ข้อมูลประกอบการสนทนาในรายการ “กรองสถานการณ์” สถานีโทรทัศน์ช่อง 11
โดย อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นางบุญทิพา สิมะสกุล)
วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2544
-------------------------
1. ความคืบหน้าล่าสุดของข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าภายใต้ข้อตกลง ASEAN APEC และ WTO เพื่อความเข้าใจเบื้องต้นของประชาชน
WTO
นอกจากการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO แล้ว สมาชิก WTO ได้ให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ
1) การเรียกความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคีกลับคืนมา
2) ให้มีการเจรจาต่อไปในเรื่องการค้าสินค้าเกษตรและการค้าบริการ
3) เตรียมการเจรจารอบใหม่ และเตรียมการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4
การเรียกความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคีกลับคืนมานั้น มีการดำเนินการ 4 เรื่อง คือ
1) การเปิดตลาดให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก และยังมีการเก็บภาษีในสินค้าสำคัญหลายรายการ คือ สิ่งทอ ข้าว น้ำตาล และกล้วย ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาได้เรียกร้องให้ได้รับการยกเว้นภาษีด้วย
2) การเพิ่มงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ญี่ปุ่นพยายามมีบทบาทมากขึ้น โดยแจ้งความช่วยเหลือผ่านประเทศ APEC และ JICA
3) การช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดให้ปฏิบัติตามพันธกรณี
4) การปรับปรุงการดำเนินงานของ WTO
การเจรจาต่อใน WTO
สินค้าเกษตร การเจรจารอบใหม่เริ่มตั้งแต่มีนาคม 2543 ท่าทีของการเจรจาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) ให้มีการปฏิรูปภาคเกษตร เช่น กลุ่ม Cairns และสหรัฐฯ
2) ให้มีการคุ้มครองและอุดหนุนต่อไป เช่น EU ญี่ปุ่น เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังต้องการสิทธิพิเศษ
การค้าบริการ เริ่มเจรจามาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2543 ขณะนี้กำลังจัดการ work programme สำหรับการเปิดเสรีรายสาขา
การเจรจารอบใหม่ และการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4
- กำหนดให้มีการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
- สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จะใช้การประชุมครั้งนี้เปิดการเจรจารอบใหม่โดยจะผลักดันให้รวมเรื่องการลงทุน นโยบายการแข่งขัน และเรื่องอื่น ๆ เข้าเจรจาด้วย ซึ่งหลายประเทศกังวลว่าอาจจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับที่ซีแอตเติล คือ ไม่สามารถตกลงกันได้ และขณะนี้สหรัฐฯ ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะสนับสนุนการเจรจารอบใหม่
สถานะล่าสุด
ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ Second Frankfurt Meeting ของสมาชิก WTO 19 ประเทศ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 ณ นครเจนีวา ได้มีการพิจารณา 7 เรื่องด้วยกัน คือ
- การปฏิบัติตามพันธกรณีการเจรจารอบอุรุกวัยนั้น สหภาพยุโรปเสนอให้มีการจัดทำ comprehensive list of issues โดยแบ่งกลุ่มเป็น “generic terms ” ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่รวมทั้งไทยก็เห็นด้วย
- การเข้าสู่ตลาด ประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่า หากไม่บรรลุเป้าหมายการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย ก็ยากที่จะยอมรับเรื่องนี้
- กฎระเบียบ ที่ประชุมเห็นควรให้มีการทบทวนเรื่อง AD/CVD, safeguard , SPS , TBT, TRIPs รวมทั้งเรื่อง Preferential Trade Arrangement และ Article 18 ของ GATT
- การอำนวยความสะดวกทางการค้า เห็นว่าควรนำเข้าเจรจาใน New Round
- การลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ทุกประเทศเห็นด้วยกับ multilateral agreement มากกว่า plurilateral agreement
- เรื่องสิ่งแวดล้อม ประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่า บทบัญญัติในมาตรา 20 ของ GATT เพียงพอในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ในขณะที่ประเทศพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่าไม่เพียงพอ และต้องการให้มีการเจรจาเรื่อง MEAs, eco-labelling และ precautionary principle ในการเจรจารอบใหม่
ASEAN เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
เริ่มดำเนินการในปี 2536 หลักการ คือ ลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่าง ๆ โดยกำหนดเร่งลดภาษีสินค้า ดังนี้
- สมาชิกเดิมต้องลดภาษีสินค้าให้เหลือ 0-5% ภายในปี 2545 โดยยืดหยุ่นได้ถึงปี 2546
- สมาชิกใหม่ (เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา) ขยายเวลาออกไปอีก 3-5 ปี แล้วแต่กรณี
- ลดภาษีเหลือ 0% ทุกรายการภายในปี 2553 สำหรับสมาชิกเดิม ส่วนสมาชิกใหม่ให้ลดภายในปี 2558 ยืดหยุ่นได้ถึงปี 2561
ปัจจุบันประเทศอาเซียนนำสินค้าเข้ามาลดภาษีแล้ว จำนวน 53,144 รายการ คิดเป็นร้อยละ82.61 ของจำนวนรายการทั้งหมด อัตราภาษีเฉลี่ยในปัจจุบันเท่ากับ 3.87% (ก่อนมี AFTA ในปี 2536 อัตราภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 12.76%)
กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการจัดทำความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์
กรอบความตกลงนี้ครอบคลุมมาตรการในการดำเนินการสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
1) อำนวยความสะดวกในการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลข่าวสารของอาเซียน
2) อำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน
3) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT)
4) พัฒนาสังคมอิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน และเสริมสร้างความสามารถเพื่อลดช่องว่างด้านอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละประเทศ และระหว่างประเทศอาเซียน
5) ส่งเสริมการใช้ ICT ในการให้บริการของรัฐบาล หรือการจัดตั้งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ ยังได้มีการส่งเสริมประเทศสมาชิกซึ่งมีความพร้อมในการเร่งรัดการดำเนินการตามความตกลงให้สามารถดำเนินการได้ในปี 2545
เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA)
กำหนดให้เปิดเสรีการลงทุนระหว่างสมาชิกเดิมภายในปี 2546 และปี 2553 สำหรับสมาชิกใหม่ โดยยกเว้นได้สำหรับรายการที่ไม่พร้อมเป็นการชั่วคราว สำหรับนักลงทุนทั่วไปจะเปิดเสรีในปี 2563
ในช่วงปี 2542-2543 มีการประกาศใช้มาตรการระยะสั้นเพื่อขยายการลงทุน โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนเป็นพิเศษแก่นักลงทุนทั้งในและนอกอาเซียน ที่ยื่นคำขออนุมัติโครงการ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2543 นอกจากนี้ ได้ร่วมมือกันจัดโครงการส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน (Joint Investment Promotion) เพื่อดึงดูดการลงทุน และส่งสัญญาณให้นักลงทุนทราบว่าอาเซียนได้ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว โดยเน้นกลุ่มประเทศเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น
