แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ซึ่งประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป โดยมีการปรับลดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จากเฉลี่ยร้อยละ 5-6 ต่อปี เป็นร้อยละ 4-5 ต่อปี
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ร่วมของสังคมไทย ในระยะ 20 ปี มีจุดมุ่งหมายเป็นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและอยู่ดีมีสุข โดยยึดหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่มุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้
2. ทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต จะมีความสอดคล้องกับศักยภาพและบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมวางรากฐานการพัฒนาเป็นสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่ดีทุกระดับ ใช้ศักยภาพด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย รวมทั้งใช้ศักยภาพการผลิตและบริการเพื่อเตรียมพัฒนาประเทศสู่ความเป็นฐานเศรษฐกิจของภูมิภาคทั้งด้านการเกษตร การแปรรูปเกษตรและอาหาร เป็นฐานการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และศูนย์กลางการศึกษาและวิทยาการที่เข้มแข็งควบคู่กับการพัฒนาเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคด้านการขนส่งทางอากาศ ทางบกและทางน้ำ รวมทั้งการสื่อสารโทรคมนาคมของภูมิภาค
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
3.1 สร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ ให้ความสำคัญกับการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยปรับโครงสร้างลดขนาดและปรับบทบาทให้สอดคล้องกับระบบราชการแนวใหม่
3.2 เสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง มียุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3.3 ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน มียุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม (เช่น สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน การรักษาวินัยทางการคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะ) การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ลำดับความสำคัญของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งต้องปรับฐานเศรษฐกิจภายในประเทศให้แข็งแกร่งและขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ โดยเร่งฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก บรรเทาปัญหาสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน
โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการเงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรและมีมติอนุมัติในหลักการดังนี้
1. โครงการพัฒนาอาชีพเกษตร ให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของชุมชน ระยะเวลาดำเนินการปี 2543-2546
2.โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชนปรับกระบวนการพัฒนาการเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการวางแผนและพัฒนาตนเอง โดยมีเป้าหมายจัดตั้งศูนย์บริการและกำหนดเทคโนโลยีการเกษตรในตำบล เพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นแม่ข่ายในการเรียนรู้ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2544-2546
ทั้งนี้ ให้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นทำหน้าที่กำหนดแผนดำเนินการประเมินความพร้อมและวางระบบการติดตามประเมินผลโครงการทั้ง 2 อย่างรอบด้าน และให้มีความเชื่อมโยงทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างครบวงจร คือ
1) ในระดับนโยบาย ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2) ในระดับปฏิบัติ ให้มีการประสานการจัดการโครงการระหว่าง หน่วยงานและกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
3. โครงการจัดตั้งตลาดค้ามาตรฐานกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ไม้ เพื่อจัดสร้างตลาดการค้าด้านงานมาตรฐาน และบริการกำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสำหรับเป็นศูนย์กลางค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออกและเป็นศูนย์รวมการดำเนินธุรกิจครบวงจรของเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้แปรรูป และผู้ประกอบการค้ากล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ระยะเวลาดำเนินการปี 2544-2546
4. โครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี ให้ยกเลิกโครงการนี้ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอ เนื่องจากเงื่อนไขการใช้เงินกู้ที่ไม่ยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้
3. การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบดังนี้
1. แผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) มียุทธศาสตร์ความร่วมมือตามกรอบแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแนวพื้นที่ต่อเนื่อง สงขลา-ปีนัง-เมดาน โดย
1) มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนที่ไทยรับเป็น lead country คือ เรื่องการดำเนินระบบตลาดเสรี เช่น เขตโทรคมนาคมพิเศษ เป็นต้น (คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน : สพบ.) และการพัฒนารายสาขา โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยว (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
รับผิดชอบประสานงานกับอินโดนีเซียและมาเลเซียในการจัดประชุมเตรียมรายละเอียดแผนงานและแผนปฏิบัติการ เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติต่อไป
