1. สถานการณ์สินค้า
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ไก่ชำแหละ : ไก่ชำแหละต่างประเทศเริ่มรุกตลาดไทย
ตามข่าวสื่อมวลชนหลายฉบับเกี่ยวกับสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ต่างประเทศ ได้ชุมนุมประท้วงและยื่นหนังสือร้องเรียนแก่เจ้าหน้าที่สถานฑูตด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาพิจารณาไม่ส่งไก่สดชำแหละแช่แข็งเข้ามาจำหน่ายในไทย ตามที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น สำนักวิจัยเศรษฐกิจ-การเกษตร ได้ติดต่อขอข้อมูลจากสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และได้เข้าร่วมฟังสัมมนาโต๊ะกลม ซึ่งจัดโดย กรรมาธิการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 พอจะสรุปได้ดังนี้
1. ขณะนี้มีไก่ชำแหละลักษณะเป็นตัวที่เรียกว่า Rock Cornish Game Hen จำหน่ายตามห้าง Top Supermarket , The Emporium, Lotus และ Carrefour นำเข้าโดยบริษัท Pan Food, Siam Food และ Tokiya ขนาดน้ำหนักตัวละประมาณ 0.8 - 0.9 กิโลกรัม จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 407-450 บาท
2. ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ทราบว่า ปี 2542 มีการขออนุญาตนำเข้า 2,080 กิโลกรัม และตั้งแต่ มค.- กย. 2543 ขออนุญาตนำเข้า 217 กิโลกรัม ในการนำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมการนำเข้ากิโลกรัมละ 10 บาท แก่กรมปศุสัตว์และต้องเสียภาษีนำเข้าตาม WTO คือ อัตราร้อยละ 42 ( สินค้าชนิดนี้อยู่ในพิกัด 0207.14 )
3. จากการที่มีวางจำหน่ายอยู่ตาม Supermarket หลายแห่ง คาดว่าอาจมีการลักลอบนำเข้าด้วยบางส่วน ซึ่งสามารถทำได้ถ้านำเข้ารวมมากับสินค้าอื่น เช่น ปลา ในคอนเทนเนอร์เดียวกัน ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 โดยอ้างว่านำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบเข้าโรงงาน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะไม่มีการตรวจสอบสินค้า
4. จากการสัมมนาโต๊ะกลมได้มีการอภิปรายและชี้แจงกันอย่างกว้างขวาง และเพื่อเป็นการป้องกันการนำเนื้อไก่ชำแหละจากสหรัฐฯ มาจำหน่ายและเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้า ที่ประชุมมีมติว่า
4.1 ในการนำเข้าอย่างถูกต้อง ให้กรมปศุสัตว์ตรวจสอบการนำเข้าว่ามี มีจำนวนที่แน่นอนเท่าใด
4.2 ให้กรมการค้าภายในตรวจสอบ 3 บริษัทผู้นำเข้าว่าได้นำไปวางจำหน่ายสถานที่ใดบ้าง
4.3ในการนำเข้า ควรมีการตรวจสอบด้านสุขอนามัยด้วย โดยขอให้องค์การอาหารและยาดำเนินการ
ตามความเป็นจริงประเทศไทยไม่มีนโยบายห้ามนำเข้าเนื้อไก่ชำแหละถึงแม้ว่าจะผลิตได้เพียงพอต่อการบริโภค และเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ในการนำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 42 ( ปี 2543 ) ตามข้อตกลงที่ผูกพันไว้กับ WTO และเสียค่าธรรมเนียมการนำเข้ากิโลกรัมละ 10 บาท ในแต่ละปีมีการขออนุญาตนำเข้าค่อนข้างน้อย แต่อาจมีการลักลอบนำเข้าโดยปนมากับสินค้าอื่น ไม่มีการเสียภาษีและค่าธรรมเนียมการนำเข้าพร้อมการตรวจสอบโรคโดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งจะเข้ามาทดแทนเนื้อไก่ในประเทศบางส่วน ถึงแม้ว่าราคาค่อนข้างสูงก็ตาม เป็นการสร้างค่านิยมบริโภคของต่างประเทศในกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้ สำนกงาน-เศรษฐกิจการเกษตร เห็นว่า กรมศุลกากรน่าจะเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าที่แจ้งนำเข้า เพราะการนำเข้าลักษณะรวมมากับสินค้าอื่น นอกจากจะไม่มีการตรวจสอบโรคแล้ว ยังมาแบ่งส่วนการตลาดสินค้าเนื้อไก่ชำแหละของไทย ซึ่งในอนาคตอาจเป็นปัญหาใหญ่ต่อผู้เลี้ยงไก่ในประเทศได้
