนก่อนประมาณ 12,696 ล.บาท เนื่องจากเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยจำนวนหนี้สาธารณะ 2.806 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 1) หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงจำนวน 1.139 ล้านล้านบาท หรือร้อยละ 22.66 ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนประมาณ 16,208 ล.บาท เป็นยอดหนี้ต่างประเทศที่เบิกถอนเงินกู้จาก ธ.เพื่อการพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) และ ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) และการใช้หนี้คืนต่างประเทศทั้งต้นและดอกเบี้ย รวมยอดหนี้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นกว่า 16,923 ล.บาท จากการออกตั๋วเงินคลัง และ พธบ. เพื่อชดเชยการขาดดุล และการออกพันธบัตรในโครงการเพิ่มเงินกองทุนขั้นที่ 2 และการชำระคืนของตั๋วเงินคลัง 2) หนี้คงค้างของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีจำนวน 8.90 แสน ล.บาท หรือร้อยละ 17.69 ของจีดีพี ลดลงประมาณ 13,342 ล.บาท 3) หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจำนวน 7.76 แสน ล.บาท หรือร้อยละ 15.43 ของจีดีพี ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ประมาณ 15,563 ล.บาท ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้หนี้สาธารณะลดลงได้ยากเพราะรัฐบาลดำเนินนโยบาย งปม.ขาดดุลมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้หนี้ไม่ลดลงในเวลาอันใกล้(กรุงเทพธุรกิจ, เดลินิวส์ 23)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 22 ก.พ.44 Conference Board เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจ (Index of leading indicators) หลังปรับฤดูกาลของ สรอ.ในเดือน ม.ค.44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เทียบกับเดือน ธ.ค.43 ที่หดตัวลงร้อยละ 0.5 และสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 ปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ดัชนีฯ เพิ่มขึ้นได้แก่ ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.23 คำสั่งซื้อสินค้าของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 คำขออนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 ราคาหุ้นและปริมาณเงินในระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 และ 0.25 ตามลำดับ แต่ความคาดหวังของผู้บริโภค ลดลงร้อยละ 0.09 สำหรับ Coincident index ซึ่งใช้วัดภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือน ธ.ค.ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ Lagging index ที่ใช้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เทียบกับเดือน ธ.ค.43 ที่หดตัวลงร้อยละ 0.2(รอยเตอร์ 22)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 ในปี 43 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ22 ก.พ. 44 รัฐบาลสิงคโปร์เปิดเผยว่า ปี 43 ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (GDP) ขยายตัวถึงร้อยละ 9.9 ลดลงเล็กน้อยจากที่ทางการประมาณการไว้ที่ร้อยละ 10.1 นับเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี44 แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง ขณะเดียวกัน ก.การค้าและอุตสาหกรรม ยังคงประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 44 ไว้ที่ร้อยละ 5-7 แม้ว่าเศรษฐกิจ สรอ. ชะลอตัวลงอย่างรุนแรงนับแต่ปลายปี 43 และแนวโน้มความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกโน้มต่ำลงก็ตาม ทั้งนี้ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 60 ของยอดการส่งออก (รอยเตอร์22)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของไต้หวันลดลงในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากไทเปเมื่อ 22 ก.พ. 44 ก. เศรษฐกิจของไต้หวันเปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 ผลผลิตอุตสาหกรรมของไต้หวันลดลงร้อยละ 13.98 เทียบกับเดือน ม.ค.43 และลดลงร้อยละ 15.50 จากเดือน ธ.ค. 43 การที่ผลผลิตฯลดลงเนื่องจากความต้องการภายในประเทศและการส่งออกชะลอตัวลง รวมทั้งมีวันทำงานที่น้อยลง เนื่องจากเป็นเดือนที่มีวันหยุดปีใหม่ทางจันทรคติ ขณะเดียวกัน ในเดือน ม.ค. 44 คำสั่งซื้อเพื่อการส่งออกผลผลิตอุตสาหกรรมมีมูลค่าลดลงจากเดือน ธ.ค. 43 เหลือ 12.447 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. เป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 นับแต่เดือน ก.ย. 43 ที่มีมูลค่าถึง 14.321 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ(รอยเตอร์22)
4. กลุ่มประเทศยูโรขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค.43 ร ายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ22 ก.พ.44 ธ.กลางยุโรปเปิดเผยว่า กลุ่มประเทศยูโร ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวน 4.8 พัน ล.ยูโร ในเดือน ธ.ค.43 เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.42 ที่ขาดดุลฯ 3.9 พัน ล.ยูโร และมียอดเกินดุลการค้าจำนวน 5.2 พัน ล.ยูโร ลดลงจากจำนวน 5.5 พัน ล.ยูโรในเดือน ธ.ค.42 การลงทุนโดยตรง หดตัวลง 33.4 พัน ล.ยูโร เทียบกับเดือน ธ.ค.42 ที่หดตัวลง 20.3 พัน ล.ยูโร(รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 ก.พ. 44 43.058 (42.873)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 22 ก.พ. 44ซื้อ 42.7927(42.6188) ขาย 43.1067 (42.9255)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,250 (5,200) ขาย 5,350 (5,300)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.66 (23.99)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-