คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีการประชุมครั้งที่ 6/2544 (ครั้งที่ 87) เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2544 โดยมีนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องต่างๆ ซึ่งได้รายงานเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ดังนี้
รายงานผลการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. การปรับองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม การประเมินผลโครงการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับการไฟฟ้ามาเลเซีย ทั้งนี้ โดยมีมติในเรื่องดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1. รายงานผลการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท.
1.1 รับทราบแผนการระดมทุนและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นของ บมจ. ปตท. ของคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
(1) กำหนดการขายหุ้น
การทำการสำรวจตลาดเบื้องต้น 15 - 26 ต.ค. 44 นำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) 29 ต.ค.- 20 พ.ย. 44 กำหนดการจองซื้อหุ้นของนักลงทุนบุคคลธรรมดาในประเทศ 15—20 พ.ย. 44 พิจารณากำหนดราคาเสนอขายหุ้นสุดท้าย (Final Price) 21 พ.ย. 44 หุ้น บมจ. ปตท. ทำการซื้อขายใน ตลท. 6 ธ.ค. 44 (2) กำหนดการนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) ทั้งในและต่างประเทศ
(3) การกำหนดช่วงราคาการเสนอขายเบื้องต้น (Preliminary Price Range) คือ 31-35 บาทต่อหุ้น โดยใช้ราคาสูงสุด เป็นราคาเสนอขายเบื้องต้นสำหรับนักลงทุนในประเทศ ประเภทผู้จองซื้อรายย่อยและบุคคลทั่วไป และใช้ในกระบวนการ Bookbuilding สำหรับนักลงทุนประเภทสถาบันทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
(4) กำหนดจำนวนหุ้นที่เสนอขายแก่ประชาชน และนักลงทุนทั่วไป จำนวน 800 ล้านหุ้น และหุ้นจัดสรรเกินจำนวน (Overallotment or Greenshoe Option) ของกระทรวงการคลัง จำนวน 120 ล้านหุ้น โดยไม่รวมหุ้นที่เสนอขาย ให้แก่พนักงาน ภายใต้โครงการให้สิทธิแก่พนักงาน บมจ. ปตท. ในการซื้อหุ้น
(5) การกำหนดสัดส่วนในการเสนอขายแก่ประชาชนนักลงทุนในประเทศ ร้อยละ 60 (480 ล้านหุ้น) และนักลงทุนต่างประเทศ ร้อยละ 40 (320 ล้านหุ้น) และกำหนดให้สามารถเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเสนอขายหุ้น (Claw Back) ระหว่างนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศได้ไม่เกิน ร้อยละ 15 (120 ล้านหุ้น)
(6) การจัดสรรหุ้นสำหรับนักลงทุนในประเทศ ประเภทผู้จองซื้อรายย่อยผ่านตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent)
(7) การจัดสรรหุ้นให้กับพนักงาน
(8) นโยบายการจ่ายเงินปันผล
(9) การกำหนดไม่ให้นำหุ้นออกมาขายในตลาดก่อนระยะเวลา (Lock up period)
1.2 รับทราบผลการจัดทำการนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากความต้องการที่มีมากเกินกว่าจำนวนที่จัดสรรเบื้องต้น และคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ ได้พิจารณากำหนดราคาเสนอขายสุดท้าย (Final Price) ที่ 35 บาทต่อหุ้น โดยมีหุ้นที่เสนอขาย รวมทั้งหมด 920 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญออกใหม่ของ บมจ. ปตท. 750 ล้านหุ้น หุ้นสามัญเดิมของกระทรวงการคลัง (กค.) 50 ล้านหุ้น และหุ้นจัดสรรเกินจำนวน (Overallotment or Greenshoe Option) ของ กค. 120 ล้านหุ้น
ทั้งนี้ การขายหุ้นของ บมจ. ปตท. ในครั้งนี้มีผลให้มีเงินเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนประมาณ 11,500 ล้านบาท หรือประมาณ 260 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปตท. และ กค. มีรายได้จากการขายหุ้น ทั้งหมด 32,200 ล้านบาท โดยที่สัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังจะลดลงเหลือร้อยละ 65.4 ในกรณีขายหุ้นในส่วนของ Greenshoe ทั้งหมด
1.3 รับทราบประเด็นความวิตกกังวลของนักลงทุนต่างประเทศ ดังนี้
(1) การที่รัฐอาจจะใช้ บมจ. ปตท. เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงราคาน้ำมัน หรือการกำหนดให้ บมจ. ปตท. เป็นแกนนำในการลงทุนในโครงการที่ไม่มีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจเป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนในการที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย รัฐบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