การประชุม : การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 21
การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 21 ณ เมือง Banff ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2543 นั้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เห็นว่า กลุ่มเคร์นส์ ควรรายงานความก้าวหน้าการเจรจาสินค้าเกษตรให้มากขึ้น สำหรับ ช่วงผ่อนปรน (Peace Clause) ที่จะสิ้นสุดในปี 2546 ควรพิจารณาผลดีผลเสียให้รอบคอบ ซึ่งสมาชิกส่วนหนึ่งต้องการให้สิ้นสุดในปีดังกล่าว แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ต้องการให้มีกำหนดระยะเวลา
2) ความก้าวหน้าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้องค์การการค้าโลก
เอกอัครราชทูต Jorge Voto-Bernales ประธานคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษของ WTO ซึ่งเป็นแขกพิเศษในการประชุมครั้งนี้ รายงานถึงความก้าวหน้าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ WTO ว่าประเทศสมาชิก ได้ยื่นข้อเสนอหลายประเด็น อาทิ การอุดหนุนภายใน การอุดหนุนการส่งออก การเปิดตลาด การแข่งขันการส่งออก มาตรการอุดหนุนที่ยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (3&D) และสวัสดิภาพสัตว์ของ EU ซึ่งคณะกรรมการจะสรุปข้อเสนอทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม 2544 ส่วนการเจรจาในขั้นตอนที่ 2 เป็นการเจรจาในรายละเอียด จะดำเนินการภายหลังเดือนมีนาคม 2544
3) ท่าทีต่อการเจรจาเกษตรรอบใหม่ของสหภาพยุโรป
Mr. Franz Fischler คณะกรรมาธิการด้านการเกษตร การพัฒนาชนบทและ ประมงของ EU เห็นว่าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่น่าจะเป็นการเจรจาที่มีความยืดหยุ่น เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้กฏระเบียบการค้าสินค้าเกษตรอยู่ในระดับเดียวกันกับการค้าสินค้าอุตสาหกรรม ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา EU ได้ลดราคาประกันสำหรับธัญพืชลงร้อยละ 45 มีการลดงบประมาณด้านการตลาดจากร้อยละ 91 ในปี 2535 เหลือร้อยละ 21 ของงบประมาณด้านเกษตรภายในปี 2549 อย่างไรก็ตาม Mr. Fischler เห็นว่าประเด็นที่ไม่ใช้การค้า (Non-Trade Concerns) มีความสำคัญในการเจรจาครั้งใหม่นี้ ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นนโยบายด้านสินค้าสาธารณะที่รัฐต้องให้การช่วยเหลือทั้งในด้านการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และเศรษฐกิจชนบท
4) ท่าทีต่อการเจรจาเกษตรรอบใหม่ของอียิปต์
Dr. Youssef Boutros-Ghali รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้าต่างประเทศของอียิปต์ ให้ความเห็นในฐานะประเทศนำเข้าอาหารสุทธิว่า การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ของ WTO ต้องมีการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ น่าจะแสดงบทบาทในการผลักดันในเรื่องนี้ได้ดี ทั้งนี้ การเจรจาควรให้ความสำคัญในประเด็นการค้าเป็นหลัก ประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับการค้าน้อย อาทิ การลงทุน มาตรฐานแรงงาน ควรอยู่นอกเหนือการเจรจาของ WTO โดย Dr.Ghali เห็นว่าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ควรมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ให้การกำหนดกรอบจรรยาบรรณ (Code of Conduct ) ในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับนโยบายการเกษตร
