แท็ก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
1. การปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 ปรับปรุง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสนับสนุนการลงทุนของสถาบันการเงิน ดังนี้
การอนุญาตให้สถาบันการเงินที่มีการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือหุ้นสามัญและหุ้น บุริมสิทธิ์ (รวมถึง หุ้นกู้ในกรณีของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ในบริษัทลูกหนี้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจาก การมีหุ้นตามหลักเณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ของ ธปท. นั้น ให้ครอบคลุมถึงกรณีหุ้นของบริษัทอื่นที่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ หุ้นของผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่นำมาชำระหนี้ และการถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าถือหุ้นหรือฟื้นฟูบริษัทลูกหนี้ด้วย
แต่ทั้งนี้ จะต้องลดสัดส่วนการถือหุ้น ให้เหลือรวมกันไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในทันทีที่สามารถทำได้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจากธนาคารแห่งประเทศไทย และการลดสัดส่วน ดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลขาดทุนแก่สถาบันการเงิน เว้นแต่ กรณีดังนี้
1) การจำหน่ายหุ้นของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจำหน่าย ในราคาไม่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) หรือราคาปิด (Close Price) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนวันที่สถาบันการเงินจำหน่ายหลักทรัพย์ ดังกล่าว 1 วันทำการ
2) การจำหน่ายหุ้นของบริษัทจำกัด ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจำหน่ายในราคาที่ผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินรับรองความเหมาะสมของราคาที่จำหน่ายหุ้น ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่มีความเชี่ยวชาญในการ รับรองความเหมาะสมของราคาดังกล่าว ผู้สอบบัญชีสามารถหาผู้เชี่ยวชาญมารับรองความ เหมาะสมของราคาดังกล่าวได้ โดยให้ถือว่าเป็นราคาที่รับรองโดยผู้สอบบัญชี
3) กรณีอื่นที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง การคำนวณว่าการจำหน่าย หลักทรัพย์ก่อให้เกิดผลขาดทุนหรือไม่นั้น ให้ เปรียบเทียบราคาที่จำหน่ายกับราคาที่บันทึกบัญชี ณ วันที่ได้รับหุ้น
2. การปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทาง การเงินแก่ผู้ประกอบการในภาคเศรษฐกิจสำคัญ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 7 สิงหาคม 2544 แก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ ในภาคเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ในปัจจุบัน โดยจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการรายใหม่แต่ละรายเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี ตามระเบียบและหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย (รวม 8 ฉบับ)
สำหรับระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการค้าพืชผลเกษตร การเก็บรักษา สินค้าไว้ในคลังสินค้า การขายข้าวสารของ ผู้ประกอบกิจการโรงสี ซึ่งเดิมไม่มีการกำหนดเวลานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการรายเดิมต่อไปอีกเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ในหนังสือฉบับนี้
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงระเบียบการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่เกิดจากการประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ พ.ศ. 2531 โดยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน ในอัตราที่ลดลงจากเดิมร้อยละ 5 ต่อปี เป็นร้อยละ 3 ต่อปี และเพิ่มสัดส่วนจำนวนเงินที่รับซื้อจากเดิมอัตราร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 60 ของจำนวนเงิน ในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
3. การปรับปรุงวิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเงินให้สินเชื่อ (MRR)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 10 สิงหาคม 2544 เรื่อง การปรับปรุงวิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ให้ธนาคารพาณิชย์คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจากลูกค้าทั่วไป เท่ากับอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศบวกส่วนต่างสูงสุดไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคาร ต่างประเทศมีความเสมอภาคในการแข่งขันเสนอบริการสินเชื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของ ลูกค้ารูปแบบต่างๆ มากขึ้น
ทั้งนี้ ให้จัดส่งข้อมูลต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย ณ วันสิ้นเดือนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรายไตรมาส
4. การประกอบธุรกรรมซื้อคืน ภาคเอกชน (Private Repo) ของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศแก่ธนาคารพาณิชย์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2544 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาค เอกชน เพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนให้สถาบันการเงิน ทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะ ซื้อคืนหรือขายคืนระหว่างกัน ดังนี้
1) กำหนดความหมายของ “ธุรกรรม ซื้อคืนภาคเอกชน” ได้แก่ การประกอบธุรกรรม ซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือ ซื้อคืนเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงินหรือกู้ยืมเงินตามแต่กรณีในระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน โดยมีหลักประกันเป็นตราสาร
2) ให้นับมูลค่าตราสารที่ธนาคารพาณิชย์โอนเป็นหลักประกันในส่วนที่เกินเงินกู้ยืมที่ได้รับมารวมกับเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันแก่สถาบันการเงินนั้น หากเกินอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เกี่ยวกับการให้สินเชื่อ หรือลงทุน หรือก่อภาระ ผูกพันรายใหญ่ ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินนั้นผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนไม่ได้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติถูกต้องตามที่กล่าวขณะทำธุรกรรม แต่ต่อมาอัตราส่วนที่กล่าวรวมกันแล้วเกินกว่าที่กำหนดไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมเงินจากสถาบัน การเงินนั้นผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนอีกไม่ได้ ส่วนการกู้ยืมเงินผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว มีผลผูกพันต่อไปตามสัญญา ที่ทำไว้
3) การคำนวณอัตราส่วนตามข้อ 2) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าลดลง ถ้าธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงินถูกเรียกมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับลดยอดเงินกู้ยืมลงเท่าจำนวนเงินมาร์จินที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าถูกเรียกมาร์จินเป็นตราสาร ให้ปรับมูลค่าตราสารที่โอนเป็นหลักประกันโดยรวมตราสารที่เป็นมาร์จินเพิ่มขึ้นด้วย ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถ้าธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงินได้รับคืนมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับเพิ่มยอดเงินกู้ยืมขึ้นเท่าจำนวนเงินที่ได้รับนั้น แต่ถ้าได้รับคืนมาร์จินเป็นตราสาร ให้ลดจำนวนตราสารที่เป็นหลักประกันลงตามจำนวนตราสารที่ได้รับคืน
4) มูลค่าตราสารให้ใช้ราคาตลาด
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
5. การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนหรือรับจ้างบริหาร สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 29 สิงหาคม 2544 อนุญาตให้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) ให้รวมถึงธุรกิจการเป็นตัวแทนหรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ รวมทั้งกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร สินทรัพย์ดังกล่าวของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับ แนวทางการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 โดยมีเงื่อนไขว่าธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแยกต่างหากจาก กิจการอื่นของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัตินับแต่วันที่มีการโอน สินทรัพย์ด้อยคุณภาพแก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นต้นไป
6. การผ่อนคลายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ ให้กู้ยืมแก่ผู้ดำเนินกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 27 สิงหาคม 2544 แก่ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เพื่อผ่อนคลายเงื่อนไขการ ให้เช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินให้สินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยให้แก่ผู้ดำเนินกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนได้ไม่เกิน ร้อยละ 5 ของเงินให้สินเชื่อรวม เพื่อให้สถาบัน การเงินสามารถให้สินเชื่อได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับความต้องการเงินทุนของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ให้สถาบันการเงินปิดประกาศหลักเกณฑ์การเรียกเก็บเงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชำระ ครั้งแรกทันทีที่ทำสัญญา ระยะเวลาการผ่อนชำระ และเงื่อนไขการยึดรถยนต์และริบเงินรายงวด ที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระไปแล้วไว้ในที่เปิดเผย ภายในสำนักงานทุกแห่งที่ใช้ติดต่อกับประชาชน
