การผลิตพืชผล ผลผลิตพืชผลในเดือนกรกฎาคม 2544ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูเก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันปีก่อนตามผลผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ สำหรับราคาพืชผลในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ปีก่อนตามภาวะการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยเฉพาะแป้งมัน ที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งราคาผักและผลไม้
ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา
ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ เช่นเดียวกับราคาพืชผล ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ราคาพืชผลที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 ซึ่งเป็นผล
จากการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผล และราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ ร้อยละ 1.4 และ 2.5 ตามลำดับ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนมิถุนายนและในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง ร้อยละ 11.6
และ 9.5 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เรือเล็กจำนวนมากหยุดทำการประมง
กอปรกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของไทย ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการทำประมง ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนกรกฎาคม 2544 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6
ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลและปศุสัตว์ เกือบทุกชนิดยกเว้นข้าวและปาล์มน้ำมัน ที่ราคา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สินค้าเกษตร
ที่การส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ไก่เนื้อและมันสำปะหลัง ตามภาวะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคากุ้งในเดือนนี้ยังคงลดลงจากช่วงเดียว
กันปีก่อนถึง ร้อยละ 11.2 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกกุ้งชะลอตัวลง ตามภาวะอุปสงค์ของโลกที่ลดลง ขณะที่อุปทานกุ้งในตลาดโลกกำลังเพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้ผลิตกุ้งในละตินอเมริกา เริ่มกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง หลังจากแก้ไขปัญหาโรคระบาดได้
ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ผลจากการอ่อนตัว ของค่าเงินบาท และการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี เป็นปัจจัยบวก ที่ทำให้ราคา
สินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาสินค้าเกษตร ในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงร้อยละ
1.3 จากเศรษฐกิจโลกถดถอย
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวดีขึ้น ตามอุปทานในตลาดโลกที่ลดลง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 มิ.ย. ก.ค. ม.ค.-ก.ค.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 109 112.3 113.1 109.6
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 2.4 5.7 6 2.9
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 100.2 103.8 105.6 101
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 1.4 7.8 9 2.5
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,992 5,573 5,559 5,930
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.3 -26.9 -31.3 -17.8
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,447 4,640 4,815 4,499
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.2 -4 -5.5 -7
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,400 24,340 22,600 22,430
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 6.6 16.5 9.9 7.1
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,912 4,030 3,890 3,908
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -17.5 -8.2 0 -15.4
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 750 990 1,060 800
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 18 41.4 60.6 24.3
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 110.2 120.4 120.3 111.7
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 7.4 15.6 14.3 8.4
ดัชนีราคาปลาและสัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 135.7 130.8 129.8 134.8
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 1.1 -6.4 -6.7 -0.1
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.8 103.4 103.4 103.7
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 2.9 -2.4 -2.4 2.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ช่วงเดียวกันปีก่อนตามผลผลิตยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ สำหรับราคาพืชผลในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ปีก่อนตามภาวะการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง โดยเฉพาะแป้งมัน ที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งราคาผักและผลไม้
ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ผลผลิตพืชผลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.4 ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าว ยางพารา
ปาล์มน้ำมัน ผักและผลไม้ เช่นเดียวกับราคาพืชผล ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ราคาพืชผลที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง และอ้อย
รายได้จากการขายพืชผลที่สำคัญของเกษตรกร ในเดือนกรกฎาคม 2544 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 ซึ่งเป็นผล
จากการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลเป็นสำคัญ เช่นเดียวกับในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 รายได้จากการขายพืชผลสำคัญของเกษตรกรเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 3.9 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตพืชผล และราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ ร้อยละ 1.4 และ 2.5 ตามลำดับ
การผลิตสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำขึ้นท่าในเดือนมิถุนายนและในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง ร้อยละ 11.6
และ 9.5 ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันดีเซลที่เป็นต้นทุนสำคัญในการทำประมงยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้เรือเล็กจำนวนมากหยุดทำการประมง
กอปรกับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งทำประมงที่สำคัญของไทย ปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการทำประมง ส่งผลให้ต้นทุนการทำประมงของไทยเพิ่มขึ้นมาก
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ ในเดือนกรกฎาคม 2544 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรรวม เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 6
ตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชผลและปศุสัตว์ เกือบทุกชนิดยกเว้นข้าวและปาล์มน้ำมัน ที่ราคา ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ สินค้าเกษตร
ที่การส่งออกอยู่ในเกณฑ์ดี ได้แก่ ไก่เนื้อและมันสำปะหลัง ตามภาวะอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคากุ้งในเดือนนี้ยังคงลดลงจากช่วงเดียว
กันปีก่อนถึง ร้อยละ 11.2 ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกกุ้งชะลอตัวลง ตามภาวะอุปสงค์ของโลกที่ลดลง ขณะที่อุปทานกุ้งในตลาดโลกกำลังเพิ่มขึ้น
เนื่องจากผู้ผลิตกุ้งในละตินอเมริกา เริ่มกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง หลังจากแก้ไขปัญหาโรคระบาดได้
ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2544 ผลจากการอ่อนตัว ของค่าเงินบาท และการส่งออกที่อยู่ในเกณฑ์ดี เป็นปัจจัยบวก ที่ทำให้ราคา
สินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าราคาสินค้าเกษตร ในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงร้อยละ
1.3 จากเศรษฐกิจโลกถดถอย
ราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก (เฉพาะ 12 ชนิดสินค้าที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรของไทย) ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.9 เนื่องจากราคาสินค้าหลายชนิดปรับตัวดีขึ้น ตามอุปทานในตลาดโลกที่ลดลง
ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ (หน่วย : บาท/ตัน)
2542 2543 2544
ทั้งปี H1 H2 ทั้งปี H1 มิ.ย. ก.ค. ม.ค.-ก.ค.
ดัชนีราคารวม* 111.6 106.4 108.8 107.6 109 112.3 113.1 109.6
(2538 =100)
D% -15.4 -7.5 0.6 -3.5 2.4 5.7 6 2.9
ดัชนีราคาพืชผล* 105.6 98.8 100.4 99.6 100.2 103.8 105.6 101
D% -19.8 -9.6 -1.3 -5.6 1.4 7.8 9 2.5
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 6,892 7,073 7,626 7,349 5,992 5,573 5,559 5,930
D% -15.5 9.5 4.1 6.6 -15.3 -26.9 -31.3 -17.8
ข้าวเปลือกเจ้าชั้น 1 5,459 4,794 5,081 4,937 4,447 4,640 4,815 4,499
D% -18.2 -15.7 -2.9 -9.6 -7.2 -4 -5.5 -7
ยางพารา 17,930 21,010 21,960 21,480 22,400 24,340 22,600 22,430
D% -22.6 19.8 19.9 19.8 6.6 16.5 9.9 7.1
ข้าวโพด 4,214 4,740 3,787 4,263 3,912 4,030 3,890 3,908
D% -7.8 14.6 -11.8 1.2 -17.5 -8.2 0 -15.4
มันสำปะหลัง 770 640 610 620 750 990 1,060 800
D% -44.5 -24.6 -12.2 -19 18 41.4 60.6 24.3
ดัชนีราคาปศุสัตว์* 115.2 102.7 103.9 103.3 110.2 120.4 120.3 111.7
D% 2.4 -15.7 -4.4 -10.3 7.4 15.6 14.3 8.4
ดัชนีราคาปลาและสัตว์น้ำ* 127.1 134.3 140.5 137.4 135.7 130.8 129.8 134.8
D% -16.2 6.4 9.8 8.1 1.1 -6.4 -6.7 -0.1
ดัชนีราคาป่าไม้* 97.1 100.9 104.7 102.8 103.8 103.4 103.4 103.7
D% -6.3 -21.3 -17.4 -19.4 2.9 -2.4 -2.4 2.1
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-