2) มอบให้ สพบ. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะแผนงานเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปี 2545
2. แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ในการพัฒนาและก่อสร้างเส้นทางเชียงของ (เชียงราย)-ห้วยทราย-ลาว-หลวงน้ำทา-บ่อเต้น-เชียงรุ้ง (จีน) ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และให้กระทรวงการคลังพิจารณาแหล่งเงินและจำนวนเงินที่เหมาะสมในการเพิ่มเงินกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงของอนุภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
4. แผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก (มันสำปะหลัง)
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก (มันสำปะหลัง) ปี 2545-2549 โดยให้กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. แม้ว่าขณะนี้มันสำปะหลังของไทยยังคงมีความได้เปรียบในตลาดโลก ก็ควรคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตด้วย เช่น การนำไปผลิตบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารและไม่เป็นอาหาร โดยต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้ อันจะเกิดผลดีกว่าการเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับแป้งมันสำปะหลัง ควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้มีการใช้ทดแทนแป้งข้าวโพดและแป้งมันฝรั่งในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรกำหนดเขตเพาะปลูกมันสำปะหลังให้ชัดเจน เพื่อ ป้องกันมิให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากจนเกินไปในกรณีที่มันสำปะหลังมีราคาผลผลิตดี เพราะอาจส่งผลให้เกิดการบุกรุกป่าสงวนได้ ทั้งนี้ การส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังจะต้องระมัดระวังมิให้เป็นการสร้างแรงจูงใจต่อเกษตรกรในการปลูกมันสำปะหลังจนทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินได้ในอนาคต
แผนระยะสั้นเพื่อรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนระยะสั้นเพื่อรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ โดยมีมาตรการที่รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ดังนี้
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและมาตรการรองรับ
1. น้ำมัน มีมาตรการดังนี้
- เพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามกฎหมายโดยน้ำมันดิบเพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 น้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 และน้ำมันสำเร็จรูปนำเข้าจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10
- รณรงค์ขอความร่วมมือจากหน่วยราชการและประชาชนให้ประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า
- ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
- สร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงาน
- เร่งรัดการหาแหล่งพลังงานทดแทน
2. การหาเงินตราต่างประเทศ
2.1 การส่งออก
- สนับสนุนการค้าในตลาดภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ออสเตรเลีย และตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น
- สนับสนุนและเร่งรัดการทำงานของคณะผู้แทนทางการค้าระหว่างประเทศ
- ใช้การตลาดเชิงรุกนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศโดยตรงผ่านโครงการ Thailand Plaza
- เร่งรัดระบบวิธีการชำระบัญชีของ Account Trade กับประเทศคู่ค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย
- เร่งรัดระบบบริหารจัดการของสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญโดยเฉพาะการตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกด้วยกันเอง การเจาะตลาด และเข้มงวดกับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าไปยังประเทศที่มีกฎระเบียบด้านสุขอนามัยเข้มงวด เช่น สหภาพยุโรป โดยเฉพาะสิ่งปลอมปนในสินค้า ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพพจน์ของการส่งออกสินค้าไทย
- เร่งรัดโครงการนิยมสินค้าไทยที่มีคุณภาพอย่างจริงจัง
2.2 การท่องเที่ยว
ความปลอดภัย
- เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย เป็นเมืองพุทธ เป็นประเทศที่มีความปลอดภัย และมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวให้ทั่วทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวว่าไทยเป็น Safety Destination
ผลิตภัณฑ์
- เร่งพัฒนากิจกรรมต่อเนื่องและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
- เน้นการท่องเที่ยวธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อสร้างความแตกต่าง (Differentiation) จากการท่องเที่ยวในสังคมทันสมัย
การตลาด
- เร่งทำการตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาค (Regional Tour) ของประเทศไทย และจัดระบบแหล่งท่องเที่ยวตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างแหล่งท่องเที่ยวหลัก และแหล่งท่องเที่ยวรองในลักษณะที่เป็นวงจรการท่องเที่ยว (Loop) หรือเป็นกลุ่มของแหล่งท่องเที่ยว (Cluster)
- เร่งทำการตลาดเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสูงอายุที่คาดว่า จะต้องการพำนักอยู่ในประเทศที่มีความปลอดภัยในระยะเวลาที่นานขึ้น (Long Stay)
3. การเงินการคลัง
