สรุปภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนสิงหาคม 2543
เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้เดือนสิงหาคมยังมีการขยายตัวอย่างช้า ๆ ต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งภาคการเกษตร และภาคนอกการเกษตร กล่าวคือในภาคการเกษตรนั้นมีผลผลิตออกมากขึ้นตามฤดูกาล ทั้งปาล์มน้ำมันและยางพารา นอกจากนี้มีการเลี้ยง กุ้งกุลาดำเข้ามาเสริมอีกส่วนหนึ่งด้วย ขณะเดียวกันในภาคนอกการเกษตรนั้น การผลิตและการค้า อุตสาหกรรมยางและอุตสาหกรรม อาหารทะเลแช่แข็งยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยวยังคงแจ่มใส โดยเฉพาะในภาคใต้ตอนล่างในช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึง ต้นเดือนกันยายนมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางเข้ามามาก เพราะวันที่ 1 กันยายน 2543 เป็นวันชาติมาเลเซีย มีการฉลองหยุดพักผ่อน และเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง นอกจากนี้ทิศทางการลงทุนยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน ดังนั้น ปริมาณเงินหมุนเวียน ในเดือนสิงหาคมจึงยังคงเดินสะพัดต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญในเดือนนี้ ประกอบด้วย ราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 เคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 22-23 บาท ใกล้เคียงกับราคา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.35 บาทเมื่อเดือนก่อน ราคาผลปาล์มทั้งทะลายเคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 1.50 — 1.60 บาท ลดจากราคา กิโลกรัมละ 1.89 เมื่อเดือนก่อน ราคาสุกรมีชีวิตขนาดน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป เคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 37.50 — 37.63 บาท ลดลง จากราคากิโลกรัมละ 38.00 บาทเมื่อเดือนก่อน ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อเคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 27.98 — 28.37 บาท ลดลงจาก ราคา กิโลกรัมละ 29.01 บาทเมื่อเดือนก่อน และทางด้านราคากุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัมเคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 350 — 360 บาท ใกล้เคียงกับราคากิโลกรัมละ 368.25 บาทเมื่อเดือนก่อน
การลงทุนของภาคเอกชนตลอดเดือนสิงหาคม มีกิจการซึ่งได้รับอนุมัติส่งเสริมการ ลงทุน 10 ราย (เป็นกิจการไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา สวนเกษตรและอุตสาหกรรม ส้มไทย และน้ำอัดลม) เงินลงทุน 1,805.18 ล้านบาท สามารถจ้างงานได้ 2,587 คน ขณะที่เมื่อเดือนก่อนมี กิจการได้รับอนุมัติ 9 ราย เงินลงทุน 1,784.55 ล้านบาท และสามารถจ้างแรงงานได้ 2,413 คน
ปริมาณเงินหมุนเวียนตลอดเดือนสิงหาคม เงินสดรับ-จ่าย ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯ รวมทั้งสิ้น 27,285.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 25,280.2 ล้านบาท เมื่อเดือนก่อนร้อยละ 7.9 ทั้งนี้ แยกเป็นเงินสดรับ 13,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,273.4 ล้านบาท และเงินสดจ่าย 14,258.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 732.0 ล้านบาท นอกจากนี้สถิติเงินโอนระหว่างธนาคารพาณิชย์ และ สำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 7,749.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.8 โดยแยกเป็นเงินโอนออกจำนวน 5,047.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,451.1 ล้านบาท และเงินโอนเข้าจำนวน 2,701.6 ล้านบาท ลดลง 453.0 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้เดือนสิงหาคมยังมีการขยายตัวอย่างช้า ๆ ต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งภาคการเกษตร และภาคนอกการเกษตร กล่าวคือในภาคการเกษตรนั้นมีผลผลิตออกมากขึ้นตามฤดูกาล ทั้งปาล์มน้ำมันและยางพารา นอกจากนี้มีการเลี้ยง กุ้งกุลาดำเข้ามาเสริมอีกส่วนหนึ่งด้วย ขณะเดียวกันในภาคนอกการเกษตรนั้น การผลิตและการค้า อุตสาหกรรมยางและอุตสาหกรรม อาหารทะเลแช่แข็งยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การท่องเที่ยวยังคงแจ่มใส โดยเฉพาะในภาคใต้ตอนล่างในช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึง ต้นเดือนกันยายนมีนักท่องเที่ยวมาเลเซียเดินทางเข้ามามาก เพราะวันที่ 1 กันยายน 2543 เป็นวันชาติมาเลเซีย มีการฉลองหยุดพักผ่อน และเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในบริเวณภาคใต้ตอนล่าง นอกจากนี้ทิศทางการลงทุนยังคงใกล้เคียงกับเดือนก่อน ดังนั้น ปริมาณเงินหมุนเวียน ในเดือนสิงหาคมจึงยังคงเดินสะพัดต่อเนื่องจากเดือนก่อน
ราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญในเดือนนี้ ประกอบด้วย ราคายางพาราแผ่นดิบชั้น 3 เคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 22-23 บาท ใกล้เคียงกับราคา เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.35 บาทเมื่อเดือนก่อน ราคาผลปาล์มทั้งทะลายเคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 1.50 — 1.60 บาท ลดจากราคา กิโลกรัมละ 1.89 เมื่อเดือนก่อน ราคาสุกรมีชีวิตขนาดน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป เคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 37.50 — 37.63 บาท ลดลง จากราคากิโลกรัมละ 38.00 บาทเมื่อเดือนก่อน ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อเคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 27.98 — 28.37 บาท ลดลงจาก ราคา กิโลกรัมละ 29.01 บาทเมื่อเดือนก่อน และทางด้านราคากุ้งกุลาดำขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัมเคลื่อนไหวระหว่างกิโลกรัมละ 350 — 360 บาท ใกล้เคียงกับราคากิโลกรัมละ 368.25 บาทเมื่อเดือนก่อน
การลงทุนของภาคเอกชนตลอดเดือนสิงหาคม มีกิจการซึ่งได้รับอนุมัติส่งเสริมการ ลงทุน 10 ราย (เป็นกิจการไม้ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยางพารา สวนเกษตรและอุตสาหกรรม ส้มไทย และน้ำอัดลม) เงินลงทุน 1,805.18 ล้านบาท สามารถจ้างงานได้ 2,587 คน ขณะที่เมื่อเดือนก่อนมี กิจการได้รับอนุมัติ 9 ราย เงินลงทุน 1,784.55 ล้านบาท และสามารถจ้างแรงงานได้ 2,413 คน
ปริมาณเงินหมุนเวียนตลอดเดือนสิงหาคม เงินสดรับ-จ่าย ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และผู้แทนฯ รวมทั้งสิ้น 27,285.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 25,280.2 ล้านบาท เมื่อเดือนก่อนร้อยละ 7.9 ทั้งนี้ แยกเป็นเงินสดรับ 13,027 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,273.4 ล้านบาท และเงินสดจ่าย 14,258.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 732.0 ล้านบาท นอกจากนี้สถิติเงินโอนระหว่างธนาคารพาณิชย์ และ สำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 7,749.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.8 โดยแยกเป็นเงินโอนออกจำนวน 5,047.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,451.1 ล้านบาท และเงินโอนเข้าจำนวน 2,701.6 ล้านบาท ลดลง 453.0 ล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-