ขณะนี้ ได้ขยายการเปิดเสรีการลงทุนให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมการผลิตเภษตรกรรม ป่าไม้ ประมง
และเหมืองแร่ และให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติแล้ว สำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีขอยกเว้นเปิดเสรี ซึ่งบัญชีดังกล่าวกำหนดจะต้องยื่นต่อคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน (AIA Council) ในปี 2544
ความร่วมมือด้านบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service — AFAS)
ปี 2539-2541 ประเทศสมาชิกได้เจรจาเพื่อทำข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขา ได้แก่ การเงิน การท่องเที่ยว การสื่อสารโทรคมนาคม การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การก่อสร้าง และธุรกิจ และในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 6 ในปี 2541 มีมติให้เริ่มเปิดการเจรจาด้านการค้าบริการรอบใหม่ ระหว่างปี 2542-2544 ซึ่งขยายจากการบริการ 7 สาขา เป็นครอบคลุมทุกสาขาบริการและทุกรูปแบบการให้บริการ (all services sectors and all modes of supply)
โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน เมื่อเดือนเมษายน 2539 เพื่อส่งเสริมการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน และเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ AICO จะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ (1) สินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้อง เสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-5 โดยไม่ต้องรอแผนการลดภาษีภายใต้อาฟต้า (2) สินค้านั้นได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ และ (3) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ
ขณะนี้มีสินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการ AICO แล้วจำนวนมาก เช่น ยานยนต์และ ชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์การเกษตร เป็นต้น
APEC
เอเปคยังคงยืนยันการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์ที่จะเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ภายในปี ค.ศ. 2010 และ 2020 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ตามลำดับ โดยมีแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan : IAP)เป็นกลไกหลัก ซึ่งแต่ละสมาชิกจะเสนอแผนงานเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนตามความพร้อมและความสมัครใจของตนเป็นประจำทุกปี และตั้งแต่ปี 2544 สมาชิกจะต้องรายงาน IAP ทุกเรื่องในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-IAP) เพื่อเพิ่มความชัดเจนและความโปร่งใสในการนำเสนอ IAP ทางอินเตอร์เน็ต
สมาชิกเอเปคยังได้ตกลงที่จะผลักดัน WTO ให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยเร็วที่สุด และให้ความสำคัญกับแผนงานเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO เพื่อสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งปีนี้ญี่ปุ่นจะเริ่มให้ความช่วยเหลือบางส่วนแก่ไทยภายใต้แผนงานความร่วมมือทวิภาคี นอกจากนั้น เอเปคได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) รวมทั้งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิก
2. หากจะพูดถึงการริเริ่มการเปิดเสรีด้านการค้าในกลุ่มอาเซียนที่เริ่มปฎิบัติมาตั้งแต่ประเทศภาคีสมาชิกอาเซียนให้สิทธิพิเศษทางการค้าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร (Margin of Preferences : MOP) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2521 หรือเมื่อ 23 ปีก่อน สภาพเศรษฐกิจภายในกลุ่มอาเซียนได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เอื้อต่อการเปิดเสรีการค้าหรือไม่เพียงใด (ดร.สมเกียรติ)
3. ท่านกลางภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ยังไม่ฟื้นตัวนัก โดยบรรดาประเทศเพื่อนบ้านยังต้องแก้ไขปัญหาภายในประเทศของตน ทั้งปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ คิดว่าในภาวะเช่นนี้ระบบการค้าเสรี มีความเหมาะสมที่จะช่วยเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาในภูมิภาคอย่างไร
ระบบการค้าเสรี หมายถึง การค้าที่ไม่มีอุปสรรคทางการค้า ไม่มีภาษีศุลกากร ไม่มีสิทธิพิเศษใด ๆ ซึ่งการที่ไม่มีอุปสรรคใด ๆ มากีดขวางการดำเนินการค้าจะทำให้ทุกประเทศสามารถส่ง
สินค้าไปขายได้ทั่วโลก การส่งออกก็จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อันจะก่อให้เกิดการจ้างงาน การขยายการลงทุนเพื่อขยายการผลิตสินค้าสู่ตลาด เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ปริมาณการค้าที่เพิ่มมากขึ้นทำให้รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศเพิ่มขึ้น และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศและประชาชน
ดังนั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจของภูมิภาคมีปัญหาวิกฤตและต้องการที่จะฟื้นตัว ระบบการค้าเสรียิ่งมีความเหมาะสมมากขึ้นกว่าในภาวะปกติ ในการที่จะช่วยเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาในภูมิภาค โดยต้องทำให้การค้าเสรีมากขึ้น ด้วยการเร่งลดภาษี ลดอุปสรรค์ต่าง ๆ ให้หมดไป เพื่อให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น เมื่อมีการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียนโดยเริ่มลดภาษีระหว่างกันตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา การส่งออกของไทยไปอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่ส่งออกได้ประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2535 (ก่อนมี AFTA) เพิ่มขึ้นเป็น 13,514 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นประมาณ 301% หรือเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัว
ส่วนการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า จาก 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2535 เพิ่มเป็น 10,346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นประมาณ 88% และจากที่ไทยเคยขาดดุลในตลาดอาเซียนมาตลอดก่อนหน้าปี 2536 ก็เริ่มเกินดุลขึ้นมาโดยตลอด ขณะนี้เกินดุลประมาณปีละ 2,000-3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การเพิ่มขึ้นของการค้าทำให้ตลาดอาเซียนจากที่เคยเป็นคู่ค้าอันดับสี่ของไทย ในปี 2535 กลายมาเป็นคู่ค้าอันดับสอง ในปี 2543 มีสัดส่วน 18% ของการค้าไทย และยังเคยเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยในช่วงปี 2538-2540 แต่กลับเป็นอันดับสองในปัจจุบัน เพราะภาวะวิกฤติในเอเชีย
