แท็ก
มะพร้าว
1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
อนุฯ คชก. : การแทรกแซงสินค้าเกษตรที่สำคัญ
คณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตรได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2543 เพื่อพิจารณาการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ มะพร้าว ทุเรียน สับปะรดและลำไย ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งผลการประชุมสรุป ดังนี้
1. มะพร้าว : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตมะพร้าวทั้งประเทศ ปี 2543 จะมีประมาณ 1.37 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แต่ในแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีทีผ่านมาร้อยละ 5 และจะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤษภาคม- ตุลาคม อย่างไรก็ตามขณะนี้ราคามะพร้าวผลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 5.33 บาท ในเดือนมกราคมเหลือ 2.83 บาท ในเดือนเมษายน ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร คณะอนุกรรมการฯ มีมติให้มีการแทรกแซงตลาดมะพร้าว โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำ เนื้อมะพร้าวแห้ง 90% ที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 9.30 บาท และอนุมัติเงินทุนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 100 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทยนำไปจัดสรรให้จังหวัดที่เป็นแหล่งที่สำคัญตามสัดส่วนผลผลิตเพื่อนำไปจัดสรรให้ สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการ ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง จากเกษตรกรในราคานำตลาด กำหนดระยะเวลารับซื้อเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2543 โดยให้หักค่าใช้จ่ายของทางราชการที่จะจ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
2. ทุเรียน : จากผลการสัมมนาสถานการณ์การผลิตทุเรียนภาคตะวันออก ปี 2543 ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคราชการและเอกชน เมื่อวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี คาดว่าผลผลิตทุเรียนของภาคตะวันออกจะมีประมาณ 445,744 ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 21 จะออกมากในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งทำให้ตลาดในแต่ละวันไม่สามารถรองรับผลผลิตได้ และอาจส่งผลให้ราคาตกต่ำได้ จึงมีมติให้มีการแทรกแซงตลาดทุเรียนในภาคตะวันออก ดังนี้
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนี กิโลกรัมละ 11 บาท และพันธุ์หมอนทอง กิโลกรัมละ 18 บาท
- อนุมัติวงเงินแทรกแซงจำนวน 135.5 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 120 ล้านบาท ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน จำนวน 90 ล้านบาท โดยนำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรแล้วนำไปแช่เยือกแข็ง เพื่อจำหน่ายต่อไป และจำนวน 30 ล้านบาท ไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการ สถาบันเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรยืมไปแปรรูปทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ 13.5 ล้านบาท นำไปดำเนินการตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต โดยนำไปจัดสรรให้กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนและกลุ่มเกษตรกรกู้ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกร รวมทั้งเงินจ่ายขาด 2 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในเป็นค่าใช้จ่ายในการรณรงค์ ค่าสาธารณูปโภค และประชาสัมพันธ์ตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2543-กุมภาพันธ์ 2544
3. สับปะรด : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตสับปะรด ปี 2543 จะมีประมาณ 2.3 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และจะออกสู่ตลาดมากในเดือนเมษายน -มิถุนายน 2543 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาตกต่ำได้ ขณะนี้ราคาสับปะรดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.04 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 2.61 บาท จึงมีมติให้มีการแทรกแซงตลาดเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ดังนี้
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสับปะรดเกรดมาตรฐานโรงงาน ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 2.61 บาท
