สำนักวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ได้ศึกษาเอกสารเรื่อง แนวทางในการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลี-สหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์โดย Dr. Inkyo Cheong และ Dr. Yungjong Wang ของสถาบัน Korea Institute for International Economic Policy (KIEP) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างเกาหลี—สหรัฐฯ การศึกษานี้ได้ใช้แบบจำลอง Computational General Equilibrium (CGE) ในการวัดผลประโยชน์ที่ประชาชนของแต่ละประเทศจะได้รับ (Welfare Index ) ว่าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงมากน้อยเพียงไร เมื่อมีการทำความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกันตามรูปแบบต่างๆตามข้อสมมุติฐานหลายรูปแบบ
สรุปผลการศึกษาและความเห็น ดังนี้
1. ความตกลงทางการค้าในภูมิภาค(Regional Trade Agreement :RTA) ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ 1990 จนถึงต้นปี 1999 ได้มีประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก WTO และทำความตกลงทางการค้าในรูปแบบต่างๆระหว่างกันมีจำนวนถึง 163 ความตกลง ประเทศที่ไม่ได้ทำความตกลงทางการค้าในภูมิภาคหรือทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศใดๆ คือ เกาหลี และญี่ปุ่น
2.ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเกาหลี-สหรัฐฯ สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับแรกของเกาหลี ในปี 1997 ทั้งสองประเทศมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 51.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 18.5 ของการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี
สินค้าสำคัญที่นำเข้าและส่งออกระหว่างทั้งสองประเทศ ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ขนส่งซึ่งมี มูลค่ารวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้ารวมระหว่างเกาหลีและสหรัฐฯ โดยอัตราภาษีของเกาหลีสูงกว่าของสหรัฐฯทั้งหมด ยกเว้นบางสินค้า เช่นผลิตภัณฑ์เกษตรบางชนิด เส้นใย และสิ่งทอ เป็นต้น
3.วัตถุประสงค์ของการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ เกาหลีต้องการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ
1) ลดความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของเกาหลี2) เกาหลีจะได้รับประโยชน์จากการเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯเมื่อมีการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
3) การทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯจะดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐฯมากขึ้น
4) เพิ่มความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ
4.ผลการวิเคราะห์ 4.1 ผลทางด้านทางเศรษฐกิจจากการทำความตกลงการค้าเสรีของเกาหลีกับประเทศต่างๆ
หน่วย:พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
เกาหลี-สหรัฐฯ เกาหลี-ญี่ปุ่น เกาหลี-นาฟตา เกาหลี สหรัฐฯ เกาหลี ญี่ปุ่น เกาหลี นาฟตา Welfare Index(%)
Real Income (%)
Price Index(%) 1.73
1.47.
-3.11 0.07
-0.02
0.37 -0.28
0.15
0.18 0.14
-0.01
0.35 2.27
1.82
-3.26 0.09
-0.01
0.54