ที่สำคัญ ผลจากการเปิดเสรีที่ทำให้ทุกประเทศต้องเปิดตลาด ทำให้ไทยสามารถผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2542-2543 ฉุดให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติ โดยมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.2 และ 4.3 ในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ
หากไม่มีการเปิดเสรี การส่งออกคงจะขยายตัวได้ยาก แล้วไทยจะนำรายได้จากไหนมากระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น ยิ่งเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวขึ้นก็ต้องเร่งเปิดเสรี เร่งลดอุปสรรค เพื่อเพิ่มการค้า เพิ่มการลงทุน อันจะนำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดจะช่วยเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาในภูมิภาคได้แน่นอน
4. อยากให้อาจารย์อธิบายลักษณะข้อตกลงการค้าเสรี (ยกเลิกมาตรการภาษี ลดการอุดหนุน แทรกแซง ฯลฯ) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย และจะเห็นผลประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม (เชิงยกตัวอย่าง) (ดร.สมเกียรติ)
ลักษณะข้อตกลงการค้าเสรีที่เหมาะสมกับประเทศไทย และจะเห็นผลประโยชน์ต่อประเทศ
ชาติอย่างเป็นรูปธรรม คือ การเปิดเสรีด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่ไทยควรจะทำน้อยกว่า เพื่อมีเวลาให้ผู้ประกอบการภายในประเทศได้ปรับตัวให้พร้อมกับการแข่งขัน เช่น ในกรอบ WTO
* การลดภาษีสินค้าเกษตร
- ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย ต้องลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี
* การอุดหนุนภายในของสินค้าเกษตร
- ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดการอุดหนุนภายในลงร้อยละ 20 ภายใน 6 ปี
- ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย ต้องลดการอุดหนุนลงร้อยละ 13 ภายใน 10 ปี
* การอุดหนุนการส่งออก
- ประเทศพัฒนาแล้ว ให้ลดปริมาณที่ได้รับการอุดหนุนลงร้อยละ 21 และลดเงิน
อุดหนุนลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- ประเทศกำลังพัฒนา ลดปริมาณที่ได้รับการอุดหนุนลงร้อยละ 14 และลดเงิน
อุดหนุนลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี
* การลดภาษีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเทศสมาชิกต้องลดภาษีสินค้า IT เป็น 0 ภายในปี 2543
- สำหรับประเทศไทย ได้รับการผ่อนผันให้ลดภาษีเป็น 0 ภายในปี 2548
5. เศรษฐกิจไทยจึงผูกโยงกับเศรษฐกิจการค้าโลกค่อนข้างมาก ประกอบกับความต้องการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของโลกปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วฉับไว ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกจึงส่งผลกับประเทศไทยโดยทันทีและค่อนข้างมาก โดยยากที่จะหลีกเลี่ยง เมื่อประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลต่อนโยบายการค้าเสรีของไทยหรือไม่
การที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นชะลอตัวลงนั้น ไม่กระทบต่อนโยบายการค้าเสรีของไทย เพราะเป็นคนละเรื่องกัน นโยบายการค้าเสรีวางไว้เพื่อมิให้แต่ละประเทศปิดกั้นตัวเอง ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศใดจะชะลอตัว ทุกประเทศต้องยึดนโยบายเสรีเหมือนเดิม เพราะกลัวลัทธิปกป้อง ถ้าหากเราเปลี่ยนนโยบายเป็นปิดประเทศไม่เปิดเสรี แล้วประเทศอื่นทำด้วย เราจะทำอย่างไรกับการส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งปัจจุบันรายได้ของประเทศมาจากการส่งออกถึง 55%
นอกจากนี้ ก็ยังไม่มีสัญญานว่าประเทศอื่น ๆ จะมีนโยบายชะลอการเปิดเสรีหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขแต่อย่างไร จะมีก็แต่การเตรียมการว่าจะจัดการเรื่องการค้าระหว่างประเทศอย่างไร เมื่อ Demand ในตลาดลดลง ขณะที่ Supply ในตลาดมากขึ้น
ดังนั้น สิ่งที่ไทยต้องให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก เพราะการแข่งขันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เมื่อ Demand ในตลาดมีน้อย แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกาไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1.3% และในญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาด 2.8% ฉะนั้นไทยอาจจะสู้ได้เพราะสินค้าไทยที่ครองตลาดอยู่หลายรายการ เช่น สินค้าอาหาร ยังเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ
การที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นชะลอตัวนั้น การที่จะปรับฟื้นเศรษฐกิจคงจะไม่ทำโดยการปกป้องตัวเองโดยใช้นโยบายปิดกั้นการค้า เพราะจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมตัวเอง คงจะต้องแก้ไขด้วยนโยบายอื่น เช่น ลดอัตราดอกเบี้ย การควบคุมการใช้จ่าย ฉะนั้น นโยบายการค้าเสรีคงจะดำรงอยู่เหมือนเดิม
6. ในเชิงของผู้บริโภค ในช่วงเศรษฐกิจเช่นนี้อาจจะต้องสนใจกับเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ เงินฝาก หรือสามสิบบาทรักษาได้ทุกโรค การค้าเสรีจะเป็นเรื่องไกลตัวหรือไม่ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมหรือได้รับประโยชน์จากการค้าเสรีได้อย่างไร (ดร.สมเกียรติ)
การค้าเสรีไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนเลย ที่ชัดเจนที่สุด คือ ใน ASEAN จะเปิดเสรีเต็มที่ในปี 2545 คือ ปีหน้านี้
ประชาชนมีส่วนร่วมแน่นอนกับการเปิดเสรี แต่มิได้มีส่วนร่วมโดยตรง อย่างเช่นการที่รัฐจะเปิดเสรี ได้จัดการสัมมนาเพื่อเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น โดยได้เชิญองค์กรเอกชน เช่น NGOs และสถาบันต่าง ๆ ให้เข้าร่วมด้วย
แต่ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ละก็ ประชาชนได้รับประโยชน์เต็ม ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่น
* ซื้อสินค้าและบริการได้ราคาถูก และมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้น เพราะมีสินค้าเข้ามาขายและแข่งขันกันมาก เช่น การขอโทรศัพท์บ้าน สมัยก่อนองค์การโทรศัพท์ เป็นผู้ผูกขาดเบอร์โทรศัพท์ และเครือข่ายมีน้อยกระจายไม่ทั่วถึง จะขอโทรศัพท์ต้องซื้อพันธบัตร หรือซื้อต่อจากผู้อื่นในราคาหลายหมื่นบาท ปัจจุบันเมื่อเปิดเสรี มีบริษัท TA เข้ามาให้บริการ การขอโทรศัพท์ไม่ต้องเสียเงินเพียงแต่จ่ายค่าประกัน เพียง 2,918 บาท เท่านั้น และก็ขอคืนได้เมื่อเลิกใช้
* มีรายได้มากขึ้น เพราะเมื่อเปิดเสรีก็ส่งออกได้มาก ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนก็มีรายได้มากขึ้น
7. ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อ
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้า ที่ล้าสมัยให้มีความเป็นสากล และสอดคล้องกับ
กฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ และลดความเสียเปรียบทางการค้า ในโลกการค้าไร้พรมแดน
ปัจจุบันในลักษณะใดบ้าง
ในโลกการค้าไร้พรมแดนที่สินค้าสามารถเคลื่อนย้ายไปทั่วโลกได้อย่างเสรีและรวดเร็ว อีกทั้งมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น รัฐบาลได้มีการปรับปรุง กฎ ระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการค้ามากขึ้น ซึ่งได้มีการปรับปรุงในหลายด้าน เช่น
