อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในไตรมาสที่ 3 อยู่ในภาวะชะลอตัว ตลาดส่งออกยังเป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศยังไม่
ฟื้นตัว โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย และ ขั้นต้น-ขั้นกลาง มีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 50 และ 20 ตามลำดับ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่
ยังคงรักษาระดับการผลิตเท่าเดิม และยังไม่มีการลงทุนใหม่ เนื่องจากปัญหาด้านหนี้สินและคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้
บริษัทฯเครือซีเมนต์ไทย อยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิต PTA โรงงานแห่งที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 4 ปี 2546
ส่วนการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะกลับมาอยู่ในช่วงขาขึ้นประมาณปี 2546 คงต้องเลื่อนออกไปเพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอย
ในสหรัฐฯและการก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินว่า การประกาศสงครามระหว่างสหรัฐฯ และอัฟกานิสถาน
จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งด้านดีและด้านเสีย ข้อดีคือกลุ่มประเทศตะวันออกกลางซึ่งเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพ กำลังเผชิญปัญหาทาง
สังคม จึงมีความสามารถในการแข่งขันลดน้อยลง ส่งผลให้โอกาสของผลิตภัณฑ์ไทยในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น ประเทศจีน มีมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน
ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น เนื่องจากค่าขนส่งแพงขึ้นจากค่าธรรมเนียมความเสี่ยงสงคราม (War Risk Premium)
รวมทั้ง Cost of Capital ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ หากภาวะสงครามยืดเยื้อจะทำให้อัตราการใช้น้ำมันของโลกลดลงและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีซึ่งใช้ Naphtha เป็น Feedstocks ต่อไป
1. การผลิต
ตารางที่ 1. ปริมาณการผลิตสินค้าปิโตรเคมี
อุตสาหกรรม ปริมาณการผลิต (พันตัน)
ปิโตรเคมี Q2 / 2543 Q3 / 2543 Q4 / 2543 Q1 / 2544 Q2 / 2544 Q3 / 2544
ขั้นต้น 1,255.57 1,279.95 1,279.95 1,306.20 1,159.71 903.36
ขั้นกลาง 316.20 550.80 581.40 568.62 519.41 404.60
ขั้นปลาย 1,199.49 1,338.96 1,325.01 1,498.65 1,527.75 1,382.25
รวมทั้งสิ้น 2,771.26 3,169.71 3,186.36 3,373.47 3,206.87 2,690.21
ที่มา : ประมาณการจากข้อมูลสถิติของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 การผลิตปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ส่วนการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลาย ปริมาณการผลิตในไตรมาสที่ 3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปีเดียวกัน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 3 ปีที่ผ่านมา
2. การตลาด
ตารางที่ 2. มูลค่าการส่งออกสินค้าปิโตรเคมี
ไตรมาส / ปี ปิโตรเคมีขั้นต้น (ล้านบาท) ปิโตรเคมีขั้นกลาง (ล้านบาท) ปิโตรเคมีขั้นปลาย (ล้านบาท)
นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก
Q4 / 2542 1,932 3,961 9,241 1,813 10,930 12,114
Q1 / 2543 1,433 4,900 9,289 2,625 10,887 18,056
Q2 / 2543 1,592 4,579 10,606 1,717 12,149 15,689
Q3 / 2543 1,940 5,495 10,247 2,055 12,088 20,174
Q4 / 2543 1,785 4,537 11,233 2,337 12,524 18,601
Q1 / 2544 958 4,077 10,377 2,121 12,112 19,675
Q2 / 2544 956 3,755 11,789 1,847 11,846 17,573
Q3 / 2544 757 2,741 10,622 1,574 12,994 18,159
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
ข้อมูลจากกรมศุลกากร(หน่วยเงินบาท) พบว่า ไตรมาส 3 ปี 2544 เม็ดพลาสติก (ปิโตรเคมีขั้นปลาย) มีมูลค่าส่งออกเท่ากับ 18,159
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10 ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่
ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น เวียตนาม และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าเท่ากับ 12,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
เป็นต้น
ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น และขั้นกลาง มีแนวโน้มการส่งออกลดลงตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นมีแนวโน้ม
ลดลง ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางค่อนข้างคงที่
ตารางที่ 3. มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2541 2542 2543 2543(มค.-กย.) 2544(มค.-กย.)