จากการศึกษาพบว่าเมื่อเกาหลีทำความตกลงการค้าเสรีกับนาฟตา ประชาชนของเกาหลีจะมีความเป็นอยู่(welfare) ที่ดีขึ้นในอัตราที่สูงสุด รองลงมาคือการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และเมื่อมีการทำความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่น welfare จะลดลง ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้อธิบายว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะการทำความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่นทำให้ terms of trade ของเกาหลีเลวลง ในขณะที่ถ้าทำความตกลงฯกับสหรัฐฯ terms of trade ของเกาหลีจะดีขึ้น
4.2 ผลทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีจากการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ
การทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีกับสหรัฐฯ มีข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับการดำเนินการไว้ 5 วิธี คือ
-เปิดเสรีในทุกสาขาโดย
(1) ลดภาษี ร้อยละ 50
(2) ลดภาษี ร้อยละ 100
-เปิดเสรีในทุกสาขายกเว้นสินค้าเกษตร
(3) ลดภาษี ร้อยละ 50
(4) ลดภาษี ร้อยละ 100
-เปิดเสรีในทุกสาขาโดยปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรกับสินค้าอื่นๆ
(5) ลดภาษีสินค้าเกษตร 50 ลดภาษีสินค้าอื่นๆ ร้อยละ 100
จากการลดภาษีทั้ง 5 วิธี ผลประโยชน์ของทั้งเกาหลีและสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น โดยเกาหลีจะได้รับประโยชน์มากกว่าสหรัฐฯในทุกวิธี เนื่องจากอัตราภาษีโดยเฉลี่ยของเกาหลีสูงกว่าของสหรัฐฯ ทั้งนี้เกาหลีและสหรัฐฯจะได้รับประโยชน์สูงสุดหากมีการเปิดเสรีทุกสาขาและลดภาษีลงทั้งหมด( ในตารางหัวข้อ 1.2 )
5.สรุป ผู้ศึกษาได้สรุปว่าการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีและสหรัฐฯ ทั้งสองประเทศจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
การสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาเรื่องการลดภาษีสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว หากมีการศึกษาเรื่องอื่นๆ เช่นการเปิดเสรีทางด้านการลงทุนด้วยคาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ผลประโยชน์ในภาพรวมจะเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลี เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ การต่อเรือ เหล็กและเหล็กกล้า ต่อไป
แม้ผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นว่าการทำความตกลงการค้าเสรีกับนาฟตาจะให้ประโยชน์กับเกาหลีมากกว่าการทำความตกลงฯกับสหรัฐฯ แต่เกาหลีก็ควรเริ่มทำกับสหรัฐฯก่อนเพื่อให้มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเริ่มทำกับนาฟตา ในปัจจุบันเกาหลีเริ่มเจรจาทำความตกลงการค้าเสรีกับชิลีไปแล้ว แม้ว่าชิลีจะไม่ใช่คู่ค้าที่สำคัญของเกาหลี แต่การเริ่มทำกับประเทศที่ไม่ใช่คู่ค้าสำคัญจะไม่ส่งผลต่อการปรับตัวในประเทศมากนักซึ่งจะทำให้สังคมไม่ต่อต้าน และเมื่อเป็นผลสำเร็จเกาหลีก็จะขยายวงกว้างขึ้น
6.ความเห็น
6.1เกาหลีให้ความสนใจในการทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆมากขึ้น คาดว่าเกาหลีศึกษาผลกระทบการทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆไว้แล้วหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าเกาหลีเริ่มเจรจากับชิลี ซึ่งเป็นสมาชิกความตกลงการค้าเสรีในกลุ่มเมอร์โคซูร์ ในทวีปอเมริกาใต้ และชิลียังเป็นประเทศที่ทำความตกลงการค้าเสรีกับอีกหลายประเทศ เช่น กับแคนาดา และยังสนใจที่จะทำความตกลงการค้าเสรีกับไทยซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียน
จากผลการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่าหากเกาหลีทำความตกลงการค้าเสรีกับนาฟตาแล้วเกาหลีจะได้รับประโยชน์มากกว่าการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ จึงคาดได้ว่าเกาหลีมีความประสงค์จะทำความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มการค้าทั้งกลุ่ม เช่น นาฟตา อาเซียน หรือแม้กระทั่งสหภาพยุโรป แต่ เกาหลีจะเริ่มเจรจาเป็นรายประเทศซึ่งจะหาข้อสรุปได้ง่ายกว่าการเริ่มเจรจาพร้อมกันหลายประเทศ และใช้ประโยชน์จากประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มการค้าเสรีที่มีอยู่แล้วเป็นฐานเพื่อขยายตลาดเข้าไปในกลุ่มนั้นๆ เช่นใช้สหรัฐฯเป็นฐานในการขยายตลาดในนาฟตาใช้ไทยหรือสิงคโปร์เป็นฐานในอาเซียน และใช้ชิลีเป็นฐานในเมอร์โคซูร์ เป็นต้น
ดังนั้นในกรณีของอาเซียน หากเกาหลีกับไทยไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการเจรจาการค้าเสรี เกาหลีก็คงหันไปสนใจประเทศอื่นๆในอาเซียนที่มีความพร้อม เช่น สิงคโปร์ ซึ่งหากเกาหลีสามารถทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนได้สำเร็จก็จะสร้างแรงกดดันให้ประเทศอื่นๆรวมทั้งประเทศไทย ต้องเข้าเป็นสมาชิกด้วย
6.2 ในการเจรจาทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีกับชิลี เกาหลีไม่เจรจาเรื่องสินค้าเกษตรเนื่องจากเป็นสาขาที่มีความอ่อนไหวมากสำหรับเกาหลี จึงคาดว่าในการเจรจากับประเทศอื่นๆเกาหลีก็จะขอยกเว้นการเปิดเสรีสินค้าเกษตรเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ศึกษาก็ได้ชี้ประเด็นให้เห็นว่าภายใต้มาตรา XXIV ของแกตต์ที่ได้กล่าวถึงการทำความตกลงการค้าในภูมิภาคหรือการทำความตกลงการค้าเสรีจะต้องมีการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันโดยให้ครอบคลุมสินค้าที่ทำการค้าขายระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกให้มากเกือบทั้งหมด (substantially all trade among themselves) ซึ่งในเรื่องนี้ยังมีความอิสระในการตีความอยู่มากว่า ปริมาณการค้าเท่าใดจึงเรียกว่า substantially all trade among themselves และยังชี้ให้เห็นว่าความตกลงการค้าเสรีระหว่างบางประเทศ เช่น อิสราเอลกับสหรัฐฯ ก็ไม่ได้รวมการเปิดเสรีในภาคเกษตร
สำหรับประเทศไทยการส่งออกไปยังเกาหลีเป็นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรประมาณร้อยละ 24 ในขณะที่การนำเข้าของไทยจากเกาหลีเกือบทั้งหมดเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ดังนั้นหากเกาหลีไม่เปิดตลาดสินค้าเกษตร ไทยจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
6.3 เกาหลีเป็นประเทศที่ยังไม่ได้ให้คำมั่นในเอเปคว่าจะเปิดเสรีในปี 2010 เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ไทยต้องเปิดเสรีในปี 2020 ดังนั้นหากเกาหลีทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศกำลังพัฒนาได้ก่อนการเปิดเสรีของประเทศกำลังพัฒนา เกาหลีจะได้ประโยชน์มากกว่าจะรอให้ถึงปี 2020 จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกาหลีต้องการทำความตกลงการค้าเสรีให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหา free rider ของประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค
6.4 ในการเจรจาการค้าเกษตรรอบใหม่ เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องมีการปรับตัวเรื่องเกษตรค่อนข้างมากเนื่องจากมีการปกป้องสาขานี้สูง หากเกาหลีได้เริ่มทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศที่ให้ความสนใจในเรื่องเกษตร เช่น สหรัฐฯ ไทย สมาชิกกลุ่มเคร์นส์อื่นๆ โดยมีเงื่อนไขพิเศษสำหรับสินค้าเกษตร ก็จะช่วยลดแรงกดดันในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กับเกาหลีภายใต้เวทีการเจรจาหลายฝ่ายได้