(2) ความวิตกกังวลในกลไกการกำกับดูแลและการบริหารงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดหลักการและรูปแบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance and Management) ไว้อย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งถ้าหากไม่ปฏิบัติตามมติดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ในอนาคตได้
1.4 มอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ จัดทำประมวลข้อคิดเห็นประเด็นต่างๆ จากการดำเนินแผนการระดมทุนในครั้งนี้ เสนอต่อประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ต่อไป
2. การปรับองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม
2.1 เห็นชอบโครงสร้างองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม โดยรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม และเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการรวม 3 ชุด ได้แก่ (1) คณะกรรมการประสานงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม (2) คณะอนุกรรมการความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม (3) คณะอนุกรรมการติดตามตรวจสอบและเร่งรัดการปฏิบัติงานป้องกันและ ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม
2.2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และรับไปดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 ทั้งนี้ให้กระทรวงการคลังประสานงานกับสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป
3. การประเมินผลโครงการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง
3.1 เห็นชอบให้มีการต่ออายุโครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องอย่างถาวร โดยมีเงื่อนไขจะต้องมีการประเมินผลโครงการ อย่างน้อยปีละครั้ง หากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นว่าผลการประเมิน ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินโครงการต่อ ควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ยุติโครงการต่อไป
3.2 มอบหมายให้กรมสรรพากรเร่งดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจำหน่ายน้ำมันในโครงการฯ ในลักษณะต่อเนื่องอย่างถาวร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป
3.3 มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมง ในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ประสานงานติดตามเร่งรัด ให้สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ผลักดันให้โครงการฯ มีการขยายตัวครอบคลุมทุกพื้นที่ สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำมัน ของชาวประมง ได้อย่างทั่วถึง ภายในปี 2545
4.สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับการไฟฟ้ามาเลเซีย
4.1 เห็นชอบร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (HVDC System Interconnection Agreement : SIA 2001) ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB) โดยให้ กฟผ. นำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าว เสนอให้สำนักอัยการ สูงสุดตรวจร่างสัญญาก่อน ในกรณีที่สัญญาดังกล่าวมีสาระ ที่แตกต่างจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ที่สำนักอัยการสูงสุด เคยตรวจร่างแล้ว
4.2 มอบหมายให้ กฟผ. นำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามข้อ 4.1 ไปลงนามกับการไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB) ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา ก็เห็นชอบให้ กฟผ. ดำเนินการดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องนำร่างสัญญาฯ ที่เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข มาเสนอขอความเห็นชอบ จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติใหม่อีกครั้ง
--กองนโยบายและแผนพลังงาน/20 ธันวาคม 2544--
-ยก-
รายงานผลการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. การปรับองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม การประเมินผลโครงการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับการไฟฟ้ามาเลเซีย ทั้งนี้ โดยมีมติในเรื่องดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1. รายงานผลการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท.
1.1 รับทราบแผนการระดมทุนและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นของ บมจ. ปตท. ของคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนจากภาคเอกชนในการแปรสภาพ ปตท. โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
(1) กำหนดการขายหุ้น
การทำการสำรวจตลาดเบื้องต้น 15 - 26 ต.ค. 44 นำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) 29 ต.ค.- 20 พ.ย. 44 กำหนดการจองซื้อหุ้นของนักลงทุนบุคคลธรรมดาในประเทศ 15—20 พ.ย. 44 พิจารณากำหนดราคาเสนอขายหุ้นสุดท้าย (Final Price) 21 พ.ย. 44 หุ้น บมจ. ปตท. ทำการซื้อขายใน ตลท. 6 ธ.ค. 44 (2) กำหนดการนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) ทั้งในและต่างประเทศ
(3) การกำหนดช่วงราคาการเสนอขายเบื้องต้น (Preliminary Price Range) คือ 31-35 บาทต่อหุ้น โดยใช้ราคาสูงสุด เป็นราคาเสนอขายเบื้องต้นสำหรับนักลงทุนในประเทศ ประเภทผู้จองซื้อรายย่อยและบุคคลทั่วไป และใช้ในกระบวนการ Bookbuilding สำหรับนักลงทุนประเภทสถาบันทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
(4) กำหนดจำนวนหุ้นที่เสนอขายแก่ประชาชน และนักลงทุนทั่วไป จำนวน 800 ล้านหุ้น และหุ้นจัดสรรเกินจำนวน (Overallotment or Greenshoe Option) ของกระทรวงการคลัง จำนวน 120 ล้านหุ้น โดยไม่รวมหุ้นที่เสนอขาย ให้แก่พนักงาน ภายใต้โครงการให้สิทธิแก่พนักงาน บมจ. ปตท. ในการซื้อหุ้น
(5) การกำหนดสัดส่วนในการเสนอขายแก่ประชาชนนักลงทุนในประเทศ ร้อยละ 60 (480 ล้านหุ้น) และนักลงทุนต่างประเทศ ร้อยละ 40 (320 ล้านหุ้น) และกำหนดให้สามารถเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการเสนอขายหุ้น (Claw Back) ระหว่างนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศได้ไม่เกิน ร้อยละ 15 (120 ล้านหุ้น)
(6) การจัดสรรหุ้นสำหรับนักลงทุนในประเทศ ประเภทผู้จองซื้อรายย่อยผ่านตัวแทนจำหน่าย (Selling Agent)
(7) การจัดสรรหุ้นให้กับพนักงาน
(8) นโยบายการจ่ายเงินปันผล
(9) การกำหนดไม่ให้นำหุ้นออกมาขายในตลาดก่อนระยะเวลา (Lock up period)
1.2 รับทราบผลการจัดทำการนำเสนอข้อมูลต่อนักลงทุน (Roadshow) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างกว้างขวาง ดังจะเห็นได้จากความต้องการที่มีมากเกินกว่าจำนวนที่จัดสรรเบื้องต้น และคณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ ได้พิจารณากำหนดราคาเสนอขายสุดท้าย (Final Price) ที่ 35 บาทต่อหุ้น โดยมีหุ้นที่เสนอขาย รวมทั้งหมด 920 ล้านหุ้น ประกอบด้วยหุ้นสามัญออกใหม่ของ บมจ. ปตท. 750 ล้านหุ้น หุ้นสามัญเดิมของกระทรวงการคลัง (กค.) 50 ล้านหุ้น และหุ้นจัดสรรเกินจำนวน (Overallotment or Greenshoe Option) ของ กค. 120 ล้านหุ้น
ทั้งนี้ การขายหุ้นของ บมจ. ปตท. ในครั้งนี้มีผลให้มีเงินเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนประมาณ 11,500 ล้านบาท หรือประมาณ 260 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปตท. และ กค. มีรายได้จากการขายหุ้น ทั้งหมด 32,200 ล้านบาท โดยที่สัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังจะลดลงเหลือร้อยละ 65.4 ในกรณีขายหุ้นในส่วนของ Greenshoe ทั้งหมด
1.3 รับทราบประเด็นความวิตกกังวลของนักลงทุนต่างประเทศ ดังนี้
(1) การที่รัฐอาจจะใช้ บมจ. ปตท. เป็นเครื่องมือในการแทรกแซงราคาน้ำมัน หรือการกำหนดให้ บมจ. ปตท. เป็นแกนนำในการลงทุนในโครงการที่ไม่มีความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจเป็นต้น ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนในการที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย รัฐบาลจำเป็นต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
(2) ความวิตกกังวลในกลไกการกำกับดูแลและการบริหารงาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดหลักการและรูปแบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance and Management) ไว้อย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งถ้าหากไม่ปฏิบัติตามมติดังกล่าว อาจจะส่งผลกระทบต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ในอนาคตได้
