นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัท St. Maxens ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้าน GSP ของไทยในสหรัฐฯ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 USTR ได้แถลงข่าวประกาศยุติการสอบสวนไทย กรณีไทยละเมิดสิทธิแรงงาน ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ไทยได้ผ่าน พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2543
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีสิทธิแรงงานของไทย เกิดขึ้นจากการที่สมาพันธ์แรงงานของสหรัฐฯ และสภาองค์กรอุตสาหกรรม (AFL-CIO) ยกขึ้นฟ้องร้องต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ขอให้เพิกถอนสิทธิ GSP ที่ให้กับประเทศไทยโดยกล่าวหาว่าไทยได้มีการละเมิดสิทธิแรงงานมาตั้งแต่ปี 2534 แต่สหรัฐฯ ได้เลื่อนการพิจารณามาตลอด เพื่อรอผลการผ่าน พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ของไทย สำหรับใช้ประกอบการตัดสินคำฟ้องร้องของ AFL-CIO แต่เมื่อประเทศไทยได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2543 สหรัฐฯ จึงประกาศยุติการสอบสวนไทยในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยในการยื่นคำร้องขอคืนสิทธิ GSP ให้กับสินค้าไทยต่อไป เนื่องจากในการพิจารณาคืนสิทธิ GSP นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว ทางการสหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญในประเด็นการให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาการคุ้มครองสิทธิแรงงาน และการเปิดตลาดสินค้าและบริการให้เป็นที่พอใจของสหรัฐฯ อีกด้วย จึงคาดว่า ในการขอคืนสิทธิ GSP ของไทยในอนาคต คงได้รับการพิจารณาได้ง่ายขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกรณีสิทธิแรงงานของไทย เกิดขึ้นจากการที่สมาพันธ์แรงงานของสหรัฐฯ และสภาองค์กรอุตสาหกรรม (AFL-CIO) ยกขึ้นฟ้องร้องต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ขอให้เพิกถอนสิทธิ GSP ที่ให้กับประเทศไทยโดยกล่าวหาว่าไทยได้มีการละเมิดสิทธิแรงงานมาตั้งแต่ปี 2534 แต่สหรัฐฯ ได้เลื่อนการพิจารณามาตลอด เพื่อรอผลการผ่าน พ.ร.บ. แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ของไทย สำหรับใช้ประกอบการตัดสินคำฟ้องร้องของ AFL-CIO แต่เมื่อประเทศไทยได้ประกาศใช้ พ.ร.บ. ดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2543 สหรัฐฯ จึงประกาศยุติการสอบสวนไทยในเรื่องนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับประเทศไทยในการยื่นคำร้องขอคืนสิทธิ GSP ให้กับสินค้าไทยต่อไป เนื่องจากในการพิจารณาคืนสิทธิ GSP นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว ทางการสหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญในประเด็นการให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาการคุ้มครองสิทธิแรงงาน และการเปิดตลาดสินค้าและบริการให้เป็นที่พอใจของสหรัฐฯ อีกด้วย จึงคาดว่า ในการขอคืนสิทธิ GSP ของไทยในอนาคต คงได้รับการพิจารณาได้ง่ายขึ้น
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-