- ให้มีการเพิ่มโควตา การลดภาษีในโควตา และยกเลิกหรือลดการกำหนดราคานำเข้า
- ลดการอุดหนุนการส่งออก
- การช่วยเหลือด้านอาหารน่าจะอยู่ในรูปของตลาดที่เปิดและไม่มีการอุดหนุน
- การอุดหนุนภายในและบทบาทอันหลากหลายของภาคการเกษตรต้องเปิด โอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาได้ใช้มาตรการที่เท่าเทียมกับประเทศพัฒนาแล้ว
- มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชต้องชัดเจน ซึ่งประเทศกำลังพัฒนา ต้องการความช่วยเหลือทางเทคนิค
- มาตรการ S&D ต้องคงไว้ต่อไป
5) แถลงการณ์รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์
ผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 21 นี้ รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ได้ตกลงให้มีแถลงการณ์ร่วม โดยมีสาระดังนี้
- ตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรยังคงถูกบิดเบือนมาก และถูกกีดกันทั้งในเรื่องภาษี สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ
- กลุ่มเคร์นส์ เห็นว่า การปฏิรูปอย่างจริงจังและรวดเร็วมีความสำคัญต่อระบบการค้าสินค้าเกษตรในอนาคต ซึ่งจะลดความขัดแย้งทางการค้าและความตึงเครียดภายใน WTO ถ้าการเจรจาไม่มีความก้าวหน้าจะก่อให้เกิดแรงกดดันต่อการใช้มาตรการด้านการเกษตรในประเทศสมาชิกภายหลังปี 2549 เมื่อช่วงผ่อนปรน ( Peace Clause) หมดอายุลง
- กลุ่มเคร์นส์ เห็นว่า นโยบายที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศอื่นไม่ควรรวมอยู่ในประเด็นที่ไม่ใช้การค้า (Non-Trade Concems) ที่จะนำมาเจรจา การเจรจาต้องไม่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของนโยบายการเกษตรแต่ละประเทศ การพิจารณามาตรการที่นำมาใช้จะต้องไม่บิดเบือนการค้า
- กลุ่มเคร์นส์ เห็นความสำคัญของบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจาเกษตรภายใต้ WTO และตระหนักว่าการปฏิรูปการเกษตรมีความสำคัญต่อการขจัดความยากจน การเปิดตลาดและการปฏิรูปการเกษตรในประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา มากกว่าการให้เป็นความช่วยเหลือ
- การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ปี 2544 จะจัดให้มีขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย
6) ข้อคิดเห็นของประเทศไทย
- การอุดหนุนสินค้าเกษตรทำให้ราคาในตลาดโลกลดลง ไม่จูงใจให้ลงทุนและการผลิตที่ด้อยประสิทธิภาพ ควรมีการกำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาของกลุ่มเคร์นส์เพื่อลดการอุดหนุนดังกล่าว
- ควรจะรู้ถึงสถานการณ์และท่าทีของประเทศคู่เจรจา เช่น กรณีของ EU อ้างว่าได้มีการลดการใช้มาตรการประกันราคา และลดงบประมาณในส่วนที่ใช้ในการแทรกแซงด้านการตลาด ควรมีหลักฐานแสดง
- กลุ่มเคร์นส์ควรหยุดดำเนินมาตรการที่บิดเบือนการค้าก่อนผลักดันให้ประเทศอื่นยกเลิกมาตรการดังกล่าว
- ควรจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนภายในกลุ่ม
- ควรให้ความสนใจในการช่วยเหลือประเทศผู้นำเข้าอาหารสุทธิ เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการความมั่นคงด้านอาหารที่แตกต่างจากการผลิตอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภค ซึ่งมีภาระต้นทุนสูงและไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริง
- ควรหาแนวร่วมกับกลุ่มอื่น เช่น เชื่อมโยงกับงานของ UNCTAD ที่มีประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา ในส่วนของประเทศไทย ในฐานะสมาชิกอาเซียน จะขอการสนับสนุนแนวทางของกลุ่มเคร์นส์ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อเซียน ( AMAF) ครั้งต่อไป
ข้อคิดเห็นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
1. ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ กำลังยื่นข้อเสนอการเจรจาต่อคณะกรรมาธิการเกษตรของ WTO ไทยซึ่งยื่นในนามของกลุ่มเคร์นส์ไปแล้ว 2 เรื่อง คือเรื่อง การอุดหนุนภายใน การอุดหนุนส่งออก และจะเสนอเรื่องการเปิดตลาดในนามของกลุ่มเคร์นส์และมาตรการปฏิบัติที่พิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาร่วมกับ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในการประชุมครั้งต่อไปเดือนพฤศจิกายน ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ข้อคิดเห็นในส่วนของประเทศไทย ต่อไป
2. สำหรับข้อคิดเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่จะขอรับการสนับสนุนแนวทางการเปิดเสรีของกลุ่มเคร์นส์จากการประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ของอาเซียนนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เห็นควรนำแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ในการประชุมครั้งที่ 21 เสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนครั้งที่ 22 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 22-27 ตุลาคม 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 23-29 ต.ค. 2543--
-สส-
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
ไก่ชำแหละ : ไก่ชำแหละต่างประเทศเริ่มรุกตลาดไทย
ตามข่าวสื่อมวลชนหลายฉบับเกี่ยวกับสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ต่างประเทศ ได้ชุมนุมประท้วงและยื่นหนังสือร้องเรียนแก่เจ้าหน้าที่สถานฑูตด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาพิจารณาไม่ส่งไก่สดชำแหละแช่แข็งเข้ามาจำหน่ายในไทย ตามที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น สำนักวิจัยเศรษฐกิจ-การเกษตร ได้ติดต่อขอข้อมูลจากสมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และได้เข้าร่วมฟังสัมมนาโต๊ะกลม ซึ่งจัดโดย กรรมาธิการเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2543 พอจะสรุปได้ดังนี้
1. ขณะนี้มีไก่ชำแหละลักษณะเป็นตัวที่เรียกว่า Rock Cornish Game Hen จำหน่ายตามห้าง Top Supermarket , The Emporium, Lotus และ Carrefour นำเข้าโดยบริษัท Pan Food, Siam Food และ Tokiya ขนาดน้ำหนักตัวละประมาณ 0.8 - 0.9 กิโลกรัม จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 407-450 บาท
2. ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ทราบว่า ปี 2542 มีการขออนุญาตนำเข้า 2,080 กิโลกรัม และตั้งแต่ มค.- กย. 2543 ขออนุญาตนำเข้า 217 กิโลกรัม ในการนำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมการนำเข้ากิโลกรัมละ 10 บาท แก่กรมปศุสัตว์และต้องเสียภาษีนำเข้าตาม WTO คือ อัตราร้อยละ 42 ( สินค้าชนิดนี้อยู่ในพิกัด 0207.14 )