- เร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐตามแผนงานและโครงการ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2545 ใน 4 ส่วน คือ การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โครงการเงินกู้ต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท
- ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เพื่อรักษาความสามารถในการส่งออกและเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
- ดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
4. กิจกรรมการผลิต การลงทุนและการจ้างงาน
- เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาคการผลิต รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากควบคู่กันไปภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
- เร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าทางเศรษฐกิจโดยเร็ว ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทางเศรษฐกิจโดยเร็ว ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองธนาคารประชาชน และธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ของ SMEs
- เร่งรัดโครงการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน (Retraining Program)
- ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างรายได้สูง และหาตลาดใหม่ ๆ ที่ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เช่น จีน เป็นต้น
5. ราคาสินค้าเกษตร
- กำหนดนโยบายราคาสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบในลักษณะบูรณาการ เพื่อให้มีความเป็นธรรมกับผู้ผลิต
- ร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทเดียวกันในการกำหนดราคาส่งออกที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ผลิตทุกประเทศ
6. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
- เร่งรัดการปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมก่อนการกระจายหุ้นสู่สาธารณะ
7. การสร้างขวัญและกำลังใจกับประชาชน
- สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนถึงความพร้อมรับสถานการณ์ของรัฐบาล และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- สนับสนุนการทำงานด้านการข่าวให้มีประสิทธิภาพ
- เน้นการให้ข่าวและประชาสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อรักษาขวัญและกำลังใจของประชาชน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วนแก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จากการได้รับผลกระทบในการทำประกันภัย โดยให้ความคุ้มครองชดใช้ค่าเสียหายส่วนเกินจากวงเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ จนถึงวงเงินที่มีอยู่เดิม (ประมาณ 1,750-2,000 เหรียญสหรัฐ) สำหรับการคุ้มครองตามกฎหมายต่อการบาดเจ็บ เสียชีวิตและความเสียหายของทรัพย์สินของบุคคลที่สามในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากภัยสงครามรวมทั้งภัยที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ จนกว่าสถานการณ์ตลาดประกันภัยจะคลี่คลายลง
การจัดทำข้อมูลการว่างงาน คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประมาณการกำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงาน ดังนี้
1) ประชากรในปี 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 62.87 ล้านคน
2) กำลังแรงงานรวมเฉลี่ยทั้งปี 33.38 ล้านคน เพิ่มจากปี 2543 ประมาณ 0.16 ล้านคน
3) การมีงานทำ เฉลี่ยทั้งปี 31.36 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนประมาณ 0.07 ล้านคน
4) การว่างงาน เฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1.3 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนประมาณ 0.11 ล้านคนหรือร้อยละ 9.24
5) การทำงานต่ำระดับ ใกล้เคียงกับปีก่อนประมาณ 1 ล้านคน
6. การจัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตบริโภคเศรษฐกิจและสังคม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ โดยใช้งบประมาณจากองค์กรภายนอกที่ไม่ใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล ยกเว้นค่าเบี้ยเลี้ยงยานพาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อจะได้หาข้อยุติที่ชัดเจนโดยให้ศึกษาครอบคลุมถึงประเด็นนิเวศน์วิทยา การจ้างงาน ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และหลังจากศึกษาเสร็จแล้ว หากพิจารณาว่าเป็นผลดีจะต้องมีการนำไปทำประชาพิจารณ์ต่อไป
7. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ASEAN GSP)
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักเกณฑ์และรายการสินค้าที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลาว พม่า และเวียดนาม เพื่อให้กระทรวงการคลังแจ้งต่อที่ประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 15 ซึ่งประชุมในวันที่ 14 กันยายน 2544 ณ ประเทศเวียดนาม ดังนี้
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ASEAN GSP 1.1 รายการสินค้า ให้สิทธิพิเศษในลักษณะทวิภาคี โดยมีบัญชีรายการ สินค้าที่
จะให้สิทธิพิเศษแยกสำหรับแต่ละประเทศ
1.2 อัตราอากร
1) ราย การที่อยู่ในบัญชีลดภาษี (IL) ของประเทศ CLMV (รายการเหล่านี้ ประเทศ CLMV จะได้รับ CEPT
rates อยู่แล้ว) ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 0
2) รายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL) และบัญชีสินค้าสงวนชั่วคราว (TEL) ของประเทศ CLMV ซึ่งยังไม่มีสิทธิได้รับ CEPT rates ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 5 หรืออัตรา MFN แล้วแต่อัตราใดจะต่ำกว่า