* นำระบบ EDI มาใช้ในพิธีการศุลกากรทั้งด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนในการบริหารและการจัดการ และเพิ่มความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
* การบริการจองชื่อนิติบุคคล เพื่อจดทะเบียนธุรกิจทางระบบ Internet และจะขยายไปสู่การจดทะเบียนธุรกิจทาง Internet ต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับธนาคารกรุงไทย และธนาคารเอเซีย ในเรื่องของการชำระเงินค่าจดทะเบียน คาดว่าจะดำเนินการได้ในเร็ว ๆ นี้
* การกำหนดให้นักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าจากไทยและนำออกไปนอกประเทศ ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
* ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการออกกฎหมายที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของไทย รวม 6 ฉบับ ซึ่งมี 2 ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วและวุฒิสภากำลังพิจารณาอยู่ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอีก 1 ฉบับ ได้ยกร่างกฎหมายเสร็จแล้ว และจะเสนอสภาฯพิจารณาต่อไป คือ กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่วนอีก 3 ฉบับ อยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมาย คือ กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
* พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
* พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ เพื่อลดความเสียเปรียบทางการค้าที่สำคัญ ได้แก่
* การออก พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
* ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นพ.ศ. 2542
* พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
* พ.ร.บ.คุ้มครองแผนผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543
8. การเปิดเสรีการค้าเป็นนโยบายพาณิชย์ที่ดำเนินต่อเนื่องมาหลายรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางการค้าของโลกที่ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การที่เราจะเดินไปในทิศทางเดียวกันกับโลก คนไทยในระดับอาชีพต่างๆ ต้องมีความรู้และปรับตัวอย่างไรให้เหมาะสม (ดร.สมเกียรติ)
9. การเปิดเสรีการค้าอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่ในช่วงที่เราประสบกับตัวเลขการขาดดุลการค้าเช่นนี้ มาตรการที่การค้าเสรีจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างหรือไม่
การขาดดุลหรือการเกินดุลการค้าเป็นสภาพของการทำการค้า ที่หากเมื่อใดการส่งออกมากกว่าการนำเข้าเราก็เกินดุลการค้า หากมีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกเราก็ขาดดุลการค้า แต่มิได้หมายความว่า การขาดดุลการค้าจะเป็นตัวฉุดหรือตัวทำลายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ข้อเท็จจริงที่เห็นได้ว่าการขาดดุลการค้ามิใช่ตัวร้ายนั้นดูได้จาก ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาก่อนเกิดวิกฤต ไทยมีการขาดดุลการค้ามาโดยตลอด แต่เศรษฐกิจไทยก็เจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ยิ่งปีใดส่งออกมากก็ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาทำการผลิตมาก ยิ่งต้องการพัฒนาประเทศมากก็ต้องนำเข้าสินค้าทุนมากเช่นกัน เพราะเราไม่มีวัตถุดิบที่เพียงพอ และไม่สามารถผลิตเครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้เอง
กฤตที่เกิดขึ้นในปี 2540 และส่งผลให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำที่สุดในปี 2541 แต่ได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นในปี 2542 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวผลักดันที่สำคัญ คือ การส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจขึ้นจากวิกฤต และการที่เราสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นเพราะการเปิดเสรีการค้าของประเทศต่าง ๆ ตามข้อตกลงของ WTO และ AFTA นั่นเอง หากไม่มีการเปิดเสรีเราคงไม่สามารถขยายการส่งออกได้ขนาดนี้
การที่ถามว่า ปัจจุบันไทยเริ่มขาดดุลการค้าอีกครั้ง (2 เดือนแรกของปีนี้ขาดดุล 265 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การเปิดเสรีจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างหรือไม่นั้น ขอตอบว่า ช่วยได้แน่นอน ช่วยได้อย่างไรนั้น ขอให้พิจารณาจากโครงสร้างรายได้ประชาชาติของไทย
Y = C + I + G + (X-M)
C คือ การใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ปัจจุบันคงจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะรายได้มิได้เพิ่มขึ้น การว่างงานก็ยังมากอยู่ ดอกเบี้ยเงินฝากมีอัตราต่ำ ค่าแรงงานก็ไม่เพิ่มขึ้น
I คือ การลงทุน ก็ยังขยายตัวได้น้อยเพราะประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว การลงทุนจากต่างประเทศคงชะลอตัวลง และการลงทุนของผู้ประกอบการไทยก็จะไม่เพิ่มขึ้นเพราะกำลังการผลิตยังคงเหลืออยู่ ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเพียง 50 - 60% เท่านั้น
G คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล ก็มีไม่มากเพราะมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระคืนอยู่มาก
เพราะฉะนั้น ปัจจัยตัวเดียวที่จะพึ่งได้คือ X นั่นคือ การส่งออก และเมื่อต้องการให้มีการส่งออกมาก ๆ ต้องเปิดเสรี ขณะเดียวกัน M คือ การนำเข้า ก็ต้องปรับ เราจะปรับอย่างไรต้องพิจารณาที่โครงสร้างการนำเข้าของไทย
จากโครงสร้างข้างต้น จะเห็นว่า การนำเข้าส่วนใหญ่ของไทยเป็นการนำเข้าสินค้าทุน ร้อยละ 50.7 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 27.4 และสินค้าเชื้อเพลิง ร้อยละ 10.6 รวมแล้วประมาณร้อยละ 88.7 ของการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งล้วนแต่มีความจำเป็นต้องนำเข้าทั้งสิ้น สินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปนำเข้าเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาผลิตสินค้าและปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อุตสาหกรรมใหม่ ส่วนสินค้าเชื้อเพลิงส่วนหนึ่งเพิ่มเพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ดังนั้น การขาดดุลการค้าจึงยังมิใช่สัญญาณร้ายต่อระบบเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การลดการนำเข้าก็ยังจำเป็นต้องทำเพื่อลดการขาดดุลการค้า เช่น การลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ และหันมาใช้สินค้าไทย ซึ่งรัฐบาลกำลังรณรงค์เรื่องนิยมไทยอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
โดย อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นางบุญทิพา สิมะสกุล)
วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2544
-------------------------
1. ความคืบหน้าล่าสุดของข้อตกลงการเปิดเสรีการค้าภายใต้ข้อตกลง ASEAN APEC และ WTO เพื่อความเข้าใจเบื้องต้นของประชาชน