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 250 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำไปรับซื้อสับปะรดจากกษตรกร/สถาบันเกษตรกร เพื่อกระจายไปยังนอกแหล่งผลิต จำนวน 50 ล้านบาท โดยให้ อคส. หักภาระขาดทุนจากการรับซื้อกับราคาขายและการเน่าเสียได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ระยะเวลารับซื้อเมษายน-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการเมษายน- กันยายน 2543 และค่าใช้จ่ายดำเนินการได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินงานและจำนวน 200 ล้านบาท ให้ อคส. ดำเนินการรับจำนำสับปะรดกระป๋องและนำสับปะรดเข้มข้นจากโรงงานแปรรูป โดยโรงงานรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ในราคานำตลาด ระยะเวลารับจำนำเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2543 กำหนดไถ่ถอน 31 มีนาคม 2544 และให้หักค่าใช้จ่ายดำเนินการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
4. ลำไย : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตลำไย ปี 2543 จะมีประมาณ 336,874 ตัน เพิ่มจากปี 2540 ซึ่งมีผลผลิตมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 35 และจะออกสู่ตลาดมากในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งจะส่งผลให้ราคาตกต่ำได้ จึงมีมติให้มีการดำเนินการแทรกแซงตลาด ดังนี้
- กำหนดราคาเป้าหมายนำ ลำไยร่วงคละที่เกษตรกรขายได้ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 9.70 บาท ลำไยเกรดเอ ที่โรงงานลำไยกระป๋องรับซื้อ ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 25.40 บาท
- กำหนดวงเงินแทรกแซงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน จำนวน 100 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องยืมไปรับซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน และจำนวน 200 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม สหกรณ์ หน่วยงานละ 50 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรและเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนการซื้อเตาอบในปี 2539 ยืมไปใช้รับซื้อลำไยสดจากเกษตรกรในราคานำตลาด และจำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในจัดสรรให้โรงงานแปรรูปลำไยอบแห้งยืมไปซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ระยะเวลาดำเนินการมิถุนายน-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาโครงการมิถุนายน 2543- มีนาคม 2544--จบ--
-อน-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
อนุฯ คชก. : การแทรกแซงสินค้าเกษตรที่สำคัญ
คณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านราคาและการตลาดสินค้าเกษตรได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2543 เพื่อพิจารณาการแทรกแซงตลาดสินค้าเกษตรที่สำคัญได้แก่ มะพร้าว ทุเรียน สับปะรดและลำไย ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งผลการประชุมสรุป ดังนี้
1. มะพร้าว : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตมะพร้าวทั้งประเทศ ปี 2543 จะมีประมาณ 1.37 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แต่ในแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสุราษฎร์ธานี ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากปีทีผ่านมาร้อยละ 5 และจะออกสู่ตลาดมากในเดือนพฤษภาคม- ตุลาคม อย่างไรก็ตามขณะนี้ราคามะพร้าวผลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากกิโลกรัมละ 5.33 บาท ในเดือนมกราคมเหลือ 2.83 บาท ในเดือนเมษายน ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร คณะอนุกรรมการฯ มีมติให้มีการแทรกแซงตลาดมะพร้าว โดยกำหนดราคาเป้าหมายนำ เนื้อมะพร้าวแห้ง 90% ที่เกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 9.30 บาท และอนุมัติเงินทุนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 100 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทยนำไปจัดสรรให้จังหวัดที่เป็นแหล่งที่สำคัญตามสัดส่วนผลผลิตเพื่อนำไปจัดสรรให้ สถาบันเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร ผู้เข้าร่วมโครงการ ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อเนื้อมะพร้าวแห้ง จากเกษตรกรในราคานำตลาด กำหนดระยะเวลารับซื้อเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2543 ระยะเวลาโครงการเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน 2543 โดยให้หักค่าใช้จ่ายของทางราชการที่จะจ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 1 ของวงเงินดำเนินการ
2. ทุเรียน : จากผลการสัมมนาสถานการณ์การผลิตทุเรียนภาคตะวันออก ปี 2543 ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคราชการและเอกชน เมื่อวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี คาดว่าผลผลิตทุเรียนของภาคตะวันออกจะมีประมาณ 445,744 ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 21 จะออกมากในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งทำให้ตลาดในแต่ละวันไม่สามารถรองรับผลผลิตได้ และอาจส่งผลให้ราคาตกต่ำได้ จึงมีมติให้มีการแทรกแซงตลาดทุเรียนในภาคตะวันออก ดังนี้