3. จากการที่มีวางจำหน่ายอยู่ตาม Supermarket หลายแห่ง คาดว่าอาจมีการลักลอบนำเข้าด้วยบางส่วน ซึ่งสามารถทำได้ถ้านำเข้ารวมมากับสินค้าอื่น เช่น ปลา ในคอนเทนเนอร์เดียวกัน ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0 โดยอ้างว่านำเข้าเพื่อเป็นวัตถุดิบเข้าโรงงาน ซึ่งทางเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรจะไม่มีการตรวจสอบสินค้า
4. จากการสัมมนาโต๊ะกลมได้มีการอภิปรายและชี้แจงกันอย่างกว้างขวาง และเพื่อเป็นการป้องกันการนำเนื้อไก่ชำแหละจากสหรัฐฯ มาจำหน่ายและเพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้า ที่ประชุมมีมติว่า
4.1 ในการนำเข้าอย่างถูกต้อง ให้กรมปศุสัตว์ตรวจสอบการนำเข้าว่ามี มีจำนวนที่แน่นอนเท่าใด
4.2 ให้กรมการค้าภายในตรวจสอบ 3 บริษัทผู้นำเข้าว่าได้นำไปวางจำหน่ายสถานที่ใดบ้าง
4.3ในการนำเข้า ควรมีการตรวจสอบด้านสุขอนามัยด้วย โดยขอให้องค์การอาหารและยาดำเนินการ
ตามความเป็นจริงประเทศไทยไม่มีนโยบายห้ามนำเข้าเนื้อไก่ชำแหละถึงแม้ว่าจะผลิตได้เพียงพอต่อการบริโภค และเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ ในการนำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 42 ( ปี 2543 ) ตามข้อตกลงที่ผูกพันไว้กับ WTO และเสียค่าธรรมเนียมการนำเข้ากิโลกรัมละ 10 บาท ในแต่ละปีมีการขออนุญาตนำเข้าค่อนข้างน้อย แต่อาจมีการลักลอบนำเข้าโดยปนมากับสินค้าอื่น ไม่มีการเสียภาษีและค่าธรรมเนียมการนำเข้าพร้อมการตรวจสอบโรคโดยกรมปศุสัตว์ ซึ่งจะเข้ามาทดแทนเนื้อไก่ในประเทศบางส่วน ถึงแม้ว่าราคาค่อนข้างสูงก็ตาม เป็นการสร้างค่านิยมบริโภคของต่างประเทศในกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้ สำนกงาน-เศรษฐกิจการเกษตร เห็นว่า กรมศุลกากรน่าจะเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าที่แจ้งนำเข้า เพราะการนำเข้าลักษณะรวมมากับสินค้าอื่น นอกจากจะไม่มีการตรวจสอบโรคแล้ว ยังมาแบ่งส่วนการตลาดสินค้าเนื้อไก่ชำแหละของไทย ซึ่งในอนาคตอาจเป็นปัญหาใหญ่ต่อผู้เลี้ยงไก่ในประเทศได้
การประชุม : การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 21
การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 21 ณ เมือง Banff ประเทศแคนาดา ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2543 นั้น มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เห็นว่า กลุ่มเคร์นส์ ควรรายงานความก้าวหน้าการเจรจาสินค้าเกษตรให้มากขึ้น สำหรับ ช่วงผ่อนปรน (Peace Clause) ที่จะสิ้นสุดในปี 2546 ควรพิจารณาผลดีผลเสียให้รอบคอบ ซึ่งสมาชิกส่วนหนึ่งต้องการให้สิ้นสุดในปีดังกล่าว แต่อีกส่วนหนึ่งไม่ต้องการให้มีกำหนดระยะเวลา
2) ความก้าวหน้าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้องค์การการค้าโลก
เอกอัครราชทูต Jorge Voto-Bernales ประธานคณะกรรมการเกษตรสมัยพิเศษของ WTO ซึ่งเป็นแขกพิเศษในการประชุมครั้งนี้ รายงานถึงความก้าวหน้าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ภายใต้ WTO ว่าประเทศสมาชิก ได้ยื่นข้อเสนอหลายประเด็น อาทิ การอุดหนุนภายใน การอุดหนุนการส่งออก การเปิดตลาด การแข่งขันการส่งออก มาตรการอุดหนุนที่ยกเว้นสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (3&D) และสวัสดิภาพสัตว์ของ EU ซึ่งคณะกรรมการจะสรุปข้อเสนอทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม 2544 ส่วนการเจรจาในขั้นตอนที่ 2 เป็นการเจรจาในรายละเอียด จะดำเนินการภายหลังเดือนมีนาคม 2544
