ข่าวในประเทศ
1. ธปท.แต่งตั้งโฆษกแถลงข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท.มีมติแต่งตั้ง นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้อำนวยการอาวุโส สาขาภาคเหนือ เป็นโฆษก ธปท. และเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมที่สุด เป็นนักวิชาการและมีความรู้ในเรื่องเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างลึกซึ้ง รวมทั้งยังเคยร่วมเป็นทีมงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเมื่อต้องการสื่อสารแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจ โฆษก ธปท.มีหน้าที่สำคัญ คือ ต้องเตรียมตอบคำถามล่วงหน้าได้ สามารถตอบคำถามได้ทันที และสามารถหาบุคคลที่เหมาะสมตอบคำถามต่างๆ ได้ (กรุงเทพธุรกิจ 25)
2. ธปท.จะปรับเป้าหมายการส่งออกในปี 43 ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า เนื่องจากตัวเลขมูลค่าการส่งออกในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมามีมูลค่าสูงกว่าเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดไว้มาก โดยเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาการส่งออกมีมูลสูงถึง 6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. และประมาณการว่าเดือน ส.ค.43 มูลค่าการส่งออกจะสูงกว่า 5,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. เช่นเดียวกับช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คาดว่าในการออกรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับใหม่ในเดือน ต.ค.43 ธปท.จะปรับประมาณการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 9.6 เป็นร้อยละ 15 เท่ากับตัวเลขของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ไทยรัฐ 25)
3. ก.คลังจะให้กองทุนฟื้นฟูเป็นผู้กู้เพื่อชดเชยความเสียหาย แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยผลสรุปความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ในเบื้องต้นว่า มีมูลค่าทั้งสิ้น 8.8-9 แสน ล.บาท โดยในส่วนนี้เป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องชำระหนี้ให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ในปีงบประมาณ 44 จำนวน 2.5-3 แสน ล.บาท ขณะนี้ ก.คลังได้ให้ ธปท.พิจารณาตัวเลขความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน สำหรับผลการตีความตาม พ.ร.บ.การให้อำนาจ ก.คลัง ค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความนั้น กฤษฎีกามีความเห็นว่า ก.คลังสามารถอ้าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในกรณีการกู้เงินเพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าว คือให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้กู้เอง โดย ก.คลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ก.คลังจะรับภาระในกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้เมื่อครบกำหนดเท่านั้น (แนวหน้า 25)
4. ธปท.เร่งรวบรวมรายละเอียดสาเหตุที่สถาบันการเงินไม่ดำเนินการส่งลูกหนี้ฟ้องศาล ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท.เปิดเผยว่า ผู้ว่าการ ธปท.ได้สั่งการให้เร่งรวบรวมรายละเอียดของสาเหตุที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการส่งลูกหนี้ที่ไม่ยอมทำตามสัญญาเข้าสู่กระบวนการของศาล และสถาบันการเงินเจ้าหนี้หลายแห่งไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ โดยเฉพาะในกรณีที่การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้อยู่ภายนอกกระบวนการของ ธปท. ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลดลงได้ช้า ทั้งนี้ ธปท.จะใช้มาตรการลงโทษโดยการปรับ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ทันที หากสถาบันการเงินนั้นๆ ไม่มีเหตุผลที่สมควร (เดลินิวส์ 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. กลุ่มประเทศยูโรขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่า 2.2 พัน ล.ยูโรในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 43ธ. กลางยุโรป เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 กลุ่มประเทศยูโรขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มูลค่า 2.2 พัน ล. ยูโร ( 1.87 พัน ล. ดอลลาร์) เทียบกับเดือน ก.ค. 42 ที่เกินดุลมูลค่า 6.4 พัน ล. ยูโร ส่วนการเกินดุลการค้า ในเดือน ก.ค. 43 อยู่ที่มูลค่า 8.4 พัน ล. ยูโร เทียบกับที่เกินดุลมูลค่า 14.6พัน ล. ยูโรในเดือน ก.ค. 42 และในช่วงตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. 