1.สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำนมดิบ : น้ำนมดิบขาดตลาด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รายงานว่าตามที่มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 ตุลาคม 2542 กำหนดให้หน่วยราชการที่ได้รับงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซื้อนมพร้อมดื่มที่ผลิตจากน้ำนมดิบในประเทศเท่านั้น โดยให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติเป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้แสดงต่อโรงเรียนในการจำหน่ายนมพร้อมดื่มให้กับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ทำให้ตั้งแต่ช่วงเปิดเทอมแรกคือเดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการที่เคยใช้นมผงเป็นวัตถุดิบในการผลิตนมพร้อมดื่มให้แก่โครงการฯ ดังกล่าว ซึ่งบางโรงงานใช้นมผงทั้งหมด และบางโรงงานใช้นมผงเป็นบางส่วนต้องหันไปใช้น้ำนมดิบทั้งหมด ส่งผลให้ความต้องการน้ำนมดิบเพิ่มสูงขึ้นถึงวันละประมาณ 1,200 ตัน จากน้ำนมดิบที่ผลิตได้วันละประมาณ 1,300 ตัน นอกจากนี้ยังสามารถระบายนม UHT ที่เก็บ Stock ไว้ตั้งแต่เกิดปัญหานมล้นในช่วงปิดเทอมออกไปได้ อันเป็นผลมาจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาภาวะนมล้นตลาดไปได้ในระยะนี้ แต่อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหานมล้นได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดจริงจังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความซื่อตรงของผู้ประกอบการและผู้จัดซื้อเป็นสำคัญ
อนึ่ง แม้ว่าในช่วงเปิดเทอมแรกของปี 2543 นี้ ปัญหาน้ำนมดิบจะทุเลาลงไปได้ก็ตาม แต่ขณะนี้ผู้ประกอบการที่เคยต้องรับการจัดสรรโควตาน้ำนมดิบในช่วงที่มีปัญหาน้ำนมดิบล้นต้องการจะขอคืนโควตาให้แก่ อ.ส.ค. เพราะนอกเหนือจากนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนแล้ว ผู้ประกอบการสามารถจะใช้นมผงซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตนมพร้อมดื่มเพื่อขายในตลาดทั่วไปได้ ซึ่งหากผู้ประกอบการดังกล่าวคืนโควตากลับให้แก่ อ.ส.ค.แล้ว อาจทำให้ปัญหาน้ำนมดิบล้นกลับมาอีกได้ ซึ่งชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยกำลังหาทางแก้ไขอยู่ในขณะนี้
น้ำท่วม : สถานการณ์น้ำท่วม
เขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 4 จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในท้องที่จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 10 -20 มิถุนายน 2543 ว่าสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกติดต่อกันมาตั้งแต่ต้นฤดู และมีพายุดีเปรสชั่นเข้ามาถึง 2 ลูก ทำให้ฝนตกอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะบริเวณเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ทางเขื่อนต้องระบายน้ำลงสู่แม่น้ำชี ทำให้ระดับน้ำชีล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าสู่ที่ลุ่มบริเวณสองฝั่งแม่น้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา เกษตรกรได้ทำการตกกล้าและเพาะปลูกไปเพียงเล็กน้อย ถ้าหากน้ำลดลงเร็วก็จะสามารถเพาะปลูกข้าวนาปีได้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก จากการประเมินสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเบื้องต้นของจังหวัดมหาสารคาม (ยังไม่ใช่พื้นที่เสียหายสิ้นเชิง) พื้นที่ประสบภัย ได้แก่ นาข้าว มีจำนวนทั้งสิ้น 42,874 ไร่ ใน 8 อำเภอ 47 ตำบล ได้แก่อำเภอเมืองมีพื้นที่ประสบภัย 25,605 ไร่ อำเภอโกสุมพิสัยมีพื้นที่ประสบภัย 5,600 ไร่ อำเภอแกดำ มีพื้นที่ประสบภัย 3,286 ไร่ อำเภอเชียงยืนมีพื้นที่ประสบภัย 1,150 ไร่ อำเภอนาดูน มีพื้นที่ประสบภัย 1,000 ไร่ อำเภอกันทรวิชัยมีพื้นที่ประสบภัย 1,100 ไร่ อำเภอวาปีปทุมมีพื้นที่ประสบภัย 5,000 ไร่ และอำเภอบรบือมีพื้นที่ประสบภัย 133 ไร่ สำหรับรายงานความคืบหน้าในเรื่องนี้เขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 4 จะติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานให้ทราบเป็นระยะไป
กนข. : กนข. อนุมัติโครงการรับจำนำข้าวสาร ปี 2542/2543
คณะกรรมการนโยบายข้าวอนุมัติโครงการรับจำนำข้าวสาร ปี 2542/2543 ในการประชุมครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 เพื่อเป็นมาตรการเสริมในการแก้ไข ปัญหาระดับราคาข้าวเปลือกตกต่ำ นอกเหนือจากการรับซื้อข้าวสารจากโรงสีทั่วไป โดยให้องค์การคลังสินค้ารับจำนำข้าวสารในโกดังกลาง จำนวน 500,000 ตัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในระยะเวลาที่ข้าวเปลือกมีราคาตกต่ำ เกษตรกรจะมีเงินไปหมุนเวียนใช้จ่ายได้ก่อน และสามารถรอขายข้าวเปลือกในช่วงเวลาที่ราคาสูงได้ ซึ่งโครงการนี้มีวิธีดำเนินการ ดังนี้
1.อคส.จะรับฝากรับจำนำข้าวสารตามมูลค่าข้าวเปลือกจากเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ที่นำมาจำนำ โดย
1.1 เกษตรกรขอหนังสือรับรองการเป็นเกษตรกร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น ลูกค้าของ ธ.ก.ส.
1.2 เมื่อ ธ.ก.ส. ออกหนังสือรับรองให้เกษตรกรแล้ว เกษตรกรนำข้าวเปลือกพร้อมหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประชาชนไปส่งมอบโรงสีเพื่อจำนำ
1.3 โรงสีตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกและน้ำหนัก แล้วออกใบรับสินค้าชั่วคราวให้เกษตรกร และโรงสีทำการแปรสภาพเป็นข้าวสารส่งมอบให้ อคส. พร้อมเอกสาร
1.4 อคส. ประจำคลังสินค้าตรวจสอบเอกสาร คุณภาพและน้ำหนัก-ข้าวสาร โดยพนักงานของบริษัทที่ อคส. จ้าง แล้วส่งมอบข้าวสารให้ อคส. เก็บรักษาในคลังสินค้ากลาง แล้ว อคส. ออกใบประทวนสินค้าและใบรับของคลังสินค้าให้เกษตรกร 1.5 เกษตรกรนำใบประทวนพร้อมใบรับของคลังสินค้าไปขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. เพื่อรับเงินกู้จาก ธ.ก.ส.
2. คุณภาพข้าวสาร จะต้องเป็นข้าวสารในฤดูการผลิต ปี 2542/2543 ตามประกาศมาตรฐานสินค้าข้าวของกระทรวงพาณิชย์ 3. ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำในอัตราร้อยละ 95 ของราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือก ดังนี้
4. การเก็บรักษา จะเก็บรักษา ข้าวที่รับจำนำในคลังสินค้ากลาง ซึ่ง อคส.จัดหาไว้ในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
5. การไถ่ถอน กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับตั้งแต่วันที่ เกษตรกรกู้ยืมเงินกับ ธ.ก.ส.
