กรุงเทพฯ--8 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (3 ธันวาคม 2543) นายรัฐกิจ มานะทัต รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกราชอาณาจักร ซึ่งสถานเอกอัคร-ราชทูต (สอท.) สถานกงสุลใหญ่ (สกญ.) และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 3-30 ธันวาคม 2543 ได้เสร็จสิ้นลงแล้วด้วยความเรียบร้อย สรุปได้ดังนี้
1. การเลือกตั้งดังกล่าวมีรูปแบบการลงคะแนน 2 รูปแบบหลักคือ 1) การลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้งกลาง อันเป็นรูปแบบที่ใช้ในกรณีที่ในประเทศนั้นมีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอก ราชอาณาจักรมากกว่า 500 คน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 16 ประเทศ 2) การลงคะแนนทางไปรษณีย์ เป็นรูปแบบที่ใช้ในกรณีที่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรน้อยกว่า 500 คน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 49 ประเทศ
2. ผู้ไปใช้สิทธิการเลือกตั้งในครั้งนี้มีจำนวน 14,989 คน จากจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง 42,445 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.31 ทั้งนี้ ประเทศที่มีผู้ลงทะเบียนฯ สูงสุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐอเมริกา (10,026 คน) ไต้หวัน (6,936 คน) และซาอุดิอาระเบีย (2,581 คน) หรือคิดเป็นร้อยละ 35.42 14.72 และ 48.58 ตามลำดับ
3. หากเปรียบเทียบการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม 2543 กับการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปจะพบว่า
1) ผู้แสดงความ จำนงขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 26,058 คนเป็น 42,445 คนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.88 และ
2) แม้ว่าเปอร์เซ็นต์การเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักร (35.31%) จะมีจำนวนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร (39.53%) แต่เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ไปใช้สิทธิ จะพบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ การเลือกตั้ง ส.ว. ฯ มีคนไทยไปใช้สิทธิลงคะแนนทั่วโลก 10,302 คน ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ มีผู้ไปใช้สิทธิรวม 14,989 คน เพิ่มขึ้น 4,687 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.49
4. ขณะนี้บัตรเลือกตั้งได้ถูกส่งกลับมายังประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และได้ถูกส่งมอบไปยังการ สื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปยังเขตต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อการนับคะแนนรวมในวันที่ 6 มกราคม 2544 ต่อไป
5. การเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้สรุปได้ว่า
1) ไม่ปรากฏข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่เที่ยงธรรม หรือส่อไปในทางทุจริตแต่อย่างใดในระหว่างการเลือกตั้งฯ
2) สอท. และ สกญ. ทุกแห่งได้ดำเนินการในหลายลักษณะเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้สิทธิของคนไทยให้มากกว่าการเลือกตั้ง ส.ว. อาทิ กำหนดช่วงวันลงคะแนนไว้หลายวัน (สกญ. ณ นครลอสแอนเจลิส กำหนดวันลงคะแนนไว้ตั้งแต่วันที่ 10-30 ธ.ค. 2543) กำหนดจำนวนสถานที่ลงคะแนนให้มากขึ้น เช่น สอท. และ สกญ. ใน สหรัฐฯ กำหนดจุดลงคะแนนไว้มากถึง 22 จุด และ
3) การให้ประชาชนใช้สิทธิลงคะแนนทางไปรษณีย์ ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายอันดี และช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คนไทยในประเทศต่างๆ เช่น เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ ตุรกี และเดนมาร์ก เป็นต้น
6. รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ในภาพรวมนั้น การจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี และยังสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยในต่างประเทศมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้นเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากทั้งจำนวนผู้แสดงความจำนงขอใช้สิทธิเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.88 และจากจำนวนผู้มาใช้สิทธิจริงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.49
