นางพันธ์ทิพย์ สุรทิณฑ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผย ข้อมูลการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าตามระบบการผ่านพิธีการศุลกากรประจำเดือนพฤศจิกายน 2543 ดังนี้
การนำเข้า
1. ในรูปสกุลเงินบาท
1.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้า 248,662 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 56,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.6 โดยสินค้าที่มีการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทสินค้าทุนและวัตถุดิบมากกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด จึงแสดงถึงความต้องการในการขยายกำลังการผลิตเพื่อผลิตสินค้าสนองตอบความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาด
1.2 เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 2,264,638 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 546,508 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.8 หรือเฉลี่ยเดือนละ 205,876 ล้านบาท
2. ในรูปสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้า 5,705 ล้านดอลล่าร์สรอ. สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 927 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 19.4
2.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิน 56,986 ล้านดอลล่าร์สรอ. เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 11,942 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 26.5 หรือเฉลี่ยเดือนละ 5,181 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.3 หากเดือนธันวาคม มูลค่าการนำเข้าเท่ากับค่าเฉลี่ยคือ 5,181 ล้านดอลลาร์สรอ. คาดว่าทั้งปี 2543 การขยายตัวของการนำเข้าจะเท่ากับร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบกับปี 2542
(รายละเอียดตามตารางที่ 1 และ 2)
การส่งออก
1. ในรูปสกุลเงินบาท
1.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออก 270,532 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 57,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 27.1 โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มีมูลค่าส่งออก 35,619 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6,432 ล้านบาท หรือร้อยละ 22 รองลงมาได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 19,519 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 7,155 ล้านบาท หรือร้อยละ 57.9 และอันดับ 3 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 18,297 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 3,594 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.4
1.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 2,518,197 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 508,926 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.3 หรือเฉลี่ยเดือนละ 228,927 ล้านบาท
2. ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออก 6,251 ล้านดอลล่าร์สรอ. สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 905 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 16.9
2.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 63,956 ล้านดอลล่าร์สรอ. เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 10,812 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 20.3 หรือเฉลี่ยเดือนละ 5,814 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.3 หากเดือนธันวาคม มูลค่าการส่งออกเท่ากับค่าเฉลี่ยคือ 5,814 ล้านดอลลาร์สรอ. คาดว่าทั้งปี 2543 การขยายตัวของการส่งออกจะเท่ากับร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับปี 2542
(รายละเอียดตามตารางที่ 3 และ 4) หมายเหตุ : 1. ข้อมูลการนำเข้าและส่งออกตามระบบการผ่านพิธีการศุลกากร (Customs-cleared basis) เป็นข้อมูลที่รวบรวมตามใบขนสินค้าซึ่งผ่านพิธีการศุลกากร ระบบข้อมูลนี้ต่างจากข้อมูลการนำเข้าและส่งออกที่ใช้เพื่อจัดทำสถิติดุลการชำระเงินของประเทศซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำ ตามระบบดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทยจะรวมมูลค่าสินค้านำเข้า และส่งออกเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ครองระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ เพื่อใช้วิเคราะห์ฐานะดุลการชำระเงินของประเทศ
2. มูลค่าการนำเข้าและส่งออกในรูปสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา คำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสำหรับการนำเข้า และการส่งออกของกรมศุลกากรในแต่ละช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย กรมศุลกากรใช้ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาก โดยใช้อัตราซื้อสำหรับการส่งออกและอัตราขายสำหรับการนำเข้า
ดุลการค้า
1. ในรูปสกุลเงินบาท
1.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุล 21,870 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 853 หรือร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วซึ่งมีดุลการค้าเกินดุล 21,017 ล้านบาท