ระยะเวลาดำเนินการ
1. ระยะเวลารับฝากรับจำนำ มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2543
2. ระยะเวลาโครงการ มิถุนายน - 31 ธันวาคม 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 19 - 25 มิ.ย. 2543--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
น้ำนมดิบ : น้ำนมดิบขาดตลาด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รายงานว่าตามที่มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 ตุลาคม 2542 กำหนดให้หน่วยราชการที่ได้รับงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซื้อนมพร้อมดื่มที่ผลิตจากน้ำนมดิบในประเทศเท่านั้น โดยให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติเป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้แสดงต่อโรงเรียนในการจำหน่ายนมพร้อมดื่มให้กับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ทำให้ตั้งแต่ช่วงเปิดเทอมแรกคือเดือนพฤษภาคม 2543 เป็นต้นมา ผู้ประกอบการที่เคยใช้นมผงเป็นวัตถุดิบในการผลิตนมพร้อมดื่มให้แก่โครงการฯ ดังกล่าว ซึ่งบางโรงงานใช้นมผงทั้งหมด และบางโรงงานใช้นมผงเป็นบางส่วนต้องหันไปใช้น้ำนมดิบทั้งหมด ส่งผลให้ความต้องการน้ำนมดิบเพิ่มสูงขึ้นถึงวันละประมาณ 1,200 ตัน จากน้ำนมดิบที่ผลิตได้วันละประมาณ 1,300 ตัน นอกจากนี้ยังสามารถระบายนม UHT ที่เก็บ Stock ไว้ตั้งแต่เกิดปัญหานมล้นในช่วงปิดเทอมออกไปได้ อันเป็นผลมาจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาภาวะนมล้นตลาดไปได้ในระยะนี้ แต่อย่างไรก็ตามมาตรการดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหานมล้นได้มากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดจริงจังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และความซื่อตรงของผู้ประกอบการและผู้จัดซื้อเป็นสำคัญ
อนึ่ง แม้ว่าในช่วงเปิดเทอมแรกของปี 2543 นี้ ปัญหาน้ำนมดิบจะทุเลาลงไปได้ก็ตาม แต่ขณะนี้ผู้ประกอบการที่เคยต้องรับการจัดสรรโควตาน้ำนมดิบในช่วงที่มีปัญหาน้ำนมดิบล้นต้องการจะขอคืนโควตาให้แก่ อ.ส.ค. เพราะนอกเหนือจากนมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนแล้ว ผู้ประกอบการสามารถจะใช้นมผงซึ่งมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่ามาเป็นวัตถุดิบในการผลิตนมพร้อมดื่มเพื่อขายในตลาดทั่วไปได้ ซึ่งหากผู้ประกอบการดังกล่าวคืนโควตากลับให้แก่ อ.ส.ค.แล้ว อาจทำให้ปัญหาน้ำนมดิบล้นกลับมาอีกได้ ซึ่งชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยกำลังหาทางแก้ไขอยู่ในขณะนี้
น้ำท่วม : สถานการณ์น้ำท่วม
เขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 4 จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานสถานการณ์น้ำท่วมในท้องที่จังหวัดมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 10 -20 มิถุนายน 2543 ว่าสาเหตุที่เกิดน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกติดต่อกันมาตั้งแต่ต้นฤดู และมีพายุดีเปรสชั่นเข้ามาถึง 2 ลูก ทำให้ฝนตกอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะบริเวณเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ทางเขื่อนต้องระบายน้ำลงสู่แม่น้ำชี ทำให้ระดับน้ำชีล้นตลิ่งไหลบ่าเข้าสู่ที่ลุ่มบริเวณสองฝั่งแม่น้ำซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นา