43 กลุ่มประเทศยูโร ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มูลค่า 14 พัน ล. ยูโร เทียบกับที่เกินดุลมูลค่า 21.4 พัน ล. ยูโรในช่วงเดียวกันของปี42 ขณะที่ เกินดุลการค้า มูลค่า 35.5 พัน ล. ยูโร ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากที่เกินดุลมูลค่า 60.9 พัน ล. ยูโรในช่วงเดียวกันของปี42 ทั้งนี้ การที่กลุ่มประเทศยูโร ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงและราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นและการเกินดุลการค้าลดลง (รอยเตอร์ 22)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือนในเดือน ส.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนีเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 32 และเพิ่มขึ้นเท่ากับผลการสำรวจก่อนหน้านี้ของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าการที่ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.1 เทียบต่อปี ยังคงจะผลักดันให้ PPI สูงขึ้นอีก (รอยเตอร์22)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ วันที่ 24 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์รายงานว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากราคาบ้าน ราคาน้ำมัน และภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น (รอยเตอร์ 24)
4. นักวิเคราะห์คาดว่ายอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักวิเคราะห์ คาดว่า ในเดือน ส.ค. 43 ยอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่จำนวน 4.85 ล.หลังต่อปี เทียบกับจำนวน 4.79 ล. หลัง ในเดือน ก.ค. 43 โดยมีช่วงประมาณการระหว่างสูงสุดจำนวน 5.06 ล. หลัง และต่ำสุดจำนวน 4 ล. หลัง (รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 ก.ย. 43 42.781 (42.658)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 22 ก.ย. 43
ซื้อ 42.5388 (42.4702) ขาย 42.8474 (42.7752)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,400) ขาย 5,550 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.13 (31.15)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.64 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.แต่งตั้งโฆษกแถลงข้อมูลเศรษฐกิจ ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า คณะกรรมการ ธปท.มีมติแต่งตั้ง นายบัณฑิต นิจถาวร ผู้อำนวยการอาวุโส สาขาภาคเหนือ เป็นโฆษก ธปท. และเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมที่สุด เป็นนักวิชาการและมีความรู้ในเรื่องเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างลึกซึ้ง รวมทั้งยังเคยร่วมเป็นทีมงานกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้นเมื่อต้องการสื่อสารแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจ โฆษก ธปท.มีหน้าที่สำคัญ คือ ต้องเตรียมตอบคำถามล่วงหน้าได้ สามารถตอบคำถามได้ทันที และสามารถหาบุคคลที่เหมาะสมตอบคำถามต่างๆ ได้ (กรุงเทพธุรกิจ 25)
2. ธปท.จะปรับเป้าหมายการส่งออกในปี 43 ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า เนื่องจากตัวเลขมูลค่าการส่งออกในรอบ 7 เดือนที่ผ่านมามีมูลค่าสูงกว่าเป้าหมายที่ ธปท.กำหนดไว้มาก โดยเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาการส่งออกมีมูลสูงถึง 6,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. และประมาณการว่าเดือน ส.ค.43 มูลค่าการส่งออกจะสูงกว่า 5,400 ล.ดอลลาร์ สรอ. เช่นเดียวกับช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คาดว่าในการออกรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับใหม่ในเดือน ต.ค.43 ธปท.จะปรับประมาณการขยายตัวของการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 9.6 เป็นร้อยละ 15 เท่ากับตัวเลขของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ไทยรัฐ 25)
3. ก.คลังจะให้กองทุนฟื้นฟูเป็นผู้กู้เพื่อชดเชยความเสียหาย แหล่งข่าวจาก ก.คลังเปิดเผยผลสรุปความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ ในเบื้องต้นว่า มีมูลค่าทั้งสิ้น 8.8-9 แสน ล.บาท โดยในส่วนนี้เป็นภาระที่รัฐบาลจะต้องชำระหนี้ให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ในปีงบประมาณ 44 จำนวน 2.5-3 แสน ล.บาท ขณะนี้ ก.คลังได้ให้ ธปท.พิจารณาตัวเลขความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน สำหรับผลการตีความตาม พ.ร.บ.การให้อำนาจ ก.คลัง ค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความนั้น กฤษฎีกามีความเห็นว่า ก.คลังสามารถอ้าง พ.ร.บ.ดังกล่าวในกรณีการกู้เงินเพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าว คือให้กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นผู้กู้เอง โดย ก.คลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ ก.คลังจะรับภาระในกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯ ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้เมื่อครบกำหนดเท่านั้น (แนวหน้า 25)