3) ท่าทีต่อการเจรจาเกษตรรอบใหม่ของสหภาพยุโรป
Mr. Franz Fischler คณะกรรมาธิการด้านการเกษตร การพัฒนาชนบทและ ประมงของ EU เห็นว่าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่น่าจะเป็นการเจรจาที่มีความยืดหยุ่น เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้กฏระเบียบการค้าสินค้าเกษตรอยู่ในระดับเดียวกันกับการค้าสินค้าอุตสาหกรรม ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา EU ได้ลดราคาประกันสำหรับธัญพืชลงร้อยละ 45 มีการลดงบประมาณด้านการตลาดจากร้อยละ 91 ในปี 2535 เหลือร้อยละ 21 ของงบประมาณด้านเกษตรภายในปี 2549 อย่างไรก็ตาม Mr. Fischler เห็นว่าประเด็นที่ไม่ใช้การค้า (Non-Trade Concerns) มีความสำคัญในการเจรจาครั้งใหม่นี้ ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นนโยบายด้านสินค้าสาธารณะที่รัฐต้องให้การช่วยเหลือทั้งในด้านการปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และเศรษฐกิจชนบท
4) ท่าทีต่อการเจรจาเกษตรรอบใหม่ของอียิปต์
Dr. Youssef Boutros-Ghali รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้าต่างประเทศของอียิปต์ ให้ความเห็นในฐานะประเทศนำเข้าอาหารสุทธิว่า การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ของ WTO ต้องมีการดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ กลุ่มเคร์นส์ น่าจะแสดงบทบาทในการผลักดันในเรื่องนี้ได้ดี ทั้งนี้ การเจรจาควรให้ความสำคัญในประเด็นการค้าเป็นหลัก ประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับการค้าน้อย อาทิ การลงทุน มาตรฐานแรงงาน ควรอยู่นอกเหนือการเจรจาของ WTO โดย Dr.Ghali เห็นว่าการเจรจาสินค้าเกษตรรอบใหม่ควรมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
- ให้การกำหนดกรอบจรรยาบรรณ (Code of Conduct ) ในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับนโยบายการเกษตร
- ให้มีการเพิ่มโควตา การลดภาษีในโควตา และยกเลิกหรือลดการกำหนดราคานำเข้า
- ลดการอุดหนุนการส่งออก
- การช่วยเหลือด้านอาหารน่าจะอยู่ในรูปของตลาดที่เปิดและไม่มีการอุดหนุน
- การอุดหนุนภายในและบทบาทอันหลากหลายของภาคการเกษตรต้องเปิด โอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาได้ใช้มาตรการที่เท่าเทียมกับประเทศพัฒนาแล้ว
- มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชต้องชัดเจน ซึ่งประเทศกำลังพัฒนา ต้องการความช่วยเหลือทางเทคนิค
- มาตรการ S&D ต้องคงไว้ต่อไป
5) แถลงการณ์รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์
ผลการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 21 นี้ รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ได้ตกลงให้มีแถลงการณ์ร่วม โดยมีสาระดังนี้
- ตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรยังคงถูกบิดเบือนมาก และถูกกีดกันทั้งในเรื่องภาษี สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ
- กลุ่มเคร์นส์ เห็นว่า การปฏิรูปอย่างจริงจังและรวดเร็วมีความสำคัญต่อระบบการค้าสินค้าเกษตรในอนาคต ซึ่งจะลดความขัดแย้งทางการค้าและความตึงเครียดภายใน WTO ถ้าการเจรจาไม่มีความก้าวหน้าจะก่อให้เกิดแรงกดดันต่อการใช้มาตรการด้านการเกษตรในประเทศสมาชิกภายหลังปี 2549 เมื่อช่วงผ่อนปรน ( Peace Clause) หมดอายุลง