1.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุล รวมทั้งสิ้น 253,559 ล้านบาท ลดลง 37,582 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วซึ่งมีการเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 291,141 ล้านบาท
2. ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุล 546 ล้านดอลล่าร์สรอ. ลดลง 22 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งมีดุลการค้าเกินดุล 568 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุลรวมทั้งสิ้น 6,970 ล้านดอลล่าร์สรอ. ลดลง 1,130 ล้านดอลล่าห์สรอ. หรือร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วซึ่งมีการเกินดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 8,100 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.3 คาดว่าทั้งปี 2543 ดุลการค้าจะเกินดุล 7,603 ล้านดอลล่าห์สรอ. เกินดุลลดลง 966 ล้านดอลล่าห์สรอ. เมื่อเทียบกับปี 2542
(รายละเอียดตามตารางที่ 5)
กล่าวโดยสรุป มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนำเข้ามาตั้งแต่ต้นปี 2543 ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 11 เดือน เกินดุล 253,559 ล้านบาท (6,970 ล้านดอลล่าห์สรอ.) ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุลเท่ากับ 291,141 ล้านบาท (หรือ 8,100 ล้านดอลล่าห์สรอ.) เนื่องจากอัตราการเพิ่มของการนำเข้าเริ่มสูงกว่าอัตราการเพิ่มของการส่งออกมาตั้งแต่ต้นปี 2543 อาจมีเหตุผลมาจากความต้องการในการขยายกำลังการผลิตของผู้ผลิตในประเทศ และแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทย ในระดับหนึ่งด้วย เพื่อให้การส่งออกยังคงเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รัฐบาลและเอกชนจึงควรร่วมมือในการขยายตลาดเดิม และแสวงหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน กลุ่มเอเซียใต้ และตะวันออกกลางซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟื้นตัว
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาโครงสร้างของสินค้านำเข้า พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับโครงสร้างของสินค้าส่งออก แต่มีข้อสังเกตว่า ในส่วนโครงสร้างของสินค้าส่งออกนั้น สินค้าในหมวดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยังคงมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับหนึ่ง และมีมูลค่าส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2543 โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทำให้ตลาดมีความต้องการสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้น และคาดว่าในอนาคตสินค้าใจหมวดดังกล่าวจะยังคงมีการขยายตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 3/2544 19 มกราคม 2544--
-รก/อน-
การนำเข้า
1. ในรูปสกุลเงินบาท
1.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้า 248,662 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 56,835 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.6 โดยสินค้าที่มีการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทสินค้าทุนและวัตถุดิบมากกว่าร้อยละ 70 ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด จึงแสดงถึงความต้องการในการขยายกำลังการผลิตเพื่อผลิตสินค้าสนองตอบความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาด
1.2 เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิ้น 2,264,638 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 546,508 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.8 หรือเฉลี่ยเดือนละ 205,876 ล้านบาท
2. ในรูปสกุลเงินดอลล่าห์สหรัฐอเมริกา
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้า 5,705 ล้านดอลล่าร์สรอ. สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 927 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 19.4
2.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการนำเข้ารวมทั้งสิน 56,986 ล้านดอลล่าร์สรอ. เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 11,942 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 26.5 หรือเฉลี่ยเดือนละ 5,181 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.3 หากเดือนธันวาคม มูลค่าการนำเข้าเท่ากับค่าเฉลี่ยคือ 5,181 ล้านดอลลาร์สรอ. คาดว่าทั้งปี 2543 การขยายตัวของการนำเข้าจะเท่ากับร้อยละ 24.5 เมื่อเทียบกับปี 2542
(รายละเอียดตามตารางที่ 1 และ 2)
การส่งออก
1. ในรูปสกุลเงินบาท
1.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออก 270,532 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 57,688 ล้านบาท หรือร้อยละ 27.1 โดยสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มีมูลค่าส่งออก 35,619 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6,432 ล้านบาท หรือร้อยละ 22 รองลงมาได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ มีมูลค่าส่งออก 19,519 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 7,155 ล้านบาท หรือร้อยละ 57.9 และอันดับ 3 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าส่งออก 18,297 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 3,594 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.4