4. ธปท.เร่งรวบรวมรายละเอียดสาเหตุที่สถาบันการเงินไม่ดำเนินการส่งลูกหนี้ฟ้องศาล ผู้อำนวยการอาวุโส สายปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ธปท.เปิดเผยว่า ผู้ว่าการ ธปท.ได้สั่งการให้เร่งรวบรวมรายละเอียดของสาเหตุที่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ไม่ดำเนินการส่งลูกหนี้ที่ไม่ยอมทำตามสัญญาเข้าสู่กระบวนการของศาล และสถาบันการเงินเจ้าหนี้หลายแห่งไม่สามารถให้คำตอบที่ชัดเจนได้ โดยเฉพาะในกรณีที่การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้อยู่ภายนอกกระบวนการของ ธปท. ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลดลงได้ช้า ทั้งนี้ ธปท.จะใช้มาตรการลงโทษโดยการปรับ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับเจ้าหนี้ทันที หากสถาบันการเงินนั้นๆ ไม่มีเหตุผลที่สมควร (เดลินิวส์ 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. กลุ่มประเทศยูโรขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมูลค่า 2.2 พัน ล.ยูโรในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 43ธ. กลางยุโรป เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 กลุ่มประเทศยูโรขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มูลค่า 2.2 พัน ล. ยูโร ( 1.87 พัน ล. ดอลลาร์) เทียบกับเดือน ก.ค. 42 ที่เกินดุลมูลค่า 6.4 พัน ล. ยูโร ส่วนการเกินดุลการค้า ในเดือน ก.ค. 43 อยู่ที่มูลค่า 8.4 พัน ล. ยูโร เทียบกับที่เกินดุลมูลค่า 14.6พัน ล. ยูโรในเดือน ก.ค. 42 และในช่วงตั้งแต่เดือน ม.ค. - ก.ค. 43 กลุ่มประเทศยูโร ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด มูลค่า 14 พัน ล. ยูโร เทียบกับที่เกินดุลมูลค่า 21.4 พัน ล. ยูโรในช่วงเดียวกันของปี42 ขณะที่ เกินดุลการค้า มูลค่า 35.5 พัน ล. ยูโร ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากที่เกินดุลมูลค่า 60.9 พัน ล. ยูโรในช่วงเดียวกันของปี42 ทั้งนี้ การที่กลุ่มประเทศยูโร ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงและราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าสูงขึ้นและการเกินดุลการค้าลดลง (รอยเตอร์ 22)
2. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือนในเดือน ส.ค. 43 รายงานจาก Wiesbaden ในเยอรมนีเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติเปิดเผยว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย. 32 และเพิ่มขึ้นเท่ากับผลการสำรวจก่อนหน้านี้ของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์เคยคาดไว้ ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่าการที่ราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 0.7 เทียบต่อเดือน และเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.1 เทียบต่อปี ยังคงจะผลักดันให้ PPI สูงขึ้นอีก (รอยเตอร์22)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี ในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ วันที่ 24 ก.ย. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของสิงคโปร์รายงานว่า เดือน ส.ค. 43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบต่อเดือน ซึ่งดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากราคาบ้าน ราคาน้ำมัน และภาษีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น (รอยเตอร์ 24)
4. นักวิเคราะห์คาดว่ายอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 43 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 43 จากการสำรวจของรอยเตอร์ นักวิเคราะห์ คาดว่า ในเดือน ส.ค. 43 ยอดการขายบ้านมือสองของ สรอ. จะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่จำนวน 4.85 ล.หลังต่อปี เทียบกับจำนวน 4.79 ล. หลัง ในเดือน ก.ค. 43 โดยมีช่วงประมาณการระหว่างสูงสุดจำนวน 5.06 ล. หลัง และต่ำสุดจำนวน 4 ล. หลัง (รอยเตอร์ 22)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 22 ก.ย. 43 42.781 (42.658)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 22 ก.ย. 43
ซื้อ 42.5388 (42.4702) ขาย 42.8474 (42.7752)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,450 (5,400) ขาย 5,550 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 30.13 (31.15)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 14.64 (14.64)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-