การค้าระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้มูลค่าการค้ารวม 1,251,181 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นการส่งออก 505,849 ล้านเหรียญสหรัฐและการนำเข้า 745,332 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทำให้ขาดดุลการค้าเป็นมูลค่า 239,483 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้ว มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.25 โดยส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.39 สำหรับดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.62
การส่งออก : สินค้าออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องบิน ส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบเครื่องบิน เครื่องกังหันไอพ่น เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ เป็นต้น
สำหรับสินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก้ ส่วนประกอบเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้าง
ตลาดส่งออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ แคนาดา เม็กซิโก เยอรมนี สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.35,5.77,1.32,2.81 และ 6.57 ตามลำดับ
การนำเข้า : สินค้านำเข้าที่สำคัญ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์นั่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ นำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบรถยนต์ รถบรรทุก เป็นต้น
สำหรับสินค้าสำคัญที่นำเข้าลดลง ได้แก่ รองเท้าหนัง
แหล่งนำเข้าสำคัญ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก จีน เยอรมนี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา บรูไน และพม่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.67,5.96,15.12,13.96,11.03,13.51,1.14,1.75,94.72,82.61 และ 30.58 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าสำคัญที่นำเข้าลดลง ได้แก่ สิงคโปร์ และเวียดนาม นำเข้าลดลงร้อยละ 2.98 และ 5.39
การค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับไทย
การค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับไทยช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 มีมูลค่าการค้ารวม 13,759 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นสหรัฐอเมริกาส่งออกมาไทย 3,398 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทย 10,361 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 6,963 ล้านเหรียญฯ หรือร้อยละ 2.91 ของการขาดดุลการค้ารวม และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 โดยสหรัฐอเมริกาส่งออกมาไทยลดลงร้อยละ 6.39 และนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.61 ทำให้สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98
การส่งออก : สินค้าออกสำคัญของสหรัฐอเมริกาที่ส่งออกมายังไทยที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ถั่วเหลือง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และส่วนประกอบเครื่องบินเป็นต้น
สำหรับสินค้าที่สหรัฐอเมริกาส่งออกมาไทยมีมูลค่าลดลง ได้แก่ เครื่องบิน สื่อบันทึกภาพและเสียง เป็นต้น
การนำเข้า : สินค้าเข้าสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า กุ้ง ปูสดแช่เย็น เครื่องประดับอัญมณี เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า และปลาสำเร็จรูป เป็นต้น
สำหรับสินค้าสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องรับโทรทัศน์ อาหารทะเลแปรรูป เสื้อถักแบบสเวตเตอร์ หรือเสื้อกั๊ก และรองเท้าหนัง
ดุลการค้า : ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 6,963 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นมูลค่า 689 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98
ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าส่งออกสำคัญของไทย สรุปได้ดังนี้
1) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 8 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.94 ลดลงจากร้อยละ 5.54 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ได้แก่ เม็กซิโก ส่วนญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวันมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
2) แผงวงจรไฟฟ้า สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 9 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.)ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.01 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.98 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.)คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาดลงลง
3) กุ้ง ปูสดแช่เย็น สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมาเป็นอันดับที่ 1 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20.71 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.92 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ แคนาดา และอินเดียว ส่วนเอกวาดอร์ และเม็กซิโก มีส่วนแบ่งตลาดลงลง
4) เครื่องประดับอัญมนี สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2542(ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.41 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.32 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย และฮ่องกง ส่วนอิตาลีและอิสราเอลมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
5) เครื่องรับโทรทัศน์ สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.58 ลดลงจากร้อยละ 7.27 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ส่วนเม็กซิโกมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
คู่แข่งที่สำคัญของไทยในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย
1) แคนาดา เป็นคู่แข่งในสินค้าอาหารทะเล และแปรรูป เครื่องรับโทรทัศน์ และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้า และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล
2) ญี่ปุ่น เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องรับโทรศัพท์ และส่วนประกอบ
3) เม็กซิโก เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อาหารทะเลสดและแปรรูป เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องรับโทรศัพท์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้า เสื้อถักแบบสเวตเตอร์หรือเสื้อกั๊ก สูทของผู้หญิง เครื่องแต่งกายและของประดับเครื่องแต่งกาย และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล
4) จีน เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องรับโทรศัพท์และส่วนประกอบ อาหารทะเลแปรรูป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า เสื้อถักแบบสเวตเตอร์หรือเสื้อกั๊ก รองเท้าหนัง สูทของผู้หญิง เครื่องแต่งกายและของประดับ เครื่องแต่งกาย และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล
5) มาเลเซีย เป็นคู่แข่งในสินค้าแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องแต่งกาย และของประดับเครื่องแต่งกาย
6) สิงคโปร์ เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้ว มูลค่าการค้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.25 โดยส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.39 สำหรับดุลการค้าขาดดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.62
