กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจะลดต่ำลงในปี 2544
รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของปี 2544 ของจีนจะประมาณ 7.5-7.9% ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือต่ำกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2543 ในอัตราร้อยละ 8 และจะต่ำกว่าเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 (2539-2543) ในอัตราร้อยละ 8.3 ต่อปี อัตราการเติบโตที่ลดลงของจีนคาดว่าจะก่อให้เกิดแรงกดดันต่อการส่งออกของจีนเช่นกัน โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวที่อัตราเพียง 10% - 11% เท่านั้น หรือ ต่ำกว่าอัตราในปีที่ผ่านมาซึ่งการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 27.8% และทำให้มูลค่าของการส่งออกของจีนในปี 2543 อยู่ในระดับสูงถึง 249.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การคาดการณ์ที่ลดลงนี้ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์ของจีนคาดว่าผลจากการหดตัวของตลาดสหรัฐฯ จะมีต่อจีนอย่างชัดเจน เพราะการส่งออกสินค้าในปี 2543 ไปยังตลาดสหรัฐฯมีสัดส่วนถึง 21% ของยอดรวมทั้งหมด
แนวทางการปรับตัวของจีน
นโยบายสำคัญที่จีนพยายามจะดึงให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไม่ถดถอยลง คือ รัฐบาลวางแผนจะขายพันธบัตรมูลค่า 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงต้น ปี 2544 เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพื่อขยายความต้องการภายในประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลวางแผนจะขยายการลงทุนของภาคเอกชนด้วยการลดต้นทุนการผลิต และให้ข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในภาคธุรกิจทำได้สะดวกขึ้น รวมทั้งความพยายามผลักดันให้เกิดการ ใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลเน้นการปรับปรุงให้มีการเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในภาคชนบทให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับภาคในเมือง ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากในปัจจุบัน คือ ในภาคชนบทรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 2% ขณะที่ประชากรในเมืองมีรายได้เพิ่มขึ้น 7% ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาลจีนจะดำเนินการให้ราคาผลผลิตการเกษตรในปีนี้สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงเกษตรของจีนได้วางแผนว่าจะลดการผลิตผลผลิตพืชสำคัญลงประมาณ 9% จากปีก่อน และตั้งเป้าหมายเบื้องต้นว่า ผลผลิตธัญพืชในปี 2544 จะลดลงเหลือเพียง 460 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ 490 ล้านตัน และ 530 ล้านตัน ในปี 2543 และ 2542
แนวทางการปรับตัวของจีนดังกล่าว เพื่อรองรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของโลกในช่วงศตวรรษใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการหดตัวของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของจีน การปรับนโยบายของจีนได้ดำเนินมาตั้งแต่ปลายปี 2542 โดยรัฐบาลเน้นการกระตุ้นการเจริญเติบโตตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา สำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงปักกิ่งได้รายงานว่า มาตรการเรียกเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารของจีน มีส่วนทำให้ประชาชนออมเงินในธนาคารลดลง เพื่อสร้างให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น โดยการนำเงินออมมาใช้จ่ายและลงทุนมากขึ้น และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน พบว่า ในปี 2543 ชาวจีนได้นำเงินฝากมากกว่าร้อยละ 30 ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ไปลงทุนซื้อพันธบัตรของรัฐบาล
ผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในปี 2544
เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก โดยส่งออกสินค้าในหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น เครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องสื่อสารโทรคมนาคม และจากการศึกษาของสำนักเลขาธิการอาเซียนพบว่า สินค้าส่งออกของจีนและอาเซียนคล้ายคลึงกันมากและส่งออกไปยังตลาดหลักเดียวกันคือ สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรปและเอเชียตะวันออก ดังนั้น เมื่อตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง การบริโภคสินค้าดังกล่าวก็จะลดตามไปด้วย มีผลให้ระดับการแข่งขันในการส่งออกระหว่างไทยกับจีนไปยังสหรัฐฯ และประเทศที่สามเพิ่มสูงขึ้น
ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่าไทยจะมีผลกระทบจากการส่งออกลดลงมากน้อยเพียงไร แต่อย่างไรก็ตามเพื่อรักษาเป้าหมายการส่งออกของไทยให้มีอัตราขยายตัวให้ได้ตามอัตราที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้คือ 11.3% ในปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งมาตรการส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดใหม่นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศคู่ค้าเดิมในตลาดเอเชียมากขึ้น
ปัจจัยที่สำคัญในการรักษาการส่งออกของไทย คือ ต้องผลักดันให้สินค้าไทยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงให้ทันกับสถานการณ์ของการแข่งขันที่ต้องสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์และชิ้นส่วนในเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายหลักคือพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างแท้จริง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจะลดต่ำลงในปี 2544