WTO
นอกจากการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO แล้ว สมาชิก WTO ได้ให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง คือ
1) การเรียกความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคีกลับคืนมา
2) ให้มีการเจรจาต่อไปในเรื่องการค้าสินค้าเกษตรและการค้าบริการ
3) เตรียมการเจรจารอบใหม่ และเตรียมการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4
การเรียกความเชื่อมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคีกลับคืนมานั้น มีการดำเนินการ 4 เรื่อง คือ
1) การเปิดตลาดให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก และยังมีการเก็บภาษีในสินค้าสำคัญหลายรายการ คือ สิ่งทอ ข้าว น้ำตาล และกล้วย ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาได้เรียกร้องให้ได้รับการยกเว้นภาษีด้วย
2) การเพิ่มงบประมาณเพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ญี่ปุ่นพยายามมีบทบาทมากขึ้น โดยแจ้งความช่วยเหลือผ่านประเทศ APEC และ JICA
3) การช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดให้ปฏิบัติตามพันธกรณี
4) การปรับปรุงการดำเนินงานของ WTO
การเจรจาต่อใน WTO
สินค้าเกษตร การเจรจารอบใหม่เริ่มตั้งแต่มีนาคม 2543 ท่าทีของการเจรจาแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1) ให้มีการปฏิรูปภาคเกษตร เช่น กลุ่ม Cairns และสหรัฐฯ
2) ให้มีการคุ้มครองและอุดหนุนต่อไป เช่น EU ญี่ปุ่น เกาหลี สวิตเซอร์แลนด์
3) กลุ่มประเทศกำลังพัฒนายังต้องการสิทธิพิเศษ
การค้าบริการ เริ่มเจรจามาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2543 ขณะนี้กำลังจัดการ work programme สำหรับการเปิดเสรีรายสาขา
การเจรจารอบใหม่ และการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4
- กำหนดให้มีการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
- สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จะใช้การประชุมครั้งนี้เปิดการเจรจารอบใหม่โดยจะผลักดันให้รวมเรื่องการลงทุน นโยบายการแข่งขัน และเรื่องอื่น ๆ เข้าเจรจาด้วย ซึ่งหลายประเทศกังวลว่าอาจจะเกิดปัญหาเช่นเดียวกับที่ซีแอตเติล คือ ไม่สามารถตกลงกันได้ และขณะนี้สหรัฐฯ ยังไม่แสดงท่าทีชัดเจนว่าจะสนับสนุนการเจรจารอบใหม่
สถานะล่าสุด
ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ Second Frankfurt Meeting ของสมาชิก WTO 19 ประเทศ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2544 ณ นครเจนีวา ได้มีการพิจารณา 7 เรื่องด้วยกัน คือ
- การปฏิบัติตามพันธกรณีการเจรจารอบอุรุกวัยนั้น สหภาพยุโรปเสนอให้มีการจัดทำ comprehensive list of issues โดยแบ่งกลุ่มเป็น “generic terms ” ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่รวมทั้งไทยก็เห็นด้วย
- การเข้าสู่ตลาด ประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่า หากไม่บรรลุเป้าหมายการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย ก็ยากที่จะยอมรับเรื่องนี้
- กฎระเบียบ ที่ประชุมเห็นควรให้มีการทบทวนเรื่อง AD/CVD, safeguard , SPS , TBT, TRIPs รวมทั้งเรื่อง Preferential Trade Arrangement และ Article 18 ของ GATT
- การอำนวยความสะดวกทางการค้า เห็นว่าควรนำเข้าเจรจาใน New Round
- การลงทุนและนโยบายการแข่งขัน ทุกประเทศเห็นด้วยกับ multilateral agreement มากกว่า plurilateral agreement
- เรื่องสิ่งแวดล้อม ประเทศกำลังพัฒนาเห็นว่า บทบัญญัติในมาตรา 20 ของ GATT เพียงพอในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว ในขณะที่ประเทศพัฒนาส่วนใหญ่เห็นว่าไม่เพียงพอ และต้องการให้มีการเจรจาเรื่อง MEAs, eco-labelling และ precautionary principle ในการเจรจารอบใหม่
ASEAN เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
เริ่มดำเนินการในปี 2536 หลักการ คือ ลดภาษีและยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่าง ๆ โดยกำหนดเร่งลดภาษีสินค้า ดังนี้
- สมาชิกเดิมต้องลดภาษีสินค้าให้เหลือ 0-5% ภายในปี 2545 โดยยืดหยุ่นได้ถึงปี 2546
- สมาชิกใหม่ (เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา) ขยายเวลาออกไปอีก 3-5 ปี แล้วแต่กรณี
- ลดภาษีเหลือ 0% ทุกรายการภายในปี 2553 สำหรับสมาชิกเดิม ส่วนสมาชิกใหม่ให้ลดภายในปี 2558 ยืดหยุ่นได้ถึงปี 2561
ปัจจุบันประเทศอาเซียนนำสินค้าเข้ามาลดภาษีแล้ว จำนวน 53,144 รายการ คิดเป็นร้อยละ82.61 ของจำนวนรายการทั้งหมด อัตราภาษีเฉลี่ยในปัจจุบันเท่ากับ 3.87% (ก่อนมี AFTA ในปี 2536 อัตราภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 12.76%)
กรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement)
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการจัดทำความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Agreement) ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์
กรอบความตกลงนี้ครอบคลุมมาตรการในการดำเนินการสำคัญ 5 ด้าน ดังนี้
1) อำนวยความสะดวกในการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลข่าวสารของอาเซียน
2) อำนวยความสะดวกในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน
3) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า บริการ และการลงทุนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT)
4) พัฒนาสังคมอิเล็กทรอนิกส์ในอาเซียน และเสริมสร้างความสามารถเพื่อลดช่องว่างด้านอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละประเทศ และระหว่างประเทศอาเซียน
5) ส่งเสริมการใช้ ICT ในการให้บริการของรัฐบาล หรือการจัดตั้งรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ทั้งนี้ ยังได้มีการส่งเสริมประเทศสมาชิกซึ่งมีความพร้อมในการเร่งรัดการดำเนินการตามความตกลงให้สามารถดำเนินการได้ในปี 2545
เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA)
กำหนดให้เปิดเสรีการลงทุนระหว่างสมาชิกเดิมภายในปี 2546 และปี 2553 สำหรับสมาชิกใหม่ โดยยกเว้นได้สำหรับรายการที่ไม่พร้อมเป็นการชั่วคราว สำหรับนักลงทุนทั่วไปจะเปิดเสรีในปี 2563
ในช่วงปี 2542-2543 มีการประกาศใช้มาตรการระยะสั้นเพื่อขยายการลงทุน โดยให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนเป็นพิเศษแก่นักลงทุนทั้งในและนอกอาเซียน ที่ยื่นคำขออนุมัติโครงการ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2543 นอกจากนี้ ได้ร่วมมือกันจัดโครงการส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน (Joint Investment Promotion) เพื่อดึงดูดการลงทุน และส่งสัญญาณให้นักลงทุนทราบว่าอาเซียนได้ฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว โดยเน้นกลุ่มประเทศเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น
ขณะนี้ ได้ขยายการเปิดเสรีการลงทุนให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมการผลิตเภษตรกรรม ป่าไม้ ประมง