6.5 เกาหลีเข้าเป็นสมาชิก OECD แล้ว ซึ่งในทวีปเอเซียมีเพียงสองประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การนี้คือเกาหลีและญี่ปุ่น เกาหลีจึงต้องการเป็นผู้นำในเอเซียด้วย หากเกาหลีสามารถทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆได้หลายๆประเทศก็จะเสริมสร้างความเป็นผู้นำในเอเซียให้กับเกาหลีได้มากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
สรุปผลการศึกษาและความเห็น ดังนี้
1. ความตกลงทางการค้าในภูมิภาค(Regional Trade Agreement :RTA) ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษ 1990 จนถึงต้นปี 1999 ได้มีประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก WTO และทำความตกลงทางการค้าในรูปแบบต่างๆระหว่างกันมีจำนวนถึง 163 ความตกลง ประเทศที่ไม่ได้ทำความตกลงทางการค้าในภูมิภาคหรือทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศใดๆ คือ เกาหลี และญี่ปุ่น
2.ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเกาหลี-สหรัฐฯ สหรัฐฯเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญอันดับแรกของเกาหลี ในปี 1997 ทั้งสองประเทศมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 51.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 18.5 ของการค้าระหว่างประเทศของเกาหลี
สินค้าสำคัญที่นำเข้าและส่งออกระหว่างทั้งสองประเทศ ได้แก่ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรที่ใช้ในอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ขนส่งซึ่งมี มูลค่ารวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าการค้ารวมระหว่างเกาหลีและสหรัฐฯ โดยอัตราภาษีของเกาหลีสูงกว่าของสหรัฐฯทั้งหมด ยกเว้นบางสินค้า เช่นผลิตภัณฑ์เกษตรบางชนิด เส้นใย และสิ่งทอ เป็นต้น
3.วัตถุประสงค์ของการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ เกาหลีต้องการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ
1) ลดความขัดแย้งทางการค้ากับสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของเกาหลี2) เกาหลีจะได้รับประโยชน์จากการเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯเมื่อมีการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
3) การทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯจะดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐฯมากขึ้น
4) เพิ่มความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองและความมั่นคงของประเทศ
4.ผลการวิเคราะห์ 4.1 ผลทางด้านทางเศรษฐกิจจากการทำความตกลงการค้าเสรีของเกาหลีกับประเทศต่างๆ
หน่วย:พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
เกาหลี-สหรัฐฯ เกาหลี-ญี่ปุ่น เกาหลี-นาฟตา เกาหลี สหรัฐฯ เกาหลี ญี่ปุ่น เกาหลี นาฟตา Welfare Index(%)
Real Income (%)
Price Index(%) 1.73
1.47.
-3.11 0.07
-0.02
0.37 -0.28
0.15
0.18 0.14
-0.01
0.35 2.27
1.82
-3.26 0.09
-0.01
0.54
จากการศึกษาพบว่าเมื่อเกาหลีทำความตกลงการค้าเสรีกับนาฟตา ประชาชนของเกาหลีจะมีความเป็นอยู่(welfare) ที่ดีขึ้นในอัตราที่สูงสุด รองลงมาคือการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ และเมื่อมีการทำความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่น welfare จะลดลง ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้อธิบายว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะการทำความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่นทำให้ terms of trade ของเกาหลีเลวลง ในขณะที่ถ้าทำความตกลงฯกับสหรัฐฯ terms of trade ของเกาหลีจะดีขึ้น