มูลค่าการส่งออก 989.6 1,215.3 1,865.7 1,426.8 1,279.0
(อัตราการขยายตัว) (74.34) (34.27) (22.81) (53.51) (-10.36)
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกใน 9 เดือนแรกปี 2544 มีมูลค่า 1,279 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 10.36 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
3. สรุป
ในอนาคต แนวโน้มการแข่งขันจะรุนแรงยิ่งขึ้น อันเป็นผลจากการปรับลดอัตราอากรนำเข้าตามข้อตกลงการค้าต่างๆ และนโยบายเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรเตรียมรับสถานการณ์ด้วยการ
ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น การประหยัดพลังงาน การใช้สาธารณูปโภคอย่างคุ้มค่า การจัดโปรแกรมบำรุงรักษาเครื่องจักรที่
เหมาะสม รวมทั้งการลดค่าใช้จ่ายขององค์กร นอกจากนี้ การหา Joint Venture ที่มีศักยภาพ (โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี) เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง
ที่ควรพิจารณา ทั้งนี้ในส่วนของภาครัฐ ต้องปรับปรุงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) ให้มีประสิทธิภาพและมีความสะดวกในการปฏิบัติ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
ฟื้นตัว โดยผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย และ ขั้นต้น-ขั้นกลาง มีสัดส่วนการส่งออกสูงถึงร้อยละ 50 และ 20 ตามลำดับ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่
ยังคงรักษาระดับการผลิตเท่าเดิม และยังไม่มีการลงทุนใหม่ เนื่องจากปัญหาด้านหนี้สินและคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะอยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้
บริษัทฯเครือซีเมนต์ไทย อยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิต PTA โรงงานแห่งที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 4 ปี 2546
ส่วนการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะกลับมาอยู่ในช่วงขาขึ้นประมาณปี 2546 คงต้องเลื่อนออกไปเพราะปัญหาเศรษฐกิจถดถอย
ในสหรัฐฯและการก่อวินาศกรรมเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ผู้เชี่ยวชาญได้ประเมินว่า การประกาศสงครามระหว่างสหรัฐฯ และอัฟกานิสถาน
จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมีทั้งด้านดีและด้านเสีย ข้อดีคือกลุ่มประเทศตะวันออกกลางซึ่งเป็นคู่แข่งที่มีศักยภาพ กำลังเผชิญปัญหาทาง
สังคม จึงมีความสามารถในการแข่งขันลดน้อยลง ส่งผลให้โอกาสของผลิตภัณฑ์ไทยในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น ประเทศจีน มีมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน
ผู้ประกอบการต้องแบกรับต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้น เนื่องจากค่าขนส่งแพงขึ้นจากค่าธรรมเนียมความเสี่ยงสงคราม (War Risk Premium)
รวมทั้ง Cost of Capital ที่สูงขึ้น ทั้งนี้ หากภาวะสงครามยืดเยื้อจะทำให้อัตราการใช้น้ำมันของโลกลดลงและส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรม
ปิโตรเคมีซึ่งใช้ Naphtha เป็น Feedstocks ต่อไป
1. การผลิต
ตารางที่ 1. ปริมาณการผลิตสินค้าปิโตรเคมี
อุตสาหกรรม ปริมาณการผลิต (พันตัน)
ปิโตรเคมี Q2 / 2543 Q3 / 2543 Q4 / 2543 Q1 / 2544 Q2 / 2544 Q3 / 2544
ขั้นต้น 1,255.57 1,279.95 1,279.95 1,306.20 1,159.71 903.36
ขั้นกลาง 316.20 550.80 581.40 568.62 519.41 404.60
ขั้นปลาย 1,199.49 1,338.96 1,325.01 1,498.65 1,527.75 1,382.25
รวมทั้งสิ้น 2,771.26 3,169.71 3,186.36 3,373.47 3,206.87 2,690.21