การส่งออก : สินค้าออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องบิน ส่วนประกอบรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ รถยนต์นั่ง ส่วนประกอบเครื่องบิน เครื่องกังหันไอพ่น เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ เป็นต้น
สำหรับสินค้าสำคัญที่ส่งออกลดลง ได้แก้ ส่วนประกอบเครื่องจักรใช้ในการก่อสร้าง
ตลาดส่งออกสำคัญ ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ แคนาดา เม็กซิโก เยอรมนี สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.35,5.77,1.32,2.81 และ 6.57 ตามลำดับ
การนำเข้า : สินค้านำเข้าที่สำคัญ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์นั่ง เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ นำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบรถยนต์ รถบรรทุก เป็นต้น
สำหรับสินค้าสำคัญที่นำเข้าลดลง ได้แก่ รองเท้าหนัง
แหล่งนำเข้าสำคัญ ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก จีน เยอรมนี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา บรูไน และพม่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.67,5.96,15.12,13.96,11.03,13.51,1.14,1.75,94.72,82.61 และ 30.58 ตามลำดับ
แหล่งนำเข้าสำคัญที่นำเข้าลดลง ได้แก่ สิงคโปร์ และเวียดนาม นำเข้าลดลงร้อยละ 2.98 และ 5.39
การค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับไทย
การค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกากับไทยช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 มีมูลค่าการค้ารวม 13,759 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยแยกเป็นสหรัฐอเมริกาส่งออกมาไทย 3,398 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนำเข้าจากไทย 10,361 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 6,963 ล้านเหรียญฯ หรือร้อยละ 2.91 ของการขาดดุลการค้ารวม และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 โดยสหรัฐอเมริกาส่งออกมาไทยลดลงร้อยละ 6.39 และนำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.61 ทำให้สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98
การส่งออก : สินค้าออกสำคัญของสหรัฐอเมริกาที่ส่งออกมายังไทยที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ถั่วเหลือง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ และส่วนประกอบเครื่องบินเป็นต้น
สำหรับสินค้าที่สหรัฐอเมริกาส่งออกมาไทยมีมูลค่าลดลง ได้แก่ เครื่องบิน สื่อบันทึกภาพและเสียง เป็นต้น
การนำเข้า : สินค้าเข้าสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า กุ้ง ปูสดแช่เย็น เครื่องประดับอัญมณี เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า และปลาสำเร็จรูป เป็นต้น
สำหรับสินค้าสำคัญที่สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยที่มีมูลค่าลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องรับโทรทัศน์ อาหารทะเลแปรรูป เสื้อถักแบบสเวตเตอร์ หรือเสื้อกั๊ก และรองเท้าหนัง
ดุลการค้า : ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2542 สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 6,963 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นมูลค่า 689 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.98
ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าส่งออกสำคัญของไทย สรุปได้ดังนี้
1) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สหรัฐฯ นำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 8 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.94 ลดลงจากร้อยละ 5.54 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น ได้แก่ เม็กซิโก ส่วนญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวันมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
2) แผงวงจรไฟฟ้า สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 9 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.)ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.01 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.98 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.)คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ เกาหลีใต้ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งตลาดลงลง
3) กุ้ง ปูสดแช่เย็น สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมาเป็นอันดับที่ 1 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 20.71 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 18.92 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ แคนาดา และอินเดียว ส่วนเอกวาดอร์ และเม็กซิโก มีส่วนแบ่งตลาดลงลง
4) เครื่องประดับอัญมนี สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2542(ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 10.41 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.32 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย และฮ่องกง ส่วนอิตาลีและอิสราเอลมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
5) เครื่องรับโทรทัศน์ สหรัฐอเมริกานำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ในปี 2542 (ม.ค.-ก.ย.) ไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 6.58 ลดลงจากร้อยละ 7.27 ในปี 2541 (ม.ค.-ก.ย.) คู่แข่งสำคัญที่ขยายส่วนแบ่งตลาดได้เพิ่มขึ้น ได้แก่ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ส่วนเม็กซิโกมีส่วนแบ่งตลาดลดลง
คู่แข่งที่สำคัญของไทยในสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย
1) แคนาดา เป็นคู่แข่งในสินค้าอาหารทะเล และแปรรูป เครื่องรับโทรทัศน์ และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้า และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล
2) ญี่ปุ่น เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องรับโทรศัพท์ และส่วนประกอบ
3) เม็กซิโก เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อาหารทะเลสดและแปรรูป เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องรับโทรศัพท์และส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้า เสื้อถักแบบสเวตเตอร์หรือเสื้อกั๊ก สูทของผู้หญิง เครื่องแต่งกายและของประดับเครื่องแต่งกาย และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล
4) จีน เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องรับโทรศัพท์และส่วนประกอบ อาหารทะเลแปรรูป เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หม้อแปลงไฟฟ้า เสื้อถักแบบสเวตเตอร์หรือเสื้อกั๊ก รองเท้าหนัง สูทของผู้หญิง เครื่องแต่งกายและของประดับ เครื่องแต่งกาย และสายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล
5) มาเลเซีย เป็นคู่แข่งในสินค้าแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องแต่งกาย และของประดับเครื่องแต่งกาย
6) สิงคโปร์ เป็นคู่แข่งในสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ที่มา : กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 23/15 ธันวาคม 2542--