1.3 ระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2552 โดยให้
ครั้งละ 1 ปี (ให้ระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เช่น ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2545) จนถึงวันที่ประเทศ CLMV จะลดภาษีสินค้าใน IL ลงเหลือร้อยละ 0-5 ทั้งนี้ ระยะเวลาที่แต่ละประเทศจะได้รับ GSP จะแตกต่างกันตามกำหนดการลดภาษีของแต่ละประเทศ กล่าวคือ เวียดนาม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ลาวและพม่า ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และกัมพูชา ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552
1.4 กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin)
1) สำหรับสินค้าเกษตรให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) กล่าวคือ เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นทั้งหมด โดยไม่มีการนำเข้าหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกทั้งหมด หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
โดยสินค้าเกษตรให้ความหมายถึง สินค้าในพิกัดตอนที่ 01-24 และรวมถึงสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันในองค์การการค้าโลกในตอนพิกัดอื่น ๆ เช่น ฝ้ายในตอนที่ 52 ไหมในตอนที่ 50 เป็นต้น
2) สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร ให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับมูลค่าวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
ทั้งนี้ ประเทศไทยขอสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งกำเนิดสินค้าด้วย
1.5 การยกเลิก ASEAN GSP ประเทศไทยคงสิทธิที่จะยกเลิก ASEAN GSP ดังนี้
1) หากมูลค่าการนำเข้าของสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP เพิ่มขึ้นร้อยละ 100
2) หากมีผู้ผลิตภายในประเทศร้องเรียนต่อกระทรวงการคลังว่าการนำเข้าสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ โดยผู้ร้องเรียนจะต้องแสดงข้อมูล เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของตนด้วย เช่น การลดลงของส่วนแบ่งตลาด ราคาขายของผู้ผลิตลดลง และสินค้าคงเหลือมีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
1.6 การทบทวน ให้มีการทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนทุกปี
1.7 สนับสนุนอาฟต้า เพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกนำรายการสินค้ามาลดภาษีในกรอบอาฟต้าเร็วขึ้น จึงพิจารณาให้ ASEAN GSP เฉพาะรายการที่ประเทศ CLMV มีแผนการลดภาษีเท่านั้น ดังนั้น รายการที่อยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษี (GEL) ของประเทศ CLMV จะไม่ได้รับ ASEAN GSP และรายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL) ของไทยซึ่งยังไม่ได้นำมาลดภาษีจะไม่ให้ ASEAN GSP
2. เห็นชอบรายการสินค้าที่ให้ ASEAN GSP แก่ ลาว พม่าและเวียดนาม
2.1 ลาว สินค้าที่ลาวเสนอขอจำนวน 66 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 24 รายการ เช่น กระวาน ถั่วลิสง ไม้จำพวกสน ไม้อัดพลายวูด เมล็ดละหุ่ง หนังสัตว์ และปอกระเจา เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 จำนวน 13 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 11 รายการ
2.2 พม่า จำนวนสินค้าที่พม่าเสนอขอจำนวน 42 รายการ (ปรับตามประเภทพิกัด 9 หลัก ได้ 80 รายการ) ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 30 รายการ เช่น ปู กกและอ้อ ก๊าซธรรมชาติ ฝ้าย บล็อคปูพื้น และส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 จำนวน 19 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 3 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 8 รายการ
2.3 เวียดนาม จำนวนสินค้าที่เวีดนามเสนอขอจำนวน 65 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 19 รายการ เช่น อบเชย แอนทราไซต์ โพลิโครม สายอากาศ เครื่องแต่งกายทำจากหนัง อุปกรณ์ตรวจสอบความดันและเศษเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 จำนวน 12 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 1 รายการ ลดเหลือร้อยละ 3 จำนวน 2 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 4 รายการ
ทั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการจาก "ASEAN GSP" เป็น "ASEAN Integration System of Preferences หรือ AISP" และในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 (AEM Retreat) ในระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเดิมให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนในลักษณะทวิภาคี (bilateral basis) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง
การเข้าเป็นภาคีความตกลงกาแฟระหว่างประเทศ ฉบับ ปี ค.ศ. 2001 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ในการเข้าเป็นภาคี
ความตกลงกาแฟระหว่างประเทศ ฉบับ ปี ค.ศ. 2001 ของประเทศไทย โดยความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 - 30 กันยายน 2550 เนื่องจากความตกลงฯ ฉบับปี ค.ศ. 1994 จะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 30 กันยายน 2544 และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศลงนามให้สัตยาบันการเข้าเป็นภาคีสมาชิกดังกล่าวของประเทศไทยไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2544