ที่มา : ประมาณการจากข้อมูลสถิติของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ไตรมาสที่ 3 ปี 2544 การผลิตปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลางลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกัน
ของปีก่อน ส่วนการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลาย ปริมาณการผลิตในไตรมาสที่ 3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ปีเดียวกัน แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่ 3 ปีที่ผ่านมา
2. การตลาด
ตารางที่ 2. มูลค่าการส่งออกสินค้าปิโตรเคมี
ไตรมาส / ปี ปิโตรเคมีขั้นต้น (ล้านบาท) ปิโตรเคมีขั้นกลาง (ล้านบาท) ปิโตรเคมีขั้นปลาย (ล้านบาท)
นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก นำเข้า ส่งออก
Q4 / 2542 1,932 3,961 9,241 1,813 10,930 12,114
Q1 / 2543 1,433 4,900 9,289 2,625 10,887 18,056
Q2 / 2543 1,592 4,579 10,606 1,717 12,149 15,689
Q3 / 2543 1,940 5,495 10,247 2,055 12,088 20,174
Q4 / 2543 1,785 4,537 11,233 2,337 12,524 18,601
Q1 / 2544 958 4,077 10,377 2,121 12,112 19,675
Q2 / 2544 956 3,755 11,789 1,847 11,846 17,573
Q3 / 2544 757 2,741 10,622 1,574 12,994 18,159
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
ข้อมูลจากกรมศุลกากร(หน่วยเงินบาท) พบว่า ไตรมาส 3 ปี 2544 เม็ดพลาสติก (ปิโตรเคมีขั้นปลาย) มีมูลค่าส่งออกเท่ากับ 18,159
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10 ตลาดส่งออกสำคัญได้แก่
ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น เวียตนาม และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ส่วนการนำเข้ามีมูลค่าเท่ากับ 12,994 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับ
ไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้
เป็นต้น
ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น และขั้นกลาง มีแนวโน้มการส่งออกลดลงตั้งแต่ต้นปี ในขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้นมีแนวโน้ม
ลดลง ส่วนผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นกลางค่อนข้างคงที่
ตารางที่ 3. มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติก
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2541 2542 2543 2543(มค.-กย.) 2544(มค.-กย.)
มูลค่าการส่งออก 989.6 1,215.3 1,865.7 1,426.8 1,279.0
(อัตราการขยายตัว) (74.34) (34.27) (22.81) (53.51) (-10.36)
ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกเม็ดพลาสติกใน 9 เดือนแรกปี 2544 มีมูลค่า 1,279 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 10.36 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
3. สรุป
ในอนาคต แนวโน้มการแข่งขันจะรุนแรงยิ่งขึ้น อันเป็นผลจากการปรับลดอัตราอากรนำเข้าตามข้อตกลงการค้าต่างๆ และนโยบายเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเป็นวัตถุดิบ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรเตรียมรับสถานการณ์ด้วยการ
ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น การประหยัดพลังงาน การใช้สาธารณูปโภคอย่างคุ้มค่า การจัดโปรแกรมบำรุงรักษาเครื่องจักรที่
เหมาะสม รวมทั้งการลดค่าใช้จ่ายขององค์กร นอกจากนี้ การหา Joint Venture ที่มีศักยภาพ (โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี) เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่ง
ที่ควรพิจารณา ทั้งนี้ในส่วนของภาครัฐ ต้องปรับปรุงมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) ให้มีประสิทธิภาพและมีความสะดวกในการปฏิบัติ
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--