การผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนกันยายนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.8 โดยหมวดสินค้าส่วนใหญ่มีการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ยกเว้นหมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ผลิตลดลง
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-38.5%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และปัญหาการก่อวินาศกรรม ทำให้มีการเลื่อนการส่งมอบสินค้าออกไป
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แ ก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง (+20.4%) การผลิตเพิ่มขึ้นตามความต้องการปูนซิเมนต์ของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะเวียดนามและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่เดือนนี้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+19.8%) ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ตามการผลิตรถยนต์พาณิชย์ อย่างไรก็ตามการผลิตรถยนต์นั่งยังขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย หมวดเครื่องดื่ม (+10.8%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ เนื่องจาก โรงงานสุราที่ประมูลได้จากกรมโรงงาน ผลิตสุราเพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี ประกอบกับ มีการเปิดดำเนินการของโรงงานที่ประมูลได้จากกรมสรรพสามิตเพิ่มอีก 2 โรง ในเดือนนี้ หลังจากที่มีการเปิดดำเนินการแล้ว 2 โรง เมื่อเดือนสิงหาคม หมวดยาสูบ (+5.7%) การผลิตเพิ่มขึ้น ตามการกักตุนสินค้าของตัวแทนจำหน่าย ที่คาดว่าจะมีการปรับราคาบุหรี่สูงขึ้น จากการบังคับใช้ พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.1 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ และ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นสำคัญ อัตราการเปลี่ยนเเปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน : ร้อยละ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนกันยายนทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.8 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 56)
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยาสูบ (70.5%) เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตัวแทนจำหน่ายที่กักตุนสินค้า เพราะคาดว่าราคาบุหรี่จะปรับตัวสูงขึ้นจากข่าวการบังคับใช้ พรบ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (48.7%) เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตโทรทัศน์ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากในเดือนนี้มีจำนวนสัปดาห์ของการผลิต 5 สัปดาห์ ซึ่งมากกว่าเดือนก่อนที่มีเพียง 4 สัปดาห์ (ทำให้เดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสจะมีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าปกติ) หมวดวัสดุก่อสร้าง (59.1%) เพิ่มขึ้นตามการส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังประเทศเวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (44.3%) ลดลงตามการผลิตรถยนต์พาณิชย์เพื่อส่งออกเป็นสำคัญ หมวดเครื่องดื่ม (31.8%) ลดลง ตามการผลิตเบียร์ ซึ่งผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หมวดอาหาร (32.4%) ลดลงตามการผลิตอาหารทะเลกระป๋องและสับปะรดกระป๋องที่ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขันทางด้านราคา
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 9 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 52.8 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 55.8 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
สำหรับหมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-38.5%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งประสบภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และปัญหาการก่อวินาศกรรม ทำให้มีการเลื่อนการส่งมอบสินค้าออกไป
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แ ก่ หมวดวัสดุก่อสร้าง (+20.4%) การผลิตเพิ่มขึ้นตามความต้องการปูนซิเมนต์ของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะเวียดนามและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่เดือนนี้ส่งออกได้เพิ่มขึ้น หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+19.8%) ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ตามการผลิตรถยนต์พาณิชย์ อย่างไรก็ตามการผลิตรถยนต์นั่งยังขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากมาตรการกระตุ้นการขาย หมวดเครื่องดื่ม (+10.8%) เพิ่มขึ้น ตามการผลิตสุราเป็นสำคัญ เนื่องจาก โรงงานสุราที่ประมูลได้จากกรมโรงงาน ผลิตสุราเพื่อสะสมสต๊อกไว้จำหน่ายในช่วงปลายปี ประกอบกับ มีการเปิดดำเนินการของโรงงานที่ประมูลได้จากกรมสรรพสามิตเพิ่มอีก 2 โรง ในเดือนนี้ หลังจากที่มีการเปิดดำเนินการแล้ว 2 โรง เมื่อเดือนสิงหาคม หมวดยาสูบ (+5.7%) การผลิตเพิ่มขึ้น ตามการกักตุนสินค้าของตัวแทนจำหน่าย ที่คาดว่าจะมีการปรับราคาบุหรี่สูงขึ้น จากการบังคับใช้ พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.1 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง หมวดเครื่องดื่ม หมวดอัญมณีและเครื่องประดับ และ หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นสำคัญ อัตราการเปลี่ยนเเปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน : ร้อยละ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนกันยายนทรงตัวจากเดือนก่อน โดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 52.8 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 56)
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยาสูบ (70.5%) เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตัวแทนจำหน่ายที่กักตุนสินค้า เพราะคาดว่าราคาบุหรี่จะปรับตัวสูงขึ้นจากข่าวการบังคับใช้ พรบ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (48.7%) เพิ่มขึ้นทั้งการผลิตโทรทัศน์ และแผงวงจรไฟฟ้า เนื่องจากในเดือนนี้มีจำนวนสัปดาห์ของการผลิต 5 สัปดาห์ ซึ่งมากกว่าเดือนก่อนที่มีเพียง 4 สัปดาห์ (ทำให้เดือนสุดท้ายของแต่ละไตรมาสจะมีการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าปกติ) หมวดวัสดุก่อสร้าง (59.1%) เพิ่มขึ้นตามการส่งออกปูนซีเมนต์ไปยังประเทศเวียดนาม และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
หมวดสินค้าที่ใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนก่อนที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (44.3%) ลดลงตามการผลิตรถยนต์พาณิชย์เพื่อส่งออกเป็นสำคัญ หมวดเครื่องดื่ม (31.8%) ลดลง ตามการผลิตเบียร์ ซึ่งผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หมวดอาหาร (32.4%) ลดลงตามการผลิตอาหารทะเลกระป๋องและสับปะรดกระป๋องที่ลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากประสบปัญหาการแข่งขันทางด้านราคา
ส่วนการใช้กำลังการผลิตในช่วง 9 เดือนแรก อยู่ที่ระดับร้อยละ 52.8 ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่อยู่ในระดับร้อยละ 55.8 เนื่องจากมีการทยอยขยายกำลังการผลิตของหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง อุตสาหกรรมเบียร์ ปิโตรเลียม แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 เป็นต้นมา
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-