7. การปรับปรุงข้อพึงปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ปรับปรุง ข้อพึงปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขาย เงินตราต่างประเทศ ดังนี้
1) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำการ ซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์เป็นจำนวนเงินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการ ซื้อขายแต่ละรายการจะต้องไม่มีเศษของหลักแสน
2) การยืนยันการซื้อหรือขายเงินดอลลาร์ สรอ. และการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีและธนาคารตัวแทนซึ่งจะเป็นผู้รับหรือส่งมอบเงินดอลลาร์ สรอ. ให้ส่งผ่านระบบ SWIFT (The Society of Worldwide Interbank Financial Telecommunication) ทันทีหลังการตกลงซื้อขาย
3) การส่งมอบเงินดอลลาร์ สรอ. และ เงินบาทให้กระทำภายใน 2 วันทำการ หลังจาก วันที่ตกลงทำการซื้อขาย (value spot) เว้นแต่ จะตกลงเป็นอย่างอื่น
(1) การส่งมอบเงินดอลลาร์ สรอ. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ Federal Reserve Bank of New York ต้องไม่เกินเวลา 11.00 น. (เวลาในนครนิวยอร์ค) ของวันที่กำหนดส่งมอบ
(2) การส่งมอบเงินบาทให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้โอนผ่านระบบบาทเนตภายในเวลา 16.00 น.ของวันที่กำหนดส่งมอบ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2544 เป็นต้นไป
8. ขอบเขตการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 อนุญาตให้กิจการวิเทศ ธนกิจทำธุรกรรมประกันความเสี่ยงจากการ เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน สำหรับเงินกู้และเงินให้กู้ยืมของตนเอง และเงินที่ ให้กู้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ กิจการวิเทศธนกิจอื่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือลูกค้าในประเทศที่กิจการวิเทศธนกิจให้กู้เป็น เงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ ได้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 ปรับปรุง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และสนับสนุนการลงทุนของสถาบันการเงิน ดังนี้
การอนุญาตให้สถาบันการเงินที่มีการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถือหุ้นสามัญและหุ้น บุริมสิทธิ์ (รวมถึง หุ้นกู้ในกรณีของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) ในบริษัทลูกหนี้เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจาก การมีหุ้นตามหลักเณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ของ ธปท. นั้น ให้ครอบคลุมถึงกรณีหุ้นของบริษัทอื่นที่ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้นำมาชำระหนี้ หุ้นของผู้ค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ที่นำมาชำระหนี้ และการถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเข้าถือหุ้นหรือฟื้นฟูบริษัทลูกหนี้ด้วย
แต่ทั้งนี้ จะต้องลดสัดส่วนการถือหุ้น ให้เหลือรวมกันไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในทันทีที่สามารถทำได้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2547 เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นกรณีพิเศษจากธนาคารแห่งประเทศไทย และการลดสัดส่วน ดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดผลขาดทุนแก่สถาบันการเงิน เว้นแต่ กรณีดังนี้
1) การจำหน่ายหุ้นของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจำหน่าย ในราคาไม่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) หรือราคาปิด (Close Price) ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนวันที่สถาบันการเงินจำหน่ายหลักทรัพย์ ดังกล่าว 1 วันทำการ
2) การจำหน่ายหุ้นของบริษัทจำกัด ที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งจำหน่ายในราคาที่ผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินรับรองความเหมาะสมของราคาที่จำหน่ายหุ้น ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีไม่มีความเชี่ยวชาญในการ รับรองความเหมาะสมของราคาดังกล่าว ผู้สอบบัญชีสามารถหาผู้เชี่ยวชาญมารับรองความ เหมาะสมของราคาดังกล่าวได้ โดยให้ถือว่าเป็นราคาที่รับรองโดยผู้สอบบัญชี
3) กรณีอื่นที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
อนึ่ง การคำนวณว่าการจำหน่าย หลักทรัพย์ก่อให้เกิดผลขาดทุนหรือไม่นั้น ให้ เปรียบเทียบราคาที่จำหน่ายกับราคาที่บันทึกบัญชี ณ วันที่ได้รับหุ้น
2. การปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทาง การเงินแก่ผู้ประกอบการในภาคเศรษฐกิจสำคัญ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 7 สิงหาคม 2544 แก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัท เงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ปรับปรุงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ ในภาคเศรษฐกิจสำคัญให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ในปัจจุบัน โดยจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการรายใหม่แต่ละรายเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี ตามระเบียบและหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย (รวม 8 ฉบับ)
สำหรับระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบกิจการค้าพืชผลเกษตร การเก็บรักษา สินค้าไว้ในคลังสินค้า การขายข้าวสารของ ผู้ประกอบกิจการโรงสี ซึ่งเดิมไม่มีการกำหนดเวลานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการรายเดิมต่อไปอีกเป็นเวลาไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ในหนังสือฉบับนี้
นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงระเบียบการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่เกิดจากการประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ พ.ศ. 2531 โดยจะเรียกเก็บดอกเบี้ยจากสถาบันการเงิน ในอัตราที่ลดลงจากเดิมร้อยละ 5 ต่อปี เป็นร้อยละ 3 ต่อปี และเพิ่มสัดส่วนจำนวนเงินที่รับซื้อจากเดิมอัตราร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 60 ของจำนวนเงิน ในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรับซื้อ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
3. การปรับปรุงวิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเงินให้สินเชื่อ (MRR)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 10 สิงหาคม 2544 เรื่อง การปรับปรุงวิธีคำนวณอัตราดอกเบี้ย MRR ที่ให้ธนาคารพาณิชย์คิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดจากลูกค้าทั่วไป เท่ากับอัตราดอกเบี้ย MLR ที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศบวกส่วนต่างสูงสุดไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาธนาคาร ต่างประเทศมีความเสมอภาคในการแข่งขันเสนอบริการสินเชื่อเพื่อตอบสนองความต้องการของ ลูกค้ารูปแบบต่างๆ มากขึ้น
ทั้งนี้ ให้จัดส่งข้อมูลต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย ณ วันสิ้นเดือนให้ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นรายไตรมาส
4. การประกอบธุรกรรมซื้อคืน ภาคเอกชน (Private Repo) ของธนาคารพาณิชย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศแก่ธนาคารพาณิชย์ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2544 เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาค เอกชน เพื่อให้เป็นไปตามแนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนให้สถาบันการเงิน ทำธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะ ซื้อคืนหรือขายคืนระหว่างกัน ดังนี้
1) กำหนดความหมายของ “ธุรกรรม ซื้อคืนภาคเอกชน” ได้แก่ การประกอบธุรกรรม ซื้อขายหลักทรัพย์โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือ ซื้อคืนเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงินหรือกู้ยืมเงินตามแต่กรณีในระหว่างสถาบันการเงินด้วยกัน โดยมีหลักประกันเป็นตราสาร
2) ให้นับมูลค่าตราสารที่ธนาคารพาณิชย์โอนเป็นหลักประกันในส่วนที่เกินเงินกู้ยืมที่ได้รับมารวมกับเงินที่ธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ หรือลงทุน หรือก่อภาระผูกพันแก่สถาบันการเงินนั้น หากเกินอัตราส่วนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เกี่ยวกับการให้สินเชื่อ หรือลงทุน หรือก่อภาระ ผูกพันรายใหญ่ ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินนั้นผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนไม่ได้ ในกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติถูกต้องตามที่กล่าวขณะทำธุรกรรม แต่ต่อมาอัตราส่วนที่กล่าวรวมกันแล้วเกินกว่าที่กำหนดไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ธนาคารพาณิชย์จะกู้ยืมเงินจากสถาบัน การเงินนั้นผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนอีกไม่ได้ ส่วนการกู้ยืมเงินผ่านธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน ที่เกิดขึ้นก่อนแล้ว มีผลผูกพันต่อไปตามสัญญา ที่ทำไว้
3) การคำนวณอัตราส่วนตามข้อ 2) ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าลดลง ถ้าธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงินถูกเรียกมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับลดยอดเงินกู้ยืมลงเท่าจำนวนเงินมาร์จินที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าถูกเรียกมาร์จินเป็นตราสาร ให้ปรับมูลค่าตราสารที่โอนเป็นหลักประกันโดยรวมตราสารที่เป็นมาร์จินเพิ่มขึ้นด้วย ในกรณีที่ตราสารที่เป็นหลักประกันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ถ้าธนาคารพาณิชย์ผู้กู้ยืมเงินได้รับคืนมาร์จินเป็นเงินสด ให้ปรับเพิ่มยอดเงินกู้ยืมขึ้นเท่าจำนวนเงินที่ได้รับนั้น แต่ถ้าได้รับคืนมาร์จินเป็นตราสาร ให้ลดจำนวนตราสารที่เป็นหลักประกันลงตามจำนวนตราสารที่ได้รับคืน
