แท็ก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ข่าวในประเทศ
1. ตัวเลขสินเชื่อ เงินฝากและสินทรัพย์ในระบบ ธพ.ไทย ณ วันที่ 31 ธ.ค.43 บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ณ วันที่ 31 ธ.ค.43 ยอดคงค้างสินเชื่อของ ธพ.ทั้งระบบมีจำนวนทั้งสิ้น 3,256,616 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 จากเดือน พ.ย.43 ที่มียอดคงค้าง 3,250,745 ล.บาท และลดลงร้อยละ 11.41 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 ทั้งนี้ กลุ่ม ธพ.ขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 หรือเพิ่มขึ้น 2,728 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 กลุ่ม ธพ.ขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับลดลงร้อยละ 0.04 หรือลดลง 321 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 และลดลงร้อยละ 3.29 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 กลุ่ม ธพ.ขนาดเล็ก 5 แห่ง สินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 หรือเพิ่มขึ้น 3,464 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 จากเดือน ธ.ค.42 สำหรับยอดเงินฝากของ ธพ.ทั้งระบบ ณ เดือน ธ.ค.43 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4,629,858 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 หรือเพิ่มขึ้น 2,745 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 โดยกลุ่ม ธพ.ขนาดใหญ่มีเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 หรือเพิ่มขึ้น 7,788 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 กลุ่มธนาคารขนาดกลางเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 13,927 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 ขณะที่กลุ่ม ธพ.ขนาดเล็ก เงินฝากปรับลดลงจำนวน 3,395 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 ส่วนสินทรัพย์รวม ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 มีจำนวน 5,493,548 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.28 แต่เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.43 ลดลงร้อยละ 1.01โดย ธ.กรุงไทยมีสินทรัพย์รวมลดลงต่ำสุด คือ 33,633 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน 24)
2. ผลการจัดเก็บภาษีศุลกากรรถยนต์นำเข้าในเดือน ธ.ค.43 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากรเปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าในเดือน ธ.ค.43 ว่า มีจำนวน 1,150.8 ล. บาท แบ่งเป็นภาษีรถยนต์ยุโรป 1,033.3 ล. บาท ภาษีรถยนต์ญี่ปุ่น 111.9 ล. บาท และภาษีรถยนต์ สรอ.จำนวน 5.6 ล. บาท เทียบกับเดือน ธ.ค.42 ที่สามารถจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ 1,372.3 ล. บาท สำหรับปี 43 (ม.ค.-ธ.ค.) ยอดนำเข้ารถยนต์นั่งใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 12,560 คัน จัดเก็บภาษีได้ 11,989.5 ล.บาท (แนวหน้า 24)
3. ปรส.เตรียมคืนเงินเจ้าหนี้สถาบันการเงินกลุ่มที่ 2 เลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ปรส.ได้จัดสรรเงินคืนให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินกลุ่มแรก 7 บริษัทเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังส่งหมายแจ้งผลการวินิฉัยหนี้ให้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินกลุ่มที่ 2 จำนวน 13 บริษัท โดย ปรส.จะจัดประชุมกลุ่มเจ้าหนี้ดังกล่าวระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค.44 และจะสามารถจัดสรรเงินให้เจ้าหนี้ได้ในปลายเดือน มี.ค.เป็นต้นไป สำหรับมูลค่าสินทรัพย์ที่จะจัดสรรคืนเจ้าหนี้สามัญของทั้ง 13 บริษัท มีจำนวน 30,500 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 31.44 ของยอดหนี้สามัญที่มีประมาณ 97,000 ล.บาท ซึ่งบริษัทที่ได้เงินคืนเจ้าหนี้ในสัดส่วนสูงที่สุดได้แก่ บง.พรีเมียร์ จำกัด (เดลินิวส์ 24)
4. ผลตอบแทนของพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 3 ปี รายงานข่าวจาก ธปท.แจ้งผลการประมูลพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินครั้งที่ 3 วงเงิน 4,000 ล.บาท อายุ 3 ปี ว่า มีอัตราผลตอบแทนระหว่างร้อยละ 3.088-3.150 หรือมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.1251 ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดหน้าตั๋วที่ระดับร้อยละ 3.35 (ผู้จัดการรายวัน 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 27.4 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 24 ม.ค.44 ก.คลังญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าก่อนปรับตัวเลข คิดเป็นมูลค่า 816.1 พัน ล.เยน ลดลงร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 ลดลงมากกว่าความคาดหมายของตลาดการเงินที่คาดว่า จะลดลงประมาณร้อยละ 23 โดยในเดือน ธ.ค.43 การส่งออกมีมูลค่า 4.626 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 3.810 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.9 สำหรับการเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 มาอยู่ที่มูลค่า 689.6 พัน ล.เยน แต่เกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรป (อียู) และเอเชียลดลง โดยเกินดุลฯ กับอียูลดลงร้อยละ 15.4 มาอยู่ที่มูลค่า 297.3 พัน ล.เยน และเกินดุลฯกับเอเชียลดลงร้อยละ 17.8 มาอยู่ที่มูลค่า 383.4 พัน ล.เยน ทั้งนี้ ทั้งปี 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ารวมมูลค่า 10.7418 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 12.5 จากปี 42 นับเป็นการเกินดุลฯ ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2 (รอยเตอร์ 24)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปี งปม. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 23 ม.ค. 44 นักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดว่า ในปี งปม. 43 ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน มี.ค. 44 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่น จะขยายตัวร้อยละ 1.6 จากปี 42 ปรับลดลงอย่างมากจากที่เคยคาดไว้เมื่อเดือน ต.ค. 43 ที่ระดับร้อยละ 2.1 สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลที่กำลังเพิ่มขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจากภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจครั้งล่าสุดในช่วงวันที่ 11-17 ม.ค. 44 นี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลที่คาดไว้ว่า GDP ในปี งปม. 43 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี งปม. 42 นักเศรษฐศาสตร์จาก MCM Asia Pacific (Kenji Arata) กล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3 ปี 43 ( ก.ค. -ก.ย. 43) โดยเติบโตลดลงจากไตรมาสก่อน แต่ไม่คาดว่าเศรษฐกิจจะลดลงต่อไปจนเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจยังคงแจ่มใส โดยการใช้จ่ายด้านการลงทุนของญี่ปุ่นเริ่มดีขึ้น นอกจากนั้น นาย Arata และ นักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนคาดด้วยว่า ในปี งปม. 44 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตดีขึ้น โดยอาจจะขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 1.8 (รอยเตอร์ 23)
3. คาดการณ์ว่าอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.พ. 44 รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 44 รองผู้ว่าการ ธ. กลางอังกฤษ (David Clementi) กล่าวว่า เศรษฐกิจของอังกฤษที่กำลังเติบโตอย่างชะลอตัวลง เงินเฟ้อที่ลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย และตลาดแรงงานที่คลายความตึงตัว รวมทั้งผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ของ สรอ.ที่ชะลอตัว ล้วนส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์ คาดหมายว่า ธ. กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.พ. 44 โดยมีสัญญาณที่เด่นชัดจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางว่า ต้นทุนเงินกู้จะลดลงเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน มิ.ย. 42 (รอยเตอร์ 23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23 ม.ค.44 43.125 (42.998)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23 ม.ค. 44