และเหมืองแร่ และให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติแล้ว สำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ระหว่างการจัดทำบัญชีขอยกเว้นเปิดเสรี ซึ่งบัญชีดังกล่าวกำหนดจะต้องยื่นต่อคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเซียน (AIA Council) ในปี 2544
ความร่วมมือด้านบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service — AFAS)
ปี 2539-2541 ประเทศสมาชิกได้เจรจาเพื่อทำข้อผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 7 สาขา ได้แก่ การเงิน การท่องเที่ยว การสื่อสารโทรคมนาคม การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การก่อสร้าง และธุรกิจ และในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 6 ในปี 2541 มีมติให้เริ่มเปิดการเจรจาด้านการค้าบริการรอบใหม่ ระหว่างปี 2542-2544 ซึ่งขยายจากการบริการ 7 สาขา เป็นครอบคลุมทุกสาขาบริการและทุกรูปแบบการให้บริการ (all services sectors and all modes of supply)
โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม (ASEAN Industrial Cooperation Scheme : AICO)
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามโครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน เมื่อเดือนเมษายน 2539 เพื่อส่งเสริมการขยายความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างภาคเอกชนของอาเซียน และเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียน
ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ AICO จะได้รับสิทธิประโยชน์ คือ (1) สินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่เกี่ยวข้อง เสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0-5 โดยไม่ต้องรอแผนการลดภาษีภายใต้อาฟต้า (2) สินค้านั้นได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ และ (3) ได้รับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ
ขณะนี้มีสินค้าที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ในโครงการ AICO แล้วจำนวนมาก เช่น ยานยนต์และ ชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องยนต์การเกษตร เป็นต้น
APEC
เอเปคยังคงยืนยันการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์ที่จะเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ภายในปี ค.ศ. 2010 และ 2020 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ตามลำดับ โดยมีแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan : IAP)เป็นกลไกหลัก ซึ่งแต่ละสมาชิกจะเสนอแผนงานเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนตามความพร้อมและความสมัครใจของตนเป็นประจำทุกปี และตั้งแต่ปี 2544 สมาชิกจะต้องรายงาน IAP ทุกเรื่องในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-IAP) เพื่อเพิ่มความชัดเจนและความโปร่งใสในการนำเสนอ IAP ทางอินเตอร์เน็ต
สมาชิกเอเปคยังได้ตกลงที่จะผลักดัน WTO ให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยเร็วที่สุด และให้ความสำคัญกับแผนงานเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO เพื่อสนับสนุนการเจรจาการค้ารอบใหม่ ซึ่งปีนี้ญี่ปุ่นจะเริ่มให้ความช่วยเหลือบางส่วนแก่ไทยภายใต้แผนงานความร่วมมือทวิภาคี นอกจากนั้น เอเปคได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในเรื่องเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) รวมทั้งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิก
2. หากจะพูดถึงการริเริ่มการเปิดเสรีด้านการค้าในกลุ่มอาเซียนที่เริ่มปฎิบัติมาตั้งแต่ประเทศภาคีสมาชิกอาเซียนให้สิทธิพิเศษทางการค้าด้วยการลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร (Margin of Preferences : MOP) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2521 หรือเมื่อ 23 ปีก่อน สภาพเศรษฐกิจภายในกลุ่มอาเซียนได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่เอื้อต่อการเปิดเสรีการค้าหรือไม่เพียงใด (ดร.สมเกียรติ)
3. ท่านกลางภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคที่ยังไม่ฟื้นตัวนัก โดยบรรดาประเทศเพื่อนบ้านยังต้องแก้ไขปัญหาภายในประเทศของตน ทั้งปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจ คิดว่าในภาวะเช่นนี้ระบบการค้าเสรี มีความเหมาะสมที่จะช่วยเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาในภูมิภาคอย่างไร
ระบบการค้าเสรี หมายถึง การค้าที่ไม่มีอุปสรรคทางการค้า ไม่มีภาษีศุลกากร ไม่มีสิทธิพิเศษใด ๆ ซึ่งการที่ไม่มีอุปสรรคใด ๆ มากีดขวางการดำเนินการค้าจะทำให้ทุกประเทศสามารถส่ง
สินค้าไปขายได้ทั่วโลก การส่งออกก็จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น อันจะก่อให้เกิดการจ้างงาน การขยายการลงทุนเพื่อขยายการผลิตสินค้าสู่ตลาด เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี ปริมาณการค้าที่เพิ่มมากขึ้นทำให้รายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศไหลเข้าประเทศเพิ่มขึ้น และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศและประชาชน
ดังนั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจของภูมิภาคมีปัญหาวิกฤตและต้องการที่จะฟื้นตัว ระบบการค้าเสรียิ่งมีความเหมาะสมมากขึ้นกว่าในภาวะปกติ ในการที่จะช่วยเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาในภูมิภาค โดยต้องทำให้การค้าเสรีมากขึ้น ด้วยการเร่งลดภาษี ลดอุปสรรค์ต่าง ๆ ให้หมดไป เพื่อให้การค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น
ในส่วนของประเทศไทยนั้น เมื่อมีการเปิดเสรีทางการค้าในอาเซียนโดยเริ่มลดภาษีระหว่างกันตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา การส่งออกของไทยไปอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากที่ส่งออกได้ประมาณ 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2535 (ก่อนมี AFTA) เพิ่มขึ้นเป็น 13,514 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นประมาณ 301% หรือเพิ่มขึ้นถึงสามเท่าตัว
ส่วนการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า จาก 5,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2535 เพิ่มเป็น 10,346 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2543 เพิ่มขึ้นประมาณ 88% และจากที่ไทยเคยขาดดุลในตลาดอาเซียนมาตลอดก่อนหน้าปี 2536 ก็เริ่มเกินดุลขึ้นมาโดยตลอด ขณะนี้เกินดุลประมาณปีละ 2,000-3,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
การเพิ่มขึ้นของการค้าทำให้ตลาดอาเซียนจากที่เคยเป็นคู่ค้าอันดับสี่ของไทย ในปี 2535 กลายมาเป็นคู่ค้าอันดับสอง ในปี 2543 มีสัดส่วน 18% ของการค้าไทย และยังเคยเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยในช่วงปี 2538-2540 แต่กลับเป็นอันดับสองในปัจจุบัน เพราะภาวะวิกฤติในเอเชีย