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (3 ธันวาคม 2543) นายรัฐกิจ มานะทัต รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นอกราชอาณาจักร ซึ่งสถานเอกอัคร-ราชทูต (สอท.) สถานกงสุลใหญ่ (สกญ.) และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 3-30 ธันวาคม 2543 ได้เสร็จสิ้นลงแล้วด้วยความเรียบร้อย สรุปได้ดังนี้
1. การเลือกตั้งดังกล่าวมีรูปแบบการลงคะแนน 2 รูปแบบหลักคือ 1) การลงคะแนน ณ ที่เลือกตั้งกลาง อันเป็นรูปแบบที่ใช้ในกรณีที่ในประเทศนั้นมีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอก ราชอาณาจักรมากกว่า 500 คน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 16 ประเทศ 2) การลงคะแนนทางไปรษณีย์ เป็นรูปแบบที่ใช้ในกรณีที่มีผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรน้อยกว่า 500 คน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 49 ประเทศ
2. ผู้ไปใช้สิทธิการเลือกตั้งในครั้งนี้มีจำนวน 14,989 คน จากจำนวนผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้ง 42,445 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 35.31 ทั้งนี้ ประเทศที่มีผู้ลงทะเบียนฯ สูงสุด 3 อันดับแรกคือ สหรัฐอเมริกา (10,026 คน) ไต้หวัน (6,936 คน) และซาอุดิอาระเบีย (2,581 คน) หรือคิดเป็นร้อยละ 35.42 14.72 และ 48.58 ตามลำดับ
3. หากเปรียบเทียบการเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักรเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม 2543 กับการเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักรที่เพิ่งเสร็จสิ้นไปจะพบว่า
1) ผู้แสดงความ จำนงขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 26,058 คนเป็น 42,445 คนหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.88 และ
2) แม้ว่าเปอร์เซ็นต์การเลือกตั้ง ส.ส. นอกราชอาณาจักร (35.31%) จะมีจำนวนต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์การเลือกตั้ง ส.ว. นอกราชอาณาจักร (39.53%) แต่เมื่อพิจารณาจำนวนผู้ไปใช้สิทธิ จะพบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้น กล่าวคือ การเลือกตั้ง ส.ว. ฯ มีคนไทยไปใช้สิทธิลงคะแนนทั่วโลก 10,302 คน ส่วนการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ มีผู้ไปใช้สิทธิรวม 14,989 คน เพิ่มขึ้น 4,687 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.49
4. ขณะนี้บัตรเลือกตั้งได้ถูกส่งกลับมายังประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และได้ถูกส่งมอบไปยังการ สื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปยังเขตต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อการนับคะแนนรวมในวันที่ 6 มกราคม 2544 ต่อไป
5. การเลือกตั้ง ส.ส. ในครั้งนี้สรุปได้ว่า
1) ไม่ปรากฏข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำที่ไม่เที่ยงธรรม หรือส่อไปในทางทุจริตแต่อย่างใดในระหว่างการเลือกตั้งฯ
2) สอท. และ สกญ. ทุกแห่งได้ดำเนินการในหลายลักษณะเพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้สิทธิของคนไทยให้มากกว่าการเลือกตั้ง ส.ว. อาทิ กำหนดช่วงวันลงคะแนนไว้หลายวัน (สกญ. ณ นครลอสแอนเจลิส กำหนดวันลงคะแนนไว้ตั้งแต่วันที่ 10-30 ธ.ค. 2543) กำหนดจำนวนสถานที่ลงคะแนนให้มากขึ้น เช่น สอท. และ สกญ. ใน สหรัฐฯ กำหนดจุดลงคะแนนไว้มากถึง 22 จุด และ
3) การให้ประชาชนใช้สิทธิลงคะแนนทางไปรษณีย์ ซึ่งถือเป็นนิมิตรหมายอันดี และช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คนไทยในประเทศต่างๆ เช่น เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ โปแลนด์ ตุรกี และเดนมาร์ก เป็นต้น
6. รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า ในภาพรวมนั้น การจัดการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรในครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี และยังสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยในต่างประเทศมีความตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้นเป็นลำดับ ดังจะเห็นได้จากทั้งจำนวนผู้แสดงความจำนงขอใช้สิทธิเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.88 และจากจำนวนผู้มาใช้สิทธิจริงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.49
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-