- กลุ่มเคร์นส์ เห็นว่า นโยบายที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศอื่นไม่ควรรวมอยู่ในประเด็นที่ไม่ใช้การค้า (Non-Trade Concems) ที่จะนำมาเจรจา การเจรจาต้องไม่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของนโยบายการเกษตรแต่ละประเทศ การพิจารณามาตรการที่นำมาใช้จะต้องไม่บิดเบือนการค้า
- กลุ่มเคร์นส์ เห็นความสำคัญของบทบาทของประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจาเกษตรภายใต้ WTO และตระหนักว่าการปฏิรูปการเกษตรมีความสำคัญต่อการขจัดความยากจน การเปิดตลาดและการปฏิรูปการเกษตรในประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา มากกว่าการให้เป็นความช่วยเหลือ
- การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ปี 2544 จะจัดให้มีขึ้นที่ประเทศอุรุกวัย
6) ข้อคิดเห็นของประเทศไทย
- การอุดหนุนสินค้าเกษตรทำให้ราคาในตลาดโลกลดลง ไม่จูงใจให้ลงทุนและการผลิตที่ด้อยประสิทธิภาพ ควรมีการกำหนดกลยุทธ์ในการเจรจาของกลุ่มเคร์นส์เพื่อลดการอุดหนุนดังกล่าว
- ควรจะรู้ถึงสถานการณ์และท่าทีของประเทศคู่เจรจา เช่น กรณีของ EU อ้างว่าได้มีการลดการใช้มาตรการประกันราคา และลดงบประมาณในส่วนที่ใช้ในการแทรกแซงด้านการตลาด ควรมีหลักฐานแสดง
- กลุ่มเคร์นส์ควรหยุดดำเนินมาตรการที่บิดเบือนการค้าก่อนผลักดันให้ประเทศอื่นยกเลิกมาตรการดังกล่าว
- ควรจะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนภายในกลุ่ม
- ควรให้ความสนใจในการช่วยเหลือประเทศผู้นำเข้าอาหารสุทธิ เพื่อให้มีความเข้าใจในหลักการความมั่นคงด้านอาหารที่แตกต่างจากการผลิตอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภค ซึ่งมีภาระต้นทุนสูงและไม่ได้แก้ปัญหาที่แท้จริง
- ควรหาแนวร่วมกับกลุ่มอื่น เช่น เชื่อมโยงกับงานของ UNCTAD ที่มีประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา ในส่วนของประเทศไทย ในฐานะสมาชิกอาเซียน จะขอการสนับสนุนแนวทางของกลุ่มเคร์นส์ในการประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อเซียน ( AMAF) ครั้งต่อไป
ข้อคิดเห็นของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
1. ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ กำลังยื่นข้อเสนอการเจรจาต่อคณะกรรมาธิการเกษตรของ WTO ไทยซึ่งยื่นในนามของกลุ่มเคร์นส์ไปแล้ว 2 เรื่อง คือเรื่อง การอุดหนุนภายใน การอุดหนุนส่งออก และจะเสนอเรื่องการเปิดตลาดในนามของกลุ่มเคร์นส์และมาตรการปฏิบัติที่พิเศษและแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาร่วมกับ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในการประชุมครั้งต่อไปเดือนพฤศจิกายน ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ข้อคิดเห็นในส่วนของประเทศไทย ต่อไป
2. สำหรับข้อคิดเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่จะขอรับการสนับสนุนแนวทางการเปิดเสรีของกลุ่มเคร์นส์จากการประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้ของอาเซียนนั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เห็นควรนำแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ในการประชุมครั้งที่ 21 เสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนครั้งที่ 22 ที่จะจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 22-27 ตุลาคม 2543
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 23-29 ต.ค. 2543--
-สส-