รายงานข่าวจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน คาดการณ์ว่าอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของปี 2544 ของจีนจะประมาณ 7.5-7.9% ซึ่งนับว่าต่ำที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หรือต่ำกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 2543 ในอัตราร้อยละ 8 และจะต่ำกว่าเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 9 (2539-2543) ในอัตราร้อยละ 8.3 ต่อปี อัตราการเติบโตที่ลดลงของจีนคาดว่าจะก่อให้เกิดแรงกดดันต่อการส่งออกของจีนเช่นกัน โดยคาดว่าการส่งออกจะขยายตัวที่อัตราเพียง 10% - 11% เท่านั้น หรือ ต่ำกว่าอัตราในปีที่ผ่านมาซึ่งการส่งออกเพิ่มขึ้นถึง 27.8% และทำให้มูลค่าของการส่งออกของจีนในปี 2543 อยู่ในระดับสูงถึง 249.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ การคาดการณ์ที่ลดลงนี้ เนื่องจากนักเศรษฐศาสตร์ของจีนคาดว่าผลจากการหดตัวของตลาดสหรัฐฯ จะมีต่อจีนอย่างชัดเจน เพราะการส่งออกสินค้าในปี 2543 ไปยังตลาดสหรัฐฯมีสัดส่วนถึง 21% ของยอดรวมทั้งหมด
แนวทางการปรับตัวของจีน
นโยบายสำคัญที่จีนพยายามจะดึงให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไม่ถดถอยลง คือ รัฐบาลวางแผนจะขายพันธบัตรมูลค่า 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงต้น ปี 2544 เพื่อนำเงินไปลงทุนในกิจการด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจเพื่อขยายความต้องการภายในประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลวางแผนจะขยายการลงทุนของภาคเอกชนด้วยการลดต้นทุนการผลิต และให้ข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนในภาคธุรกิจทำได้สะดวกขึ้น รวมทั้งความพยายามผลักดันให้เกิดการ ใช้จ่ายของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลเน้นการปรับปรุงให้มีการเพิ่มรายได้แก่ประชาชนในภาคชนบทให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับภาคในเมือง ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมากในปัจจุบัน คือ ในภาคชนบทรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 2% ขณะที่ประชากรในเมืองมีรายได้เพิ่มขึ้น 7% ในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาลจีนจะดำเนินการให้ราคาผลผลิตการเกษตรในปีนี้สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยกระทรวงเกษตรของจีนได้วางแผนว่าจะลดการผลิตผลผลิตพืชสำคัญลงประมาณ 9% จากปีก่อน และตั้งเป้าหมายเบื้องต้นว่า ผลผลิตธัญพืชในปี 2544 จะลดลงเหลือเพียง 460 ล้านตัน เมื่อเทียบกับ 490 ล้านตัน และ 530 ล้านตัน ในปี 2543 และ 2542
แนวทางการปรับตัวของจีนดังกล่าว เพื่อรองรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของโลกในช่วงศตวรรษใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลจากการหดตัวของตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของจีน การปรับนโยบายของจีนได้ดำเนินมาตั้งแต่ปลายปี 2542 โดยรัฐบาลเน้นการกระตุ้นการเจริญเติบโตตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา สำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงปักกิ่งได้รายงานว่า มาตรการเรียกเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารของจีน มีส่วนทำให้ประชาชนออมเงินในธนาคารลดลง เพื่อสร้างให้มีเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น โดยการนำเงินออมมาใช้จ่ายและลงทุนมากขึ้น และจากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน พบว่า ในปี 2543 ชาวจีนได้นำเงินฝากมากกว่าร้อยละ 30 ไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ไปลงทุนซื้อพันธบัตรของรัฐบาล
ผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในปี 2544
เนื่องจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก โดยส่งออกสินค้าในหมวดสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก เช่น เครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องสื่อสารโทรคมนาคม และจากการศึกษาของสำนักเลขาธิการอาเซียนพบว่า สินค้าส่งออกของจีนและอาเซียนคล้ายคลึงกันมากและส่งออกไปยังตลาดหลักเดียวกันคือ สหรัฐอเมริกา ประชาคมยุโรปและเอเชียตะวันออก ดังนั้น เมื่อตลาดหลักคือ สหรัฐอเมริกาชะลอตัวลง การบริโภคสินค้าดังกล่าวก็จะลดตามไปด้วย มีผลให้ระดับการแข่งขันในการส่งออกระหว่างไทยกับจีนไปยังสหรัฐฯ และประเทศที่สามเพิ่มสูงขึ้น
ขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนว่าไทยจะมีผลกระทบจากการส่งออกลดลงมากน้อยเพียงไร แต่อย่างไรก็ตามเพื่อรักษาเป้าหมายการส่งออกของไทยให้มีอัตราขยายตัวให้ได้ตามอัตราที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้คือ 11.3% ในปี 2544 กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งมาตรการส่งเสริมการส่งออกไปยังตลาดใหม่นอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศคู่ค้าเดิมในตลาดเอเชียมากขึ้น
ปัจจัยที่สำคัญในการรักษาการส่งออกของไทย คือ ต้องผลักดันให้สินค้าไทยมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงให้ทันกับสถานการณ์ของการแข่งขันที่ต้องสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์และชิ้นส่วนในเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยมีเป้าหมายหลักคือพัฒนาการผลิตสินค้าให้มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างแท้จริง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-