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ร่วมของสังคมไทย ในระยะ 20 ปี มีจุดมุ่งหมายเป็นการแก้ปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและอยู่ดีมีสุข โดยยึดหลักปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ที่มุ่งให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองได้
2. ทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต จะมีความสอดคล้องกับศักยภาพและบทบาททางเศรษฐกิจของพื้นที่ โดยคนในชุมชนมีส่วนร่วมวางรากฐานการพัฒนาเป็นสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง มีระบบบริหารจัดการที่ดีทุกระดับ ใช้ศักยภาพด้านเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย รวมทั้งใช้ศักยภาพการผลิตและบริการเพื่อเตรียมพัฒนาประเทศสู่ความเป็นฐานเศรษฐกิจของภูมิภาคทั้งด้านการเกษตร การแปรรูปเกษตรและอาหาร เป็นฐานการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และศูนย์กลางการศึกษาและวิทยาการที่เข้มแข็งควบคู่กับการพัฒนาเป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมโยงกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านและภูมิภาคด้านการขนส่งทางอากาศ ทางบกและทางน้ำ รวมทั้งการสื่อสารโทรคมนาคมของภูมิภาค
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา
3.1 สร้างระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทยทุกระดับ ให้ความสำคัญกับการปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยปรับโครงสร้างลดขนาดและปรับบทบาทให้สอดคล้องกับระบบราชการแนวใหม่
3.2 เสริมสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง มียุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
3.3 ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุลและยั่งยืน มียุทธศาสตร์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม (เช่น สร้างความเข้มแข็งของภาคการเงิน การรักษาวินัยทางการคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะ) การเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ลำดับความสำคัญของการพัฒนา ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งต้องปรับฐานเศรษฐกิจภายในประเทศให้แข็งแกร่งและขยายตัวได้อย่างมีคุณภาพ โดยเร่งฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก บรรเทาปัญหาสังคมและแก้ไขปัญหาความยากจน
โครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร
คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาโครงการเงินกู้ เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรและมีมติอนุมัติในหลักการดังนี้
1. โครงการพัฒนาอาชีพเกษตร ให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพของชุมชน ระยะเวลาดำเนินการปี 2543-2546
2.โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชนปรับกระบวนการพัฒนาการเกษตรเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนในการวางแผนและพัฒนาตนเอง โดยมีเป้าหมายจัดตั้งศูนย์บริการและกำหนดเทคโนโลยีการเกษตรในตำบล เพื่อเป็นตัวอย่างและเป็นแม่ข่ายในการเรียนรู้ ระยะเวลาดำเนินการ ปี 2544-2546
ทั้งนี้ ให้แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นทำหน้าที่กำหนดแผนดำเนินการประเมินความพร้อมและวางระบบการติดตามประเมินผลโครงการทั้ง 2 อย่างรอบด้าน และให้มีความเชื่อมโยงทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติอย่างครบวงจร คือ
1) ในระดับนโยบาย ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น นโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
2) ในระดับปฏิบัติ ให้มีการประสานการจัดการโครงการระหว่าง หน่วยงานและกองทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
3. โครงการจัดตั้งตลาดค้ามาตรฐานกล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ไม้ เพื่อจัดสร้างตลาดการค้าด้านงานมาตรฐาน และบริการกำกับดูแลตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสำหรับเป็นศูนย์กลางค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออกและเป็นศูนย์รวมการดำเนินธุรกิจครบวงจรของเกษตรกร ผู้ผลิต ผู้แปรรูป และผู้ประกอบการค้ากล้วยไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับและผลิตภัณฑ์ไม้ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ระยะเวลาดำเนินการปี 2544-2546
4. โครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำน้ำกร่อย จังหวัดเพชรบุรี ให้ยกเลิกโครงการนี้ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอ เนื่องจากเงื่อนไขการใช้เงินกู้ที่ไม่ยืดหยุ่นทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้
3. การพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบดังนี้
1. แผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) มียุทธศาสตร์ความร่วมมือตามกรอบแนวทางใหม่ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแนวพื้นที่ต่อเนื่อง สงขลา-ปีนัง-เมดาน โดย
1) มอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนที่ไทยรับเป็น lead country คือ เรื่องการดำเนินระบบตลาดเสรี เช่น เขตโทรคมนาคมพิเศษ เป็นต้น (คณะอนุกรรมการพัฒนาความร่วมมือด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน : สพบ.) และการพัฒนารายสาขา โดยเฉพาะการพัฒนาการท่องเที่ยว (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)
รับผิดชอบประสานงานกับอินโดนีเซียและมาเลเซียในการจัดประชุมเตรียมรายละเอียดแผนงานและแผนปฏิบัติการ เพื่อผลักดันสู่การปฏิบัติต่อไป
