นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่สหภาพยุโรป (EU) ได้เปิดไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้าไฟแช็กใช้แล้วทิ้งที่ส่งออกจากประเทศไทยตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งต่อมาในปี 2540 ผู้ส่งออกไทยได้ทำความตกลงด้านราคาในการส่งออกสินค้าดังกล่าวกับสหภาพยุโรป พร้อมกับได้มีการพัฒนาปรับปรุงการผลิตทำให้มีต้นทุนต่ำลงและได้ยื่นขอทบทวนความตกลงด้านราคากับสหภาพยุโรปเมื่อวันที่12 เมษายน 2543 ซึ่งจากการพิจารณาของคณะกรรมาธิการยุโรปพบว่าราคาส่งออกของสินค้าดังกล่าวไม่ได้มีการทุ่มตลาดแล้ว จึงได้ออกประกาศยกเลิกการจัดเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าไฟแช็กใช้แล้วทิ้งที่ส่งออกจากประเทศไทย
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การยื่นขอทบทวนเมื่อต้นทุนการผลิตลดลงในครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ส่งออกสินค้าอื่นๆ ซึ่งหากพบว่าสถานะเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต หรือปัจจัยอื่นๆมีการเปลี่ยนแปลง และจะมีผลในการคำนวณอัตราส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดลดลงก็ควรจะยื่นขอทบทวนเพื่อผลประโยชน์ของผู้ส่งออกเอง และสำหรับตลาดส่งออก สินค้าไฟแช็กใช้แล้วทิ้งที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ สหภาพยุโรป โดยการส่งออกในปี 2543 มีมูลค่า 373, 202, 38 และ 11 ล้านบาทตามลำดับ แต่หลังจากสหภาพยุโรปยกเลิกการจัดเก็บอากรแล้ว การส่งออกไปตลาดสหภาพ ยุโรปก็จะขยายตัวมากขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2544--
-อน-
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การยื่นขอทบทวนเมื่อต้นทุนการผลิตลดลงในครั้งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ส่งออกสินค้าอื่นๆ ซึ่งหากพบว่าสถานะเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต หรือปัจจัยอื่นๆมีการเปลี่ยนแปลง และจะมีผลในการคำนวณอัตราส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดลดลงก็ควรจะยื่นขอทบทวนเพื่อผลประโยชน์ของผู้ส่งออกเอง และสำหรับตลาดส่งออก สินค้าไฟแช็กใช้แล้วทิ้งที่สำคัญของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และ สหภาพยุโรป โดยการส่งออกในปี 2543 มีมูลค่า 373, 202, 38 และ 11 ล้านบาทตามลำดับ แต่หลังจากสหภาพยุโรปยกเลิกการจัดเก็บอากรแล้ว การส่งออกไปตลาดสหภาพ ยุโรปก็จะขยายตัวมากขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ ตุลาคม 2544--
-อน-