เกษตรกรได้ทำการตกกล้าและเพาะปลูกไปเพียงเล็กน้อย ถ้าหากน้ำลดลงเร็วก็จะสามารถเพาะปลูกข้าวนาปีได้ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก จากการประเมินสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมเบื้องต้นของจังหวัดมหาสารคาม (ยังไม่ใช่พื้นที่เสียหายสิ้นเชิง) พื้นที่ประสบภัย ได้แก่ นาข้าว มีจำนวนทั้งสิ้น 42,874 ไร่ ใน 8 อำเภอ 47 ตำบล ได้แก่อำเภอเมืองมีพื้นที่ประสบภัย 25,605 ไร่ อำเภอโกสุมพิสัยมีพื้นที่ประสบภัย 5,600 ไร่ อำเภอแกดำ มีพื้นที่ประสบภัย 3,286 ไร่ อำเภอเชียงยืนมีพื้นที่ประสบภัย 1,150 ไร่ อำเภอนาดูน มีพื้นที่ประสบภัย 1,000 ไร่ อำเภอกันทรวิชัยมีพื้นที่ประสบภัย 1,100 ไร่ อำเภอวาปีปทุมมีพื้นที่ประสบภัย 5,000 ไร่ และอำเภอบรบือมีพื้นที่ประสบภัย 133 ไร่ สำหรับรายงานความคืบหน้าในเรื่องนี้เขตเกษตรเศรษฐกิจที่ 4 จะติดตามอย่างใกล้ชิดและรายงานให้ทราบเป็นระยะไป
กนข. : กนข. อนุมัติโครงการรับจำนำข้าวสาร ปี 2542/2543
คณะกรรมการนโยบายข้าวอนุมัติโครงการรับจำนำข้าวสาร ปี 2542/2543 ในการประชุมครั้งที่ 6/2543 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2543 เพื่อเป็นมาตรการเสริมในการแก้ไข ปัญหาระดับราคาข้าวเปลือกตกต่ำ นอกเหนือจากการรับซื้อข้าวสารจากโรงสีทั่วไป โดยให้องค์การคลังสินค้ารับจำนำข้าวสารในโกดังกลาง จำนวน 500,000 ตัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรในระยะเวลาที่ข้าวเปลือกมีราคาตกต่ำ เกษตรกรจะมีเงินไปหมุนเวียนใช้จ่ายได้ก่อน และสามารถรอขายข้าวเปลือกในช่วงเวลาที่ราคาสูงได้ ซึ่งโครงการนี้มีวิธีดำเนินการ ดังนี้
1.อคส.จะรับฝากรับจำนำข้าวสารตามมูลค่าข้าวเปลือกจากเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ที่นำมาจำนำ โดย
1.1 เกษตรกรขอหนังสือรับรองการเป็นเกษตรกร เพื่อขึ้นทะเบียนเป็น ลูกค้าของ ธ.ก.ส.
1.2 เมื่อ ธ.ก.ส. ออกหนังสือรับรองให้เกษตรกรแล้ว เกษตรกรนำข้าวเปลือกพร้อมหนังสือรับรองและสำเนาบัตรประชาชนไปส่งมอบโรงสีเพื่อจำนำ
1.3 โรงสีตรวจสอบคุณภาพข้าวเปลือกและน้ำหนัก แล้วออกใบรับสินค้าชั่วคราวให้เกษตรกร และโรงสีทำการแปรสภาพเป็นข้าวสารส่งมอบให้ อคส. พร้อมเอกสาร
1.4 อคส. ประจำคลังสินค้าตรวจสอบเอกสาร คุณภาพและน้ำหนัก-ข้าวสาร โดยพนักงานของบริษัทที่ อคส. จ้าง แล้วส่งมอบข้าวสารให้ อคส. เก็บรักษาในคลังสินค้ากลาง แล้ว อคส. ออกใบประทวนสินค้าและใบรับของคลังสินค้าให้เกษตรกร 1.5 เกษตรกรนำใบประทวนพร้อมใบรับของคลังสินค้าไปขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. เพื่อรับเงินกู้จาก ธ.ก.ส.
2. คุณภาพข้าวสาร จะต้องเป็นข้าวสารในฤดูการผลิต ปี 2542/2543 ตามประกาศมาตรฐานสินค้าข้าวของกระทรวงพาณิชย์ 3. ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำในอัตราร้อยละ 95 ของราคาเป้าหมายนำข้าวเปลือก ดังนี้
4. การเก็บรักษา จะเก็บรักษา ข้าวที่รับจำนำในคลังสินค้ากลาง ซึ่ง อคส.จัดหาไว้ในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
5. การไถ่ถอน กำหนดระยะเวลาไถ่ถอน 4 เดือน นับตั้งแต่วันที่ เกษตรกรกู้ยืมเงินกับ ธ.ก.ส.
ระยะเวลาดำเนินการ
1. ระยะเวลารับฝากรับจำนำ มิถุนายน - 31 สิงหาคม 2543
2. ระยะเวลาโครงการ มิถุนายน - 31 ธันวาคม 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 20 ประจำวันที่ 19 - 25 มิ.ย. 2543--
-สส-