นิวซีแลนด์ถอยทัพ ไม่เรียกเก็บภาษี ตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าโฟลตกล้าสไทย -------------------------------------------------------------------------------- รัฐบาลนิวซีแลนด์ตัดสินใจถอนวาระการขอความเห็นชอบใช้มาตรการ ตอบโต้การทุ่มตลาดในนามประเทศที่สาม (Third Country Anti-Dumping Measure) ออกจากการประชุมคณะมนตรีว่าด้วย การค้าสินค้า (Council for Trade in Goods) ขององค์การการค้าโลก และค้อนข้างแน่ชัดว่า ได้ล้มเลิกความตั้งใจที่จะเรียกเก็บค่า ธรรมเนียมพิเศษตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากระจกแผ่นใสส่งออก จากไทย เนื่องจากแรงกดดันจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ที่จะขัดขวางการขอความเห็นชอบดังกล่าวคณะผู้แทนถาวรไทยประจำ องค์การการค้าโลกได้รับทราบอย่างเป็นการภายในจากนิวซีแลนด์ว่า การถอนวาระการประชุมครั้งนี้เป็นผลมาจากการร่วมมือระหว่าง หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังในการชี้ แจงข้อเท็จจริงให้กับรัฐบาลนิวซีแลนด์และรวบรวมเสียงสนับสนุนจาก ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกหลายประเทศเพื่อต่อต้านการขอ ความเห็นชอบของคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า ในเดือน พฤศจิกายน ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตและส่งออกกระจกแผ่นใสของ ออสเตรเลีย (บริษัท Pilkinton จำกัด) กล่าวหาว่า ไทย อินโดนีเซีย และสาธารณรัฐประขาชนจีน ส่งออกกระจกแผ่นใสไปยังตลาด นิวซีแลนด์ในราคาที่ทุ่มตลาดทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้ส่งออก ออสเตรเลียซึ่งส่งออกไปยังนิวซีแลนด์ เช่น เดียวกันและได้ร้องขอ ให้กระทรวงพาณิชย์นิวซีแลนด์ไต่สวนการทุ่มตลาดสินค้ากระจก แผ่นใส (Floatglass) ส่งออกจากประเทศที่สาม โดยอาศัยความ สัมพันธ์พิเศษภายใต้ความตกลงทางการค้าทวิภาคีกับรัฐบาล นิวซีแลนด์และอำนาจตามบทบัญญัติของความตกลงว่าด้วยมาตรการ ตอบโต้การทุ่มตลาด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้านิวซีแลนด์ ประกาศผลการไต่สวนเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2541 ว่าการส่งออก จากอินโดนีเซียมีปริมาณไม่มากพอหลังจากได้รับผลกระทบจากการ ลดค่าเงินริงกิต จึงได้ยกเลิกการไต่สวนของอินโดนีเซียลงแต่สำหรับ กระจกแผ่นใสส่งออกจากสาธารณรัฐประชาชนจีนและไทยมีการทุ่ม ตลาดทำให้เกิดความเสียหายและประกาศว่าหากจะเรียกเก็บค่าธรรม- เนียมตอบโต้การทุ่มตลาดจะเรียกเก็บย้อนหลังนับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม เป็นต้นไป ในส่วนของประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกองค์การ การค้าโลก รัฐบาลนิวซีแลนด์สรุปว่า บริษัท บางกอกโฟลตกล๊าสส์ จำกัด และบริษัท สยามโฟลตกล๊าสส์ จำกัดผู้ส่งออกกระจก แผ่นใสไทยมีการทุ่มตลาดในอัตราร้อยละ 23 และ 24 ของราคา นำเข้าตามลำดับ แต่เนื่องจากไทยอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของความ ตกลงว่าด้วยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดขององค์การการค้าโลกรัฐบาล นิวซีแลนด์จะต้องขอความเห็นชอบจากคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า (Council for Trade in Goods) ขององค์การการค้าโลก ก่อนจะสามารถประกาศเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตอบโต้การทุ่มตลาด ข้างต้นได้ ดังนั้น เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ผ่านมา รัฐบาลนิวซีแลนด์ ได้ขอบรรจุวาระการขอความเห็นชอบเพื่อใช้ มาตรการดังกล่าว เข้าสู่การประชุมคณะมนตรีซึ่งจะมีการประชุมในวันที่ 8 กรกฎาคม 2541 แต่ในวันถัดมา (26 มิถุนายน) ก็ได้ขอถอนประเด็น ดังกล่าวออกจากวาระการประชุม และแจ้งต่อไทยว่า จะไม่เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมพิเศษทุ่มตลาดดังกล่าว คณะผู้แทนถาวรไทยคาดว่า การเปลี่ยนแปลงท่าทีของนิวซีแลนด์เกิดจากแรงกดดันจากท่าทีของ ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกหลายประเทศที่จะคัดค้านการขอ ความเห็นชอบดังกล่าวอันเป็นผลมาจากการประสานงานระหว่างคณะ ผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง บทบัญญัติของความตกลงว่าด้วยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด อนุญาตให้ประเทศสมาชิกผู้ส่งออกใดหนึ่งสามารถร้องเรียนให้ ประเทศสมาชิกอีกประเทศหนึ่งซึ่งเป็นผู้นำเข้าไต่สวนการทุ่มตลาด สินค้านำเข้าจากประเทศที่สาม (Third Country Anti-Dumping) ได้แต่มีเงื่อนไขพิเศษว่า ประเทศผู้นำเข้าจะต้องขอความเห็นชอบ จากคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า (Council for Trade in Goods) ขององค์การการค้าโลกก่อน แต่เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวขาด ความชัดเจนว่าจะต้องขอความเห็นชอบก่อนการเริ่มไต่สวนหรือ ก่อนการประกาศเรียกเก็บค่าธรรมเนียมภายหลังจากการไต่สวน นิวซีแลนด์จึงได้ถือโอกาสเริ่มการไต่สวนโดยที่ไม่ขอความเห็นชอบ แต่แจ้งว่า จะขอความเห็นชอบก่อนประกาศเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ขั้นสุดท้าย ในการนี้ ไทยได้แจ้งต่อรัฐบาลนิวซีแลนด์อย่างชัดเจนว่า ไทยจะคัดค้านการเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า และได้ชักชวนให้ประเทศสมาชิกอื่นๆ สนับสนุนการคัดค้านดังกล่าวของไทย ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซียและสิงคโปร์ โดยชี้ให้เห็นว่า การกระทำของนิวซีแลนด์เป็นการกระทำที่ผิดต่อความตกลงฯ และอาจ ทำให้เกิดผลร้ายต่อการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ในอนาคตอีกด้วย เนื่องจากไทยเห็นว่า นิวซีแลนด์ต้องขอความเห็นชอบ ก่อนที่จะเริ่มการไต่สวนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-