4) มูลค่าตราสารให้ใช้ราคาตลาด
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
5. การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนหรือรับจ้างบริหาร สินทรัพย์ด้อยคุณภาพของบรรษัทบริหาร สินทรัพย์ไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 29 สิงหาคม 2544 อนุญาตให้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) ให้รวมถึงธุรกิจการเป็นตัวแทนหรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ รวมทั้งกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหาร สินทรัพย์ดังกล่าวของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับ แนวทางการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 โดยมีเงื่อนไขว่าธนาคารพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบการบัญชีและการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่เป็นตัวแทนรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแยกต่างหากจาก กิจการอื่นของธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัตินับแต่วันที่มีการโอน สินทรัพย์ด้อยคุณภาพแก่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย เป็นต้นไป
6. การผ่อนคลายแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ ให้กู้ยืมแก่ผู้ดำเนินกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 27 สิงหาคม 2544 แก่ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานวิเทศธนกิจ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เพื่อผ่อนคลายเงื่อนไขการ ให้เช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน โดยได้ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินให้สินเชื่อที่สถาบันการเงินปล่อยให้แก่ผู้ดำเนินกิจการให้เช่าซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนได้ไม่เกิน ร้อยละ 5 ของเงินให้สินเชื่อรวม เพื่อให้สถาบัน การเงินสามารถให้สินเชื่อได้เพิ่มขึ้นสอดคล้องกับความต้องการเงินทุนของผู้ประกอบการ
นอกจากนี้ ให้สถาบันการเงินปิดประกาศหลักเกณฑ์การเรียกเก็บเงินที่ผู้เช่าซื้อต้องชำระ ครั้งแรกทันทีที่ทำสัญญา ระยะเวลาการผ่อนชำระ และเงื่อนไขการยึดรถยนต์และริบเงินรายงวด ที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระไปแล้วไว้ในที่เปิดเผย ภายในสำนักงานทุกแห่งที่ใช้ติดต่อกับประชาชน
7. การปรับปรุงข้อพึงปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนลงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ปรับปรุง ข้อพึงปฏิบัติของธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขาย เงินตราต่างประเทศ ดังนี้
1) ธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำการ ซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารพาณิชย์เป็นจำนวนเงินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการ ซื้อขายแต่ละรายการจะต้องไม่มีเศษของหลักแสน
2) การยืนยันการซื้อหรือขายเงินดอลลาร์ สรอ. และการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีและธนาคารตัวแทนซึ่งจะเป็นผู้รับหรือส่งมอบเงินดอลลาร์ สรอ. ให้ส่งผ่านระบบ SWIFT (The Society of Worldwide Interbank Financial Telecommunication) ทันทีหลังการตกลงซื้อขาย
3) การส่งมอบเงินดอลลาร์ สรอ. และ เงินบาทให้กระทำภายใน 2 วันทำการ หลังจาก วันที่ตกลงทำการซื้อขาย (value spot) เว้นแต่ จะตกลงเป็นอย่างอื่น
(1) การส่งมอบเงินดอลลาร์ สรอ. ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ Federal Reserve Bank of New York ต้องไม่เกินเวลา 11.00 น. (เวลาในนครนิวยอร์ค) ของวันที่กำหนดส่งมอบ
(2) การส่งมอบเงินบาทให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ให้โอนผ่านระบบบาทเนตภายในเวลา 16.00 น.ของวันที่กำหนดส่งมอบ
ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2544 เป็นต้นไป
8. ขอบเขตการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2544 อนุญาตให้กิจการวิเทศ ธนกิจทำธุรกรรมประกันความเสี่ยงจากการ เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน สำหรับเงินกู้และเงินให้กู้ยืมของตนเอง และเงินที่ ให้กู้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ กิจการวิเทศธนกิจอื่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือลูกค้าในประเทศที่กิจการวิเทศธนกิจให้กู้เป็น เงินตราต่างประเทศ นอกจากนี้ ได้ยกเลิกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543
ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2544
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-