แท็ก
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวนมากกว่าเดือนกันยายน 2547 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 278 ราย คิดเป็นร้อยละ 40.3 โดยในส่วนเงินทุนและการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนกันยายน 2547 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,410.04 ล้านบาทและเลิกจ้างงานจำนวน 5,704 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2548 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 32 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 26 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2548 คืออุตสาหกรรมบรรจุสินค้าทั่วไป เงินทุน 1,045 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ทอ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่างๆ เงินทุน 760 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2548
คือ อุตสาหกรรมการผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 710 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีคล้ายคลึงกัน คนงาน 417 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกันยายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 108 โครงการ น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2548 ที่มีจำนวน 113 โครงการ ร้อยละ -4.42 และมีเงินลงทุน 33,600 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2548 ที่มีเงินลงทุน 38,800 ล้านบาทร้อยละ -13.40
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกันยายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนกันยายน 2547 ที่มีจำนวน 111 โครงการ ร้อยละ -2.70 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนกันยายน 2547 ที่มีเงินลงทุน 76,000 ล้านบาท ร้อยละ -55.79
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 302 182,600
2.โครงการต่างชาติ 100% 290 86,600
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 298 158,700
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 121,800 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐานมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 103,100 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกันยายน 2548 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 32 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 26 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกันยายน 2548 คืออุตสาหกรรมบรรจุสินค้าทั่วไป เงินทุน 1,045 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำพลาสติกเป็นเม็ด แท่ง ทอ หลอด แผ่น ชิ้น ผง หรือรูปทรงต่างๆ เงินทุน 760 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกันยายน 2548
คือ อุตสาหกรรมการผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 710 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมเลื่อย ไส ซอย เซาะร่อง หรือแปรรูปไม้ด้วยวิธีคล้ายคลึงกัน คนงาน 417 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกันยายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2548 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 108 โครงการ น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2548 ที่มีจำนวน 113 โครงการ ร้อยละ -4.42 และมีเงินลงทุน 33,600 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2548 ที่มีเงินลงทุน 38,800 ล้านบาทร้อยละ -13.40
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนกันยายน 2548 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนกันยายน 2547 ที่มีจำนวน 111 โครงการ ร้อยละ -2.70 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนกันยายน 2547 ที่มีเงินลงทุน 76,000 ล้านบาท ร้อยละ -55.79
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย.2548
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 302 182,600
2.โครงการต่างชาติ 100% 290 86,600
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 298 158,700
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ย.2548 คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 121,800 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐานมีมูลค่าเงินลงทุนรวม 103,100 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-