ภาวะอุตสาหกรรม IT
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่าอุตสาหกรรมไอที ถือเป็นหนึ่งใน
อุตสาหกรรมดาวรุ่งของไทยที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย และด้วยศักยภาพด้านตลาดในประเทศและนโยบายของ
รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงทำให้ได้รับความสนใจจากบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและไต้หวัน
ได้เข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์และจอมอนิเตอร์เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่การตลาดอาจ
แบ่งอุตสาหกรรมไอที ได้ดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Multi-User System)
2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Single-User Syster หรือ PC)
3. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Pack Aged Software)
4. อุปกรณ์เครือข่ายเน็ตเวิร์ค (Data Communication Equipment)
5. บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับ IT (IT Services)
เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาด พบว่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Single-User System) มีส่วนแบ่งตลาดพบตลาดสูงสุด คือ มี
มูลค่าถึงร้อยละ 56.2 ในปี 2540
ในช่วงระหว่างปี 2528-2538 ตลาดอุตสาหกรรมไอทีของไทยมีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 25 และในปี 2540 มีมูลค่าตลาดสูงสุดถึง
กว่า 42,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 2541 ตลาดอุตสาหกรรมไอทีของไทยมีมูลค่าลดลงเหลือ 32,000 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโต
ลดลงร้อยละ 42 เนื่องจากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจ
สำหรับภาวะตลาดในปี 2542 และอนาคต สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทยคาดการณ์ว่าตลาดอุตสาหกรรมไอทีไทยจะมีมูลค่า
เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2541 และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2542-2546 โดยมีอัตราการเติบโตในระดับเฉลี่ยร้อยละ 15
ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ตลาดอุตสาหกรรมไอทีของไทยมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือความแพร่หลายของอินเตอร์เนต
และการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerce ในประเทศไทย
ประมาณการมูลค่าการใช้ไอทีของไทยปี 2542-2546
======================================================================================
2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546
======================================================================================
ไอทีฮาร์ดแวร์ 27,595 18,299 19,777 21,186 27,209 32,253 38,329
บริการต่าง ๆ ด้านไอที 8,200 7,994 8,233 8,646 9,769 11,039 12,475
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 6,852 5,910 6,087 6,696 8,370 10,463 13,078
=======================================================================================
รวม 42,647 32,203 34,098 36,527 45,349 53,755 63,882
=======================================================================================
ที่มา : สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย
อัตราการเติบโตของตลาดไอที
เมื่อพิจารณาถึงภาวะระบบอินเตอร์เนตในประเทศไทย โดยเฉพาะความแพร่หลายของระบบอินเตอร์เนต
ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นในปี 2530 ถึงปัจจุบัน พบว่าจำนวนผู้ใช้ระบบอินเตอร์เนตในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยในปี 2542 คาดว่าจะมีผู้ใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทยจะมีอัตราเติบโตในระดับร้อย
ละ 30 ต่อปี ซึ่งจะทำให้มีผู้ใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทยไทยถึง 12 ล้านคนในปี 2549 หรือประมาณร้อยละ 20 ของ
ประชากรทั้งประเทศ
ประมาณการจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทย
================================================
ปี จำนวนผู้ใช้งาน ปี
================================================
2530 1000 2537 30,000
2531 200 2538 50,000
2532 300 2539 150,000
2533 400 2540 350,000
2534 500 2541 600,000
2535 1000 2542 800,000
2536 1500
================================================
ประเภทผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เนตในประเทศไทย
===========================================================
ประเภทผู้ใช้ 2541 2549
===========================================================
มหาวิทยาลัย 275,000 1,500,000
อาชีวะและพาณิชย์ 110,000 800,000
ประถมและมัธยม 110,000 800,000
ผู้ใช้รายบุคคลจากราชการ 105,000 8,900,000
รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน และ
ประชาชนทั่วไป
=============================================================
รวม 600,000 12,000,000
=============================================================
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อเข้าระบบอินเตอร์เนต
ต่อประชากรปี 2541 ของประเทศในกลุ่มเอเชียพบว่าประเทศไทยมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ต่อเข้าอินเตอร์เนตต่อประชากรต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์
ซึ่งมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เนตต่อประชากรสูงที่สุด
=============================================
ลำดับ ประเทศ จำนวนผู้ใช้งาน
=============================================
1 ญี่ปุ่น 11,000,000
2 ไต้หวัน 2,100,000
3 ออสเตรเลีย 1,800,000
4 เกาหลี 1,500,000
5 จีน 1,000,000
6 ไทย 600,000
7 ฮ่องกง 600,000
8 สิงคโปร์ 450,000
9 นิวซีแลนด์ 400,000
10 มาเลเซีย 400,000
11 อินเดีย 150,000
12 ฟิลิปปินส์ 100,000
13 อินโดนีเซีย 60,000
14 เวียดนาม 10,000
15 บรูไน 2,000
16 กัมพูชา 1,000
=============================================
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เนตของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ใน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าในปี 2541 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 โดยประเทศที่มีผู้ใช้งานระบบอินเตอร์
เนตสูงสุดคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีผู้ใช้งานถึง 11 ล้านคน และ 5 อันดับแรกเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งานในระบบ
อินเตอร์เนตเกินกว่า 1 ล้านคนทั้งสิ้น
จากข้อมูลดังกล่าว ถ้าเราวิเคราะห์ในแง่บวกจะเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการขยายตัวของระบบ
อินเตอร์เนตอีกมาก และรวมไปถึงการเติบโตในอุตสาหกรรมไอที
โดยเมื่อวิเคราะห์ถึงการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เนตในรายงานเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการ
ส่งออกของดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ซึ่งได้แบ่งธุรกิจหรือองค์กรที่ใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เนตไว้ 4 ประเภทหลักคือ
1. ธุรกิจที่สนใจจะใช้อินเตอร์เนตเพื่อปรับปรุงให้ธุรกิจมีรูปแบบที่ทันสมัย และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยใช้เทคโนโลยี
อินเตอร์เนตเข้าช่วย
2. ธุรกิจที่ต้องการจะใช้อินเตอร์เนตในการทำการขายและการตลาด
3. องค์กร สมาคม สโมสร ที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มสมาชิกและการทำประชาสัมพันธ์แบบมวลชน
4. บุคคลทั่วไปที่สนใจจะนำอินเตอร์เนตไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
ทั้งนี้ประเภทที่ได้รับการกล่าวถึงและมีการพัฒนารูปแบบมากที่สุด คือ ประเภทที่ 1 และ 2 ซึ่งเรียกโดยรวมว่าระบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : การค้าในอนาคต
การประยุกต์ใช้วิทยาการอินเตอร์เนตได้แพร่หลายในวงการต่าง ๆ แต่ที่ได้รับความสนใจและแพร่หลายมากที่สุดคือ
การประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ช ซึ่งเราสามารถแบ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกได้เป็น 4
ประเภท ดังนี้
1. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer หรือ B-to-C) คือ ประเภทที่ผู้ใช้บริการซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจ
ผ่านระบบอินเตอร์เนต
2. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B-to-B) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจดำเนินการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือ
ธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เนต
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B-to-G) คือ ประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับกับหน่วยงานราชการผ่านระบบ
อินเตอร์เนต
4. รัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government หรือ G-to-G) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานหนึ่งติดต่อ
ธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เนตกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
สำหรับประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการกล่าวถึงและมีมากที่สุดในปัจจุบัน คือ B-to-B และ B-to-C โดยในปัจจุบัน
ผู้คนในโลกกว่า 20 ล้านคนได้ทำการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เนต โดยในปี 2541 การค้าสินค้าทางอินเตอร์เนตมี
มูลค่าสูงกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการคาดการณ์ภายในปี 2544 การค้าบนอินเตอร์เนตจะมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งหมื่นแปดพันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ
หากพิจารณาถึงองค์กรธุรกิจที่ต้องการใช้ประโยชน์จากระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะพบว่าธุรกิจดังกล่าวนี้จะใช้หลัก 4 Ps
คือ Product, Price, Place and Promotion ในการทำการตลาด (Marketing) เช่นกัน แต่จะเน้นความหมายที่แตกต่างออกไปคือ
Product : อินเตอร์เนตสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ได้เกือบทุกแบบไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ
Price : ราคาที่เสนอขายในอินเตอร์เนตจะมีราคาถูกกว่าธุรกิจปกติเพราะประหยัดต้นทุนในเรื่องของการว่าจ้างพนักงาน รวม
ทั้งค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่และการตกแต่งหน้าร้าน
Place : ไม่ได้จำกัดสถานที่เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก
Promotion : ใช้รูปแบบได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การขาย การตลาด หรือการประชาสัมพันธ์ โดยสามารถทำได้รวดเร็ว
มีความยืดหยุ่นสูง ปรับได้ตลอดเวลาโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าธุรกิจปกติ
สำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การส่งออก โดยจัดตั้งโฮมเพจ www.thaiecommerce.net เพื่อเปิดซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เนต
ปัจจุบันมีบริษัทเข้าร่วมโฮมเพจดังกล่าวจำนวน 44 ราย ส่วนสินค้าที่จำหน่ายก็มีหลากหลาย อาทิ อัญมนีและเครื่องประดับ อาหาร
สิ่งทอ เครื่องหนัง เป็นต้น โดยจะเน้นตลาดในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย
เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศพบว่าปัจจุบันมีการเปิดโฮมเพจเพื่อการค้าขายสินค้าต่าง ๆ มากมาย
เช่น www.thaicybermall.com, www.thaimarket.net, www.shoppingthai.com เป็นต้น อีกทั้งมีหนังสือที่เขียนถึงกลยุทธ์การพัฒนาพาณิชย์
อิเล็กทรอนิคส์มากมาย
อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่ามีอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศไทยที่ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เนตในเชิงพาณิชย์เพียงร้อยละ
10-20 เท่านั้น ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจในสหรัฐอเมริกาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เนตถึงร้อยละ 85
ในรายงานการวิจัยสถานภาพของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อ
การพัฒนาประเทศไทย ระบุว่มีบริษัทหรือกิจการที่ใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 383 บริษัท เช่น การเปิดโฮมเพจเพื่อ
โฆษณาสินค้า การรับสั่งซื้อสินค้าและบริการจากลูกค้า เป็นต้น
ธุรกิจที่ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 10 สาขาแรกคือ
1. โรงแรม
2. การท่องเที่ยว
3. ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์
4. การให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เนต เช่นการขายสมาชิกอินเตอร์เนต การทำโฮมเพจ เป็นต้น
5. สื่อสารมวลชน
6. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
7. การเงิน
8. หนังสือและสิ่งพิมพ์
9. ของที่ระลึกและสินค้าหัตถกรรม
10. อัญมณี
รายงานการวิจัยดังกล่าวได้สอบถามผู้ประกอบการถึงปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยมีแพร่หลาย
มากขึ้น พบว่าปัจจัยสำคัญ 3 ปัจจัยแรก คือ การมีวิธีชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย การมีค่าบริการอินเตอร์เนตที่ถูกลง และการที่ประชาชนมี
ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
สำหรับบทบาทของภาครัฐต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย จากการสอบถามพบว่าปัจจัย 3 ปัจจัยแรก คือ การ
พัฒนาวิธีการชำระเงินที่สะดวกปลอดภัย การออกกฎหมายรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการลดอัตราค่าบริการอินเตอร์เนต ซึ่งปัจจุบัน
รัฐบาลก็มีนโยบายที่จะส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมากดังเห็นได้จากหลายหน่วยงานของภาครัฐที่มีบทบาทต่อการพัฒนาพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เนคเทคในการร่างกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและเผยแพร่ระบบอินเตอร์เน็ต ทางด้าน
กระทรวงพาณิชย์ก็ได้จัดตั้ง คณะอนุกรรมการนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกระทรวงคมนาคมก็เร่งดำเนินนโยบายเปิดเสรี
โทรคมนาคม
จะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและ
เอกชนจะต้องช่วยกันแนะนำ ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดวิทยาการทางด้านอินเตอร์เนตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจของไทย เพื่อ
ให้บริษัทเหล่านี้นำอินเตอร์เนตไปใช้ในการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/31 มกราคม 2543--
อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology-IT) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่าอุตสาหกรรมไอที ถือเป็นหนึ่งใน
อุตสาหกรรมดาวรุ่งของไทยที่รัฐบาลกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย และด้วยศักยภาพด้านตลาดในประเทศและนโยบายของ
รัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงทำให้ได้รับความสนใจจากบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและไต้หวัน
ได้เข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาร์ดดิสก์และจอมอนิเตอร์เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากพิจารณาในแง่การตลาดอาจ
แบ่งอุตสาหกรรมไอที ได้ดังนี้
1. คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Multi-User System)
2. คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Single-User Syster หรือ PC)
3. ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Pack Aged Software)
4. อุปกรณ์เครือข่ายเน็ตเวิร์ค (Data Communication Equipment)
5. บริการต่าง ๆ เกี่ยวกับ IT (IT Services)
เมื่อพิจารณาส่วนแบ่งตลาด พบว่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Single-User System) มีส่วนแบ่งตลาดพบตลาดสูงสุด คือ มี
มูลค่าถึงร้อยละ 56.2 ในปี 2540
ในช่วงระหว่างปี 2528-2538 ตลาดอุตสาหกรรมไอทีของไทยมีอัตราเติบโตถึงร้อยละ 25 และในปี 2540 มีมูลค่าตลาดสูงสุดถึง
กว่า 42,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ในช่วงปี 2541 ตลาดอุตสาหกรรมไอทีของไทยมีมูลค่าลดลงเหลือ 32,000 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโต
ลดลงร้อยละ 42 เนื่องจากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจ
สำหรับภาวะตลาดในปี 2542 และอนาคต สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทยคาดการณ์ว่าตลาดอุตสาหกรรมไอทีไทยจะมีมูลค่า
เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2541 และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2542-2546 โดยมีอัตราการเติบโตในระดับเฉลี่ยร้อยละ 15
ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลให้ตลาดอุตสาหกรรมไอทีของไทยมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือความแพร่หลายของอินเตอร์เนต
และการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-Commerce ในประเทศไทย
ประมาณการมูลค่าการใช้ไอทีของไทยปี 2542-2546
======================================================================================
2540 2541 2542 2543 2544 2545 2546
======================================================================================
ไอทีฮาร์ดแวร์ 27,595 18,299 19,777 21,186 27,209 32,253 38,329
บริการต่าง ๆ ด้านไอที 8,200 7,994 8,233 8,646 9,769 11,039 12,475
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 6,852 5,910 6,087 6,696 8,370 10,463 13,078
=======================================================================================
รวม 42,647 32,203 34,098 36,527 45,349 53,755 63,882
=======================================================================================
ที่มา : สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย
อัตราการเติบโตของตลาดไอที
เมื่อพิจารณาถึงภาวะระบบอินเตอร์เนตในประเทศไทย โดยเฉพาะความแพร่หลายของระบบอินเตอร์เนต
ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นในปี 2530 ถึงปัจจุบัน พบว่าจำนวนผู้ใช้ระบบอินเตอร์เนตในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่าง
รวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยในปี 2542 คาดว่าจะมีผู้ใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทยจะมีอัตราเติบโตในระดับร้อย
ละ 30 ต่อปี ซึ่งจะทำให้มีผู้ใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทยไทยถึง 12 ล้านคนในปี 2549 หรือประมาณร้อยละ 20 ของ
ประชากรทั้งประเทศ
ประมาณการจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทย
================================================
ปี จำนวนผู้ใช้งาน ปี
================================================
2530 1000 2537 30,000
2531 200 2538 50,000
2532 300 2539 150,000
2533 400 2540 350,000
2534 500 2541 600,000
2535 1000 2542 800,000
2536 1500
================================================
ประเภทผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เนตในประเทศไทย
===========================================================
ประเภทผู้ใช้ 2541 2549
===========================================================
มหาวิทยาลัย 275,000 1,500,000
อาชีวะและพาณิชย์ 110,000 800,000
ประถมและมัธยม 110,000 800,000
ผู้ใช้รายบุคคลจากราชการ 105,000 8,900,000
รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน และ
ประชาชนทั่วไป
=============================================================
รวม 600,000 12,000,000
=============================================================
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อเข้าระบบอินเตอร์เนต
ต่อประชากรปี 2541 ของประเทศในกลุ่มเอเชียพบว่าประเทศไทยมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ต่อเข้าอินเตอร์เนตต่อประชากรต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์
ซึ่งมีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เนตต่อประชากรสูงที่สุด
=============================================
ลำดับ ประเทศ จำนวนผู้ใช้งาน
=============================================
1 ญี่ปุ่น 11,000,000
2 ไต้หวัน 2,100,000
3 ออสเตรเลีย 1,800,000
4 เกาหลี 1,500,000
5 จีน 1,000,000
6 ไทย 600,000
7 ฮ่องกง 600,000
8 สิงคโปร์ 450,000
9 นิวซีแลนด์ 400,000
10 มาเลเซีย 400,000
11 อินเดีย 150,000
12 ฟิลิปปินส์ 100,000
13 อินโดนีเซีย 60,000
14 เวียดนาม 10,000
15 บรูไน 2,000
16 กัมพูชา 1,000
=============================================
เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้งานระบบอินเตอร์เนตของประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ใน
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่าในปี 2541 ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 โดยประเทศที่มีผู้ใช้งานระบบอินเตอร์
เนตสูงสุดคือประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีผู้ใช้งานถึง 11 ล้านคน และ 5 อันดับแรกเป็นประเทศที่มีผู้ใช้งานในระบบ
อินเตอร์เนตเกินกว่า 1 ล้านคนทั้งสิ้น
จากข้อมูลดังกล่าว ถ้าเราวิเคราะห์ในแง่บวกจะเห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการขยายตัวของระบบ
อินเตอร์เนตอีกมาก และรวมไปถึงการเติบโตในอุตสาหกรรมไอที
โดยเมื่อวิเคราะห์ถึงการใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เนตในรายงานเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการ
ส่งออกของดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ซึ่งได้แบ่งธุรกิจหรือองค์กรที่ใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เนตไว้ 4 ประเภทหลักคือ
1. ธุรกิจที่สนใจจะใช้อินเตอร์เนตเพื่อปรับปรุงให้ธุรกิจมีรูปแบบที่ทันสมัย และลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยใช้เทคโนโลยี
อินเตอร์เนตเข้าช่วย
2. ธุรกิจที่ต้องการจะใช้อินเตอร์เนตในการทำการขายและการตลาด
3. องค์กร สมาคม สโมสร ที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มสมาชิกและการทำประชาสัมพันธ์แบบมวลชน
4. บุคคลทั่วไปที่สนใจจะนำอินเตอร์เนตไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ
ทั้งนี้ประเภทที่ได้รับการกล่าวถึงและมีการพัฒนารูปแบบมากที่สุด คือ ประเภทที่ 1 และ 2 ซึ่งเรียกโดยรวมว่าระบบ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : การค้าในอนาคต
การประยุกต์ใช้วิทยาการอินเตอร์เนตได้แพร่หลายในวงการต่าง ๆ แต่ที่ได้รับความสนใจและแพร่หลายมากที่สุดคือ
การประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ช ซึ่งเราสามารถแบ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกได้เป็น 4
ประเภท ดังนี้
1. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer หรือ B-to-C) คือ ประเภทที่ผู้ใช้บริการซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจ
ผ่านระบบอินเตอร์เนต
2. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B-to-B) คือ ประเภทที่ธุรกิจกับธุรกิจดำเนินการติดต่อซื้อขายสินค้าหรือ
ธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เนต
3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B-to-G) คือ ประเภทที่ธุรกิจติดต่อกับกับหน่วยงานราชการผ่านระบบ
อินเตอร์เนต
4. รัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government หรือ G-to-G) คือ ประเภทที่หน่วยงานรัฐบาลหน่วยงานหนึ่งติดต่อ
ธุรกรรมผ่านระบบอินเตอร์เนตกับหน่วยงานรัฐบาลอีกหน่วยงานหนึ่ง
สำหรับประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการกล่าวถึงและมีมากที่สุดในปัจจุบัน คือ B-to-B และ B-to-C โดยในปัจจุบัน
ผู้คนในโลกกว่า 20 ล้านคนได้ทำการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านระบบอินเตอร์เนต โดยในปี 2541 การค้าสินค้าทางอินเตอร์เนตมี
มูลค่าสูงกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีการคาดการณ์ภายในปี 2544 การค้าบนอินเตอร์เนตจะมีมูลค่าสูงถึงหนึ่งหมื่นแปดพันล้าน
เหรียญสหรัฐฯ
หากพิจารณาถึงองค์กรธุรกิจที่ต้องการใช้ประโยชน์จากระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะพบว่าธุรกิจดังกล่าวนี้จะใช้หลัก 4 Ps