1.4 มอบหมายให้คณะกรรมการดำเนินการระดมทุนฯ จัดทำประมวลข้อคิดเห็นประเด็นต่างๆ จากการดำเนินแผนการระดมทุนในครั้งนี้ เสนอต่อประธานกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อจะได้นำข้อคิดเห็นดังกล่าวเสนอต่อคณะกรรมการกำกับดูแลนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ต่อไป
2. การปรับองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม
2.1 เห็นชอบโครงสร้างองค์กรในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม โดยรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิบัติงานของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางในการ ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม และเห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการรวม 3 ชุด ได้แก่ (1) คณะกรรมการประสานงานการป้องกันและปราบปรามการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม (2) คณะอนุกรรมการความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม (3) คณะอนุกรรมการติดตามตรวจสอบและเร่งรัดการปฏิบัติงานป้องกันและ ปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม
2.2 ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 เป็นต้นไป ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแลงานด้านการกำหนดนโยบายและมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียมแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และรับไปดำเนินการจัดทำคำขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้ยุติการนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้จ่ายในการป้องกันการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2546 ทั้งนี้ให้กระทรวงการคลังประสานงานกับสำนักงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป
3. การประเมินผลโครงการจำหน่ายน้ำมันสำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่อง
3.1 เห็นชอบให้มีการต่ออายุโครงการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับชาวประมงในเขตต่อเนื่องอย่างถาวร โดยมีเงื่อนไขจะต้องมีการประเมินผลโครงการ อย่างน้อยปีละครั้ง หากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เห็นว่าผลการประเมิน ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินโครงการต่อ ควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ยุติโครงการต่อไป
3.2 มอบหมายให้กรมสรรพากรเร่งดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อขอยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการจำหน่ายน้ำมันในโครงการฯ ในลักษณะต่อเนื่องอย่างถาวร โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 เป็นต้นไป
3.3 มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการจำหน่ายน้ำมันดีเซลสำหรับชาวประมง ในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร ประสานงานติดตามเร่งรัด ให้สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ผลักดันให้โครงการฯ มีการขยายตัวครอบคลุมทุกพื้นที่ สามารถตอบสนองความต้องการใช้น้ำมัน ของชาวประมง ได้อย่างทั่วถึง ภายในปี 2545
4.สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับการไฟฟ้ามาเลเซีย
4.1 เห็นชอบร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (HVDC System Interconnection Agreement : SIA 2001) ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB) โดยให้ กฟผ. นำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าดังกล่าว เสนอให้สำนักอัยการ สูงสุดตรวจร่างสัญญาก่อน ในกรณีที่สัญญาดังกล่าวมีสาระ ที่แตกต่างจากสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ที่สำนักอัยการสูงสุด เคยตรวจร่างแล้ว
4.2 มอบหมายให้ กฟผ. นำร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามข้อ 4.1 ไปลงนามกับการไฟฟ้ามาเลเซีย (TNB) ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไข ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา ก็เห็นชอบให้ กฟผ. ดำเนินการดังกล่าวได้ โดยไม่ต้องนำร่างสัญญาฯ ที่เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข มาเสนอขอความเห็นชอบ จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติใหม่อีกครั้ง
--กองนโยบายและแผนพลังงาน/20 ธันวาคม 2544--
-ยก-