นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่าเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544 ได้มีการประชุม 4 ฝ่ายระหว่างไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จีน และธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาโครงการปรับปรุงเส้นทางเชียงราย-คุนหมิงผ่านสปป.ลาว โดยสำนักงานกองทุนให้ความช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน (สชพ.) ได้เข้าร่วมประชุมในฐานะผู้แทนของกระทรวงการคลัง
สชพ. เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง ภายใต้การดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้ความช่วยเหลือในรูปการให้กู้เงินแบบมีเงื่อนไขผ่อนปรนแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
เส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และนายกรัฐมนตรีจีน (นายจูหรงจี) ได้มีการตกลงร่วมกันที่จะผลักดันให้เส้นทางดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จโดยเร็วและล่าสุดในการประชุม ASEAN-China Summit ที่ผ่านมา นายจูหรงจี ได้แถลงในที่ประชุมว่าจีนจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินในโครงการปรับปรุงเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว เป็นจำนวน 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมด
ในการประชุม 4 ฝ่าย ได้ผลสรุปการประชุมดังนี้
1. ไทย จีน และธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) จะร่วมกันให้ความช่วยเหลือทางการเงินฝ่ายละเท่าๆ กัน แก่สปป.ลาว ในโครงการปรับปรุงเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. ADB จะให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในการสำรวจเส้นทาง ประเมินผลตอบแทน ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. รัฐบาลสปป.ลาว ได้แจ้งให้ทราบว่าได้รับโอนสิทธิการดำเนินโครงการจากผู้รับสัมปทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะดำเนินโครงการทันที
การดำเนินการต่อไปของกระทรวงการคลัง
ในส่วนของประเทศไทย สชพ.จะนำเสนอรูปแบบและเงื่อนไขของความช่วยเหลือทางการเงินที่จะให้แก่ลาว เพื่อ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการดังกล่าวต่อไป
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สปป.ลาว ในโครงการปรับปรุงเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในหลายด้าน ได้แก่
1. เส้นทางดังกล่าวเป็นประตูการค้าสู่จีนตอนใต้และกระจายไปสู่จีนทั้งประเทศ ซึ่งมีประชากรประมาณ 1,000 ล้านคน และเป็นตลาดการส่งออกขนาดใหญ่สำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว และเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับอาเซียนในอนาคต
2. ช่วยกระตุ้นการค้าชายแดนระหว่างไทย - ลาว และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สปป.ลาวตลอดจนการเพิ่มอำนาจซื้อของ สปป.ลาวในอนาคต
3. ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทย เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือผ่านทางสชพ. มีเงื่อนไขที่จะต้องใช้ผู้รับเหมาไทยและใช้วัสดุก่อสร้างจากประเทศไทยอย่างน้อยร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการทั้งหมด
4. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย จีน และลาว และช่วยเสริมบทบาทของไทยในภูมิภาค
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 83/2544 15 พฤศจิกายน 2544--
-อน-
สชพ. เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง ภายใต้การดูแลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้ความช่วยเหลือในรูปการให้กู้เงินแบบมีเงื่อนไขผ่อนปรนแก่ประเทศเพื่อนบ้าน
เส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region) ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทย (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) และนายกรัฐมนตรีจีน (นายจูหรงจี) ได้มีการตกลงร่วมกันที่จะผลักดันให้เส้นทางดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จโดยเร็วและล่าสุดในการประชุม ASEAN-China Summit ที่ผ่านมา นายจูหรงจี ได้แถลงในที่ประชุมว่าจีนจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินในโครงการปรับปรุงเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว เป็นจำนวน 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายในโครงการทั้งหมด
ในการประชุม 4 ฝ่าย ได้ผลสรุปการประชุมดังนี้
1. ไทย จีน และธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) จะร่วมกันให้ความช่วยเหลือทางการเงินฝ่ายละเท่าๆ กัน แก่สปป.ลาว ในโครงการปรับปรุงเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 104 ล้านเหรียญสหรัฐ
2. ADB จะให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในการสำรวจเส้นทาง ประเมินผลตอบแทน ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. รัฐบาลสปป.ลาว ได้แจ้งให้ทราบว่าได้รับโอนสิทธิการดำเนินโครงการจากผู้รับสัมปทานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะดำเนินโครงการทันที
การดำเนินการต่อไปของกระทรวงการคลัง
ในส่วนของประเทศไทย สชพ.จะนำเสนอรูปแบบและเงื่อนไขของความช่วยเหลือทางการเงินที่จะให้แก่ลาว เพื่อ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติโครงการดังกล่าวต่อไป
การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สปป.ลาว ในโครงการปรับปรุงเส้นทางเชียงราย-คุนหมิง ผ่านสปป.ลาว จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในหลายด้าน ได้แก่
1. เส้นทางดังกล่าวเป็นประตูการค้าสู่จีนตอนใต้และกระจายไปสู่จีนทั้งประเทศ ซึ่งมีประชากรประมาณ 1,000 ล้านคน และเป็นตลาดการส่งออกขนาดใหญ่สำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อจีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้ว และเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างจีนกับอาเซียนในอนาคต
2. ช่วยกระตุ้นการค้าชายแดนระหว่างไทย - ลาว และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ สปป.ลาวตลอดจนการเพิ่มอำนาจซื้อของ สปป.ลาวในอนาคต
3. ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทย เนื่องจากการให้ความช่วยเหลือผ่านทางสชพ. มีเงื่อนไขที่จะต้องใช้ผู้รับเหมาไทยและใช้วัสดุก่อสร้างจากประเทศไทยอย่างน้อยร้อยละ 50 ของมูลค่าโครงการทั้งหมด
4. ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทย จีน และลาว และช่วยเสริมบทบาทของไทยในภูมิภาค
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 83/2544 15 พฤศจิกายน 2544--
-อน-