คือ Product, Price, Place and Promotion ในการทำการตลาด (Marketing) เช่นกัน แต่จะเน้นความหมายที่แตกต่างออกไปคือ
Product : อินเตอร์เนตสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ได้เกือบทุกแบบไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ
Price : ราคาที่เสนอขายในอินเตอร์เนตจะมีราคาถูกกว่าธุรกิจปกติเพราะประหยัดต้นทุนในเรื่องของการว่าจ้างพนักงาน รวม
ทั้งค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่และการตกแต่งหน้าร้าน
Place : ไม่ได้จำกัดสถานที่เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก
Promotion : ใช้รูปแบบได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการโฆษณา การขาย การตลาด หรือการประชาสัมพันธ์ โดยสามารถทำได้รวดเร็ว
มีความยืดหยุ่นสูง ปรับได้ตลอดเวลาโดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าธุรกิจปกติ
สำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการจัดตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การส่งออก โดยจัดตั้งโฮมเพจ www.thaiecommerce.net เพื่อเปิดซื้อขายสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เนต
ปัจจุบันมีบริษัทเข้าร่วมโฮมเพจดังกล่าวจำนวน 44 ราย ส่วนสินค้าที่จำหน่ายก็มีหลากหลาย อาทิ อัญมนีและเครื่องประดับ อาหาร
สิ่งทอ เครื่องหนัง เป็นต้น โดยจะเน้นตลาดในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย
เมื่อพิจารณาถึงภาพรวมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศพบว่าปัจจุบันมีการเปิดโฮมเพจเพื่อการค้าขายสินค้าต่าง ๆ มากมาย
เช่น www.thaicybermall.com, www.thaimarket.net, www.shoppingthai.com เป็นต้น อีกทั้งมีหนังสือที่เขียนถึงกลยุทธ์การพัฒนาพาณิชย์
อิเล็กทรอนิคส์มากมาย
อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่ามีอุตสาหกรรมและธุรกิจในประเทศไทยที่ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เนตในเชิงพาณิชย์เพียงร้อยละ
10-20 เท่านั้น ในขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจในสหรัฐอเมริกาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เนตถึงร้อยละ 85
ในรายงานการวิจัยสถานภาพของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย โดยดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ จากสถาบันวิจัยเพื่อ
การพัฒนาประเทศไทย ระบุว่มีบริษัทหรือกิจการที่ใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อย 383 บริษัท เช่น การเปิดโฮมเพจเพื่อ
โฆษณาสินค้า การรับสั่งซื้อสินค้าและบริการจากลูกค้า เป็นต้น
ธุรกิจที่ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 10 สาขาแรกคือ
1. โรงแรม
2. การท่องเที่ยว
3. ผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์
4. การให้บริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เนต เช่นการขายสมาชิกอินเตอร์เนต การทำโฮมเพจ เป็นต้น
5. สื่อสารมวลชน
6. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
7. การเงิน
8. หนังสือและสิ่งพิมพ์
9. ของที่ระลึกและสินค้าหัตถกรรม
10. อัญมณี
รายงานการวิจัยดังกล่าวได้สอบถามผู้ประกอบการถึงปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยมีแพร่หลาย
มากขึ้น พบว่าปัจจัยสำคัญ 3 ปัจจัยแรก คือ การมีวิธีชำระเงินที่สะดวกและปลอดภัย การมีค่าบริการอินเตอร์เนตที่ถูกลง และการที่ประชาชนมี
ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
สำหรับบทบาทของภาครัฐต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย จากการสอบถามพบว่าปัจจัย 3 ปัจจัยแรก คือ การ
พัฒนาวิธีการชำระเงินที่สะดวกปลอดภัย การออกกฎหมายรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการลดอัตราค่าบริการอินเตอร์เนต ซึ่งปัจจุบัน
รัฐบาลก็มีนโยบายที่จะส่งเสริมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมากดังเห็นได้จากหลายหน่วยงานของภาครัฐที่มีบทบาทต่อการพัฒนาพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เนคเทคในการร่างกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการสร้างเครือข่ายและเผยแพร่ระบบอินเตอร์เน็ต ทางด้าน
กระทรวงพาณิชย์ก็ได้จัดตั้ง คณะอนุกรรมการนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่วนกระทรวงคมนาคมก็เร่งดำเนินนโยบายเปิดเสรี
โทรคมนาคม
จะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยยังอยู่ในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและ
เอกชนจะต้องช่วยกันแนะนำ ประชาสัมพันธ์และถ่ายทอดวิทยาการทางด้านอินเตอร์เนตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจของไทย เพื่อ
ให้บริษัทเหล่านี้นำอินเตอร์เนตไปใช้ในการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
ที่มา : วารสารส่งเสริมการลงทุน
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1/31 มกราคม 2543--