2) มอบให้ สพบ. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลา ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะแผนงานเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปี 2545
2. แผนงานการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ในการพัฒนาและก่อสร้างเส้นทางเชียงของ (เชียงราย)-ห้วยทราย-ลาว-หลวงน้ำทา-บ่อเต้น-เชียงรุ้ง (จีน) ให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน และให้กระทรวงการคลังพิจารณาแหล่งเงินและจำนวนเงินที่เหมาะสมในการเพิ่มเงินกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการก่อสร้างเส้นทางเชื่อมโยงของอนุภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
4. แผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก (มันสำปะหลัง)
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก (มันสำปะหลัง) ปี 2545-2549 โดยให้กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. แม้ว่าขณะนี้มันสำปะหลังของไทยยังคงมีความได้เปรียบในตลาดโลก ก็ควรคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตด้วย เช่น การนำไปผลิตบรรจุผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารและไม่เป็นอาหาร โดยต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้ อันจะเกิดผลดีกว่าการเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับแป้งมันสำปะหลัง ควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้มีการใช้ทดแทนแป้งข้าวโพดและแป้งมันฝรั่งในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรกำหนดเขตเพาะปลูกมันสำปะหลังให้ชัดเจน เพื่อ ป้องกันมิให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากจนเกินไปในกรณีที่มันสำปะหลังมีราคาผลผลิตดี เพราะอาจส่งผลให้เกิดการบุกรุกป่าสงวนได้ ทั้งนี้ การส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังจะต้องระมัดระวังมิให้เป็นการสร้างแรงจูงใจต่อเกษตรกรในการปลูกมันสำปะหลังจนทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินได้ในอนาคต
แผนระยะสั้นเพื่อรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนระยะสั้นเพื่อรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ โดยมีมาตรการที่รัฐบาลควรดำเนินการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ดังนี้
ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและมาตรการรองรับ
1. น้ำมัน มีมาตรการดังนี้
- เพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศตามกฎหมายโดยน้ำมันดิบเพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 น้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 และน้ำมันสำเร็จรูปนำเข้าจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10
- รณรงค์ขอความร่วมมือจากหน่วยราชการและประชาชนให้ประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า
- ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค
- สร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงาน
- เร่งรัดการหาแหล่งพลังงานทดแทน
2. การหาเงินตราต่างประเทศ
2.1 การส่งออก
- สนับสนุนการค้าในตลาดภูมิภาคเอเชีย เช่น จีน ออสเตรเลีย และตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น
- สนับสนุนและเร่งรัดการทำงานของคณะผู้แทนทางการค้าระหว่างประเทศ
- ใช้การตลาดเชิงรุกนำสินค้าไปสู่ผู้บริโภคในต่างประเทศโดยตรงผ่านโครงการ Thailand Plaza
- เร่งรัดระบบวิธีการชำระบัญชีของ Account Trade กับประเทศคู่ค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย
- เร่งรัดระบบบริหารจัดการของสินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญโดยเฉพาะการตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกด้วยกันเอง การเจาะตลาด และเข้มงวดกับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าไปยังประเทศที่มีกฎระเบียบด้านสุขอนามัยเข้มงวด เช่น สหภาพยุโรป โดยเฉพาะสิ่งปลอมปนในสินค้า ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพพจน์ของการส่งออกสินค้าไทย
- เร่งรัดโครงการนิยมสินค้าไทยที่มีคุณภาพอย่างจริงจัง
2.2 การท่องเที่ยว
ความปลอดภัย
- เร่งประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย เป็นเมืองพุทธ เป็นประเทศที่มีความปลอดภัย และมีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว
- เพิ่มความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวให้ทั่วทุกพื้นที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวว่าไทยเป็น Safety Destination
ผลิตภัณฑ์
- เร่งพัฒนากิจกรรมต่อเนื่องและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
- เน้นการท่องเที่ยวธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเพื่อสร้างความแตกต่าง (Differentiation) จากการท่องเที่ยวในสังคมทันสมัย
การตลาด
- เร่งทำการตลาดท่องเที่ยวในภูมิภาค (Regional Tour) ของประเทศไทย และจัดระบบแหล่งท่องเที่ยวตามภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกันระหว่างแหล่งท่องเที่ยวหลัก และแหล่งท่องเที่ยวรองในลักษณะที่เป็นวงจรการท่องเที่ยว (Loop) หรือเป็นกลุ่มของแหล่งท่องเที่ยว (Cluster)
- เร่งทำการตลาดเฉพาะกลุ่มโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวสูงอายุที่คาดว่า จะต้องการพำนักอยู่ในประเทศที่มีความปลอดภัยในระยะเวลาที่นานขึ้น (Long Stay)
3. การเงินการคลัง