ที่สำคัญ ผลจากการเปิดเสรีที่ทำให้ทุกประเทศต้องเปิดตลาด ทำให้ไทยสามารถผลักดันการส่งออกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในปี 2542-2543 ฉุดให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นจากวิกฤติ โดยมีการขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.2 และ 4.3 ในปี 2542 และ 2543 ตามลำดับ
หากไม่มีการเปิดเสรี การส่งออกคงจะขยายตัวได้ยาก แล้วไทยจะนำรายได้จากไหนมากระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น ยิ่งเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวขึ้นก็ต้องเร่งเปิดเสรี เร่งลดอุปสรรค เพื่อเพิ่มการค้า เพิ่มการลงทุน อันจะนำไปสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดจะช่วยเสริมสร้างและยกระดับการพัฒนาในภูมิภาคได้แน่นอน
4. อยากให้อาจารย์อธิบายลักษณะข้อตกลงการค้าเสรี (ยกเลิกมาตรการภาษี ลดการอุดหนุน แทรกแซง ฯลฯ) ที่เหมาะสมกับประเทศไทย และจะเห็นผลประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างเป็นรูปธรรม (เชิงยกตัวอย่าง) (ดร.สมเกียรติ)
ลักษณะข้อตกลงการค้าเสรีที่เหมาะสมกับประเทศไทย และจะเห็นผลประโยชน์ต่อประเทศ
ชาติอย่างเป็นรูปธรรม คือ การเปิดเสรีด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่ไทยควรจะทำน้อยกว่า เพื่อมีเวลาให้ผู้ประกอบการภายในประเทศได้ปรับตัวให้พร้อมกับการแข่งขัน เช่น ในกรอบ WTO
* การลดภาษีสินค้าเกษตร
- ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย ต้องลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี
* การอุดหนุนภายในของสินค้าเกษตร
- ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องลดการอุดหนุนภายในลงร้อยละ 20 ภายใน 6 ปี
- ประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งไทย ต้องลดการอุดหนุนลงร้อยละ 13 ภายใน 10 ปี
* การอุดหนุนการส่งออก
- ประเทศพัฒนาแล้ว ให้ลดปริมาณที่ได้รับการอุดหนุนลงร้อยละ 21 และลดเงิน
อุดหนุนลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- ประเทศกำลังพัฒนา ลดปริมาณที่ได้รับการอุดหนุนลงร้อยละ 14 และลดเงิน
อุดหนุนลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี
* การลดภาษีสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ประเทศสมาชิกต้องลดภาษีสินค้า IT เป็น 0 ภายในปี 2543
- สำหรับประเทศไทย ได้รับการผ่อนผันให้ลดภาษีเป็น 0 ภายในปี 2548
5. เศรษฐกิจไทยจึงผูกโยงกับเศรษฐกิจการค้าโลกค่อนข้างมาก ประกอบกับความต้องการทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสารของโลกปัจจุบันมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วฉับไว ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกจึงส่งผลกับประเทศไทยโดยทันทีและค่อนข้างมาก โดยยากที่จะหลีกเลี่ยง เมื่อประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย คือ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลต่อนโยบายการค้าเสรีของไทยหรือไม่
การที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นชะลอตัวลงนั้น ไม่กระทบต่อนโยบายการค้าเสรีของไทย เพราะเป็นคนละเรื่องกัน นโยบายการค้าเสรีวางไว้เพื่อมิให้แต่ละประเทศปิดกั้นตัวเอง ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศใดจะชะลอตัว ทุกประเทศต้องยึดนโยบายเสรีเหมือนเดิม เพราะกลัวลัทธิปกป้อง ถ้าหากเราเปลี่ยนนโยบายเป็นปิดประเทศไม่เปิดเสรี แล้วประเทศอื่นทำด้วย เราจะทำอย่างไรกับการส่งออกเพื่อนำรายได้เข้าประเทศ ซึ่งปัจจุบันรายได้ของประเทศมาจากการส่งออกถึง 55%
นอกจากนี้ ก็ยังไม่มีสัญญานว่าประเทศอื่น ๆ จะมีนโยบายชะลอการเปิดเสรีหรือเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขแต่อย่างไร จะมีก็แต่การเตรียมการว่าจะจัดการเรื่องการค้าระหว่างประเทศอย่างไร เมื่อ Demand ในตลาดลดลง ขณะที่ Supply ในตลาดมากขึ้น
ดังนั้น สิ่งที่ไทยต้องให้ความสำคัญและเร่งดำเนินการคือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และการบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลก เพราะการแข่งขันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น เมื่อ Demand ในตลาดมีน้อย แต่ในตลาดสหรัฐอเมริกาไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 1.3% และในญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาด 2.8% ฉะนั้นไทยอาจจะสู้ได้เพราะสินค้าไทยที่ครองตลาดอยู่หลายรายการ เช่น สินค้าอาหาร ยังเป็นสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพ
การที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นชะลอตัวนั้น การที่จะปรับฟื้นเศรษฐกิจคงจะไม่ทำโดยการปกป้องตัวเองโดยใช้นโยบายปิดกั้นการค้า เพราะจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมตัวเอง คงจะต้องแก้ไขด้วยนโยบายอื่น เช่น ลดอัตราดอกเบี้ย การควบคุมการใช้จ่าย ฉะนั้น นโยบายการค้าเสรีคงจะดำรงอยู่เหมือนเดิม
6. ในเชิงของผู้บริโภค ในช่วงเศรษฐกิจเช่นนี้อาจจะต้องสนใจกับเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ เงินฝาก หรือสามสิบบาทรักษาได้ทุกโรค การค้าเสรีจะเป็นเรื่องไกลตัวหรือไม่ ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมหรือได้รับประโยชน์จากการค้าเสรีได้อย่างไร (ดร.สมเกียรติ)
การค้าเสรีไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับประชาชนเลย ที่ชัดเจนที่สุด คือ ใน ASEAN จะเปิดเสรีเต็มที่ในปี 2545 คือ ปีหน้านี้
ประชาชนมีส่วนร่วมแน่นอนกับการเปิดเสรี แต่มิได้มีส่วนร่วมโดยตรง อย่างเช่นการที่รัฐจะเปิดเสรี ได้จัดการสัมมนาเพื่อเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น โดยได้เชิญองค์กรเอกชน เช่น NGOs และสถาบันต่าง ๆ ให้เข้าร่วมด้วย
แต่ถ้าจะพูดถึงประโยชน์ละก็ ประชาชนได้รับประโยชน์เต็ม ๆ โดยไม่รู้ตัว เช่น
* ซื้อสินค้าและบริการได้ราคาถูก และมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าได้มากขึ้น เพราะมีสินค้าเข้ามาขายและแข่งขันกันมาก เช่น การขอโทรศัพท์บ้าน สมัยก่อนองค์การโทรศัพท์ เป็นผู้ผูกขาดเบอร์โทรศัพท์ และเครือข่ายมีน้อยกระจายไม่ทั่วถึง จะขอโทรศัพท์ต้องซื้อพันธบัตร หรือซื้อต่อจากผู้อื่นในราคาหลายหมื่นบาท ปัจจุบันเมื่อเปิดเสรี มีบริษัท TA เข้ามาให้บริการ การขอโทรศัพท์ไม่ต้องเสียเงินเพียงแต่จ่ายค่าประกัน เพียง 2,918 บาท เท่านั้น และก็ขอคืนได้เมื่อเลิกใช้
* มีรายได้มากขึ้น เพราะเมื่อเปิดเสรีก็ส่งออกได้มาก ทำให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชาชนก็มีรายได้มากขึ้น
7. ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ จะต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อ
การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้า ที่ล้าสมัยให้มีความเป็นสากล และสอดคล้องกับ
กฎเกณฑ์การค้าระหว่างประเทศ และลดความเสียเปรียบทางการค้า ในโลกการค้าไร้พรมแดน
ปัจจุบันในลักษณะใดบ้าง
