แท็ก
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จังหวัดร้อยเอ็ด
ทุ่งกุลาร้องไห้
การส่งออก
รัฐมนตรี
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จะจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐาน เพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ ในวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2548 ณ โรงแรมเพชรรัชต์ การ์เด้น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีนายสุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการสัมมนา การสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการได้ชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในการซักซ้อมความเข้าใจในการบูรณาการโครงการ และเกษตรกรจะได้เตรียมรับการดำเนินงานของส่วนราชการที่ให้การสนับสนุน ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสัมฤทธิ์ผลตาม เป้าหมายที่กำหนดไว้
การจัดการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ภาคเช้าเป็นการนำเสนอการบูรณาการ โครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ โดยนายพิบูลย์ เจียมอนุกูลกิจ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาการเกษตรพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการอภิปรายสถานการณ์ตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดย นายวิจักร วิเศษน้อย รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ, นายวัฒนา รัตนวงศ์ นายกสมาคมโรงสีข้าว, ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง นักวิจัยอาวุโส TDRI, นายวีรศักดิ์ ช่วยพัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, นายขุนศรี ทองย้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บ. เจริญโภคภัณฑ์วิศกรรม จำกัด และนายอำนาจ เธียรประมุข สมาชิกวุฒิสภา จ.สุรินทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ และในช่วงบ่ายเป็นการอภิปราย เรื่องการผลิตข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ โดย นายปราโมทย์ วานิชนนท์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมโรงสีข้าวไทย อาจารย์วีระ ภาคอุทัย หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์, นายอภิชัย จึงประภา ผู้อำนวยการกองแผนงาน, ดร.สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด, นายทองดี นิคงรัมภ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำนา จ. นครราชสีมา และนายพิสุทธิ์ ศาลากิจ หัวหน้าสถานีพัฒนาที่ดิน จ.ร้อยเอ็ด ต่อจากนั้นจะเป็นการอภิปรายยุทธศาสตร์ การพัฒนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์จากประสบการณ์ โดยเครือข่ายภูมิปัญญาไท จังหวัดยโสธร โดยมี นางสุภาพร พิมลลิขิต ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการ รวมประมาณ 400 คน
การดำเนินงานโครงการฯในปี 2548 ได้ใช้งบกลางปี 2547 จำนวน 398 ล้านบาทเศษ ถือเป็นปีแรกของโครงการ และเป็นโครงการบูรณาการของ 6 หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเกษตรกรเป้าหมายของโครงการจะได้รับประโยชน์ในด้านการปรับปรุงศักยภาพของพื้นที่เพาะปลูกในด้านการจัดสรรน้ำจากระบบชลประทาน และกิจกรรมที่จะดำเนินการออกแบบปรับปรุงพื้นที่นา การสนับสนุนจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน การสนับสนุนจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว และการอบรมเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในด้านการผลิต การดำเนินธุรกิจด้านการตลาดในการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร ตลอดจนได้รับประโยชน์จากการประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ในด้านการหาตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
การจัดการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ภาคเช้าเป็นการนำเสนอการบูรณาการ โครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ โดยนายพิบูลย์ เจียมอนุกูลกิจ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาการเกษตรพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการอภิปรายสถานการณ์ตลาดข้าวหอมมะลิไทย โดย นายวิจักร วิเศษน้อย รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ, นายวัฒนา รัตนวงศ์ นายกสมาคมโรงสีข้าว, ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง นักวิจัยอาวุโส TDRI, นายวีรศักดิ์ ช่วยพัฒน์ ผู้จัดการใหญ่ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, นายขุนศรี ทองย้อย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บ. เจริญโภคภัณฑ์วิศกรรม จำกัด และนายอำนาจ เธียรประมุข สมาชิกวุฒิสภา จ.สุรินทร์ เลขานุการคณะกรรมาธิการเกษตรและสหกรณ์ และในช่วงบ่ายเป็นการอภิปราย เรื่องการผลิตข้าวหอมมะลิในทุ่งกุลาร้องไห้ โดย นายปราโมทย์ วานิชนนท์ ประธานที่ปรึกษาสมาคมโรงสีข้าวไทย อาจารย์วีระ ภาคอุทัย หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์, นายอภิชัย จึงประภา ผู้อำนวยการกองแผนงาน, ดร.สถาพร มงคลศรีสวัสดิ์ ประธานหอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด, นายทองดี นิคงรัมภ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรทำนา จ. นครราชสีมา และนายพิสุทธิ์ ศาลากิจ หัวหน้าสถานีพัฒนาที่ดิน จ.ร้อยเอ็ด ต่อจากนั้นจะเป็นการอภิปรายยุทธศาสตร์ การพัฒนาข้าวหอมมะลิอินทรีย์จากประสบการณ์ โดยเครือข่ายภูมิปัญญาไท จังหวัดยโสธร โดยมี นางสุภาพร พิมลลิขิต ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา สถาบันเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โครงการ รวมประมาณ 400 คน
การดำเนินงานโครงการฯในปี 2548 ได้ใช้งบกลางปี 2547 จำนวน 398 ล้านบาทเศษ ถือเป็นปีแรกของโครงการ และเป็นโครงการบูรณาการของ 6 หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเกษตรกรเป้าหมายของโครงการจะได้รับประโยชน์ในด้านการปรับปรุงศักยภาพของพื้นที่เพาะปลูกในด้านการจัดสรรน้ำจากระบบชลประทาน และกิจกรรมที่จะดำเนินการออกแบบปรับปรุงพื้นที่นา การสนับสนุนจัดหาเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดปรับปรุงบำรุงดิน การสนับสนุนจัดหาเมล็ดพันธุ์ข้าว และการอบรมเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในด้านการผลิต การดำเนินธุรกิจด้านการตลาดในการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร ตลอดจนได้รับประโยชน์จากการประสานงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงพาณิชย์ในด้านการหาตลาดส่งออกข้าวหอมมะลิด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-