นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงการใช้มาตรการตอบโต้
การทุ่มตลาดและการอุดหนุนของสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยกล่าวว่านับแต่ความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 จนถึงปี 2542 ประเทศต่างๆได้มีการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1229 กรณี ประเทศที่มีการใช้มาตรการมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
สหภาพยุโรป 189 กรณี อินเดีย 140 กรณี สหรัฐอเมริกา 132 กรณี สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 129 กรณี และออสเตรเลีย 100 กรณีซึ่งประเทศที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุด ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน 159 กรณี เกาหลีใต้ 98 กรณี และสหรัฐอเมริกา 79 กรณี สำหรับการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนตั้งแต่ปี 2538—2542 มีจำนวน 100 กรณี โดยประเทศที่ใช้มาตรการมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และบราซิล ประเทศที่ถูกฟ้องมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย อิตาลี เกาหลี สหภาพยุโรป อินโดนีเซีย และไทย
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนตั้งแต่ปี 2533 — 2542 มีดังนี้
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (กรณี) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (กรณี)
เหล็ก 727 เหล็ก 118
เคมีภัณฑ์ 404 อาหารสำเร็จรูป 44
พลาสติก 282 อาหารสัตว์ 26
เครื่องจักรและเครื่องไฟฟ้า 254 สิ่งทอ 21
สิ่งทอ 197 ผลิตภัณฑ์พืช 15
เยื่อกระดาษ 111 พลาสติก 13
วัสดุก่อสร้าง 91 เคมีภัณฑ์ 11
สินค้าเหล็ก เป็นสินค้าที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุดทั้งการทุ่มตลาดและการอุดหนุน รองลงมาได้แก่ เคมีภัณฑ์ พลาสติก เครื่องไฟฟ้า และสิ่งทอ ซึ่งแนวโน้มการใช้มาตรการดังกล่าวของประเทศต่างๆจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และเมื่อผู้ส่งออกรายใดถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน จะทำให้การส่งออกสินค้าชะงักงันและอาจสูญเสียตลาดได้ ผู้ส่งออกไทยจึงควรให้ความสนใจและทำความเข้าใจกับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ตลอดจนติดตามตรวจสอบปริมาณการส่งออกและราคาเสนอขายเป็นระยะๆรวมทั้งติดต่อกับผู้นำเข้าเพื่อทราบความเคลื่อนไหวของตลาด คู่แข่งและอุตสาหกรรมภายใน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกและหลีกเลี่ยงการถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดได้
ทั้งนี้ หากผู้ส่งออกต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน สอบถามได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ สำนักปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า โทร 5474722
--กรมส่งเสริมการส่งออก กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
การทุ่มตลาดและการอุดหนุนของสมาชิกองค์การการค้าโลก โดยกล่าวว่านับแต่ความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 จนถึงปี 2542 ประเทศต่างๆได้มีการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1229 กรณี ประเทศที่มีการใช้มาตรการมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
สหภาพยุโรป 189 กรณี อินเดีย 140 กรณี สหรัฐอเมริกา 132 กรณี สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 129 กรณี และออสเตรเลีย 100 กรณีซึ่งประเทศที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุด ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน 159 กรณี เกาหลีใต้ 98 กรณี และสหรัฐอเมริกา 79 กรณี สำหรับการใช้มาตรการตอบโต้การอุดหนุนตั้งแต่ปี 2538—2542 มีจำนวน 100 กรณี โดยประเทศที่ใช้มาตรการมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และบราซิล ประเทศที่ถูกฟ้องมากที่สุด ได้แก่ อินเดีย อิตาลี เกาหลี สหภาพยุโรป อินโดนีเซีย และไทย
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยังได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนตั้งแต่ปี 2533 — 2542 มีดังนี้
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (กรณี) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (กรณี)
เหล็ก 727 เหล็ก 118
เคมีภัณฑ์ 404 อาหารสำเร็จรูป 44
พลาสติก 282 อาหารสัตว์ 26
เครื่องจักรและเครื่องไฟฟ้า 254 สิ่งทอ 21
สิ่งทอ 197 ผลิตภัณฑ์พืช 15
เยื่อกระดาษ 111 พลาสติก 13
วัสดุก่อสร้าง 91 เคมีภัณฑ์ 11
สินค้าเหล็ก เป็นสินค้าที่ถูกใช้มาตรการมากที่สุดทั้งการทุ่มตลาดและการอุดหนุน รองลงมาได้แก่ เคมีภัณฑ์ พลาสติก เครื่องไฟฟ้า และสิ่งทอ ซึ่งแนวโน้มการใช้มาตรการดังกล่าวของประเทศต่างๆจะเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และเมื่อผู้ส่งออกรายใดถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน จะทำให้การส่งออกสินค้าชะงักงันและอาจสูญเสียตลาดได้ ผู้ส่งออกไทยจึงควรให้ความสนใจและทำความเข้าใจกับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ตลอดจนติดตามตรวจสอบปริมาณการส่งออกและราคาเสนอขายเป็นระยะๆรวมทั้งติดต่อกับผู้นำเข้าเพื่อทราบความเคลื่อนไหวของตลาด คู่แข่งและอุตสาหกรรมภายใน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกและหลีกเลี่ยงการถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดได้
ทั้งนี้ หากผู้ส่งออกต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือการอุดหนุน สอบถามได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ สำนักปกป้องและรักษาผลประโยชน์ทางการค้า โทร 5474722
--กรมส่งเสริมการส่งออก กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-