4.2 ผลทางเศรษฐกิจต่อเกาหลีจากการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ
การทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีกับสหรัฐฯ มีข้อสมมุติฐานเกี่ยวกับการดำเนินการไว้ 5 วิธี คือ
-เปิดเสรีในทุกสาขาโดย
(1) ลดภาษี ร้อยละ 50
(2) ลดภาษี ร้อยละ 100
-เปิดเสรีในทุกสาขายกเว้นสินค้าเกษตร
(3) ลดภาษี ร้อยละ 50
(4) ลดภาษี ร้อยละ 100
-เปิดเสรีในทุกสาขาโดยปฏิบัติที่แตกต่างระหว่างสินค้าเกษตรกับสินค้าอื่นๆ
(5) ลดภาษีสินค้าเกษตร 50 ลดภาษีสินค้าอื่นๆ ร้อยละ 100
จากการลดภาษีทั้ง 5 วิธี ผลประโยชน์ของทั้งเกาหลีและสหรัฐฯจะเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น โดยเกาหลีจะได้รับประโยชน์มากกว่าสหรัฐฯในทุกวิธี เนื่องจากอัตราภาษีโดยเฉลี่ยของเกาหลีสูงกว่าของสหรัฐฯ ทั้งนี้เกาหลีและสหรัฐฯจะได้รับประโยชน์สูงสุดหากมีการเปิดเสรีทุกสาขาและลดภาษีลงทั้งหมด( ในตารางหัวข้อ 1.2 )
5.สรุป ผู้ศึกษาได้สรุปว่าการทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีและสหรัฐฯ ทั้งสองประเทศจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น
การสร้างแบบจำลองทางเศรษฐกิจในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาเรื่องการลดภาษีสินค้าแต่เพียงอย่างเดียว หากมีการศึกษาเรื่องอื่นๆ เช่นการเปิดเสรีทางด้านการลงทุนด้วยคาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ผลประโยชน์ในภาพรวมจะเพิ่มขึ้นก็จำเป็นต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบของอุตสาหกรรมที่สำคัญของเกาหลี เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ การต่อเรือ เหล็กและเหล็กกล้า ต่อไป
แม้ผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นว่าการทำความตกลงการค้าเสรีกับนาฟตาจะให้ประโยชน์กับเกาหลีมากกว่าการทำความตกลงฯกับสหรัฐฯ แต่เกาหลีก็ควรเริ่มทำกับสหรัฐฯก่อนเพื่อให้มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเริ่มทำกับนาฟตา ในปัจจุบันเกาหลีเริ่มเจรจาทำความตกลงการค้าเสรีกับชิลีไปแล้ว แม้ว่าชิลีจะไม่ใช่คู่ค้าที่สำคัญของเกาหลี แต่การเริ่มทำกับประเทศที่ไม่ใช่คู่ค้าสำคัญจะไม่ส่งผลต่อการปรับตัวในประเทศมากนักซึ่งจะทำให้สังคมไม่ต่อต้าน และเมื่อเป็นผลสำเร็จเกาหลีก็จะขยายวงกว้างขึ้น
6.ความเห็น
6.1เกาหลีให้ความสนใจในการทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆมากขึ้น คาดว่าเกาหลีศึกษาผลกระทบการทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆไว้แล้วหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าเกาหลีเริ่มเจรจากับชิลี ซึ่งเป็นสมาชิกความตกลงการค้าเสรีในกลุ่มเมอร์โคซูร์ ในทวีปอเมริกาใต้ และชิลียังเป็นประเทศที่ทำความตกลงการค้าเสรีกับอีกหลายประเทศ เช่น กับแคนาดา และยังสนใจที่จะทำความตกลงการค้าเสรีกับไทยซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียน
จากผลการศึกษาข้างต้นสรุปได้ว่าหากเกาหลีทำความตกลงการค้าเสรีกับนาฟตาแล้วเกาหลีจะได้รับประโยชน์มากกว่าการทำความตกลงการค้าเสรีกับสหรัฐฯ จึงคาดได้ว่าเกาหลีมีความประสงค์จะทำความตกลงการค้าเสรีกับกลุ่มการค้าทั้งกลุ่ม เช่น นาฟตา อาเซียน หรือแม้กระทั่งสหภาพยุโรป แต่ เกาหลีจะเริ่มเจรจาเป็นรายประเทศซึ่งจะหาข้อสรุปได้ง่ายกว่าการเริ่มเจรจาพร้อมกันหลายประเทศ และใช้ประโยชน์จากประเทศที่เป็นสมาชิกของกลุ่มการค้าเสรีที่มีอยู่แล้วเป็นฐานเพื่อขยายตลาดเข้าไปในกลุ่มนั้นๆ เช่นใช้สหรัฐฯเป็นฐานในการขยายตลาดในนาฟตาใช้ไทยหรือสิงคโปร์เป็นฐานในอาเซียน และใช้ชิลีเป็นฐานในเมอร์โคซูร์ เป็นต้น