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสำหรับทุเรียนพันธุ์ชะนี กิโลกรัมละ 11 บาท และพันธุ์หมอนทอง กิโลกรัมละ 18 บาท
- อนุมัติวงเงินแทรกแซงจำนวน 135.5 ล้านบาท เป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 120 ล้านบาท ให้กรมวิชาการเกษตรดำเนินการตามโครงการผลักดันและเร่งรัดการตลาดทุเรียน จำนวน 90 ล้านบาท โดยนำไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกรแล้วนำไปแช่เยือกแข็ง เพื่อจำหน่ายต่อไป และจำนวน 30 ล้านบาท ไปจัดสรรให้ผู้ประกอบการ สถาบันเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรยืมไปแปรรูปทุเรียนกวนและทุเรียนทอดกรอบ ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ 13.5 ล้านบาท นำไปดำเนินการตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต โดยนำไปจัดสรรให้กลุ่มปรับปรุงคุณภาพทุเรียนและกลุ่มเกษตรกรกู้ยืมไปใช้หมุนเวียนรับซื้อทุเรียนจากเกษตรกร รวมทั้งเงินจ่ายขาด 2 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในเป็นค่าใช้จ่ายในการรณรงค์ ค่าสาธารณูปโภค และประชาสัมพันธ์ตามโครงการระบายทุเรียนออกนอกแหล่งผลิต ระยะเวลาดำเนินการ พฤษภาคม-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการ พฤษภาคม 2543-กุมภาพันธ์ 2544
3. สับปะรด : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตสับปะรด ปี 2543 จะมีประมาณ 2.3 ล้านตัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา และจะออกสู่ตลาดมากในเดือนเมษายน -มิถุนายน 2543 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาตกต่ำได้ ขณะนี้ราคาสับปะรดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.04 บาท ต่ำกว่าราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ซึ่งมีราคากิโลกรัมละ 2.61 บาท จึงมีมติให้มีการแทรกแซงตลาดเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ดังนี้
- กำหนดราคาเป้าหมายนำสับปะรดเกรดมาตรฐานโรงงาน ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 2.61 บาท
- อนุมัติเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ยจำนวน 250 ล้านบาท ให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) นำไปรับซื้อสับปะรดจากกษตรกร/สถาบันเกษตรกร เพื่อกระจายไปยังนอกแหล่งผลิต จำนวน 50 ล้านบาท โดยให้ อคส. หักภาระขาดทุนจากการรับซื้อกับราคาขายและการเน่าเสียได้ตามที่เกิดขึ้นจริง ระยะเวลารับซื้อเมษายน-กรกฎาคม 2543 ระยะเวลาโครงการเมษายน- กันยายน 2543 และค่าใช้จ่ายดำเนินการได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินงานและจำนวน 200 ล้านบาท ให้ อคส. ดำเนินการรับจำนำสับปะรดกระป๋องและนำสับปะรดเข้มข้นจากโรงงานแปรรูป โดยโรงงานรับซื้อสับปะรดจากเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ในราคานำตลาด ระยะเวลารับจำนำเดือนเมษายน-กรกฎาคม 2543 กำหนดไถ่ถอน 31 มีนาคม 2544 และให้หักค่าใช้จ่ายดำเนินการตามที่จ่ายจริงไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ
4. ลำไย : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตลำไย ปี 2543 จะมีประมาณ 336,874 ตัน เพิ่มจากปี 2540 ซึ่งมีผลผลิตมากที่สุดในช่วงที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 35 และจะออกสู่ตลาดมากในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ซึ่งจะส่งผลให้ราคาตกต่ำได้ จึงมีมติให้มีการดำเนินการแทรกแซงตลาด ดังนี้
- กำหนดราคาเป้าหมายนำ ลำไยร่วงคละที่เกษตรกรขายได้ ณ แหล่งผลิตกิโลกรัมละ 9.70 บาท ลำไยเกรดเอ ที่โรงงานลำไยกระป๋องรับซื้อ ณ หน้าโรงงานกิโลกรัมละ 25.40 บาท
- กำหนดวงเงินแทรกแซงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนปลอดดอกเบี้ย จำนวน 300 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายใน จำนวน 100 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้โรงงานผลไม้กระป๋องยืมไปรับซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน และจำนวน 200 ล้านบาท ให้กรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริม สหกรณ์ หน่วยงานละ 50 ล้านบาท นำไปจัดสรรให้สถาบันเกษตรและเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนการซื้อเตาอบในปี 2539 ยืมไปใช้รับซื้อลำไยสดจากเกษตรกรในราคานำตลาด และจำนวน 100 ล้านบาท ให้กรมการค้าภายในจัดสรรให้โรงงานแปรรูปลำไยอบแห้งยืมไปซื้อลำไยสดจากสถาบันเกษตกร/กลุ่มเกษตรกร หรือ อคส. รับจำนำผลิตภัณฑ์จากโรงงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ระยะเวลาดำเนินการมิถุนายน-สิงหาคม 2543 ระยะเวลาโครงการมิถุนายน 2543- มีนาคม 2544--จบ--
-อน-