ในโลกการค้าไร้พรมแดนที่สินค้าสามารถเคลื่อนย้ายไปทั่วโลกได้อย่างเสรีและรวดเร็ว อีกทั้งมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น รัฐบาลได้มีการปรับปรุง กฎ ระเบียบ และขั้นตอนต่าง ๆ ให้เอื้อประโยชน์ต่อการค้ามากขึ้น ซึ่งได้มีการปรับปรุงในหลายด้าน เช่น
* นำระบบ EDI มาใช้ในพิธีการศุลกากรทั้งด้านการส่งออกและนำเข้าสินค้า ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนในการบริหารและการจัดการ และเพิ่มความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
* การบริการจองชื่อนิติบุคคล เพื่อจดทะเบียนธุรกิจทางระบบ Internet และจะขยายไปสู่การจดทะเบียนธุรกิจทาง Internet ต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานงานกับธนาคารกรุงไทย และธนาคารเอเซีย ในเรื่องของการชำระเงินค่าจดทะเบียน คาดว่าจะดำเนินการได้ในเร็ว ๆ นี้
* การกำหนดให้นักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าจากไทยและนำออกไปนอกประเทศ ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
* ดำเนินโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการออกกฎหมายที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ของไทย รวม 6 ฉบับ ซึ่งมี 2 ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วและวุฒิสภากำลังพิจารณาอยู่ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอีก 1 ฉบับ ได้ยกร่างกฎหมายเสร็จแล้ว และจะเสนอสภาฯพิจารณาต่อไป คือ กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ส่วนอีก 3 ฉบับ อยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมาย คือ กฎหมายอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
* พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
* พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎ ระเบียบ เพื่อลดความเสียเปรียบทางการค้าที่สำคัญ ได้แก่
* การออก พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
* ประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการกำหนดมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นพ.ศ. 2542
* พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
* พ.ร.บ.คุ้มครองแผนผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2543
8. การเปิดเสรีการค้าเป็นนโยบายพาณิชย์ที่ดำเนินต่อเนื่องมาหลายรัฐบาล ซึ่งถือว่าเป็นทิศทางการค้าของโลกที่ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การที่เราจะเดินไปในทิศทางเดียวกันกับโลก คนไทยในระดับอาชีพต่างๆ ต้องมีความรู้และปรับตัวอย่างไรให้เหมาะสม (ดร.สมเกียรติ)
9. การเปิดเสรีการค้าอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่ในช่วงที่เราประสบกับตัวเลขการขาดดุลการค้าเช่นนี้ มาตรการที่การค้าเสรีจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างหรือไม่
การขาดดุลหรือการเกินดุลการค้าเป็นสภาพของการทำการค้า ที่หากเมื่อใดการส่งออกมากกว่าการนำเข้าเราก็เกินดุลการค้า หากมีการนำเข้ามากกว่าการส่งออกเราก็ขาดดุลการค้า แต่มิได้หมายความว่า การขาดดุลการค้าจะเป็นตัวฉุดหรือตัวทำลายการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ข้อเท็จจริงที่เห็นได้ว่าการขาดดุลการค้ามิใช่ตัวร้ายนั้นดูได้จาก ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมาก่อนเกิดวิกฤต ไทยมีการขาดดุลการค้ามาโดยตลอด แต่เศรษฐกิจไทยก็เจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ยิ่งปีใดส่งออกมากก็ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบเข้ามาทำการผลิตมาก ยิ่งต้องการพัฒนาประเทศมากก็ต้องนำเข้าสินค้าทุนมากเช่นกัน เพราะเราไม่มีวัตถุดิบที่เพียงพอ และไม่สามารถผลิตเครื่องจักรกลต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้เอง
กฤตที่เกิดขึ้นในปี 2540 และส่งผลให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำที่สุดในปี 2541 แต่ได้เริ่มฟื้นตัวขึ้นในปี 2542 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าตัวผลักดันที่สำคัญ คือ การส่งออกที่เพิ่มมากขึ้นเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจขึ้นจากวิกฤต และการที่เราสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้นเพราะการเปิดเสรีการค้าของประเทศต่าง ๆ ตามข้อตกลงของ WTO และ AFTA นั่นเอง หากไม่มีการเปิดเสรีเราคงไม่สามารถขยายการส่งออกได้ขนาดนี้
การที่ถามว่า ปัจจุบันไทยเริ่มขาดดุลการค้าอีกครั้ง (2 เดือนแรกของปีนี้ขาดดุล 265 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การเปิดเสรีจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้างหรือไม่นั้น ขอตอบว่า ช่วยได้แน่นอน ช่วยได้อย่างไรนั้น ขอให้พิจารณาจากโครงสร้างรายได้ประชาชาติของไทย
Y = C + I + G + (X-M)
C คือ การใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคของประชาชน ปัจจุบันคงจะไม่เพิ่มขึ้นมากนัก เพราะรายได้มิได้เพิ่มขึ้น การว่างงานก็ยังมากอยู่ ดอกเบี้ยเงินฝากมีอัตราต่ำ ค่าแรงงานก็ไม่เพิ่มขึ้น
I คือ การลงทุน ก็ยังขยายตัวได้น้อยเพราะประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐฯ และญี่ปุ่น กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว การลงทุนจากต่างประเทศคงชะลอตัวลง และการลงทุนของผู้ประกอบการไทยก็จะไม่เพิ่มขึ้นเพราะกำลังการผลิตยังคงเหลืออยู่ ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเพียง 50 - 60% เท่านั้น
G คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล ก็มีไม่มากเพราะมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระคืนอยู่มาก
เพราะฉะนั้น ปัจจัยตัวเดียวที่จะพึ่งได้คือ X นั่นคือ การส่งออก และเมื่อต้องการให้มีการส่งออกมาก ๆ ต้องเปิดเสรี ขณะเดียวกัน M คือ การนำเข้า ก็ต้องปรับ เราจะปรับอย่างไรต้องพิจารณาที่โครงสร้างการนำเข้าของไทย
จากโครงสร้างข้างต้น จะเห็นว่า การนำเข้าส่วนใหญ่ของไทยเป็นการนำเข้าสินค้าทุน ร้อยละ 50.7 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 27.4 และสินค้าเชื้อเพลิง ร้อยละ 10.6 รวมแล้วประมาณร้อยละ 88.7 ของการนำเข้าทั้งหมด ซึ่งล้วนแต่มีความจำเป็นต้องนำเข้าทั้งสิ้น สินค้าทุนและสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปนำเข้าเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาผลิตสินค้าและปรับเปลี่ยนเครื่องจักร อุตสาหกรรมใหม่ ส่วนสินค้าเชื้อเพลิงส่วนหนึ่งเพิ่มเพราะราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ดังนั้น การขาดดุลการค้าจึงยังมิใช่สัญญาณร้ายต่อระบบเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม การลดการนำเข้าก็ยังจำเป็นต้องทำเพื่อลดการขาดดุลการค้า เช่น การลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยจากต่างประเทศ และหันมาใช้สินค้าไทย ซึ่งรัฐบาลกำลังรณรงค์เรื่องนิยมไทยอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดการนำเข้าน้ำมัน
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-