กรุงเทพฯ--8 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่นาย John Powel ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียของ โครงการอาหารโลก (World Food Program - WFP) และ Dr. Bjorn Melgaard ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization — WHO) ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะและยื่นอักษรสาสน์ตราตั้งเป็นผู้แทนองค์การระหว่างประเทศในประเทศไทย ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ฝ่ายไทยได้ขอให้โครงการอาหารโลกซึ่งจัดตั้งสำนักงานครั้งแรกในประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในทางมนุษยธรรมทั่วโลก ซื้อสินค้าจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น ข้าว ปลากระป๋อง ถั่วเหลือง ซึ่งจะเป็นการช่วยราคาพืชผลการเกษตรในประเทศไทย เนื่องจากในระยะเวลา 10 กว่าปีที่แล้วโครงการอาหารโลกซื้ออาหารจากไทยมูลค่ารวม 300 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในช่วงหลังมีการซื้ออาหารจากไทยน้อยลง เช่น เมื่อปี 2539 โครงการอาหารโลกซื้ออาหารจากไทยมูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2542 ลดลงเหลือ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. ฝ่ายไทยได้แสดงความขอบคุณต่อโครงการอาหารโลกที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งข้าวจำนวน 3,000 ตันซึ่งรัฐบาลไทยได้อนุมัติจัดส่งให้ผู้อพยพในอัฟกานิสถานและปากีสถาน โดยโครงการอาหารโลกจะช่วยดูแลการจัดส่งข้าวไปยังประเทศดังกล่าวต่อไป
3. สำหรับการหารือกับผู้แทนองค์การอนามัยโลก ได้มีการพูดถึงความร่วมมือในเรื่องโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคอื่นๆ ที่ปรากฏตามชายแดน ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งผู้แทนองค์การอนามัยโลกว่า ปัจจุบันมีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และได้มีการหารือกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการส่งแรงงานกลับถิ่นฐานเดิม ฝ่ายไทยประสงค์ให้มีมาตรการควบคุมสุขอนามัยบริเวณพรมแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประเทศไทยแล้วสามารถเดินทางในประเทศทั่วทุกแห่ง ดังนั้น หากมีโรคติดต่อสายพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาก็จะสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยและเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก ในการนี้ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกซึ่งได้รับ มอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบประเทศไทยและประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมดได้แสดงความพร้อม ที่จะให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว
4. โดยที่ปัจจุบันไทยมีความก้าวหน้าในการผลิตยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฝ่ายไทยจึงขอให้ผู้แทนองค์การอนามัยพิจารณาซื้อยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากไทย เพื่อใช้ในการให้ความช่วยเหลือประเทศไทยและประเทศในภูมิภาค ซึ่งผู้แทนองค์การอนามัยโลกรับที่จะพิจารณาในเรื่องนี้
5. นอกจากนี้ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกได้แสดงความพอใจการดำเนินการของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับปัญหาโรคเอดส์ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์อย่างแข็งขันในภูมิภาค ซึ่งในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้เพิ่มงบประมาณในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ถึง 700 เท่า ซึ่งผู้แทนองค์การอนามัยโลกพร้อมให้ความมือกับไทยในการขจัดปัญหาโรคเอดส์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2544) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวภายหลังจากที่นาย John Powel ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียของ โครงการอาหารโลก (World Food Program - WFP) และ Dr. Bjorn Melgaard ผู้แทนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization — WHO) ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะและยื่นอักษรสาสน์ตราตั้งเป็นผู้แทนองค์การระหว่างประเทศในประเทศไทย ที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ฝ่ายไทยได้ขอให้โครงการอาหารโลกซึ่งจัดตั้งสำนักงานครั้งแรกในประเทศไทย และมีบทบาทสำคัญในทางมนุษยธรรมทั่วโลก ซื้อสินค้าจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น ข้าว ปลากระป๋อง ถั่วเหลือง ซึ่งจะเป็นการช่วยราคาพืชผลการเกษตรในประเทศไทย เนื่องจากในระยะเวลา 10 กว่าปีที่แล้วโครงการอาหารโลกซื้ออาหารจากไทยมูลค่ารวม 300 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ แต่ในช่วงหลังมีการซื้ออาหารจากไทยน้อยลง เช่น เมื่อปี 2539 โครงการอาหารโลกซื้ออาหารจากไทยมูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2542 ลดลงเหลือ 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. ฝ่ายไทยได้แสดงความขอบคุณต่อโครงการอาหารโลกที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการส่งข้าวจำนวน 3,000 ตันซึ่งรัฐบาลไทยได้อนุมัติจัดส่งให้ผู้อพยพในอัฟกานิสถานและปากีสถาน โดยโครงการอาหารโลกจะช่วยดูแลการจัดส่งข้าวไปยังประเทศดังกล่าวต่อไป
3. สำหรับการหารือกับผู้แทนองค์การอนามัยโลก ได้มีการพูดถึงความร่วมมือในเรื่องโรคติดต่อ เช่น โรคเอดส์ และโรคอื่นๆ ที่ปรากฏตามชายแดน ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งผู้แทนองค์การอนามัยโลกว่า ปัจจุบันมีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว และได้มีการหารือกับประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องการส่งแรงงานกลับถิ่นฐานเดิม ฝ่ายไทยประสงค์ให้มีมาตรการควบคุมสุขอนามัยบริเวณพรมแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาประเทศไทยแล้วสามารถเดินทางในประเทศทั่วทุกแห่ง ดังนั้น หากมีโรคติดต่อสายพันธุ์ใหม่ๆ เข้ามาก็จะสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยและเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก ในการนี้ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกซึ่งได้รับ มอบหมายให้ดูแลรับผิดชอบประเทศไทยและประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมดได้แสดงความพร้อม ที่จะให้ความร่วมมือในเรื่องดังกล่าว
4. โดยที่ปัจจุบันไทยมีความก้าวหน้าในการผลิตยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฝ่ายไทยจึงขอให้ผู้แทนองค์การอนามัยพิจารณาซื้อยา วัคซีน และอุปกรณ์ทางการแพทย์จากไทย เพื่อใช้ในการให้ความช่วยเหลือประเทศไทยและประเทศในภูมิภาค ซึ่งผู้แทนองค์การอนามัยโลกรับที่จะพิจารณาในเรื่องนี้
5. นอกจากนี้ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกได้แสดงความพอใจการดำเนินการของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับปัญหาโรคเอดส์ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการรณรงค์ต่อต้านโรคเอดส์อย่างแข็งขันในภูมิภาค ซึ่งในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยได้เพิ่มงบประมาณในการดำเนินการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ถึง 700 เท่า ซึ่งผู้แทนองค์การอนามัยโลกพร้อมให้ความมือกับไทยในการขจัดปัญหาโรคเอดส์
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-