ซื้อ 42.9297 (42.7984) ขาย 43.2462 (43.1010)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.48 (23.67)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ตัวเลขสินเชื่อ เงินฝากและสินทรัพย์ในระบบ ธพ.ไทย ณ วันที่ 31 ธ.ค.43 บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ณ วันที่ 31 ธ.ค.43 ยอดคงค้างสินเชื่อของ ธพ.ทั้งระบบมีจำนวนทั้งสิ้น 3,256,616 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.18 จากเดือน พ.ย.43 ที่มียอดคงค้าง 3,250,745 ล.บาท และลดลงร้อยละ 11.41 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 ทั้งนี้ กลุ่ม ธพ.ขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 หรือเพิ่มขึ้น 2,728 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 กลุ่ม ธพ.ขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับลดลงร้อยละ 0.04 หรือลดลง 321 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 และลดลงร้อยละ 3.29 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.42 กลุ่ม ธพ.ขนาดเล็ก 5 แห่ง สินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 หรือเพิ่มขึ้น 3,464 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 จากเดือน ธ.ค.42 สำหรับยอดเงินฝากของ ธพ.ทั้งระบบ ณ เดือน ธ.ค.43 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 4,629,858 ล.บาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 หรือเพิ่มขึ้น 2,745 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 โดยกลุ่ม ธพ.ขนาดใหญ่มีเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 หรือเพิ่มขึ้น 7,788 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 กลุ่มธนาคารขนาดกลางเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 13,927 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 ขณะที่กลุ่ม ธพ.ขนาดเล็ก เงินฝากปรับลดลงจำนวน 3,395 ล.บาท จากเดือน พ.ย.43 ส่วนสินทรัพย์รวม ณ สิ้นเดือน ธ.ค.43 มีจำนวน 5,493,548 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.28 แต่เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.43 ลดลงร้อยละ 1.01โดย ธ.กรุงไทยมีสินทรัพย์รวมลดลงต่ำสุด คือ 33,633 ล.บาท (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน 24)
2. ผลการจัดเก็บภาษีศุลกากรรถยนต์นำเข้าในเดือน ธ.ค.43 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากรเปิดเผยผลการจัดเก็บภาษีรถยนต์นำเข้าในเดือน ธ.ค.43 ว่า มีจำนวน 1,150.8 ล. บาท แบ่งเป็นภาษีรถยนต์ยุโรป 1,033.3 ล. บาท ภาษีรถยนต์ญี่ปุ่น 111.9 ล. บาท และภาษีรถยนต์ สรอ.จำนวน 5.6 ล. บาท เทียบกับเดือน ธ.ค.42 ที่สามารถจัดเก็บภาษีดังกล่าวได้ 1,372.3 ล. บาท สำหรับปี 43 (ม.ค.-ธ.ค.) ยอดนำเข้ารถยนต์นั่งใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 12,560 คัน จัดเก็บภาษีได้ 11,989.5 ล.บาท (แนวหน้า 24)
3. ปรส.เตรียมคืนเงินเจ้าหนี้สถาบันการเงินกลุ่มที่ 2 เลขาธิการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ปรส.ได้จัดสรรเงินคืนให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินกลุ่มแรก 7 บริษัทเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังส่งหมายแจ้งผลการวินิฉัยหนี้ให้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินกลุ่มที่ 2 จำนวน 13 บริษัท โดย ปรส.จะจัดประชุมกลุ่มเจ้าหนี้ดังกล่าวระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-2 มี.ค.44 และจะสามารถจัดสรรเงินให้เจ้าหนี้ได้ในปลายเดือน มี.ค.เป็นต้นไป สำหรับมูลค่าสินทรัพย์ที่จะจัดสรรคืนเจ้าหนี้สามัญของทั้ง 13 บริษัท มีจำนวน 30,500 ล.บาท คิดเป็นร้อยละ 31.44 ของยอดหนี้สามัญที่มีประมาณ 97,000 ล.บาท ซึ่งบริษัทที่ได้เงินคืนเจ้าหนี้ในสัดส่วนสูงที่สุดได้แก่ บง.พรีเมียร์ จำกัด (เดลินิวส์ 24)
4. ผลตอบแทนของพันธบัตรกองทุนฟื้นฟูฯ อายุ 3 ปี รายงานข่าวจาก ธปท.แจ้งผลการประมูลพันธบัตรกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินครั้งที่ 3 วงเงิน 4,000 ล.บาท อายุ 3 ปี ว่า มีอัตราผลตอบแทนระหว่างร้อยละ 3.088-3.150 หรือมีอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.1251 ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดหน้าตั๋วที่ระดับร้อยละ 3.35 (ผู้จัดการรายวัน 24)
ข่าวต่างประเทศ
1. ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าลดลงร้อยละ 27.4 ในเดือน ธ.ค.43 รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 24 ม.ค.44 ก.คลังญี่ปุ่นรายงานว่า เดือน ธ.ค.43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้าก่อนปรับตัวเลข คิดเป็นมูลค่า 816.1 พัน ล.เยน ลดลงร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 ลดลงมากกว่าความคาดหมายของตลาดการเงินที่คาดว่า จะลดลงประมาณร้อยละ 23 โดยในเดือน ธ.ค.43 การส่งออกมีมูลค่า 4.626 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 42 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 3.810 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.9 สำหรับการเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 มาอยู่ที่มูลค่า 689.6 พัน ล.เยน แต่เกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรป (อียู) และเอเชียลดลง โดยเกินดุลฯ กับอียูลดลงร้อยละ 15.4 มาอยู่ที่มูลค่า 297.3 พัน ล.เยน และเกินดุลฯกับเอเชียลดลงร้อยละ 17.8 มาอยู่ที่มูลค่า 383.4 พัน ล.เยน ทั้งนี้ ทั้งปี 43 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ารวมมูลค่า 10.7418 ล้านล้านเยน ลดลงร้อยละ 12.5 จากปี 42 นับเป็นการเกินดุลฯ ลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2 (รอยเตอร์ 24)
2. ผลิตภัณฑ์ในประเทศของญี่ปุ่นคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.6 ในปี งปม. 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 23 ม.ค. 44 นักเศรษฐศาสตร์จากรอยเตอร์คาดว่า ในปี งปม. 43 ซึ่งจะสิ้นสุดเดือน มี.ค. 44 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (GDP) ของญี่ปุ่น จะขยายตัวร้อยละ 1.6 จากปี 42 ปรับลดลงอย่างมากจากที่เคยคาดไว้เมื่อเดือน ต.ค. 43 ที่ระดับร้อยละ 2.1 สะท้อนให้เห็นถึงความกังวลที่กำลังเพิ่มขึ้นที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจากภาวะเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจครั้งล่าสุดในช่วงวันที่ 11-17 ม.ค. 44 นี้ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าการคาดการณ์ของรัฐบาลที่คาดไว้ว่า GDP ในปี งปม. 43 จะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.2 จากที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ในปี งปม. 42 นักเศรษฐศาสตร์จาก MCM Asia Pacific (Kenji Arata) กล่าวว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 3 ปี 43 ( ก.ค. -ก.ย. 43) โดยเติบโตลดลงจากไตรมาสก่อน แต่ไม่คาดว่าเศรษฐกิจจะลดลงต่อไปจนเข้าสู่ภาวะถดถอย เนื่องจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจยังคงแจ่มใส โดยการใช้จ่ายด้านการลงทุนของญี่ปุ่นเริ่มดีขึ้น นอกจากนั้น นาย Arata และ นักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนคาดด้วยว่า ในปี งปม. 44 เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเติบโตดีขึ้น โดยอาจจะขยายตัวขึ้นถึงร้อยละ 1.8 (รอยเตอร์ 23)
3. คาดการณ์ว่าอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.พ. 44 รายงานจากลอนดอนเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 44 รองผู้ว่าการ ธ. กลางอังกฤษ (David Clementi) กล่าวว่า เศรษฐกิจของอังกฤษที่กำลังเติบโตอย่างชะลอตัวลง เงินเฟ้อที่ลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย และตลาดแรงงานที่คลายความตึงตัว รวมทั้งผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ของ สรอ.ที่ชะลอตัว ล้วนส่งผลให้นักเศรษฐศาสตร์ คาดหมายว่า ธ. กลางอังกฤษจะลดอัตราดอกเบี้ยในเดือน ก.พ. 44 โดยมีสัญญาณที่เด่นชัดจากคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางว่า ต้นทุนเงินกู้จะลดลงเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน มิ.ย. 42 (รอยเตอร์ 23)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 23 ม.ค.44 43.125 (42.998)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 23 ม.ค. 44
ซื้อ 42.9297 (42.7984) ขาย 43.2462 (43.1010)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.48 (23.67)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 15.99 (15.99) ดีเซลหมุนเร็ว 13.44 (13.44)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-