1.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 2,518,197 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 508,926 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.3 หรือเฉลี่ยเดือนละ 228,927 ล้านบาท
2. ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออก 6,251 ล้านดอลล่าร์สรอ. สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 905 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 16.9
2.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มีมูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 63,956 ล้านดอลล่าร์สรอ. เทียบกับปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 10,812 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 20.3 หรือเฉลี่ยเดือนละ 5,814 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.3 หากเดือนธันวาคม มูลค่าการส่งออกเท่ากับค่าเฉลี่ยคือ 5,814 ล้านดอลลาร์สรอ. คาดว่าทั้งปี 2543 การขยายตัวของการส่งออกจะเท่ากับร้อยละ 19.3 เมื่อเทียบกับปี 2542
(รายละเอียดตามตารางที่ 3 และ 4) หมายเหตุ : 1. ข้อมูลการนำเข้าและส่งออกตามระบบการผ่านพิธีการศุลกากร (Customs-cleared basis) เป็นข้อมูลที่รวบรวมตามใบขนสินค้าซึ่งผ่านพิธีการศุลกากร ระบบข้อมูลนี้ต่างจากข้อมูลการนำเข้าและส่งออกที่ใช้เพื่อจัดทำสถิติดุลการชำระเงินของประเทศซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดทำ ตามระบบดังกล่าวธนาคารแห่งประเทศไทยจะรวมมูลค่าสินค้านำเข้า และส่งออกเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ครองระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ เพื่อใช้วิเคราะห์ฐานะดุลการชำระเงินของประเทศ
2. มูลค่าการนำเข้าและส่งออกในรูปสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา คำนวณโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสำหรับการนำเข้า และการส่งออกของกรมศุลกากรในแต่ละช่วงเวลาที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย กรมศุลกากรใช้ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยในสัปดาห์ที่ผ่านมาก โดยใช้อัตราซื้อสำหรับการส่งออกและอัตราขายสำหรับการนำเข้า
ดุลการค้า
1. ในรูปสกุลเงินบาท
1.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุล 21,870 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 853 หรือร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วซึ่งมีดุลการค้าเกินดุล 21,017 ล้านบาท
1.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุล รวมทั้งสิ้น 253,559 ล้านบาท ลดลง 37,582 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้วเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วซึ่งมีการเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 291,141 ล้านบาท
2. ในรูปสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
2.1 เดือนพฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุล 546 ล้านดอลล่าร์สรอ. ลดลง 22 ล้านดอลล่าร์สรอ. หรือร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งมีดุลการค้าเกินดุล 568 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.2 เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2543 มียอดดุลการค้าเกินดุลรวมทั้งสิ้น 6,970 ล้านดอลล่าร์สรอ. ลดลง 1,130 ล้านดอลล่าห์สรอ. หรือร้อยละ 13.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วซึ่งมีการเกินดุลการค้ารวมทั้งสิ้น 8,100 ล้านดอลล่าร์สรอ.
2.3 คาดว่าทั้งปี 2543 ดุลการค้าจะเกินดุล 7,603 ล้านดอลล่าห์สรอ. เกินดุลลดลง 966 ล้านดอลล่าห์สรอ. เมื่อเทียบกับปี 2542
(รายละเอียดตามตารางที่ 5)
กล่าวโดยสรุป มูลค่าการส่งออกสูงกว่ามูลค่าการนำเข้ามาตั้งแต่ต้นปี 2543 ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 11 เดือน เกินดุล 253,559 ล้านบาท (6,970 ล้านดอลล่าห์สรอ.) ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่เกินดุลเท่ากับ 291,141 ล้านบาท (หรือ 8,100 ล้านดอลล่าห์สรอ.) เนื่องจากอัตราการเพิ่มของการนำเข้าเริ่มสูงกว่าอัตราการเพิ่มของการส่งออกมาตั้งแต่ต้นปี 2543 อาจมีเหตุผลมาจากความต้องการในการขยายกำลังการผลิตของผู้ผลิตในประเทศ และแสดงถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทย ในระดับหนึ่งด้วย เพื่อให้การส่งออกยังคงเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รัฐบาลและเอกชนจึงควรร่วมมือในการขยายตลาดเดิม และแสวงหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน กลุ่มเอเซียใต้ และตะวันออกกลางซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงฟื้นตัว
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาโครงสร้างของสินค้านำเข้า พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับโครงสร้างของสินค้าส่งออก แต่มีข้อสังเกตว่า ในส่วนโครงสร้างของสินค้าส่งออกนั้น สินค้าในหมวดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ยังคงมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับหนึ่ง และมีมูลค่าส่งออกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2543 โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทำให้ตลาดมีความต้องการสินค้าประเภทนี้เพิ่มขึ้น และคาดว่าในอนาคตสินค้าใจหมวดดังกล่าวจะยังคงมีการขยายตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 3/2544 19 มกราคม 2544--
-รก/อน-