การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.3 โดยหมวดสินค้าส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ยกเว้นหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยาสูบ และสิ่งทอ
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+32.5%) ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตามรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย โดยการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัทเจเนรัลมอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้น หมวดเครื่องดื่ม (+17.3%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ เนื่องจาก โรงงานสุราที่ประมูลได้จากกรมโรงงานผลิตสุรา เพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี ประกอบกับ มีการเปิดดำเนินการของโรงงานที่ประมูลได้จากกรมสรรพสามิตเพิ่มอีก 2 โรง หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+7.6%) การผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนที่โรงกลั่นน้ำมันบางจากประสบปัญหาวัตถุดิบป้อนโรงกลั่นไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+6.2%) การผลิตเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการภายในประเทศ หมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ (+4.1%) เพิ่มขึ้น ตามการส่งออกโลหะดีบุก คอมเพรสเซอร์ และกระจกแผ่น เป็นสำคัญ
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-36.8%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ และหมวดยาสูบ (-17.3%) การผลิตลดลง เนื่องจากเดือนสิงหาคมปีก่อน มีข่าวทางการจะปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต จึงผลิตสต๊อคไว้มาก ประกอบกับเดือนสิงหาคมปีนี้ มีการปิดสายการผลิตบางส่วน เพื่อให้พนักงานหยุดพักผ่อน
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.4 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.7 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 55.1)
สำหรับหมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (44.4%) เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตโทรทัศน์ และแผงวงจรไฟฟ้า เพื่อชดเชยการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำมากในเดือนก่อน หมวดวัสดุก่อสร้าง (52.5%) การผลิตเพิ่มขึ้นตามการส่งออก และความต้องการภายในประเทศ จากนโยบายกระตุ้นการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยของรัฐบาล หมวดเครื่องดื่ม (32.2%) ตามการผลิตเบียร์ เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง โดยผู้ประกอบการรายใหญ่เร่งผลิตเพื่อขยายตลาด
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (45.9%) ลดลงทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น ท่อเหล็ก เนื่องจากมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กราคาต่ำจากญี่ปุ่น อัฟริกาใต้ อินเดีย และรัสเซีย มาแข่งขัน ผลิตภัณฑ์อื่นๆ (75.1%) ลดลง ตามการส่งออกเป็นสำคัญ หมวดอาหาร (31.6%) ลดลงตามการผลิตสับปะรดกระป๋อง เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตสับปะรดสดมีน้อย โรงงานบางส่วนจึงปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักร
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 8 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.2 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 55.7 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+32.5%) ผลผลิตเพิ่มขึ้น ตามรถยนต์นั่งและรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย โดยการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ คือ บริษัทเจเนรัลมอเตอร์ประเทศไทย จำกัด ส่งออกรถยนต์นั่งได้เพิ่มขึ้น หมวดเครื่องดื่ม (+17.3%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ เนื่องจาก โรงงานสุราที่ประมูลได้จากกรมโรงงานผลิตสุรา เพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี ประกอบกับ มีการเปิดดำเนินการของโรงงานที่ประมูลได้จากกรมสรรพสามิตเพิ่มอีก 2 โรง หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+7.6%) การผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนที่โรงกลั่นน้ำมันบางจากประสบปัญหาวัตถุดิบป้อนโรงกลั่นไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+6.2%) การผลิตเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการภายในประเทศ หมวดผลิตภัณฑ์อื่นๆ (+4.1%) เพิ่มขึ้น ตามการส่งออกโลหะดีบุก คอมเพรสเซอร์ และกระจกแผ่น เป็นสำคัญ
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-36.8%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นสำคัญ และหมวดยาสูบ (-17.3%) การผลิตลดลง เนื่องจากเดือนสิงหาคมปีก่อน มีข่าวทางการจะปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต จึงผลิตสต๊อคไว้มาก ประกอบกับเดือนสิงหาคมปีนี้ มีการปิดสายการผลิตบางส่วน เพื่อให้พนักงานหยุดพักผ่อน
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.4 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก และหมวดอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิต : เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 51.7 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 55.1)
สำหรับหมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (44.4%) เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตโทรทัศน์ และแผงวงจรไฟฟ้า เพื่อชดเชยการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำมากในเดือนก่อน หมวดวัสดุก่อสร้าง (52.5%) การผลิตเพิ่มขึ้นตามการส่งออก และความต้องการภายในประเทศ จากนโยบายกระตุ้นการลงทุนด้านที่อยู่อาศัยของรัฐบาล หมวดเครื่องดื่ม (32.2%) ตามการผลิตเบียร์ เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูง โดยผู้ประกอบการรายใหญ่เร่งผลิตเพื่อขยายตลาด
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (45.9%) ลดลงทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้น ท่อเหล็ก เนื่องจากมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กราคาต่ำจากญี่ปุ่น อัฟริกาใต้ อินเดีย และรัสเซีย มาแข่งขัน ผลิตภัณฑ์อื่นๆ (75.1%) ลดลง ตามการส่งออกเป็นสำคัญ หมวดอาหาร (31.6%) ลดลงตามการผลิตสับปะรดกระป๋อง เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตสับปะรดสดมีน้อย โรงงานบางส่วนจึงปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักร
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 8 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 53.2 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 55.7 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-