ดังนั้นในกรณีของอาเซียน หากเกาหลีกับไทยไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องการเจรจาการค้าเสรี เกาหลีก็คงหันไปสนใจประเทศอื่นๆในอาเซียนที่มีความพร้อม เช่น สิงคโปร์ ซึ่งหากเกาหลีสามารถทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศใดประเทศหนึ่งในอาเซียนได้สำเร็จก็จะสร้างแรงกดดันให้ประเทศอื่นๆรวมทั้งประเทศไทย ต้องเข้าเป็นสมาชิกด้วย
6.2 ในการเจรจาทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างเกาหลีกับชิลี เกาหลีไม่เจรจาเรื่องสินค้าเกษตรเนื่องจากเป็นสาขาที่มีความอ่อนไหวมากสำหรับเกาหลี จึงคาดว่าในการเจรจากับประเทศอื่นๆเกาหลีก็จะขอยกเว้นการเปิดเสรีสินค้าเกษตรเช่นกัน ทั้งนี้ผู้ศึกษาก็ได้ชี้ประเด็นให้เห็นว่าภายใต้มาตรา XXIV ของแกตต์ที่ได้กล่าวถึงการทำความตกลงการค้าในภูมิภาคหรือการทำความตกลงการค้าเสรีจะต้องมีการลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันโดยให้ครอบคลุมสินค้าที่ทำการค้าขายระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกให้มากเกือบทั้งหมด (substantially all trade among themselves) ซึ่งในเรื่องนี้ยังมีความอิสระในการตีความอยู่มากว่า ปริมาณการค้าเท่าใดจึงเรียกว่า substantially all trade among themselves และยังชี้ให้เห็นว่าความตกลงการค้าเสรีระหว่างบางประเทศ เช่น อิสราเอลกับสหรัฐฯ ก็ไม่ได้รวมการเปิดเสรีในภาคเกษตร
สำหรับประเทศไทยการส่งออกไปยังเกาหลีเป็นสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรประมาณร้อยละ 24 ในขณะที่การนำเข้าของไทยจากเกาหลีเกือบทั้งหมดเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ดังนั้นหากเกาหลีไม่เปิดตลาดสินค้าเกษตร ไทยจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
6.3 เกาหลีเป็นประเทศที่ยังไม่ได้ให้คำมั่นในเอเปคว่าจะเปิดเสรีในปี 2010 เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่ไทยต้องเปิดเสรีในปี 2020 ดังนั้นหากเกาหลีทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศกำลังพัฒนาได้ก่อนการเปิดเสรีของประเทศกำลังพัฒนา เกาหลีจะได้ประโยชน์มากกว่าจะรอให้ถึงปี 2020 จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เกาหลีต้องการทำความตกลงการค้าเสรีให้มากขึ้น เพื่อลดปัญหา free rider ของประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปค
6.4 ในการเจรจาการค้าเกษตรรอบใหม่ เกาหลีเป็นประเทศหนึ่งที่ต้องมีการปรับตัวเรื่องเกษตรค่อนข้างมากเนื่องจากมีการปกป้องสาขานี้สูง หากเกาหลีได้เริ่มทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศที่ให้ความสนใจในเรื่องเกษตร เช่น สหรัฐฯ ไทย สมาชิกกลุ่มเคร์นส์อื่นๆ โดยมีเงื่อนไขพิเศษสำหรับสินค้าเกษตร ก็จะช่วยลดแรงกดดันในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กับเกาหลีภายใต้เวทีการเจรจาหลายฝ่ายได้
6.5 เกาหลีเข้าเป็นสมาชิก OECD แล้ว ซึ่งในทวีปเอเซียมีเพียงสองประเทศที่เป็นสมาชิกองค์การนี้คือเกาหลีและญี่ปุ่น เกาหลีจึงต้องการเป็นผู้นำในเอเซียด้วย หากเกาหลีสามารถทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่างๆได้หลายๆประเทศก็จะเสริมสร้างความเป็นผู้นำในเอเซียให้กับเกาหลีได้มากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-