- เร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐตามแผนงานและโครงการ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2545 ใน 4 ส่วน คือ การเบิกจ่ายงบประมาณของส่วนราชการ งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โครงการเงินกู้ต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ 58,000 ล้านบาท
- ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ เพื่อรักษาความสามารถในการส่งออกและเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
- ดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
4. กิจกรรมการผลิต การลงทุนและการจ้างงาน
- เร่งรัดการปรับโครงสร้างภาคการผลิต รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากควบคู่กันไปภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
- เร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าทางเศรษฐกิจโดยเร็ว ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองทางเศรษฐกิจโดยเร็ว ได้แก่ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองธนาคารประชาชน และธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ของ SMEs
- เร่งรัดโครงการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน (Retraining Program)
- ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ที่สร้างรายได้สูง และหาตลาดใหม่ ๆ ที่ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรได้มากขึ้น เช่น จีน เป็นต้น
5. ราคาสินค้าเกษตร
- กำหนดนโยบายราคาสินค้าเกษตรอย่างเป็นระบบในลักษณะบูรณาการ เพื่อให้มีความเป็นธรรมกับผู้ผลิต
- ร่วมมือกับประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรประเภทเดียวกันในการกำหนดราคาส่งออกที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ผลิตทุกประเทศ
6. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
- เร่งรัดการปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ คุณภาพ และการบริหารจัดการของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมก่อนการกระจายหุ้นสู่สาธารณะ
7. การสร้างขวัญและกำลังใจกับประชาชน
- สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนถึงความพร้อมรับสถานการณ์ของรัฐบาล และการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- สนับสนุนการทำงานด้านการข่าวให้มีประสิทธิภาพ
- เน้นการให้ข่าวและประชาสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ เพื่อรักษาขวัญและกำลังใจของประชาชน
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วนแก่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จากการได้รับผลกระทบในการทำประกันภัย โดยให้ความคุ้มครองชดใช้ค่าเสียหายส่วนเกินจากวงเงิน 50 ล้านเหรียญสหรัฐ จนถึงวงเงินที่มีอยู่เดิม (ประมาณ 1,750-2,000 เหรียญสหรัฐ) สำหรับการคุ้มครองตามกฎหมายต่อการบาดเจ็บ เสียชีวิตและความเสียหายของทรัพย์สินของบุคคลที่สามในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากภัยสงครามรวมทั้งภัยที่เกี่ยวเนื่อง ทั้งนี้ จนกว่าสถานการณ์ตลาดประกันภัยจะคลี่คลายลง
การจัดทำข้อมูลการว่างงาน คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประมาณการกำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงาน ดังนี้
1) ประชากรในปี 2544 มีจำนวนทั้งสิ้น 62.87 ล้านคน
2) กำลังแรงงานรวมเฉลี่ยทั้งปี 33.38 ล้านคน เพิ่มจากปี 2543 ประมาณ 0.16 ล้านคน
3) การมีงานทำ เฉลี่ยทั้งปี 31.36 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนประมาณ 0.07 ล้านคน
4) การว่างงาน เฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1.3 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนประมาณ 0.11 ล้านคนหรือร้อยละ 9.24
5) การทำงานต่ำระดับ ใกล้เคียงกับปีก่อนประมาณ 1 ล้านคน
6. การจัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตบริโภคเศรษฐกิจและสังคม
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จัดทำโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ โดยใช้งบประมาณจากองค์กรภายนอกที่ไม่ใช้เงินงบประมาณของรัฐบาล ยกเว้นค่าเบี้ยเลี้ยงยานพาหนะและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อจะได้หาข้อยุติที่ชัดเจนโดยให้ศึกษาครอบคลุมถึงประเด็นนิเวศน์วิทยา การจ้างงาน ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ประโยชน์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และหลังจากศึกษาเสร็จแล้ว หากพิจารณาว่าเป็นผลดีจะต้องมีการนำไปทำประชาพิจารณ์ต่อไป
7. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ASEAN GSP)
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักเกณฑ์และรายการสินค้าที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลาว พม่า และเวียดนาม เพื่อให้กระทรวงการคลังแจ้งต่อที่ประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 15 ซึ่งประชุมในวันที่ 14 กันยายน 2544 ณ ประเทศเวียดนาม ดังนี้
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ASEAN GSP 1.1 รายการสินค้า ให้สิทธิพิเศษในลักษณะทวิภาคี โดยมีบัญชีรายการ สินค้าที่
จะให้สิทธิพิเศษแยกสำหรับแต่ละประเทศ
1.2 อัตราอากร
1) ราย การที่อยู่ในบัญชีลดภาษี (IL) ของประเทศ CLMV (รายการเหล่านี้ ประเทศ CLMV จะได้รับ CEPT
rates อยู่แล้ว) ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 0
2) รายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL) และบัญชีสินค้าสงวนชั่วคราว (TEL) ของประเทศ CLMV ซึ่งยังไม่มีสิทธิได้รับ CEPT rates ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 5 หรืออัตรา MFN แล้วแต่อัตราใดจะต่ำกว่า
1.3 ระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2552 โดยให้
ครั้งละ 1 ปี (ให้ระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เช่น ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2545) จนถึงวันที่ประเทศ CLMV จะลดภาษีสินค้าใน IL ลงเหลือร้อยละ 0-5 ทั้งนี้ ระยะเวลาที่แต่ละประเทศจะได้รับ GSP จะแตกต่างกันตามกำหนดการลดภาษีของแต่ละประเทศ กล่าวคือ เวียดนาม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ลาวและพม่า ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และกัมพูชา ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552
1.4 กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin)
1) สำหรับสินค้าเกษตรให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) กล่าวคือ เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นทั้งหมด โดยไม่มีการนำเข้าหรือเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกทั้งหมด หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
โดยสินค้าเกษตรให้ความหมายถึง สินค้าในพิกัดตอนที่ 01-24 และรวมถึงสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันในองค์การการค้าโลกในตอนพิกัดอื่น ๆ เช่น ฝ้ายในตอนที่ 52 ไหมในตอนที่ 50 เป็นต้น
2) สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร ให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับมูลค่าวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
ทั้งนี้ ประเทศไทยขอสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งกำเนิดสินค้าด้วย
1.5 การยกเลิก ASEAN GSP ประเทศไทยคงสิทธิที่จะยกเลิก ASEAN GSP ดังนี้
1) หากมูลค่าการนำเข้าของสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP เพิ่มขึ้นร้อยละ 100
2) หากมีผู้ผลิตภายในประเทศร้องเรียนต่อกระทรวงการคลังว่าการนำเข้าสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ โดยผู้ร้องเรียนจะต้องแสดงข้อมูล เพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของตนด้วย เช่น การลดลงของส่วนแบ่งตลาด ราคาขายของผู้ผลิตลดลง และสินค้าคงเหลือมีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
1.6 การทบทวน ให้มีการทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนทุกปี
1.7 สนับสนุนอาฟต้า เพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกนำรายการสินค้ามาลดภาษีในกรอบอาฟต้าเร็วขึ้น จึงพิจารณาให้ ASEAN GSP เฉพาะรายการที่ประเทศ CLMV มีแผนการลดภาษีเท่านั้น ดังนั้น รายการที่อยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษี (GEL) ของประเทศ CLMV จะไม่ได้รับ ASEAN GSP และรายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL) ของไทยซึ่งยังไม่ได้นำมาลดภาษีจะไม่ให้ ASEAN GSP
2. เห็นชอบรายการสินค้าที่ให้ ASEAN GSP แก่ ลาว พม่าและเวียดนาม
2.1 ลาว สินค้าที่ลาวเสนอขอจำนวน 66 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 24 รายการ เช่น กระวาน ถั่วลิสง ไม้จำพวกสน ไม้อัดพลายวูด เมล็ดละหุ่ง หนังสัตว์ และปอกระเจา เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 จำนวน 13 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 11 รายการ
2.2 พม่า จำนวนสินค้าที่พม่าเสนอขอจำนวน 42 รายการ (ปรับตามประเภทพิกัด 9 หลัก ได้ 80 รายการ) ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 30 รายการ เช่น ปู กกและอ้อ ก๊าซธรรมชาติ ฝ้าย บล็อคปูพื้น และส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 จำนวน 19 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 3 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 8 รายการ
2.3 เวียดนาม จำนวนสินค้าที่เวีดนามเสนอขอจำนวน 65 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 19 รายการ เช่น อบเชย แอนทราไซต์ โพลิโครม สายอากาศ เครื่องแต่งกายทำจากหนัง อุปกรณ์ตรวจสอบความดันและเศษเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าเหลือร้อยละ 0 จำนวน 12 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 1 รายการ ลดเหลือร้อยละ 3 จำนวน 2 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 4 รายการ
ทั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการจาก "ASEAN GSP" เป็น "ASEAN Integration System of Preferences หรือ AISP" และในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 (AEM Retreat) ในระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเดิมให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนในลักษณะทวิภาคี (bilateral basis) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง
การเข้าเป็นภาคีความตกลงกาแฟระหว่างประเทศ ฉบับ ปี ค.ศ. 2001 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ในการเข้าเป็นภาคี
ความตกลงกาแฟระหว่างประเทศ ฉบับ ปี ค.ศ. 2001 ของประเทศไทย โดยความตกลงฯ จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 - 30 กันยายน 2550 เนื่องจากความตกลงฯ ฉบับปี ค.ศ. 1994 จะสิ้นสุดอายุลงในวันที่ 30 กันยายน 2544 และมอบให้กระทรวงการต่างประเทศลงนามให้สัตยาบันการเข้าเป็นภาคีสมาชิกดังกล่าวของประเทศไทยไปยังเลขาธิการสหประชาชาติ ภายในวันที่ 25 กันยายน 2544
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-